เอนก ทับสุวรรณ
นายเอนก ทับสุวรรณ กรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์[1] เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรสาคร
เอนก ทับสุวรรณ | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม | |
ดำรงตำแหน่ง 23 กันยายน พ.ศ. 2536 – 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 1 มกราคม พ.ศ. 2480 |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2501–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | ทัศนีย์ ทับสุวรรณ |
ประวัติ
แก้เอนก ทับสุวรรณ เกิดเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2480 จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสมุทรสาครวิทยาลัย [2]สมรสกับนางทัศนีย์ ทับสุวรรณ มีบุตร 3 คน[3] คนหนึ่งเป็นนักการเมือง คือ นายครรชิต ทับสุวรรณ
การทำงาน
แก้เอนก ทับสุวรรณ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรสาคร 7 สมัย ได้รับเลือกตั้งครั้งแรกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกตั้งต่อเนื่องอีกหลายสมัยโดยไม่เคยย้ายสังกัดพรรคการเมือง เคยได้รับแต่งตั้งเป็นรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในระหว่างปี พ.ศ. 2530 ถึงปี พ.ศ. 2540 และเป็นที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา
เอนก ทับสุวรรณ เคยเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ในปี พ.ศ. 2520 เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในปี พ.ศ. 2526 เป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2529 และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในปี พ.ศ. 2531[4] ต่อมาในปี พ.ศ. 2533 ถูกปรับไปเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลของพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ
ต่อจากนั้นในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข[5]เป็นสมัยที่ 2 และต่อมาจึงปรับไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม[6]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2532 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2531 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
- พ.ศ. 2515 – เหรียญสนองเสรีชน (ส.ส.ช.)
อ้างอิง
แก้- ↑ ประชาธิปัตย์ ตั้งสภาที่ปรึกษาพรรคบัญญัติ-อภิสิทธิ์-ชายหมู มาครบทีม
- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]
- ↑ บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนายครรชิต ทับสุวรรณ[ลิงก์เสีย], สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๘ ราย)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี และแต่งตั้งรัฐมนตรีเล่ม 110 ตอนที่ 146 วันที่ 24 กันยายน 2536
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๐๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๑