กวนอิม
บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย
|
กวนอิม ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือ กฺวันยิน ตามภาษาจีนกลาง (จีนตัวย่อ: 观音; จีนตัวเต็ม: 觀音; พินอิน: Guān Yīn) เป็นพระโพธิสัตว์ในตามคติมหายาน เป็นองค์เดียวกันกับพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ในภาษาสันสกฤต ซึ่งมีต้นกำเนิดจากพระสูตรมหายานในประเทศอินเดีย และได้ผสมผสานกับตำนานเรื่องเจ้าหญิงเมี่ยวซ่าน ของศาสนาพื้นบ้านจีนจนก่อให้เกิดเป็นพระโพธิสัตว์กวนอิมในภาคสตรีขึ้น เพื่อแสดงออกถึงความอ่อนโยน และแสดงถึงความเมตตากรุณาให้เด่นชัดยิ่งขึ้นดังเช่นความรักของมารดาที่มีต่อบุตร ซึ่งเป็นการผสมผสานกลมกลืนทางความเชื่อที่ปราศจากข้อขัดแย้ง เนื่องจากในสัทธรรมปุณฑรีกสูตรได้อธิบายว่า พระอวโลกิเตศวรนั้นสามารถแบ่งภาคเพื่อโปรดสรรพสัตว์ได้มากมายทั้งปางบุรุษและสตรี และเป็นธรรมดาของพระโพธิสัตว์มหายานที่เมื่อเข้าไปสู่ดินแดนอื่นทั้งทิเบต จีน หรือญี่ปุ่น ย่อมผสมผสานกลมกลืนได้กับเทพท้องถิ่นนั้น ๆ อย่างในกรณีพระอวโลกิเตศวรนี้ ชาร์ล เอลเลียต (Sir Charles Elliot) ได้ตั้งข้อสังเกตว่า "คงเนื่องมาจากความสับสนทางความคิดของชาวจีนในยุคนั้น ซึ่งบูชาเทพเจ้าต่าง ๆ ของตนอยู่แล้ว และเมี่ยวซ่านก็เป็นเทพวีรชนดั้งเดิมอยู่ก่อน เมื่อคติพระโพธิสัตว์จากอินเดียแผ่เข้าไปถึง ได้เกิดการผสานทางวัฒนธรรมเปลี่ยนชื่อเสียง คงไว้เพียงแต่คุณลักษณะต่าง ๆ พอให้แยกออกว่าเป็นพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์"
กวนอิม | |
---|---|
สันสกฤต | अवलोकितेश्वर (Avalokiteśvara, อวโลกิเตศวร) |
พม่า | လောကနတ် (lɔ́ka̰ naʔ) လောကနာထ (lɔ́ka̰nətʰa̰) ကွမ်ရင် (kwàɴ jɪ̀ɴ) |
จีน | ชื่อเต็ม จีนตัวย่อ: 观世音菩萨 หรือ 观世音; จีนตัวเต็ม: 觀世音菩薩 หรือ 觀世音; พินอิน: Guānshìyīn púsà หรือ Guānshìyīn ภาษาจีนมาตรฐาน: กฺวันชื่อยินผูซ่า หรือ กฺวันชื่อยิน สำเนียงแต้จิ๋ว: กวงสี่อิมผ่อสัก[1] หรือ กวงสี่อิม[2] ชื่อย่อ จีนตัวย่อ: 观音; จีนตัวเต็ม: 觀音; พินอิน: Guānyīn ภาษาจีนมาตรฐาน: กฺวันยิน สำเนียงแต้จิ๋ว: กวงอิม ชื่ออื่น จีนตัวย่อ: 观自在; จีนตัวเต็ม: 觀自在; พินอิน: Guānzìzài ภาษาจีนมาตรฐาน: กฺวันจื้อไจ้ สำเนียงแต้จิ๋ว: กวงจือไจ้[ต้องการอ้างอิง] |
ญี่ปุ่น | 観世音菩薩 (คังเซะองโบซัตสึ) 観音菩薩 (คันนงโบซัตสึ) |
เกาหลี | 관세음보살 (gwanseeum bosal) 관세음 (Gwan-se-eum) 관음 (Gwan-eum) |
มองโกเลีย | Жанрайсиг, Нүдээр Үзэгч ᠨᠢᠳᠦ ᠪᠡᠷ ᠦᠵᠡᠭᠴᠢ |
ไทย | พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร พระแม่กวนอิม |
ทิเบต | སྤྱན་རས་གཟིགས་ spyan ras gzigs; chenrezig |
เวียดนาม | Quán Thế Âm, Quan Âm |
ข้อมูล | |
นับถือใน | มหายาน, วัชรยาน, เถรวาท (ส่วนมากพบในชาวไทย) |
พระลักษณะ | มหากรุณา |
