อำเภอสะเดา

อำเภอในจังหวัดสงขลา ประเทศไทย

สะเดา เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสงขลา เป็นอำเภอหนึ่งที่มีพื้นที่ติดต่อกับประเทศมาเลเซีย และเป็นเมืองเศรษฐกิจสำคัญมากที่สุดแห่งหนึ่งของชายแดนไทย-มาเลเซีย โดยมีด่านพรมแดนที่สำคัญถึง 2 ด่าน คือ พรมแดนไทย-มาเลเซีย (รัฐเกอดะฮ์) (ด่านสะเดา) และพรมแดนไทย-มาเลเซีย (รัฐปะลิส) (ด่านปาดังเบซาร์) นอกจากนี้สะเดายังเปรียบเสมือนประตูสู่ประเทศไทยของชาวมาเลเซียและสิงคโปร์

อำเภอสะเดา
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Sadao
วัดเขารูปช้าง
คำขวัญ: 
เขาเลสะดุดตา บ้านไทย
จังโหลน-ปาดังเบซาร์เลื่องลือนาม
งามถ้ำเขารูปช้าง สวยสล้าง
เขื่อนห้วยคู ประตูสู่มาเลเซีย
แผนที่จังหวัดสงขลา เน้นอำเภอสะเดา
แผนที่จังหวัดสงขลา เน้นอำเภอสะเดา
พิกัด: 6°38′19″N 100°25′26″E / 6.63861°N 100.42389°E / 6.63861; 100.42389
ประเทศ ไทย
จังหวัดสงขลา
พื้นที่
 • ทั้งหมด1,029.273 ตร.กม. (397.405 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด124,115 คน
 • ความหนาแน่น120.59 คน/ตร.กม. (312.3 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 90120,
90170 (ตำบลพังลา ท่าโพธิ์ และเขามีเกียรติ) ,
90240 (เฉพาะตำบลทุ่งหมอและปาดังเบซาร์) ,
90320 (เฉพาะหมู่ที่ 1-2, 5-7 ตำบลสำนักขาม)
รหัสภูมิศาสตร์9010
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอสะเดา ถนนกาญจนวนิช ตำบลสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา 90120
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ประวัติ

แก้

อำเภอสะเดา ก่อตั้งเมื่อ วันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2452 เดิมเป็นตำบล ชื่อตำบลสะเดา ขึ้นอยู่กับจังหวัดไทรบุรี ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2452 รัฐบาลไทยได้ยกเมืองกลันตัน ตรังกานู ปะลิสและ ไทรบุรี ตลอดจนเกาะใกล้เคียง ให้กับรัฐบาลอังกฤษ ตามสัญญาลงวันที่ 10 มีนาคม ร.ศ.128 (พ.ศ. 2452) ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แต่ไม่ได้ยกตำบลสะเดาให้ไปด้วย จึงได้รวมกับกิ่งอำเภอปริก อำเภอเหนือเมืองสงขลา แขวงเมืองสงขลา และตั้งเป็นอำเภอขึ้นเรียกว่า "อำเภอสะเดา"[1]

และปัจจุบันอำเภอสะเดาเป็นอำเภอชั้น 1 โดยมีขุนสารคามพิทักษ์ ซึ่งเป็นปลัดอำเภอประจำกิ่งอำเภอปริก อำเภอเหนือเมืองสงขลา เป็นนายอำเภอคนแรกของอำเภอสะเดา

