เทศบาลนครหาดใหญ่

เทศบาลนครในจังหวัดสงขลา ประเทศไทย
(เปลี่ยนทางจาก นครหาดใหญ่)

หาดใหญ่ เป็นเทศบาลนครที่ตั้งอยู่ในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา หาดใหญ่ถือได้ว่าเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในภาคใต้[2] ครั้งหนึ่งเคยเป็น ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การค้า และการขนส่งที่สำคัญของภาคใต้ และเป็นเทศบาลนครที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 3 ของประเทศไทย รองจากเทศบาลนครนนทบุรี และเทศบาลนครปากเกร็ด หาดใหญ่ได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลนครหาดใหญ่เมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2538 มีพื้นที่ในเขตเทศบาล 21 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหาดใหญ่ทั้งตำบล มีประชากรใน พ.ศ. 2560 จำนวน 159,233 คน[1]

เทศบาลนครหาดใหญ่
ทิวทัศน์เทศบาลนครหาดใหญ่มองจากเขาคอหงส์ พ.ศ. 2563
ทิวทัศน์เทศบาลนครหาดใหญ่มองจากเขาคอหงส์ พ.ศ. 2563
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลนครหาดใหญ่
ตรา
คำขวัญ: 
มหานครแห่งการค้า นำพาความศิวิไลซ์ หาดใหญ่แดนสันติสุข
ทน.หาดใหญ่ตั้งอยู่ในจังหวัดสงขลา
ทน.หาดใหญ่
ทน.หาดใหญ่
ที่ตั้งของเทศบาลนครหาดใหญ่
ทน.หาดใหญ่ตั้งอยู่ในประเทศไทย
ทน.หาดใหญ่
ทน.หาดใหญ่
ทน.หาดใหญ่ (ประเทศไทย)
พิกัด: 7°1′N 100°28′E / 7.017°N 100.467°E / 7.017; 100.467
ประเทศ ไทย
จังหวัดสงขลา
อำเภอหาดใหญ่
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีพล.ต.ท.สาคร ทองมุณี
พื้นที่
 • ทั้งหมด21 ตร.กม. (8 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2560)[1]
 • ทั้งหมด159,233 คน
 • ความหนาแน่น7,582.52 คน/ตร.กม. (19,638.6 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.03901101
ที่อยู่
สำนักงาน
สำนักงานเทศบาลนครหาดใหญ่
เลขที่ 445 ถนนเพชรเกษม ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110
โทรศัพท์0 7420 0000
โทรสาร0 7423 5536
เว็บไซต์hatyaicity.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ด้วยปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นใน 3 4 ทศวรรษที่ผ่านมา หาดใหญ่รุ่งเรืองจนได้รับฉายาว่า "นครปารีสแห่งภาคใต้ของประเทศไทย" "นครที่ไม่มีวันหลับ" "เมืองหลวงของภาคใต้" "นครแห่งความสุข" "สันติสุขแดนการค้า" แต่ด้วยความท้าทายในหลายมิติไม่ว่าจะเศรษฐกิจ การเมือง ความเปลี่ยนแปลงของประชากร คำเรียกของหาดใหญ่ที่ถูกพูดถึงมากในช่วงหลัง คือ "เมืองที่ตายแล้ว"อย่างไรก็ตามทุกมหานครย่อมมีช่วงขาขึ้นและอุปสรรคขาลงและการผงาดขึ้นขึ้นอีกครั้ง หาดใหญ่ก็เช่นกัน

