พ.ศ. 2565
ปี
พุทธศักราช 2565 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2022 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น
- ปีขาล จัตวาศก จุลศักราช 1384 (วันที่ 16 เมษายน เป็นวันเถลิงศก)
- ปีที่ 3 ของคริสต์ทศวรรษ 2020, ปีที่ 22 ของคริสต์ศตวรรษที่ 21 และปีที่ 22 ของคริสต์สหัสวรรษที่ 3
- ปีแห่งการประมงพื้นบ้านและการเพาะเลี้ยงพืชและสัตว์ในน้ำสากล[1] ปีแห่งวิทยาศาสตร์ขั้นมูลฐานเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนสากล[2] ปีแห่งการพัฒนาภูเขาอย่างยั่งยืนสากล[3] และ ปีแห่งแก้วสากล[4] ประกาศโดยสหประชาชาติ
ศตวรรษ: | |
---|---|
ปี: |
ปฏิทินสุริยคติไทย | 2565 |
ปฏิทินกริกอเรียน | 2022 MMXXII |
Ab urbe condita | 2775 |
ปฏิทินอาร์มีเนีย | 1471 ԹՎ ՌՆՀԱ |
ปฏิทินอัสซีเรีย | 6772 |
ปฏิทินบาไฮ | 178–179 |
ปฏิทินเบงกอล | 1429 |
ปฏิทินเบอร์เบอร์ | 2972 |
ปีในรัชกาลอังกฤษ | 70 Eliz. 2 – 1 Cha. 3 |
พุทธศักราช | 2566 |
ปฏิทินพม่า | 1384 |
ปฏิทินไบแซนไทน์ | 7530–7531 |
ปฏิทินจีน | 辛丑年 (ฉลูธาตุโลหะ) 4718 หรือ 4658 — ถึง — 壬寅年 (ขาลธาตุน้ำ) 4719 หรือ 4659 |
ปฏิทินคอปติก | 1738–1739 |
ปฏิทินดิสคอร์เดีย | 3188 |
ปฏิทินเอธิโอเปีย | 2014–2015 |
ปฏิทินฮีบรู | 5782–5783 |
ปฏิทินฮินดู | |
- วิกรมสมวัต | 2078–2079 |
- ศกสมวัต | 1944–1945 |
- กลียุค | 5123–5124 |
ปฏิทินโฮโลซีน | 12022 |
ปฏิทินอิกโบ | 1022–1023 |
ปฏิทินอิหร่าน | 1400–1401 |
ปฏิทินอิสลาม | 1443–1444 |
ปฏิทินญี่ปุ่น | ศักราชเรวะ 4 (令和4年) |
ปฏิทินจูเช | 111 |
ปฏิทินจูเลียน | กริกอเรียนลบ 13 วัน |
ปฏิทินเกาหลี | 4355 |
ปฏิทินหมินกั๋ว | ROC 111 民國111年 |
เวลายูนิกซ์ | 1640995200–1672531199 |
ผู้นำประเทศไทย
แก้- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 – ปัจจุบัน)
- นายกรัฐมนตรี:
- พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (24 สิงหาคม พ.ศ. 2557 – 22 สิงหาคม พ.ศ. 2566)
- พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ (รักษาราชการแทน, 24 สิงหาคม – 30 กันยายน พ.ศ. 2565)
เหตุการณ์
แก้มกราคม
แก้- 1 มกราคม – ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ซึ่งเป็นข้อตกลงการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดในโลกมีผลใช้บังคับ สำหรับประเทศไทย กัมพูชา ลาว สิงคโปร์ เวียดนาม บรูไน จีน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์[5]
- 2 มกราคม
- อับดัลเลาะ ฮัมดอกลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีซูดาน ท่ามกลางการประท้วงที่รุนแรง[6]
- เกิดการประท้วงในประเทศคาซัคสถานเนื่องจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงพุ่งสูงขึ้นอย่างกะทันหัน[7]
- 4 มกราคม – จีน ฝรั่งเศส รัสเซีย สหราชอาณาจักรและสหรัฐ ห้าประเทศสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ออกแถลงการณ์ร่วมเห็นพ้องว่า "สงครามนิวเคลียร์ไม่อาจเอาชนะและจะต้องไม่เกิดขึ้น"[8]
