อำเภอคลองหอยโข่ง
คลองหอยโข่ง เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสงขลา เป็นที่ตั้งของท่าอากาศยานนานาชาติหาดใหญ่ ปัจจุบันเป็นพื้นที่ที่มีการเพิ่มของประชากรสูงอันดับต้นๆ ของจังหวัด เนื่องจากรองรับประชากรและมีการขยายตัวของชุมชนเมืองที่รองรับความเจริญเติบโตของนครหาดใหญ่
อำเภอคลองหอยโข่ง | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Khlong Hoi Khong |
คำขวัญ: พระพุทธลาภดำรงค์ เรือนที่ประทับทรงงาน ตำนานเมืองศิลปิน สนามบินนานาชาติ สวยสะอาดอ่างเก็บน้ำ เลื่องลือนามถิ่นขุนคล่อง | |
แผนที่จังหวัดสงขลา เน้นอำเภอคลองหอยโข่ง | |
พิกัด: 6°53′57″N 100°23′19″E / 6.89917°N 100.38861°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | สงขลา |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 274.00 ตร.กม. (105.79 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 27,073 คน |
• ความหนาแน่น | 98.81 คน/ตร.กม. (255.9 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 90110 (ไปรษณีย์หาดใหญ่ - เฉพาะตำบลคลองหลา), 90115 (ไปรษณีย์ท่าอากาศยานหาดใหญ่ - ตำบลโคกม่วง เฉพาะหมู่ 8 บ้านพักกองบิน 56), 90230 (ไปรษณีย์ทุ่งลุง - เฉพาะตำบลคลองหอยโข่ง ตำบลทุ่งลาน และตำบลโคกม่วงทั้งตำบล ยกเว้นหมู่ 8 บ้านพักกองบิน 56) |
รหัสภูมิศาสตร์ | 9016 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอคลองหอยโข่ง ถนนโคกม่วง-บ้านเหนือ ตำบลคลองหอยโข่ง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา 90230 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ประวัติ
แก้พื้นที่ของอำเภอคลองหอยโข่งเดิมเป็นที่รู้จักในชื่อ ตำบลคลองหอยโข่ง อยู่ในเขตการปกครองของอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ขณะนั้น จากคำบอกเล่าที่สืบทอดกันมาว่า ในอดีตประมาณ 500 กว่าปี คลองหอยโข่งเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ แห่งหนึ่งที่ห้อมล้อมไปด้วยป่าดงดิบ ชาวบ้านดำรงชีพอยู่ด้วยความยากลำบาก ประชากรดั้งเดิมอาศัยสืบทอดกันมาแต่สมัยโบราณ ซึ่งสันนิษฐานได้จากสถานที่สำคัญหลายแห่ง โดยเฉพาะศาสนสถานบ่งบอกถึงประวัติศาสตร์อันยาวนานตั้งแต่ก่อนสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ คลองหอยโข่งเคยเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เป็นตำบลเก่าแก่ในจังหวัดสงขลา และปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับการให้ใช้ชื่อ "ตำบลคลองหอยโข่ง" ในหนังสือราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. 2464[1] เป็นรายชื่อตำบลหนึ่งในอำเภอหาดใหญ่
เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2535 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยให้แยกตำบลคลองหอยโข่ง ตำบลโคกม่วง และตำบลทุ่งลาน ออกจากการปกครองของอำเภอหาดใหญ่ รวมตั้งเป็น กิ่งอำเภอคลองหอยโข่ง[2] และในวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535 มีประกาศกระทรวงมหาดไทยให้แยกบางหมู่บ้านออกมาจากการปกครองของตำบลคลองหอยโข่ง รวมตั้งเป็นตำบลคลองหลา[3] จนกระทั่งเมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2540 จึงมีพระราชกฤษฎีกาฯ ยกฐานะขึ้นเป็น อำเภอคลองหอยโข่ง[4] จนถึงปัจจุบัน
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้อำเภอคลองหอยโข่งมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือและทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอหาดใหญ่
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอสะเดา
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอควนกาหลง (จังหวัดสตูล)
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้อำเภอคลองหอยโข่งแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 4 ตำบล 32 หมู่บ้าน
1. | คลองหอยโข่ง | (Khlong Hoi Khong) | 7 หมู่บ้าน | ||||||
2. | ทุ่งลาน | (Thung Lan) | 9 หมู่บ้าน | ||||||
3. | โคกม่วง | (Khok Muang) | 9 หมู่บ้าน | ||||||
4. | คลองหลา | (Khlong La) | 7 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่อำเภอคลองหอยโข่งประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลทุ่งลาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งลานทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลโคกม่วง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกม่วงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลคลองหอยโข่ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองหอยโข่งทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลคลองหลา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองหลาทั้งตำบล
อ้างอิง
แก้- ↑ "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ [ในท้องที่มณฑลนครศรีธรรมราช]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 38 (0 ก): 464–480. November 27, 1921.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ตั้งเป็นกิ่งอำเภอคลองหอยโข่ง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (53 ง): (ฉบับพิเศษ) 10. April 22, 1992. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-09. สืบค้นเมื่อ 2021-01-23.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอคลองหอยโข่ง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (151 ง): (ฉบับพิเศษ) 42-47. November 27, 1992.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอหนองปรือ อำเภอห้วยกระเจา อำเภอทรายทองวัฒนา อำเภอปางศิลาทอง อำเภอเนินสง่า อำเภอนาทม อำเภอพระพรหม อำเภอแม่วงก์ อำเภอสองแคว อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ อำเภอไทยเจริญ อำเภอกาบัง อำเภอพยุห์ อำเภอเมืองจันทร์ อำเภอภูพาน อำเภอคลองหอยโข่ง อำเภอเขาฉกรรจ์ อำเภอนาวัง อำเภอพิบูลย์รักษ์ และอำเภอทุ่งศรีอุดม พ.ศ. ๒๕๔๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (50 ก): 24–27. September 26, 1997. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-27. สืบค้นเมื่อ 2021-01-23.