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา |
กวนอิม | |||||||||||||||||||||||||||||||
ชื่อภาษาจีน | |||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวเต็ม | 觀音 | ||||||||||||||||||||||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 观音 | ||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||
ชื่อเต็มภาษาจีน | |||||||||||||||||||||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 觀世音 | ||||||||||||||||||||||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 观世音 | ||||||||||||||||||||||||||||||
ความหมายตามตัวอักษร | "[The One Who] Perceives the Sounds of the World" | ||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||
ชื่อภาษาจีนอื่น ๆ (2) | |||||||||||||||||||||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 觀自在 | ||||||||||||||||||||||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 观自在 | ||||||||||||||||||||||||||||||
ความหมายตามตัวอักษร | "Lord who Gazes down on the World (Avalokiteśvara)" | ||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||
ชื่อภาษาพม่า | |||||||||||||||||||||||||||||||
ภาษาพม่า | ကွမ်ယင်မယ်တော် | ||||||||||||||||||||||||||||||
IPA | [kwàɴ jɪ̀ɴ] | ||||||||||||||||||||||||||||||
ชื่อภาษาทิเบต | |||||||||||||||||||||||||||||||
อักษรทิเบต | སྤྱན་རས་གཟིགས | ||||||||||||||||||||||||||||||
ชื่อภาษาเวียดนาม | |||||||||||||||||||||||||||||||
ภาษาเวียดนาม | Quan Âm, Quán Thế Âm, Quán Tự Tại | ||||||||||||||||||||||||||||||
ฮ้าน-โนม | 觀音, 觀世音, 觀自在 | ||||||||||||||||||||||||||||||
ชื่อภาษาไทย | |||||||||||||||||||||||||||||||
อักษรไทย | กวนอิม, พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ | ||||||||||||||||||||||||||||||
อักษรโรมัน | Kuan Im, Phra Avalokitesuan Phothisat | ||||||||||||||||||||||||||||||
ชื่อภาษาเกาหลี | |||||||||||||||||||||||||||||||
ฮันกึล | 관음, 관세음, 관자재 | ||||||||||||||||||||||||||||||
ฮันจา | 觀音, 觀世音, 觀自在 | ||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||
ชื่อภาษามองโกเลีย | |||||||||||||||||||||||||||||||
อักษรมองโกเลีย | ᠨᠢᠳᠦ ᠪᠡᠷ ᠦᠵᠡᠭᠴᠢ | ||||||||||||||||||||||||||||||
ชื่อภาษาญี่ปุ่น | |||||||||||||||||||||||||||||||
คันจิ | 観音, 観世音, 観自在 | ||||||||||||||||||||||||||||||
ฮิรางานะ | かんのん, かんぜおん, かんじざい | ||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||
ชื่ออินโดนีเซีย | |||||||||||||||||||||||||||||||
อินโดนีเซีย | Kwan Im, Kwan She Im, Awalokiteswara | ||||||||||||||||||||||||||||||
ชื่อสันสกฤต | |||||||||||||||||||||||||||||||