ประวัติ แก้

ยุคสุขาภิบาลหาดใหญ่ แก้

หาดใหญ่ เป็นชื่อรวมของหมู่บ้านโคกเสม็ดชุนและบ้านหาดใหญ่ เดิมดินแดนหาดใหญ่เป็นเนินสูง มีผู้คนอาศัยอยู่ไม่มากนัก การคมนาคมไม่สะดวก เป็นป่าต้นเสม็ดชุน โดยทั่วไปชาวบ้านจึงเรียกว่า บ้านโคกเสม็ดชุน เมื่อทางการได้ตัดทางรถไฟมาถึงท้องถิ่นนี้ จึงมีประชาชนอพยพมาตั้งหลักแหล่งทำมาหากินและเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ สมัยนั้นชุมทางรถไฟอยู่ที่สถานีรถไฟอู่ตะเภา (ด้านเหนือของสถานีรถไฟหาดใหญ่ ในปัจจุบันเป็นเพียงที่หยุดรถไฟ) เนื่องจากสถานีอู่ตะเภาเป็นที่ลุ่ม น้ำท่วมเป็นประจำ ทางการรถไฟจึงได้ย้ายสถานีมาอยู่ที่สถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่ ประชาชนได้ทยอยย้ายบ้านเรือนมาสร้างตามบริเวณสถานีนั่นเอง ฉะนั้นอาจกล่าวได้ว่ากิจการรถไฟมีบทบาทต่อการขยับขยายและความเจริญก้าวหน้าของนครหาดใหญ่ตลอดมา

ต่อมาได้มีผู้เห็นการไกลกล่าวว่าบริเวณสถานีรถไฟหาดใหญ่นี้ ต่อไปภายหน้าจะต้องเจริญก้าวหน้าอย่างแน่นอน จึงได้มีการจับจองและซื้อที่ดินแปลงใหญ่จากราษฏรพื้นบ้าน ในที่สุด พ.ศ. 2471 หาดใหญ่จึงมีฐานะเป็นสุขาภิบาล ซึ่งประกาศใช้พระราชบัญญัติสุขาภิบาลเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2471 ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2471

ยุคเทศบาลตำบลหาดใหญ่ แก้

ต่อมาสุขาภิบาลแห่งนี้เจริญขึ้น มีพลเมืองหนาแน่นขึ้น และมีกิจการเจริญก้าวหน้า กระทรวงมหาดไทยจึงได้ประกาศพระราชกฤษฎีกายกฐานะเป็น เทศบาลตำบลหาดใหญ่ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2478 ซึ่งในขณะนั้นมีเนื้อที่ประมาณ 5 ตารางกิโลเมตร ประชากรประมาณ 5,000 คน รวมถึงมีรายได้ประมาณ 60,000 บาท

ยุคเทศบาลเมืองหาดใหญ่ แก้

เมื่อประชากรในเขตเทศบาลมีมากขึ้น พร้อมทั้งกิจการได้เจริญขึ้น จึงได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะเทศบาล และมีพระราชกฤษฎีกายกฐานะเทศบาลตำบลหาดใหญ่เป็น เทศบาลเมืองหาดใหญ่ เมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2492 ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2492 ซึ่งในขณะนั้นมีเนื้อที่ประมาณ 5 ตารางกิโลเมตรเช่นเดิม แต่มีประชากรเพิ่มมากขึ้นเป็นประมาณ 19,425 คน มีรายได้ 374,523.33 บาท

เมื่อท้องที่ในเขตเทศบาลเจริญและมีประชากรอยู่หนาแน่นเพิ่มปริมาณมากขึ้น กระทรวงมหาดไทยจึงได้เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองหาดใหญ่ จากเนื้อที่ 8 ตารางกิโลเมตร เพิ่มขึ้นอีก 13 ตารางกิโลเมตร รวมเป็นเนื้อที่ทั้งหมด 21 ตารางกิโลเมตร เมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2520 ตามราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2520 ในขณะนั้นมีประชากร 68,142 คน มีรายได้ 49,774,558.78 บาท นับได้ว่าเทศบาลเมืองหาดใหญ่เป็นเทศบาลชั้น 1 มีความเจริญก้าวหน้าทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างมาก

ยุคเทศบาลนครหาดใหญ่ แก้

หาดใหญ่ยังเป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางบก และทางอากาศ ท่าอากาศยานนานาชาติหาดใหญ่อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 8 กิโลเมตร หาดใหญ่ยังเป็นชุมทางรถไฟ และศูนย์กลางทางด้านคมนาคม และด้วยศักยภาพที่โดดเด่น และถึงพร้อมด้วยคุณลักษณะรวมไปถึงวิสัยทัศน์ที่ก้าวไกลของผู้บริหาร ทำให้เทศบาลเมืองหาดใหญ่ได้ยกฐานะเป็น เทศบาลนครหาดใหญ่ ตามประกาศราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่มที่ 112 ตอนที่ 40 ก ลงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2538 โดยมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2538 ซึ่งปัจจุบัน เทศบาลนครหาดใหญ่มีพื้นที่ทั้งหมด 21 ตารางกิโลเมตร