- 5 มกราคม – มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วประเทศคาซัคสถานหลังเกิดการประท้วง คณะรัฐมนตรีของอัสการ์ มามินลาออก และประธานาธิบดีฆาเซิม-โฌมาร์ต โตกาเยฟปลดนูร์ซุลตัน นาซาร์บายิฟ อดีตประธานาธิบดีซึ่งถือว่าเป็นผู้มีอำนาจอยู่เบื้องหลังออกจากตำแหน่งประธานสภาความมั่นคงคาซัคสถาน[9]
- 6 มกราคม – องค์การสนธิสัญญาความมั่นคงร่วมกันเริ่มปฏิบัติภารกิจรักษาสันติภาพในประเทศคาซัคสถาน หลังประธานาธิบดีโตกาเยฟเรียกร้อง[10]
- 7 มกราคม – การระบาดทั่วของโควิด-19: จำนวนรวมผู้ป่วยโควิด-19 ทั่วโลกเกิน 300 ล้านคน[11]
- 10 มกราคม – มีการรายงานการปลูกถ่ายหัวใจหมูสู่มนุษย์สำเร็จเป็นครั้งแรก[12][13]
- 15 มกราคม – เกิดการปะทุครั้งใหญ่ของภูเขาไฟฮังกาตองกาในประเทศตองกา นำไปสู่การประกาศคำเตือนสึนามิในประเทศออสเตรเลีย แคนาดา ชิลี ฟีจี ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ ซามัว และสหรัฐ[14]
- 16 มกราคม – นอวาก จอกอวิช นักเทนนิสมือวางอันดับที่ 1 ของโลกถูกเนรเทศออกจากประเทศออสเตรเลีย หลังแพ้คดีที่เขาเดินทางเข้าประเทศโดยขอยกเว้นการรับวัคซีนโควิด-19 ส่งผลให้จอกอวิชไม่ได้ลงแข่งรายการเทนนิสออสเตรเลียนโอเพน 2022[15][16][17]
- 23 มกราคม – กองทัพบูร์กินาฟาโซก่อรัฐประหารยึดอำนานาจจากรัฐบาลของประธานาธิบดีรอช มาร์ก คริสติยอง กาโบเร[18]
- 29 มกราคม – แซร์โจ มัตตาเรลลาได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีอิตาลีสมัยที่สอง[19]
กุมภาพันธ์
แก้- 3 กุมภาพันธ์ – อะบู อิบรอฮีม อัลฮาชิมี อัลกุเราะชี ผู้นำรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ถูกสังหารระหว่างต่อสู้กับหน่วยรบพิเศษสหรัฐทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศซีเรีย[20]
- 4 กุมภาพันธ์ – 20 กุมภาพันธ์ – โอลิมปิกฤดูหนาว 2022 ถูกจัดขึ้นที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน กลายเป็นเมืองแรกที่เป็นเจ้าภาพทั้งโอลิมปิกฤดูร้อนและโอลิมปิกฤดูหนาว[21]
- 5 กุมภาพันธ์ – พายุไซโคลนบัตซีรายพัดผ่านทวีปแอฟริกาตะวันออก ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 123 คนในมาดากัสการ์ มอริเชียสและเรอูว์นียง[22]
- 8 กุมภาพันธ์ – การระบาดทั่วของโควิด-19: จำนวนรวมผู้ป่วยโควิด-19 ทั่วโลกเกิน 400 ล้านคน[23]
- 13 กุมภาพันธ์ – การเลือกตั้งประธานาธิบดีเยอรมนี พ.ศ. 2565: ฟรังค์-วัลเทอร์ ชไตน์ไมเออร์ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีเยอรมนีสมัยที่สอง[24]
- 21 กุมภาพันธ์ – วิกฤตการณ์รัสเซีย–ยูเครน (พ.ศ. 2564–2565): วลาดีมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซียได้ประกาศรับรองความเป็นรัฐเอกราชของสาธารณรัฐประชาชนดอแนตสก์และสาธารณรัฐประชาชนลูฮันสก์[25]
- 24 กุมภาพันธ์ – รัสเซียเริ่มการบุกครองยูเครน[26]
- 27 กุมภาพันธ์
มีนาคม