สันสกฤต | 𑀅𑀯𑀮𑁄𑀓𑀺𑀢𑁂𑀰𑁆𑀯𑀭 अवलोकितेश्वर Avalokiteśvara | ||||||||||||||||||||||||||||||
ชื่อเขมร | |||||||||||||||||||||||||||||||
เขมร | អវលោកិតេស្វរៈ, អវលោកេស្វរៈ, លោកេស្វរៈ (Avalokitesvarak, Avalokesvarak, Lokesvarak) | ||||||||||||||||||||||||||||||
ชื่อHmong | |||||||||||||||||||||||||||||||
Hmong | Kabyeeb, Niam-Txiv Kabyeeb, Dabpog, Niam-Txiv Dabpog |
พระโพธิสัตว์กวนอิมในตำนานฝ่ายจีน
แก้พระโพธิสัตว์กวนอิม (ประสูติ 19 เดือนยี่จีน) เดิมเป็นเทพธิดาซึ่งต้องการช่วยปลดเปลื้องทุกข์ภัยแก่มวลมนุษย์ ในชาติสุดท้ายจึงจุติลงมายังโลกมนุษย์นาม เจ้าหญิงเมี่ยวซ่าน เป็นพระราชธิดาองค์เล็กของกษัตริย์แห่งอาณาจักรซิงหลิง พระนามว่า พระเจ้าเมี่ยวจวง กับพระนางเซี่ยวหลิน (พระนางเป๋าเต๋อ) มีพระพี่นาง 2 พระองค์ คือ เจ้าหญิงเมี่ยวอิม และเจ้าหญิงเมี่ยวหยวน
ในเยาว์วัย เจ้าหญิงเมี่ยวซ่าน ทรงเป็นพุทธมามกะ รู้แจ้งในหลักธรรมลึกซึ้ง ตั้งพระทัยแน่วแน่จะบำเพ็ญภาวนา เพื่อหลุดพ้นสังสารวัฏ ทรงออกบวชวันที่ 19 เดือน 9 พระเจ้าเมี่ยวจวงไม่เห็นด้วย จึงบังคับให้เลือกราชบุตรเขย เพื่อจะได้สืบทอดราชบัลลังก์ต่อไป แต่เจ้าหญิงเมี่ยวซ่านไม่สนพระทัยเรื่องลาภ ยศ สรรเสริญ อันจอมปลอม แม้จะถูกพระบิดาดุด่าอย่างไร พระองค์ก็ไม่เคยนึกโกรธเคืองแต่อย่างใด
ต่อมาเจ้าหญิงเมี่ยวซานได้ถูกขับไปทำงานหนักในสวนดอกไม้ เช่น หาบน้ำ ปลูกดอกไม้ ทั้งนี้เพื่อทรมานให้เปลี่ยนความตั้งใจ แต่ก็มีเหล่ารุกขเทวดามาช่วยทำแทนให้ทั้งหมด เมื่อพระเจ้าเมี่ยวจวงเห็นว่าไม่ได้ผล จึงรับสั่งให้หัวหน้าแม่ชี นำเจ้าหญิงเมี่ยวซาน ไปอยู่ที่วัดนกยูงขาว และให้เอางานของแม่ชีทั้งวัดมอบให้เจ้าหญิงเมี่ยวซ่านทำพระองค์เดียว แต่พระองค์มีพระทัยเด็ดเดี่ยว ไม่เกี่ยงงานการต่างๆ ก็มีเหล่าเทพารักษ์มาช่วยทำแทนให้อีก พระเจ้าเมี่ยวจวงเข้าพระทัยว่า พวกแม่ชีไม่กล้าเคี่ยวเข็ญใช้งานหนัก ก็ยิ่งทรงกริ้วหนักขึ้น สั่งให้ทหารเผาวัดนกยูงขาวจนวอดเป็นจุณไป พร้อมกับพวกแม่ชีทั้งวัด มีแต่เจ้าหญิงเมี่ยวซ่านเท่านั้นที่ปลอดภัยรอดชีวิตมาได้
พระเจ้าเมี่ยวจวงทรงทราบดังนั้น จึงรับสั่งให้นำตัวเจ้าหญิงเมี่ยวซ่านไปประหารชีวิต เทพารักษ์คอยคุ้มครองเจ้าหญิงเมี่ยวซ่านอยู่ โดยเนรมิตทองทิพย์เป็นเกราะห่อหุ้มตัว คมดาบของนายทหารจึงไม่อาจระคายพระวรกาย ดาบหักถึง 3 ครั้ง 3 ครา พระเจ้าเมี่ยวจวงทรงกริ้วยิ่งนัก โดยเข้าพระทัยว่านายทหารไม่กล้าประหารจริง จึงให้ประหารนายทหารแทน แล้วรับสั่งให้จับเจ้าหญิงเมี่ยวซ่านไปแขวนคอ ทว่าผ้าแพรที่แขวนคอก็ขาดสะบั้นลงอีก ทันใดนั้นปรากฏมีเสือเทวดาตัวหนึ่งได้นำเจ้าหญิงเมี่ยวซ่านขึ้นพาดหลังแล้วเผ่นหนีไปที่เขาเซียงซัน ต่อมา เทพไท่ไป๋ได้แปลงร่างเป็นชายชรามาโปรดเจ้าหญิงเมี่ยวซ่าน ชี้แนะเคล็ดวิธีการบำเพ็ญเพียรเครื่องดับทุกข์ จนสามารถบรรลุมรรคผลสำเร็จธรรม วันที่ 19 เดือน 6 ข้างฝ่ายพระเจ้าเมี่ยวจวงเข้าพระทัยว่า เจ้าหญิงเมี่ยวซ่านถูกเสือคาบไปกินเสียแล้ว จึงไม่ได้ติดใจตามราวีอีก