ภูมิศาสตร์ แก้

ทัศนียภาพเทศบาลนครหาดใหญ่และบางส่วนในเทศบาลเมืองคอหงส์ ใน พ.ศ. 2563

ภูมิอากาศ แก้

นครหาดใหญ่ตั้งอยู่ในเขตอิทธิพลของลมมรสุมเมืองร้อน มีลมมรสุมพัดผ่านประจำทุกปี คือ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม ถึงกลางเดือนมีนาคม และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ เริ่มตั้งแต่กลางเดือนมีนาคม ถึงกลางเดือนตุลาคม จากอิทธิพลของลมมรสุมดังกล่าว ส่งผลให้มีฤดูกาลเพียง 2 ฤดู คือ

  • ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึงเดือนพฤษภาคม ซึ่งจะเป็นช่วงที่ว่างของลมมรสุมจะเริ่มตั้งแต่หลังจากหมดมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือแล้ว อากาศจะเริ่มร้อนและอากาศจะมีอุณหภูมิสูงสุดในเดือนเมษายน แต่อากาศจะไม่ร้อนมากนักเนื่องจากตั้งอยู่ใกล้ทะเล
  • ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ นครหาดใหญ่จะมีฝนตกทั้งในช่วงลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ แต่ในช่วงลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจะมีฝนตกชุกมากกว่า เนื่องจากพัดผ่านอ่าวไทย ส่วนลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะถูกเทือกเขาบรรทัดปิดกั้นทำให้ฝนตกน้อยลง ใน พ.ศ. 2546 ฝนตกมากที่สุดในช่วงเดือนตุลาคม และฝนตกน้อยที่สุดในเดือนเมษายน
ข้อมูลภูมิอากาศของหาดใหญ่ (2524–2553)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 35.4
(95.7)
37.4
(99.3)
38.3
(100.9)
39.2
(102.6)
38.3
(100.9)
36.8
(98.2)
37.3
(99.1)
36.9
(98.4)
36.5
(97.7)
36.3
(97.3)
34.7
(94.5)
34.1
(93.4)
39.2
(102.6)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 31.0
(87.8)
32.7
(90.9)
34.2
(93.6)
34.6
(94.3)
33.8
(92.8)
33.5
(92.3)
33.2
(91.8)
33.1
(91.6)
32.5
(90.5)
31.8
(89.2)
30.4
(86.7)
29.7
(85.5)
32.5
(90.5)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 26.0
(78.8)
26.7
(80.1)
27.6
(81.7)
28.0
(82.4)
27.8
(82)
27.7
(81.9)
27.4
(81.3)
27.4
(81.3)
26.9
(80.4)
26.5
(79.7)
26.0
(78.8)
25.6
(78.1)
27.0
(80.6)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 22.0
(71.6)
22.1
(71.8)
22.9
(73.2)
23.7
(74.7)
24.0
(75.2)
23.8
(74.8)
23.5
(74.3)
23.5
(74.3)
23.4
(74.1)
23.3
(73.9)
23.2
(73.8)
22.6
(72.7)
23.2
(73.8)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 18.3
(64.9)
18.2
(64.8)
18.5
(65.3)
20.0
(68)
21.2
(70.2)
20.9
(69.6)
20.3
(68.5)
20.6
(69.1)
20.9
(69.6)
21.1
(70)
20.7
(69.3)
19.1
(66.4)
18.2
(64.8)
ปริมาณฝน มม (นิ้ว) 53.8
(2.118)
24.4
(0.961)
75.1
(2.957)
118.6
(4.669)
147.7
(5.815)
119.3
(4.697)
104.5
(4.114)
113.0
(4.449)
157.3
(6.193)
227.8
(8.969)
317.1
(12.484)
267.7
(10.539)
1,726.3
(67.965)
ความชื้นร้อยละ 80 77 76 78 81 80 79 79 82 85 87 85 81
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย 8.2 3.6 7.2 12.4 14.3 13.6 14.0 15.2 18.5 21.1 21.4 18.4 167.9
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 182.9 166.7 186.0 144.0 114.7 111.0 114.7 114.7 108.0 111.6 105.0 108.5 1,567.8
แหล่งที่มา 1: กรมอุตุนิยมวิทยา[3]
แหล่งที่มา 2: สำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา, กรมชลประทาน (แสงอาทิตย์และความชื้น)[4]