แก้- 4 มีนาคม – 13 มีนาคม – พาราลิมปิกฤดูหนาว 2022 ถูกจัดขึ้นที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน[30]
- 9 มีนาคม
- ยุน ซ็อก-ย็อล หัวหน้าพรรคพลังประชาชน เฉือนชนะประธานาธิบดีเกาหลีใต้คนปัจจุบันในการเลือกตั้งประธานาธิบดีเกาหลีใต้ ค.ศ. 2022[31]
- นักวิจัยในแอนตาร์กติกประกาศค้นพบ เอนดูแรนซ์ หนึ่งในซากเรืออัปปางที่ล่มระหว่างการสำรวจของเออร์เนสต์ แชคเคิลตันในค.ศ. 1915[32]
- 21 มีนาคม – ไชนาอีสเทิร์นแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 5735 ประสบอุบัติเหตุตกที่อำเภอเถิงในเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง ส่งผลให้ผู้โดยสารและลูกเรือ 132 คนเสียชีวิตทั้งหมด[33]
เมษายน
แก้- 3 เมษายน – การรุกรานยูเครนของรัสเซีย พ.ศ. 2565: กองทัพรัสเซียถอนกำลังออกจากพื้นที่ใกล้กรุงเคียฟ ด้านยูเครนกล่าวหารัสเซียว่าก่ออาชญากรรมสงคราม หลังมีการเผยแพร่หลักฐานการสังหารหมู่ประชาชนชาวยูเครน รวมถึงการสังหารหมู่ที่บูชา[34][35]
- 13 เมษายน – การระบาดทั่วของโควิด-19: จำนวนรวมผู้ป่วยโควิด-19 ทั่วโลกเกิน 500 ล้านคน[36]
- 14 เมษายน – การรุกรานยูเครนของรัสเซีย พ.ศ. 2565: มอสควา เรือธงของกองเรือทะเลดำของกองทัพเรือรัสเซียจมลงในทะเลดำ โดยยูเครนอ้างว่าเรือถูกถล่มด้วยขีปนาวุธร่อน แนปตูน ของตน ด้านรัสเซียอ้างว่าเรือจมลงหลังเกิดเพลิงไหม้บนเรือ[37][38]
- 24 เมษายน – การเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส ค.ศ. 2022: แอมานุแอล มาครงได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีฝรั่งเศสสมัยที่สอง หลังเอาชนะมารีน เลอ แปนในการเลือกตั้งรอบที่สอง[39][40][41]
- 30 เมษายน – สุริยุปราคาบางส่วน (ตอนใต้ของทวีปอเมริกาใต้ และตะวันออกเฉียงใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก)[42]
พฤษภาคม
แก้- 9 พฤษภาคม – มหินทะ ราชปักษา นายกรัฐมนตรีประเทศศรีลังกาประกาศลาออก หลังมีการประท้วงใหญ่ต่อต้านเขาทั่วประเทศ[43][44]
- 12 พฤษภาคม – กล้องโทรทรรศน์ขอบฟ้าเหตุการณ์ถ่ายคนยิงธนูเอ* หลุมดำขนาดใหญ่ยิ่งยวด ณ ใจกลางทางช้างเผือก เป็นครั้งแรก[45]
- 16 พฤษภาคม - การรุกรานยูเครนของรัสเซีย พ.ศ. 2565: การล้อมมารีอูโปลยุติลงด้วยชัยของรัสเซีย เมื่อทหารยูเครนอพยพออกจากเมือง[46][47]
- 20 พฤษภาคม - การระบาดของฝีดาษลิง พ.ศ. 2565: องค์การอนามัยโลก (WHO) จัดการประชุมฉุกเฉินเพื่ออภิปรายการระบาดของโรคฝีดาษลิงในหลายประเทศ และมีจำนวนผู้ป่วยแตะ 100 รายแล้ว[48][49]
- 28 พฤษภาคม – เรอัลมาดริดจากสเปนเอาชนะลิเวอร์พูลจากอังกฤษ 1–0 ในการแข่งขันยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก นัดชิงชนะเลิศ 2022 ที่สตาดเดอฟร็องส์ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส[50]
มิถุนายน
แก้- 14 มิถุนายน – แคนาดาและเดนมาร์กยุติข้อพิพาทเหนือเกาะฮันส์ด้วยการแบ่งเกาะคนละครึ่ง เป็นการสิ้นสุดความขัดแย้งที่เรียกว่าสงครามวิสกี้[51]