ต่อมาไม่นานบาปกรรมที่พระองค์ก่อไว้ส่งผล เกิดป่วยด้วยโรคร้ายแรง ไม่มียารักษาให้หายได้ เจ้าหญิงเมี่ยวซ่านได้ทรงทราบด้วยญาณวิถีว่า พระเจ้าเมี่ยวจวงกำลังประสบเคราะห์กรรมอย่างหนัก ด้วยความกตัญญูกตเวทีเป็นเลิศ มิได้ถือโทษโกรธการกระทำพระบิดาแม้แต่น้อย ทรงได้สละดวงตาและแขนสองข้าง เพื่อรักษาพระบิดาจนหายจากโรคร้าย ว่ากันว่า ภายหลังสำเร็จอรหันต์ ได้ดวงตาและพระกรคืน เคยแสดงปาฏิหาริย์เป็นปางกวนอิมพันมือ เจ้าหญิงเมี่ยวซ่านนั้น ตอนแรกเป็นชาวพุทธ ตอนหลังเทพไท่ไป๋ได้มาโปรด ชี้แนะหนทางดับทุกข์ เหตุนี้พระโพธิสัตว์กวนอิมจึงเป็นเทพทั้งฝ่ายพุทธและฝ่ายเต๋าในเวลาเดียวกัน
พระโพธิสัตว์กวนอิมในภาคบุรุษเพศ
แก้สำหรับรูปประติมากรรมพระแม่กวนอิมในลักษณะของเพศหญิงที่เป็นที่นับถือกันในปัจจุบันนั้น แท้จริงแล้ว เมื่อครั้งศาสนาพุทธแรกเผยแผ่จากอินเดียสู่จีนนั้น รูปลักษณ์ของพระอวโลกิเตศวร(พระโพธิสัตว์กวนอิม)ก็เป็นภาพของพระโพธิสัตว์เพศชายเช่นเดียวกับในอินเดีย สันนิษฐานว่า คติเกี่ยวกับรูปเคารพพระโพธิสัตว์กวนอิม น่าจะมีมาตั้งแต่สมัยสามก๊กและราชวงค์จิ้น จนกระทั่งถึงสมัยหนานเป่ยเฉา หลักฐานสำคัญก็คือ รูปวาดจิตรกรรมฝาผนังและรูปปฏิมากรรมแกะสลักพระโพธิสัตว์กวนอิมที่ปรากฏอยู่ในถ้ำม่อเกา (莫高; โม่เกา ตามภาษาจีนกลาง) ที่สร้างขึ้นในช่วงหนานเป่ยเฉานั้น เป็นภาพของพระอวโลกิเตศวร (พระโพธิสัตว์กวนอิม) ที่มีลักษณะแบบเพศชาย มีริมฝีปากหนาและมีหนวดเครา ส่วนเหตุผลของความเปลี่ยนแปลงจากบุคลิกลักษณะของพระอวโลกิเตศวรที่เดิมเป็นเพศชายจนแปรเปลี่ยนเป็นเพศหญิงนั้น นักประติมานวิทยา สันนิษฐานว่า น่าจะมาจากเหตุผล 2 ประการ
ประการแรก นั้นคือ พระโพธิสัตว์กวนอิมเป็นผู้ทรงโปรดสัตว์โลก ผู้ตกทุกข์ได้ยาก และในสมัยโบราณนั้น ผู้หญิงมักได้รับการกดขี่ข่มเหงและทุกข์ทรมานมากกว่าเพศชาย จึงเกิดภาพลักษณ์ในด้านที่เป็นเพศหญิง เพื่อช่วยเหลือสตรีให้หลุดพ้นจากบ่วงกรรม
ประการที่สอง นั้นคือ ผู้หญิงเป็นเพศที่มีความอ่อนโยนและมีจิตใจที่ดีงามกว่าเพศชาย โดยเฉพาะความรักของผู้เป็นมารดา อันเป็นสัญลักษณ์ของความเมตตาการุณย์ต่อบุตร
ดังนั้น จึงเชื่อกันว่า นี้คือเหตุเปลี่ยนแปลงของภาพแห่งลักษณะพระโพธิสัตว์กวนอิมที่แปรเปลี่ยนรูปลักษณ์เป็นเพศหญิงในที่สุด
ในด้านศิลปกรรมจีน ได้สะท้อนสัญลักษณ์ของพระโพธิสัตว์กวนอิมที่แสดงถึงความเมตตากรุณา อาทิ ภาพพระแม่กวนอิมยืนประทับบนหลังมังกรกลางมหาสมุทร, ภาพพระแม่กวนอิมพรมน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์จากกิ่งหลิวในแจกัน, ภาพพระแม่กวนอิมประทับนั่งกลางป่าไผ่, ภาพพระแม่กวนอิมปางประทานบุตร และภาพพระแม่กวนอิมพันมือ เป็นต้น
