ไพร พัฒโน
ไพร พัฒโน ป.ช. ป.ม. (เกิด 7 มกราคม พ.ศ. 2507) เป็นนักการเมืองชาวไทย อดีตนายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา อดีตกรรมการบริหารพรรคเศรษฐกิจไทย
ไพร พัฒโน | |
---|---|
![]() | |
นายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่ | |
ดำรงตำแหน่ง 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 – 31 มกราคม พ.ศ. 2564 | |
ก่อนหน้า | ประสงค์ สุวรรณวงศ์ |
ถัดไป | พลตำรวจโท สาคร ทองมุณี |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 7 มกราคม พ.ศ. 2507 อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2528–2565) เศรษฐกิจไทย (2565) ภูมิใจไทย (2565–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | ทิพย์วรรณ พัฒโน |
บุพการี |
|
ประวัติ
แก้ไพร เกิดเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2507 เป็นบุตรนายไสว นางละเอียด พัฒโน[1] ด้านครอบครัวสมรสกับนางทิพย์วรรณ พัฒโน มีธิดา 3 คน
สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระดับปริญญาโทด้านการตลาด จาก College of Natre Dame ประเทศสหรัฐอเมริกา และระดับปริญญาเอก สาขารัฐประศาสนศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
งานการเมือง
แก้ไพร เป็นอาจารย์ประจำคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สาขาการตลาด ก่อนที่จะลาออกมาลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และได้รับเลือกครั้งแรกใน พ.ศ. 2539 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และต่อมาก็ได้รับเลือกอีกหนึ่งครั้งใน พ.ศ. 2544 ก่อนที่จะลาออกมาเป็นนายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่[2] จนถึง พ.ศ. 2564 ซึ่งมีประกาศเลือกตั้งนายกเทศมนตรีทั่วประเทศไทย
กระทั่งวันศุกร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2565 นายไพรได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์โดยได้โพสต์ภาพหนังสือลาออกลงเพจเฟซบุ๊ก[3] โดยในวันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2565 ไพรได้ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวว่าได้ย้ายมาสังกัดพรรคเศรษฐกิจไทย พร้อมกับประกาศว่าตัวเองเป็นหนึ่งในคณะกรรมการบริหารพรรคในการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ในวันศุกร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2565[4]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แก้ไพร พัฒโน ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 2 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดสงขลา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดสงขลา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2545 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2543 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[6]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย] กรมการปกครอง
- ↑ ไพร พัฒโน - ข่าวไทยรัฐออนไลน์
- ↑ ‘ไพร พัฒโน’ อดีตสส.สงขลา โบกมือลา ประชาธิปัตย์ อีกราย
- ↑ ‘ไพร พัฒโน’ ทิ้งปชป. เข้าพรรคธรรมนัส ชน ‘พปชร.-หลานนิพนธ์’ ทวงคืนเขต 2 สงขลา
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๓๐, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๖๘, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