  • วันที่ 22 สิงหาคม 2452 นำตำบลสะเดา ท้องที่แขวงเมืองไทรบุรี กับกิ่งอำเภอปริก อำเภอเหนือเมืองสงขลา แขวงเมืองสงขลา มารวมและจัดตั้งขึ้นเป็น อำเภอสะเดา[1]
  • วันที่ 30 กันยายน 2482 จัดตั้งเทศบาลตำบลสะเดา ในท้องที่ตำบลสะเดา[2]
  • วันที่ 29 ธันวาคม 2495 เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลตำบลสะเดา[3] โดยกำหนดให้เขตเทศบาลมีขนาดเล็กลง
  • วันที่ 10 พฤศจิกายน 2496 ตั้งตำบลสำนักแต้ว แยกออกจากตำบลสะเดา[4] (เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลตำบลสะเดา ทำให้ส่วนที่อยู่นอกเขตเทศบาลตำบล ต้องจัดตั้งเป็นตำบลใหม่)
  • วันที่ 30 พฤษภาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลพังลา ในท้องที่บางส่วนของตำบลพังลา[5]
  • วันที่ 30 พฤศจิกายน 2508 จัดตั้งสุขาภิบาลปริก ในท้องที่บางส่วนของตำบลปริก[6]
  • วันที่ 8 สิงหาคม 2510 จัดตั้งสุขาภิบาลปาดังเบซาร์ ในท้องที่บางส่วนของตำบลทุ่งหมอ[7]
  • วันที่ 26 กรกฎาคม 2526 ตั้งตำบลท่าโพธิ์ แยกออกจากตำบลพังลา[8]
  • วันที่ 16 ตุลาคม 2527 ตั้งตำบลปาดังเบซาร์ แยกออกจากตำบลทุ่งหมอ[9]
  • วันที่ 21 ตุลาคม 2531 ตั้งตำบลสำนักขาม แยกออกจากตำบลสำนักแต้ว[10]
  • วันที่ 15 กันยายน 2532 ตั้งตำบลเขามีเกียรติ แยกออกจากตำบลพังลา[11]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะสุขาภิบาลพังลา สุขาภิบาลปริก และสุขาภิบาลปาดังเบซาร์ เป็นเทศบาลตำบลพังลา เทศบาลตำบลปริก และเทศบาลตำบลปาดังเบซาร์ ตามลำดับ[12] ด้วยผลของกฎหมาย
  • วันที่ 28 สิงหาคม 2544 กำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอสะเดา[13] ให้มีความถูกต้องแม่นยำ โดยตำบลสะเดา ให้มีเขตการปกครองตามเขตเทศบาล ตำบลสำนักแต้ว ให้มีเขตการปกครองรวม 10 หมู่บ้าน ตำบลปาดังเบซาร์ ให้มีเขตการปกครองรวม 11 หมู่บ้าน ตำบลปริก ให้มีเขตการปกครองรวม 11 หมู่บ้าน ตำบลพังลา ให้มีเขตการปกครองรวม 7 หมู่บ้าน ตำบลสำนักขาม ให้มีเขตการปกครองรวม 7 หมู่บ้าน ตำบลเขามีเกียรติ ให้มีเขตการปกครองรวม 5 หมู่บ้าน ตำบลทุ่งหมอ ให้มีเขตการปกครองรวม 7 หมู่บ้าน ตำบลท่าโพธิ์ ให้มีเขตการปกครองรวม 8 หมู่บ้าน
  • วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2547 ยกฐานะเทศบาลตำบลสะเดา ขึ้นเป็น เทศบาลเมืองสะเดา[14]
  • วันที่ 14 กันยายน 2548 ยกฐานะเทศบาลตำบลปาดังเบซาร์ ขึ้นเป็น เทศบาลเมืองปาดังเบซาร์[15]
  • วันที่ 19 กรกฎาคม 2550 เปลี่ยนแปลงชื่อเทศบาลตำบลพังลา เป็น เทศบาลตำบลคลองแงะ[16]
  • วันที่ 30 สิงหาคม 2555 เปลี่ยนแปลงชื่อองค์การบริหารส่วนตำบลปาดังเบซาร์ อำเภอสะเดา เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลปาดัง และยกฐานะขึ้นเป็น เทศบาลตำบลปาดัง[17]

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

อำเภอสะเดาตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงต่อไปนี้

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค

แก้

อำเภอสะเดาแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 9 ตำบล 67 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