แต่ไม่ว่าจะแสดงภาพแห่งพระแม่กวนอิมในลักษณะใด พระองค์ก็ยังทรงเป็นสัญลักษณ์ของพระโพธิสัตว์ผู้เปี่ยมด้วยเมตตากรุณา ที่ประทับอยู่กลางใจของผู้ศรัทธาจนถึงปัจจุบัน
ความเชื่อ
แก้ความเชื่อที่มีความเกี่ยวข้องกับพระโพธิสัตว์กวนอิมมีหลากหลายความเชื่อด้วยกัน เช่น
ในไซอิ๋ว
แก้ชาวจีนเชื่อว่า พระโพธิสัตว์กวนอิมยังมีบทบาทในวรรณกรรมเรื่องไซอิ๋ว โดยเริ่มแรกทีเดียวซุนหงอคงไม่เชื่อฟังพระถังซำจั๋ง พระแม่กวนอิมจึงประทานเชือกประหลาดและมาบอกพระถังซำจั๋งว่า จงรับรัดเกล้านี้ไป ถ้าหากสวมไปแล้ว แล้วพูดว่า รัดเกล้า รอบเดียว ก็จะปวดหัวเหมือนมีสิ่งใดมัดศีรษะ
ตามคติมหายาน
แก้ส่วนอีกความเชื่อหนึ่งคือ ท่านสถิตย์ ณ เกาะผู่ถัวชาน (普陀山) และปฏิบัติธรรม ณ ที่นั่น (ปัจจุบันมีเทวรูปองค์ใหญ่เป็นพระแม่กวนอิมปางทรงธรรมจักรในพระหัตถ์ซ้าย ส่วนพระหัตถ์ขวาทำพระกิริยาห้าม มองไปที่ทะเลใต้ เรียกว่า หนานไห่กฺวันยิน (南海觀音; หล่ำไฮ้กวงอิม ตามสำเนียงแต้จิ๋ว))
นอกจากนี้ ผู้ที่นับถือ(โดยเฉพาะในไทย)มีเคล็ดลับบอกว่า ผู้ใดนับถือพระแม่กวนอิม ก็จะไม่สามารถรับประทานเนื้อสัตว์ประเภทเนื้อวัวและเนื้อควาย และเชื่อกันว่า ถ้าผู้ใดกัดกินเนื้อว้วควายเข้าไปแม้แต่คำเดียว อาจหมายถึงกินพระเจ้าเมี่ยวจวง[ต้องการอ้างอิง]
พระอัครสาวก
แก้รูปเคารพพระโพธิสัตว์กวนอิมมักมีเด็กชายและ เด็กหญิงหรือสาวกเบื้องซ้ายเบื้องขวาอยู่เคียงข้างเสมอ โดยถูกเรียกทับศัทพ์เป็นคำจีนว่า กิมท้ง คือเด็กชายผู้ที่ทุบศีรษะเจ้าหญิงเมี่ยวซ่านจนดวงปราณละสังหารได้นั้นเอง และ เง็กนึ้งคือสาวใช้ผู้ปวารณาเป็นข้ารับใช้พระองค์ขณะเป็นภิกษุณี บางตำนานว่ากิมท้ง คือ บุตรชายคนรองแห่งเทพถือเจดีย์ (บิดาแห่งนาจา) นามว่า "ซ่านไฉ่"ซึ่งถวายตัวเป็นพุทธสาวกแห่งพระโพธิสัตว์กวนอิม และส่วนเง้กนึ้งบางตำนานกล่าวว่าคือ ธิดาพญามังกร นามว่าหลงหนี่ซึ่งเป็นพระธิดาแห่งเจ้าสมุทรผัวเจี๋ยหลัวปวารณาตนเป็นสาวกของพระโพธิสัตว์กวนอิม แต่บางตำนานว่า ซ่านไฉ่ กับ หลงหนี่เป็นพระโพธิสัตว์โดยมีเทวตำนานดังนี้ ตอนที่เจ้าหญิงหลงหนี่อายุได้ 8 พรรษาได้มีโอกาสฟังพระธรรมเทศนาจากพระมัญชุศรีโพธิสัตว์ บังเกิดเห็นดวงตาเห็นธรรมจึงเสด็จขึ้นจากวังบาดาล ยังชมพูทวีปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า และถวายตัวเป็นสาวก และต่อมาไม่นานสำเร็จมรรคผลเป็นพระโพธิสัตว์ ส่วนซ่านไฉ่นั้นเป็นบุตร 1 ใน 500 คนแห่งผู้เฒ่าฝูเฉิง เกิดเห็นว่าทุกสรรพสิ่งเป็นสิ่งไม่เที่ยงมาแต่ไหนแต่ไร ด้วยเหตุนี้จึงสนใจศึกษาพระธรรมโดยได้รับคำชี้แนะจากพระมัญชุศรีโพธิสัตว์ และได้รับการสั่งสอนจากภิกษุ ถึง 53 รูป ผ่านอุปสรรคต่างๆจนบรรลุสู่การเป็นพระโพธิสัตว์.
อ้างอิง
แก้- ↑ "คาถาสวดบูชาเจ้าแม่กวนอิม : บทสวดมนต์ บทสวดคาถา ต่างๆ". www.baanjomyut.com.