- 22 มิถุนายน – เกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.2 ตามมาตราขนาดโมเมนต์ (Mw) ที่บริเวณเส้นดูรันด์ระหว่างประเทศอัฟกานิสถานกับประเทศปากีสถาน ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 1,000 คน[52][53]
กรกฎาคม
แก้- 7 กรกฎาคม – บอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรประกาศเจตจำนงลาออกจากตำแหน่งหลังเกิดวิกฤตในรัฐบาล[54][55]
- 8 กรกฎาคม – ชินโซ อาเบะ อดีตนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ถูกลอบสังหารขณะปราศรัยที่เมืองนาระ[56]
- 11 กรกฎาคม – มีการเปิดเผยภาพใช้การได้ภาพแรกจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ซึ่งเป็นภาพกระจุกดาราจักรสแมกส์ เจ0723.3-7327 ต่อสาธารณะ[57]
- 14 กรกฎาคม – ประธานาธิบดีศรีลังกา โคฐาภยะ ราชปักษะ ลาออกอย่างเป็นทางการ[58]
- 19 กรกฎาคม – เกิดคลื่นความร้อนเป็นบริเวณกว้างในทวีปยุโรป เป็นเหตุให้เกิดไฟป่า การเดินทางขัดข้อง และอุณหภูมิสูงเป็นประวัติการณ์ในหลายประเทศ จนมีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 3,600 คน[59]
- 23 กรกฎาคม – การระบาดของฝีดาษลิง พ.ศ. 2565: องค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้โรคฝีดาษลิงเป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข[60][61]
- 27 กรกฎาคม – เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.1 มาตราขนาดโมเมนต์ (Mw) ที่จังหวัดอาบราเกาะลูซอนมีผู้เสียชีวิต 5 ราย[62]
- 28 กรกฎาคม – 8 สิงหาคม – กีฬาเครือจักรภพ 2022[63]
- 31 กรกฎาคม – อัยมัน อัซเซาะวาฮิรี ผู้นำอัลกออิดะฮ์ ถูกสังหารในการโจมตีทางอากาศโดยสำนักข่าวกรองกลางของสหรัฐ[64]
สิงหาคม
แก้- 2 สิงหาคม – แนนซี เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ เดินทางเยือนไต้หวัน นับเป็นการเดินทางเยือนไต้หวันครั้งแรกในรอบ 25 ปีของผู้นำระดับสูงของสหรัฐ[65][66]
- 12 สิงหาคม – ซัลมัน รัชดี ถูกแทงจนได้รับบาดเจ็บระหว่างบรรยายที่สถาบันด้านศิลปะและวรรณกรรมเชาทากัว รัฐนิวยอร์ก สหรัฐ[67][68]
- 17 สิงหาคม – รัฐบาลอิสราเอลและตุรกีประกาศรื้อฟื้นความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันอย่างเป็นทางการ[69]
- 27 สิงหาคม – เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ในประเทศปากีสถาน มีผู้เสียชีวิตเกินกว่า 1,000 คนและคาดว่าเกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจเป็นมูลค่าอย่างน้อย 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ[70]
กันยายน
แก้- 8 กันยายน – สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักรและเครือจักรภพอีก 14 ประเทศ หลังพระราชชนนี สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เสด็จสวรรคต[71][72][73]
- 12 กันยายน – เกิดการปะทะกันที่ชายแดนระหว่างอาร์มีเนียและอาเซอร์ไบจาน รัฐบาลอาร์มีเนียรายงานว่ามีทหารเสียชีวิตกว่า 100 นาย ส่วนรัฐบาลอาเซอร์ไบจานรายงานว่ามีทหารเสียชีวิต 71 นาย[74]
