พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์
พระอวโลกิเตศวร (สันสกฤต: अवलोकितेश्वर, ไอพีเอ: Avalokiteśvara /ˌʌvəloʊkɪˈteɪʃvərə/[1]) หรือ พระปัทมปาณี (Padmapani) เป็นพระโพธิสัตว์ในรูปความกรุณาของบรรดาพระพุทธเจ้าทั้งปวง ปรากฏการสร้างรูปเคารพของพระองค์แตกต่างหลากหลายไปตามความเชื่อ ปรากฏทั้งในรูปสตรีเพศและบุรุษเพศ[2] ในทิเบต นับถือในพระนามเจนเรอซิก (Chenrezig) ในศาสนาพุทธแบบจีน แนวคิดของพระอวโลกิเตศวรได้พัฒนาเป็นเทวี กวนอิม
พระอวโลกิเตศวร | |
---|---|
พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ไชยา พบที่อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี, ศิลปะศรีวิชัย คริสต์ศตวรรษที่ 9 ปัจจุบันจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร | |
สันสกฤต |
|
พม่า | ကွမ်ယင် ไอพีเอ: [kwàɴ jɪ̀ɴ] |
จีน |
|
ญี่ปุ่น |
|
เขมร |
|
เกาหลี |
|
ทิเบต | སྤྱན་རས་གཟིགས ทีเอชแอล: Chenrézik |
เวียดนาม |
|
ข้อมูล | |
นับถือใน | มหายาน, วัชรยาน, เถรวาท, ลัทธิขงจื๊อ ลัทธิเต๋า, ศาสนาพื้นบ้านจีน |
พระลักษณะ | กรุณา |
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา |
ศัพทมูล
แก้คำว่า อวโลกิเตศวร เป็นการรวมคำว่า อว- แปลว่า "ล่าง", โลกิต- รูปอดีตของคำกิริยา โลก ซึ่งแปลว่า "ดู" และ อีศวร แปลว่า "เจ้า" "ผู้ยิ่งใหญ่" เมื่อนำมาสมาสกัน เสียง อะ+อีศวร กลายเป็น เอศวร เมื่อรวมกันจึงมีความหมายว่า "พระเจ้าผู้มองลงมา (ยังโลก)" คำว่า โลก ("โลก") อาจไม่ปรากฏในชื่อ แต่สามารถรับรู้ได้อย่างชัดเจน[3] เช่นในพระนามในภาษาเขมรว่า โลเกสวรัก (Lokesvarak)
นอกจากนี้ในภาษาสันสกฤตยังปรากฏพระนาม ปัทมปาณี (Padmapāṇi; "ผู้ซึ่งถือดอกบัว") หรือ โลเกศวร (Lokeśvara; "เจ้าโลก") ในทิเบตใช้คำว่า เจเร่ซิก (ทิเบต: སྤྱན་རས་གཟིགས་; Chenrézig) และเชื่อว่าอวตารมาเกิดเป็นทะไลลามะ[4] การ์มาปา[5][6]
อ้างอิง
แก้- ↑ "Avalokitesvara". Random House Webster's Unabridged Dictionary.
- ↑ Leighton, Taigen Dan (1998). Bodhisattva Archetypes: Classic Buddhist Guides to Awakening and Their Modern Expression. New York: Penguin Arkana. pp. 158–205. ISBN 0140195564. OCLC 37211178.
- ↑ Studholme p. 52-54, 57.
- ↑ "From Birth to Exile". The Office of His Holiness the Dalai Lama. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 October 2007. สืบค้นเมื่อ 2007-10-17.
- ↑ Martin, Michele (2003). "His Holiness the 17th Gyalwa Karmapa". Music in the Sky: The Life, Art, and Teachings of the 17th Karmapa. Karma Triyana Dharmachakra. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 October 2007. สืบค้นเมื่อ 2007-10-17.
- ↑ "Glossary". Dhagpo Kundreul Ling. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-08. สืบค้นเมื่อ 2007-10-17.