เขตการปกครอง แก้

ชุมชนในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ แบ่งตามเขตเลือกตั้ง

เศรษฐกิจ แก้

 
เขตเมืองชั้นในของเทศบาลนครหาดใหญ่ ในปี พ.ศ. 2562
 
สมาคมหอสมุดประชาชน หาดใหญ่
 
สำนักงานมูลนิธิมิตรภาพสามัคคี (ท่งเซียเซี่ยงตึ้ง) เป็นสมาคมจีนที่ช่วยเหลือด้านภัยพิบัติและด้านอุบัติเหตุที่ใหญ่ที่สุดในภาคใต้

หาดใหญ่เป็นศูนย์กลางทางธุรกิจการค้าและการบริการของภาคใต้ ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพพาณิชยกรรม (รองรับกิจกรรมการท่องเที่ยว) และอุตสาหกรรม ได้แก่ อาชีพค้าขาย ธุรกิจบริการ และเป็นลูกจ้างในสถานประกอบการ ลักษณะของเมืองมีขนาดกระชับตัวมาก มีศูนย์กลางเมืองกว้างประมาณ 1 กิโลเมตร ยาวประมาณ 4 กิโลเมตร ตั้งอยู่ประชิดทางรถไฟ สภาพเมืองขยายตัวออกไปทางทิศตะวันออก ลักษณะของอาคารสิ่งปลูกสร้างส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นตึกแถวพาณิชย์ชั้นล่างและอยู่อาศัยชั้นบน อาคารลักษณะเดี่ยวมีน้อยและกระจายตัวอยู่ประปราย จำนวนอาคารสถานประกอบการต่างๆ ดังนี้

  • สถานที่จำหน่ายอาหาร (ตาม พ.ร.บ.สาธารณสุข) 1,600 แห่ง
  • สถานบริการ (ตาม พ.ร.บ.สถานบริการ) 239 แห่ง
  • โรงพยาบาล และสถานีอนามัย 7 แห่ง
  • โรงแรม 96 แห่ง
  • โรงภาพยนตร์ 3 แห่ง จากเดิม 6 แห่ง (นับโรบินสัน โอเดียน และ ลีการ์เด้นส์ ซึ่งโรงหนังปัจจุบันมิได้เปิดให้บริการ)
  • มูลนิธิจีน 13 แห่ง

การท่องเที่ยว แก้

 
ศาลเจ้ามูลนิธิมิตรภาพสามัคคี (ท่งเซียเซี่ยงตึ้ง) เป็นศาลเจ้าสำคัญของประชาชนในพื้นที่และนักท่องเที่ยวในตัวเมืองชั้นในหาดใหญ่
 
วัดฉื่อฉาง เป็นวัดพุทธจีนนิกายมหายานที่สำคัญตั้งอยู่ใกล้กับตลาดกิมหยง
 
พระพุทธมงคลมหาราช ในสวนสาธารณะเทศบาลนครหาดใหญ่

สถานที่ท่องเที่ยวในหาดใหญ่ ที่เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ ได้แก่

