1 มกราคม
วันที่สร้างสรรค์
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
วันที่ 1 มกราคม เป็นวันแรกของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 364 วันในปีนั้น (365 วันในปีอธิกสุรทิน)
เหตุการณ์
แก้- พ.ศ. 391 (153 ปีก่อนคริสตกาล) - เป็นครั้งแรกที่กงสุลโรมันเริ่มเข้ารับตำแหน่งในวันที่ 1 มกราคม[1]
- พ.ศ. 499 (45 ปีก่อนคริสตกาล) - ปฏิทินจูเลียนมีผลบังคับใช้เป็นปฏิทินของจักรวรรดิโรมัน โดยกำหนดให้วันที่ 1 มกราคมเป็นวันขึ้นปีใหม่[2]
- พ.ศ. 502 (42 ปีก่อนคริสตกาล) - วุฒิสภาโรมันยกฐานะจูเลียส ซีซาร์ย้อนหลังให้เป็นเทพเจ้า[3]
- พ.ศ. 960 (ค.ศ. 417) - จักรพรรดิฮอโนริอุสบังคับให้กัลลา พลาซิเดีย ซึ่งเป็นพระขนิษฐาของพระองค์แต่งงานกับกงสตันติอุส นายพลผู้โด่งดังของพระองค์[4]
- พ.ศ. 2043 (ค.ศ. 1500) - นักสำรวจชาวโปรตุเกส เปดรู อัลวารึช กาบรัล ค้นพบชายฝั่งของบราซิล[5]
- พ.ศ. 2045 (ค.ศ. 1502) - ที่ตั้งปัจจุบันของรีโอเดจาเนโรถูกค้นพบครั้งแรกโดยชาวโปรตุเกส[6]
- พ.ศ. 2058 (ค.ศ. 1515) - ฟร็องซัว ดยุคแห่งบริตตานี วัย 12 ปี สืบราชบัลลังก์ฝรั่งเศส ภายหลังการสวรรคตของพระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศส พ่อตาของเขา[7]
- พ.ศ. 2143 (ค.ศ. 1600) - สกอตแลนด์กำหนดให้วันที่ 1 มกราคมเป็นวันขึ้นปีใหม่ แทนที่วันที่ 25 มีนาคม[8]
- พ.ศ. 2194 (ค.ศ. 1651) - พระเจ้าชาลส์ที่ 2 ราชาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์สกอตแลนด์
- พ.ศ. 2216 (ค.ศ. 1673) - มีการไปรษณีย์ครั้งแรกระหว่าง นิวยอร์ก กับ บอสตัน
- พ.ศ. 2243 (ค.ศ. 1700) - รัสเซียเริ่มใช้ปฏิทินจูเลียน
- พ.ศ. 2250 (ค.ศ. 1707) - พระเจ้าโจเอา ได้รับราชาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์โปรตุเกส
- พ.ศ. 2344 (ค.ศ. 1801) -
- จูเซป พีแอซซี นักดาราศาสตร์ชาวอิตาลี ค้นพบ 1 ซีรีส (1 Ceres) ดาวเคราะห์น้อยดวงแรก
- ราชอาณาจักรไอร์แลนด์ผนวกกับราชอาณาจักรบริเตนใหญ่อย่างเป็นทางการ ตั้งเป็นสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์
- พ.ศ. 2346 (ค.ศ. 1803) - เฮติประกาศเอกราช
- พ.ศ. 2360 (ค.ศ. 1818) - นิยายวิทยาศาสตร์เรื่อง แฟรงเกนสไตน์ โดยแมรี เชลลีย์ วางจำหน่ายครั้งแรกในลอนดอน สหราชอาณาจักร
- พ.ศ. 2417 (ค.ศ. 1874) - กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญหวาดระแวงรัชกาลที่ 5 จนเสด็จไปอยู่สถานกงสุลอังกฤษ
- พ.ศ. 2429 (ค.ศ. 1886) - อังกฤษผนวกพม่าเป็นอาณานิคมโดยให้เป็นส่วนหนึ่งของอินเดีย
- พ.ศ. 2436 (ค.ศ. 1893) - ประเทศญี่ปุ่นเริ่มใช้ปฏิทินแบบสากล
- พ.ศ. 2440 (ค.ศ. 1899) - สิ้นสุดการปกครองของสเปนในประเทศคิวบา
- พ.ศ. 2443 (ค.ศ. 1900) - รัฐนิวเซาท์เวลส์ รัฐวิกตอเรีย รัฐควีนส์แลนด์ รัฐออสเตรเลียใต้ รัฐแทสเมเนีย และ รัฐออสเตรเลียตะวันตก รวมกันเป็นเครือจักรภพออสเตรเลีย เอ็ดมันด์ บาร์ตัน ได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกออสเตรเลียเปลี่ยนสถานะจากอาณานิคมของอังกฤษเป็นประเทศในเครือจักรภพ
- พ.ศ. 2444 (ค.ศ. 1901) - ไนจีเรียกลายมาเป็นรัฐอารักขาของเครือจักรภพอังกฤษ
- พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) - ซูดานประกาศเอกราช
- พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) - ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทยเพิ่ม "ดูหมิ่น" และเปลี่ยนเป็นความผิดต่อความมั่นคงของชาติ หลังประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499 มีผลใช้บังคับ[9]: 6, 18
- พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1959) - พรรคคอมมิวนิสต์คิวบาชนะการปฏิวัติคิวบา
- พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) - พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยจัดตั้งกองทัพปลดแอกประชาชนแห่งประเทศไทย
- พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) - บรูไนประกาศเอกราช
- พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) - วันก่อตั้งองค์การการค้าโลก (WTO) เข้ามาแทนความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า (GATT)
- พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) - วันก่อตั้งธนาคารกลางยุโรป
- พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) - ประเทศสหภาพยุโรป 11 ประเทศเริ่มใช้เงินตรายูโร
- พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) - ประเทศกรีซเปลี่ยนมาใช้สกุลเงินยูโร
- พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) - เปอร์เวซ มูชาราฟได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีแห่งประเทศปากีสถาน
- พ.ศ. 2550 (ค.ศ. 2007) - ประเทศสโลวีเนียเปลี่ยนมาใช้สกุลเงินยูโร ประเทศโรมาเนียและบัลแกเรียเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป
- พ.ศ. 2551 (ค.ศ. 2008) - ประเทศมอลตาและไซปรัสเปลี่ยนมาใช้สกุลเงินยูโร
- พ.ศ. 2552 (ค.ศ. 2009)
- ประเทศสโลวาเกียเปลี่ยนมาใช้สกุลเงินยูโร
- เกิดเหตุเพลิงไหม้สถานบันเทิงซานติก้าผับ ถนนเอกมัย กรุงเทพมหานคร มีผู้เสียชีวิต 66 คน
- พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) - เกิดจันทรุปราคาบางส่วน มองเห็นได้ในทวีปเอเชีย
- พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011)
- ประเทศเอสโตเนียเปลี่ยนมาใชเงินสกุลยูโร
- เกิดเหตุระเบิดนอกโบสถ์คริสต์นิกายคอปติกออร์โธด็อกซ์ในอเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์ มีผู้เสียชีวิต 23 คน
- พ.ศ. 2557 (ค.ศ. 2014) - ประเทศลัตเวียเปลี่ยนมาใชเงินสกุลยูโร
- พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015)
- ประเทศลิทัวเนียเปลี่ยนมาใชเงินสกุลยูโร
- สนธิสัญญาก่อตั้งสหภาพเศรษฐกิจยูเรเชียมีผลใช้บังคับ[10] ระหว่างประเทศรัสเซีย เบลารุส อาร์มีเนีย คาซัคสถาน และคีร์กีซสถาน
วันเกิด
แก้- พ.ศ. 1309 (ค.ศ. 766) - อัรริฎอ อิมาม (สิ้นอายุขัย 26 พฤษภาคม พ.ศ. 1361)
- พ.ศ. 1974 (ค.ศ. 1403) - สมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 6 (สิ้นพระชนม์ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2046)
- พ.ศ. 2027 (ค.ศ. 1484) - ฮุลดริช ซวิงลี (ถึงแก่กรรม 11 ตุลาคม พ.ศ. 2074)
- พ.ศ. 2407 (ค.ศ. 1864) - สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง (สวรรคต 20 ตุลาคม พ.ศ. 2462)
- พ.ศ. 2424 (ค.ศ. 1881) - พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (สวรรคต 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468)
- พ.ศ. 2435 (ค.ศ. 1892)
- สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (สวรรคต 24 กันยายน พ.ศ. 2472)
- มานูเอล โรฮัส ประธานาธิบดีคนที่ห้าของฟิลิปปินส์ (ถึงแก่กรรม 15 เมษายน พ.ศ. 2491)
- พ.ศ. 2462 (ค.ศ. 1919)
- แคโรล แลนดิส นักแสดงชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2491)
- เจ. ดี. ซาลินเจอร์ นักเขียนชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 27 มกราคม พ.ศ. 2553)
- พ.ศ. 2477 (ค.ศ. 1934) - ประยอม ซองทอง ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ (ถึงแก่กรรม 10 ธันวาคม พ.ศ. 2564)
- พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939) - อาลี มาห์ดิ มูฮัมหมัด ประธานาธิบดีโซมาเลียคนที่ 4 (เสียชีวิต 10 มีนาคม พ.ศ. 2564)
- พ.ศ. 2495 (ค.ศ. 1952) - สันติ พร้อมพัฒน์ นักการเมืองชาวไทย
- พ.ศ. 2496 (ค.ศ. 1953) - มืด ไข่มุก นักร้อง นักดนตรี นักแสดงชาวไทย (ถึงแก่กรรม 28 ตุลาคม พ.ศ. 2565)
- พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) - นัยนา เกิดวิชัย อดีตคณบดีคณะตำรวจศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ (ถึงแก่กรรม 6 ตุลาคม พ.ศ. 2562)
- พ.ศ. 2506 (ค.ศ. 1963) - ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ นายทหาร และนักการเมืองชาวไทย
- พ.ศ. 2507 (ค.ศ. 1964) - เจริญชัย หินเธาว์ ทหารบกชาวไทย ผู้บัญชาการทหารบก
- พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) - เวิร์น ทรอยเออร์ นักแสดงชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 21 เมษายน พ.ศ. 2561)
- พ.ศ. 2515 (ค.ศ. 1972) - ชารอน บลินน์ นักแสดงและนักเคลื่อนไหวด้านมะเร็งชาวอเมริกัน
- พ.ศ. 2517 (ค.ศ. 1974) - คาทูนา ลอริก นักกีฬายิงธนูชาวอเมริกัน
- พ.ศ. 2520 (ค.ศ. 1977) - เจอร์รี เหยียน นักร้อง นักแสดงชาวไต้หวัน
- พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) - อุนตุง โอร์เตกา นักมวยสากลชาวอินโดนีเซีย
- พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) - ดาเนียล คาร์เก นักฟุตบอลชาวสเปน (ถึงแก่กรรม 8 สิงหาคม พ.ศ. 2552)
- พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984)
- ปาโอโล เกร์เรโร นักฟุตบอลชาวเปรู
- รอลา คาเล็ด นักมวยไทยหญิงชาวเลบานอน
- พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985) - สตีเวน เดวิส นักฟุตบอลชาวไอร์แลนด์เหนือ
- พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) - ซ็องมิน นักแสดงชาวเกาหลีใต้
- พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987)
- คิม จุนซู นักแสดงชาวเกาหลีใต้
- เซซินันโด นักฟุตบอลชาวโปรตุเกส
- อังเดร์ซง ดูซ ซังตูซ นักฟุตบอลชาวบราซิล
- พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) - ซาโอริ ฮะระ นักแสดงชาวญี่ปุ่น
- พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) - ปภาวิน หงษ์ขจร นักแสดงชายชาวไทย
- พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992)
- แจ็ก วิลเชียร์ นักฟุตบอลชาวอังกฤษ
- เชน ดัฟฟี นักฟุตบอลชาวไอริช
- พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993)
- จอน แฟลนากัน นักฟุตบอลชาวอังกฤษ
- อับดูลาย ดูกูเร นักฟุตบอลชาวฝรั่งเศส
- พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) - ศรัณย์ นราประเสริฐกุล นักแสดงชายและสัตวแพทย์ชาวไทย
- พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996)
- อังเดรอัส เปเรย์รา นักฟุตบอลชาวบราซิล
- ชณันภัสร์ กมลคีรีลักษณ์ นักแสดงหญิงชาวไทย
- พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) - กอนซาโล มอนติเอล นักฟุตบอลชาวอาร์เจนตินา
- พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999)
- ทิฟฟานี เอสเพนเซน นักแสดงหญิงชาวอเมริกัน
- กิระนา จัสมิน ชูว์เทอร์ นักแสดงหญิงและนางแบบชาวไทย
- จ้าวเหล่ย นักร้องชาวจีน
- พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001)
- แองเการี ไรซ์ นักแสดงภาพยนตร์ชาวออสเตรเลีย
- ทัศนศักดิ์ ถนอมสิทธิ์ นักร้องชายชาวไทย
- พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002) - อีธาน ไดซัน นักแสดงชาวอเมริกัน
- พ.ศ. 2552 (ค.ศ. 2009) - ฮินด์ ซาซา นักกีฬาเทเบิลเทนนิสชาวซีเรีย
- พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) - เอวาริณ เตชะณรงค์ ลูกสาวของ ทักษอร ภักดิ์สุขเจริญ และ นักแสดงเด็กชาวไทย
วันถึงแก่กรรม
แก้- พ.ศ. 2058 (ค.ศ. 1515) - พระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศส (พระราชสมภพ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2005)
- พ.ศ. 2309 (ค.ศ. 1766) - เจ้าชายเจมส์ ฟรานซิส เอ็ดเวิร์ด สจวต (ประสูติ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2231)