แก้

ท้องที่อำเภอสะเดาประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 12 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลเมืองสะเดา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสะเดาทั้งตำบล
  • เทศบาลเมืองปาดังเบซาร์ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลปาดังเบซาร์
  • เทศบาลตำบลปริก ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลปริก
  • เทศบาลตำบลคลองแงะ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลพังลา
  • เทศบาลตำบลสำนักขาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสำนักขามทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลปาดัง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปาดังเบซาร์ (นอกเขตเทศบาลเมืองปาดังเบซาร์)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลปริก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปริก (นอกเขตเทศบาลตำบลปริก)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลพังลา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพังลา (นอกเขตเทศบาลตำบลคลองแงะ)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสำนักแต้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสำนักแต้วทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหมอ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งหมอทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าโพธิ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าโพธิ์ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเขามีเกียรติ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขามีเกียรติทั้งตำบล

สถาบันอุดมศึกษา

แก้

อำเภอสะเดา มีสถาบันอุดมศึกษาตั้งอยู่ 1 แห่ง คือ วิทยาลัยพุทธศาสนานานาชาติ[18]

พื้นที่กฎอัยการศึก

แก้

อำเภอสะเดาเป็นพื้นที่ตามกฎอัยการศึก ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 เวลา 11.30 น. ถึงวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558 รวมเป็นเวลา 24 ปี 1 เดือน 8 วัน

การคมนาคม

แก้

รถไฟความเร็วสูง (โครงการ) ยังไม่กำหนดสร้าง

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย ประกาศตั้งอำเภอสะเดา และอำเภอตากใบ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 26 (0 ง): 1107–1108. 22 สิงหาคม 2452. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2020-07-23.
  2. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลตำบลสะเดา จังหวัดสงขลา พุทธศักราช ๒๔๘๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 56 (0 ก): 963–966. 30 กันยายน 2482.
  3. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลตำบลสะเดา จังหวัดสงขลา พ.ศ. ๒๔๙๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 76 (69 ง): (ฉบับพิเศษ) 41-44. 29 ธันวาคม 2495.
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลสำนักแต้วในท้องที่อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 70 (71 ง): 4558–4560. 10 พฤศจิกายน 2496.
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลพังลา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (45 ง): (ฉบับพิเศษ) 91-92. 30 พฤษภาคม 2499.
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 82 (103 ง): 2956–2957. 30 พฤศจิกายน 2508.
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลปาดังเบซาร์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 84 (73 ง): 2134–2135. 8 สิงหาคม 2510. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-07-30. สืบค้นเมื่อ 2020-07-23.
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 100 (124 ง): 2458–2460. 26 กรกฎาคม 2526.
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 101 (146 ง): 3834–3836. 16 ตุลาคม 2527.
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอสะเดา และอำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 105 (171 ง): (ฉบับพิเศษ) 36-45. 21 ตุลาคม 2531.
  11. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบล ในท้องที่อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 106 (154 ง): (ฉบับพิเศษ) 1-6. 15 กันยายน 2532.
  12. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. 24 กุมภาพันธ์ 2542. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2020-07-23.
  13. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 118 (69 ง): 14–41. 28 สิงหาคม 2544.
  14. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลเป็นเทศบาลเมือง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 121 (ตอนพิเศษ 20 ง): 7–8. 20 กุมภาพันธ์ 2547. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-02-28. สืบค้นเมื่อ 2020-07-23.
  15. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลเป็นเทศบาลเมือง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 122 (พิเศษ 84 ง): 6. 14 กันยายน 2548. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-07-30. สืบค้นเมื่อ 2020-07-23.
  16. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่อเทศบาลตำบลพังลา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา เป็นเทศบาลตำบลคลองแงะ" (PDF). 19 กรกฎาคม 2550. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  17. เปลี่ยนแปลงชื่อองค์การบริหารส่วนตำบลปาดังเบซาร์ อำเภอสะเดา เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลปาดัง และยกฐานะขึ้นเป็น เทศบาลตำบลปาดัง
  18. วิทยาลัยพุทธศาสนานานาชาติ