- ↑ "นะโม กวงซิอิม ผ่อสัก - มนต์คาถา แห่งดินแดนสุวรรณภูมิ - Baan Jompra - Powered by Discuz!". www.baanjompra.com.
- Suzanne E Cahill: Transcendence & Divine Passion. The Queen Mother of the West in Medieval China, Stanford University Press, Stanford, 1993, ISBN 0-8047-2584-5
- Martin Palmer, Jay Ramsay, Man-Ho Kwok: Kuan Yin. Myths and Prophecies of the Chinese Goddess of Compassion, Thorsons, San Francisco 1995, ISBN 1-85538-417-5
- William Stoddart: Outline of Buddhism, The Foundation for Traditional Studies, Oakton, Virginia, 1996.
- Kuan Ming: Popular Deities of Chinese Buddhism, Buddha Dharma Education Association Inc, 1985
- Chun-fang Yu, Kuan-yin, The Chinese Transformation of Avalokitesvara, Columbia University Press, New York, 2001, ISBN 0-231-12029-X
- John Blofeld: Bodhisattva of Compassion. The Mystical Tradition of Kuan Yin, Shambhala, Boston 1988, ISBN 0-87773-126-8
- Miao Yun: Teachings in Chinese Buddhism: Selected Translation of Miao Yun, Buddha Dharma Education Association Inc, 1995
- Evolution of Avalokitesvara เก็บถาวร 2006-07-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Lotus Sutra: CHAPTER TWENTY-FIVE THE UNIVERSAL DOOR OF GUANSHI YIN BODHISATTVA (THE BODHISATTVA WHO CONTEMPLATES THE SOUNDS OF THE WORLD) (Translated by The Buddhist Text Translation Society in USA)
- http://writer.dek-d.com/chanin34/story/viewlongc.php?id=516479&chapter=13
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- [1] - เจ้าแม่กวนอิม 观世音
- Sinicization of Buddhism - White Robe Guan Yin - explanation of how Avalokiteshvara transformed into Guan Yin in Chinese Buddhism
- Buddhanet: Kuan Yin Description on Kuan Yin
- Heart Sutra เก็บถาวร 2012-11-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Explanation on Kuan Yin and the Heart Sutra
- Detailed history of Miao Shan เก็บถาวร 2014-11-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Legend of Miao Shan
- Tzu-Chi organisation: Kuan Yin, Buddhist perspective เก็บถาวร 2006-06-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Kuan-yin Devotion in China เก็บถาวร 2010-02-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน by Chün-fang Yü
- Surangama Sutra เก็บถาวร 2009-08-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน by Buddhist Text Translation Society. Chapter 6 details Kuan Yin's powers.
- Kwan Yin and the Swallows
- Images and travelling impressions - in Spanish