- พ.ศ. 2465 (ค.ศ. 1922) - เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (หม่อมราชวงศ์หลาน กุญชร) (เกิด 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2395)
- พ.ศ. 2496 (ค.ศ. 1953) - แฮงก์ วิลเลียมส์ หนึ่งในนักร้องเพลงคันทรีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล (เกิด 17 กันยายน พ.ศ. 2466)
- พ.ศ. 2509 (ค.ศ. 1966) - แว็งซ็อง โอรียอล ประธานาธิบดีฝรั่งเศส (เกิด 27 สิงหาคม พ.ศ. 2427)
- พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) - อรพินท์ ไชยกาล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหญิงคนแรกของประเทศไทย (เกิด 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2447)
- พ.ศ. 2556 (ค.ศ. 2013) - แพตตี เพจ นักร้อง นักแสดงชาวอเมริกัน (เกิด 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2470)
- พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) - มาริโอ โคโม ผู้ว่าการรัฐนิวยอร์กคนที่ 52 (เกิด 15 มิถุนายน พ.ศ. 2475)
- พ.ศ. 2564 (ค.ศ. 2021) - คริสติน ดาเซอร่า นางงามชาวฟิลิปปินส์ (เกิด 13 เมษายน พ.ศ. 2540)
วันสำคัญและวันหยุดเทศกาล
แก้- วันฉลอง (feast day) ของคริสต์ศาสนิกชน
- นักบุญบาซิล (2 มกราคม สำหรับนิกายโรมันคาทอลิก)
- นักบุญฟุลเจนทิอุส
- นักบุญเทเลมาคุส
- วันสมโภชพระนางมารีย์พระชนนีพระเป็นเจ้า วันที่แปดหลังคริสต์มาส ของนิกายโรมันคาทอลิก
- วันฉลองพระนามศักดิ์สิทธิ์ของพระเยซู ของนิกายแองกลิคัน
- วันฉลองพระเยซูทรงเข้าสุหนัต ของนิกายโรมันคาทอลิก
- วันสถาปนา
- วันรัฐธรรมนูญ (ประเทศอิตาลี)
- วันประกาศเอกราช
- สาธารณรัฐเฮติ (จากสาธารณรัฐฝรั่งเศสเมื่อ ค.ศ. 1804)
- สาธารณรัฐซูดาน (จากสหราชอาณาจักรเมื่อ ค.ศ. 1956)
- รัฐบรูไนดารุสซาลาม (จากสหราชอาณาจักรเมื่อ ค.ศ. 1984)
- วันขึ้นปีใหม่ สำหรับหลายประเทศที่ใช้ปฏิทินเกรกอเรียน
- สหประชาชาติ: วันสันติภาพโลก
อ้างอิง
แก้- ↑ Gordon, Arthur Ernest (1983). Illustrated Introduction to Latin Epigraphy. University of California Press. p. 229. ISBN 978-0-520-03898-1.
- ↑ Origines Kalendariae Italicae Nundinal Calendars of Ancient Italy, Nundinal of Calendar of Romulus, Calendar of Numa Pompilius, Calendar of the Decemvirs, Irregular Roman Calendar, and Julian Correctio Tables of the Roman Calendar, from V. C. 4 of Varro, B. C. 750, to V. C. 1108 A. D 355. 4 by Edward Greswell, B.D: Vol. 4. University Press. 1854. p. 103.
- ↑ Koortbojian, Michael (2013). The Divinization of Caesar and Augustus. Cambridge University Press. p. 29. ISBN 978-0-521-19215-6.
- ↑ Sivan, Hagith (15 September 2011). Galla Placidia: The Last Roman Empress. OUP USA. p. 67. ISBN 978-0-19-537912-9.
- ↑ Legrand, Jacques (1989). Chronicle of the World. Eca, Publication. p. 444. ISBN 0-13-133463-8.
- ↑ Higgs, David (4 January 2002). Queer Sites: Gay Urban Histories Since 1600. Routledge. pp. 138–. ISBN 978-1-134-72467-3.
- ↑ Bacon, James (1830). The Life and Times of Francis the First, King of France. E. Bull. pp. 116–.
- ↑ Lindsay, Robert (1899). The Historie and Cronicles of Scotland: From the Slauchter of King James the First to the Ane Thousande Fyve Hundreith Thrie Scoir Fyftein Zeir. Society.
- ↑ Ramification and Re-Sacralization of the Lese Majesty Law in Thiland
- ↑ "Договор о Евразийском экономическом союзе". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-01. สืบค้นเมื่อ 2021-08-12.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ 1 มกราคม
- BBC: On This Day (อังกฤษ)
- The New York Times: On This Day (อังกฤษ)