ธิดาพญามังกร หรือที่ชาวไทยนิยมเรียกทับศัทพ์ภาษาจีนว่า เง็กนึ้ง เป็นอัครสาวกเบื้องขวาของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์โดยนิยมประดิษฐานนับถือคู่กันกับสุธนกุมาร

"เง็กนึ้ง" (อัครสาวกเบื้องขวา; ซ้ายมือในภาพ) และ "Sudhana" (อัครสาวกเบื้องซ้าย; ขวามือในภาพ)
เทวรูปของธิดาพญามังกร

เทวประวัติ แก้

เสี่ยวหลงนฺหวี่ (จีนตัวย่อ: 小龙女; จีนตัวเต็ม: 小龍女; พินอิน: Xiǎolóng nǚ) บางก็เรียก เง็กนึ่ง หรือ หยกหลู หรือ ลุ่งหนู ตามแต่ภูมิภาคจะเรียกแตกต่างกันไป (สันสกฤต: นาคกัญญา; nāga-kanya) เป็นเด็กผู้หญิงที่อยู่ทางเบื้องขวาของพระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์ แต่เดิมเคยเป็นเด็กหญิงกำพร้าที่องค์หญิงเหมี้ยวซ่าน (ปัจจุบันได้รับพระนามว่า พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ หรือ กฺวันชื่อยินผูซ่า (จีน: 观世音菩萨; พินอิน: Guānshìyīn púsà ตามภาษาจีนกลาง)) (หรือ กวนซีอิมผู่ซ่า[ต้องการตรวจสอบความถูกต้อง]) ได้อุปการะเลี้ยงดูให้พากเพียรความรู้และสามารถเข้าถึงพระธรรมอันมีผู้ใดจะหยั่งได้ถึง ที่เกิดจากพระโอษฐ์ที่ได้กล่าวถึงพระสูตร สัทธรรมปุณฑรีกสูตร ฉบับที่พระอมิตาภพุทธเจ้าได้สดับตรัสไว้ (อมิตสารัตถสูตร (ในหมวดสัทธรรมปุณฑรีกสูตร)[ลิงก์เสีย]) จนถึงแจ้งบรรลุโสดาบันในอเนกอนันต์เพียงแว่วยินเสียงอ่านพระคัมภีร์พระสูตรบทนี้ ทั้งยังทรงอุปการะอุดหนุนช่วยเหลือ องค์หญิงเหมี้ยวซ่านขณะที่ทนทุกขเวนา วิบากต่างๆ ที่ต้องพากเพียรให้ผ่านเพื่อบรรลุอนุตรสัมมาสัมโพธิให้เป็นแบบอย่างให้สรรพสัตว์ให้หลุดพ้นจากอบายภูมิ จากความร้ายป้ายสี ก็พลิกแพลงภาพลักษณ์ที่ชอบด้วยธรรมแล้วประจักษ์แก่บุคคลทั้งหลาย และเป็นที่ยอมรับในเหล่าบรรดาสาวกแห่งพระอมิตาภพุทธเจ้าให้ได้รู้แจ้งแทงตลอดในธรรมอย่างมากล้น

จนถึงสมัยพุทธกาลครั้นที่เกิดในท้องทะเล เป็นราชธิดาองค์ที่สามของเหล่งอ๊วงไต้อ๋อง[ต้องการตรวจสอบความถูกต้อง] (ซัวเจี๋ยหลัวหลงหวัง; 娑竭羅龍王) แห่งท้องทะเลจีนตะวันออก (ตงไห่) มีสติปัญญาเฉลียวฉลาดยิ่งนัก เมื่อพระชนม์ได้ 8 ชันษา ได้สดับธรรมจากพระมัญชุศรีโพธิสัตว์ ก็ได้บรรลุในธรรม

ได้รับพระบัญชาการจากเหล่งอ๊วงไต้อ๋องให้รับภารกิจเดินทางแหวกว่ายไปยังชั้นผิวน้ำเพื่อสอดส่องดูประชาราชแห่งท้องทะเลว่าอยู่ดีมีสุขเพียงใด จากนั้นพระอวโลกิเตศวร ที่บำเพ็ญเพียรบารมีจนถึงขั้นในครั้นที่ประสูติเป็นองค์หญิงเหมี้ยวซ่าน และรอเวลามาถึงกาลที่กำหนด พระองค์ทรงมารับไปเพื่อบำเพ็ญเพียรภาวนาในอีกภาคหนึ่งในภาคสาวกที่อยู่ทางเบื้องขวาแห่งพระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์ เพื่อช่วยเหลือบรรดาสรรพสัตว์ให้รอดพ้นจากอบายภูมิ ตามพระราชประสงค์ต่อไป เพื่อพัฒนาให้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิประกอบด้วยญาณอันสูงสุดที่หาสิ่งใดเปรียบมิได้ เมื่อเหล่งอ้วงไต้อ๋อง ทราบเรื่องต่างก็ประกาศิษย์เป็นพระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์ พร้อมประกาศให้พวกพ้องลูกหลานแห่งท้องทะเลได้รับรู้ ต่างก็พากันชื่นชมพระราชธิดาอย่างหาไม่สามารถหาผู้ใดเปรียบได้

อ้างอิง แก้