  • ศาลเจ้ามูลนิธิมิตรภาพสามัคคี (ท่งเซียเซี่ยงตึ้ง) ตั้งอยู่บนถนนศุภสารรังสรรค์ ภายในมูลนิธิมิตรภาพสามัคคี ถือเป็นหนึ่งในสถานที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของคนไทยเชื้อสายจีนหาดใหญ่และนักท่องเที่ยวเชื้อสายจีนเข้ามากราบไหว้[5]
  • วัดหาดใหญ่ใน ตั้งอยู่บนถนนเพชรเกษม ใกล้สะพานคลองอู่ตะเภา มีพระนอนขนาดใหญ่ คือ พระพุทธหัตถมงคล ซึ่งมีผู้นิยมเดินทางมานมัสการจำนวนมาก
  • สวนสาธารณะเทศบาลนครหาดใหญ่ ตั้งอยู่ถนนกาญจนวนิช เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวหาดใหญ่และนักท่องเที่ยว ภายในเป็นที่ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ท้าวมหาพรหม พระพุทธมงคลมหาราช พระโพธิสัตว์กวนอิมหยก และจุดชมวิวอีกหลายจุดที่สามารถชมเมืองหาดใหญ่ได้ทั้งกลางวันและกลางคืน
  • ตลาดกิมหยง เป็นตลาดเก่าที่มีมาตั้งแต่สมัยเริ่มก่อตั้งเมืองหาดใหญ่ มีสินค้าราคาถูก ทั้งผลไม้และของใช้ต่างๆเพื่อเป็นของขวัญและของฝากช่วงเทศกาล
  • ตลาดสันติสุข เป็นแหล่งรวมสินค้าราคาถูกมากมายจนขึ้นชื่อว่าเป็น Shopping Paradise เปิดกิจการมาจนถึงปัจจุบัน เป็นสถานที่สะท้อนบรรยากาศการค้าขายของคนหาดใหญ่อย่างแท้จริง

ประชากร แก้

ประชากรเทศบาลนครหาดใหญ่
ปีประชากร±%
2537 152,438—    
2540 155,260+1.9%
2543 157,022+1.1%
2546 160,669+2.3%
2549 156,723−2.5%
2552 157,604+0.6%
2555 157,917+0.2%
2558 159,687+1.1%
กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

เทศบาลนครหาดใหญ่มีประชากรทั้งสิ้น 158,218 คน เป็นชาย 73,701 คน หญิง 84,517 คน จำนวนบ้าน 58,434 หลัง (ข้อมูล ณ มิถุนายน พ.ศ. 2555) แบ่งเป็น 101 ชุมชน ความหนาแน่นของประชากร 7,529 คนต่อตารางกิโลเมตร (บริเวณกลางเมืองความหนาแน่นถึง 20,000 คนต่อตารางกิโลเมตร) ประชากรส่วนใหญ่เป็นคนท้องถิ่นและอพยพมาจากจังหวัดใกล้เคียง ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ รองลงมาคือศาสนาอิสลาม (ร้อยละ 10 ของประชากร)

การคมนาคม แก้

นครหาดใหญ่มีโครงสร้างพื้นฐานค่อนข้างสมบูรณ์สามารถเชื่อมโยงกับจังหวัดต่าง ๆ เป็นเมืองหลักของภาคใต้ เป็นศูนย์กลางการพาณิชย์ อุตสาหกรรมและการคมนาคม จึงมีเส้นทางคมนาคมหลักทั้งทางรถยนต์ รถไฟ และทางอากาศ มีทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงจังหวัด และเส้นทางมาตรฐานหลายสาย ทำให้การเดินทางติดต่อภายในจังหวัด การเดินทางสู่จังหวัดใกล้เคียง และกรุงเทพมหานคร เป็นไปด้วยความสะดวกได้ทั้งภายในภูมิภาค และนานาชาติ

ทางถนน แก้

จากกรุงเทพมหานครถึงนครหาดใหญ่ ประมาณ 925 กิโลเมตร มีการคมนาคมโดยทางหลวงแผ่นดิน คือ

ทางราง แก้

 
สถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่ เป็นสถานีรถไฟที่ใหญ่ที่สุดในภาคใต้

สถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่ ยังคงมีบทบาทสำคัญในการเชื่อมโยงระหว่างอำเภอหาดใหญ่กับกรุงเทพมหานคร และจังหวัดอื่น อีกทั้งยังสามารถเชื่อมโยงไปถึงประเทศมาเลเซียได้ โดยชุมทางรถไฟหาดใหญ่เป็นชุมทางรถไฟที่ใหญ่ที่สุดของภาคใต้ เส้นทางรถไฟสายใต้เริ่มต้นจากกรุงเทพมหานครลงไปถึงชุมทางหาดใหญ่ ระยะทางยาวประมาณ 945 กิโลเมตร จากนั้นจะแยกเป็น 2 เส้นทาง คือ เส้นทางสายหาดใหญ่–ปาดังเบซาร์ ความยาว 45 กิโลเมตร เชื่อมต่อกับเส้นทางรถไฟของมาเลเซียจนถึงสถานีรถไฟบัตเตอร์เวอร์ธ ส่วนอีกเส้นทางหนึ่งคือ ทางสายหาดใหญ่–อำเภอสุไหงโก-ลก ความยาว 110 กิโลเมตร หาดใหญ่เป็นสถานีชุมทางต่างประเทศแห่งเดียวของประเทศไทยที่เชื่อมไปยังคาบสมุทรมลายูด้วย เป็นสถานีรถไฟที่มีปริมาณผู้ใช้บริการหนาแน่นมากแห่งหนึ่งของประเทศไทย

สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) มีโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (โมโนเรล) ในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ ในอนาคต

  • โมโนเรล ระยะทาง 12.54กิโลเมตร ในระยะที่1 (Phase1) จาก คลองหวะ-สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่2ตลาดเกษตร รวมทั้งสิ้น12สถานี ประกอบด้วย สถานีต้นทาง คลองหวะ-ขนส่งเเห่งที่1-คลองเรียน-มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์-คอหงส์-สามสิบเมตร-หาดใหญ่วิทยาลัย-วงเวียนน้ำพุ-ตลาดกิมหยง-สถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่-หาดใหญ่ใน-สถานีขนส่งแห่งที่2 โดยโครงการได้ผ่านการตรวจสอบรายงานสิ่งแวดล้อม (EIA)จาก สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและะสิ่งแวดล้อม (สผ.) เรียบร้อยแล้วในปี 2564 เเละกำลังอยู่ระหว่างการตรวจสอบของ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) คาดว่าจะเรียบร้อยภายในปี2567 เพื่อนำขึ้นเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป

ทางอากาศ แก้

 
ท่าอากาศยานนานาชาติหาดใหญ่ มีปริมาณการจราจรหนาแน่นอันดับ 6 ของประเทศ

ท่าอากาศยานหาดใหญ่ ตั้งอยู่ในเขตตำบลทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ และตำบลคลองหลา อำเภอคลองหอยโข่ง ห่างจากเขตเทศบาลประมาณ 12 กิโลเมตร ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ได้รับการยกฐานะเป็นท่าอากาศยานนานาชาติ เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2515 มีพื้นที่ประมาณ 4.80 ตารางกิโลเมตร หรือ 3,000 ไร่โดยให้บริการตั้งแต่เวลา 06.00–24.00 น. ท่าอากาศยานนานาชาติหาดใหญ่เป็นท่าอากาศยานที่มีปริมาณการจราจรหนาแน่นมากเป็นอันดับ 6 ของประเทศรองจากท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง ท่าอากาศยานภูเก็ต ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ท่าอากาศยานกระบี่

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2560 ท้องถิ่นเทศบาลนครหาดใหญ่ ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-22. สืบค้นเมื่อ 2010-02-18.
  3. "Climatological Data for the Period 1981–2010". กรมอุตุนิยมวิทยา. p. 25. สืบค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  4. "ปริมาณการใช้น้ำของพืชอ้างอิงโดยวิธีของ Penman Monteith (Reference Crop Evapotranspiration by Penman Monteith)" (PDF). สำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา, กรมชลประทาน. p. 124. สืบค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  5. True ID Trend. (2563). ชวนไหว้พระที่มูลนิธิท่งเซียเซียงตึ๊ง หาดใหญ่. สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2564

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้