- 14–16 กันยายน – เกิดการปะทะกันที่ชายแดนคีร์กีซสถานและทาจิกิสถาน[75]
- 21 กันยายน – การรุกรานยูเครนของรัสเซีย พ.ศ. 2565: หลังการรุกโต้ตอบใหญ่ของยูเครนทางตะวันออกของประเทศ ประธานาธิบดีวลาดีมีร์ ปูตินประกาศระดมพลบางส่วน และขู่ตอบโต้ด้วยอาวุธนิวเคลียร์[76]
- 30 กันยายน
- การผนวกภาคใต้และภาคตะวันออกของยูเครนเข้ากับรัสเซีย: ประธานาธิบดีวลาดีมีร์ ปูตินลงนามสนธิสัญญากลืนแคว้นดอแนตสก์ แคร์ซอน ลูฮันสก์ และซาปอริฌเฌียเข้ากับรัสเซีย[77][78]
- เกิดรัฐประหารในประเทศบูร์กินาฟาโซ[79]
ตุลาคม
แก้- 6 ตุลาคม - การสังหารหมู่ที่หนองบัวลำภู: คนร้ายได้ตระเวนยิงชาวบ้านริมถนน แล้วได้หลบหนีเข้าไปสังหารหมู่เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลอุทัยสวรรค์ หลังจากนั้น ตำรวจได้เข้าควบคุมสถานการณ์และกดดันจนคนร้ายได้ฆ่าตัวตาย รวมผู้เสียชีวิตทั้งหมด 38 ราย
- 8 ตุลาคม – การรุกรานยูเครนของรัสเซีย พ.ศ. 2565: เกิดเหตุระเบิดที่สะพานไครเมีย ทำให้สะพานบางส่วนถล่มและมีผู้เสียชีวิต 3 ราย[80]
- 20 ตุลาคม – ลิซ ทรัสส์ นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรประกาศลาออกจากตำแหน่งเนื่องจากความขัดแย้งภายในรัฐบาลและภายในพรรคอนุรักษ์นิยม ทำให้เป็นนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งสั้นที่สุดในประวัติศาสตร์[81]
- 29 ตุลาคม – เกิดเหตุฝูงชนเบียดกันจนเสียชีวิตในย่านอีแทว็อน ประเทศเกาหลีใต้ มีผู้เสียชีวิต 158 คน
- 30 ตุลาคม – เกิดเหตุสะพานในเมืองโมรพีถล่ม มีผู้เสียชีวิต 136 ราย
พฤศจิกายน
แก้- 11 พฤศจิกายน – การรุกรานยูเครนของรัสเซีย พ.ศ. 2565: กองทัพยูเครนยึดเมืองแคร์ซอนคืนจากรัสเซีย หลังกองทัพรัสเซียตัดสินใจถอนกำลังทหารออกจากเมืองเพื่อไปตั้งรับที่อีกฝั่งของแม่น้ำนีเปอร์[82]
- 15 พฤศจิกายน - การรุกรานยูเครนของรัสเซีย พ.ศ. 2565: เกิดการยิงขีปนาวุธไปยังเมืองปแชมึชล์ ประเทศโปแลนด์ มีผู้เสียชีวิตทันทีสองราย
- 21 พฤศจิกายน – 18 ธันวาคม – การแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 ที่ประเทศกาตาร์ ซึ่งประเทศอาร์เจนตินาเป็นแชมป์
ธันวาคม
แก้- 7 ธันวาคม – แผนรัฐประหารเยอรมนี พ.ศ. 2565 มีผู้ถูกจับกุม 25 ราย
- 23 ธันวาคม - พายุหิมะเข้าถล่มสหรัฐ มีผู้เสียชีวิต 61 ราย[83]
วันถึงแก่กรรม
แก้มกราคม
แก้- 3 มกราคม – เจิ้ง หมิ่น กวีชาวจีน (เกิด 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2463)[84]
- 6 มกราคม – ซิดนีย์ พอยเทียร์ นักแสดงชาวอเมริกัน-บาฮามาส (เกิด 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2470)[85]
- 8 มกราคม – บุญทัน คล้ายละมั่ง (ศรเพชร ศรสุพรรณ) นักร้องเพลงลูกทุ่งชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2491)
- 9 มกราคม - โทชิกิ ไคฟุ อดีตนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น (เกิด 2 มกราคม พ.ศ. 2474)[86]
- 12 มกราคม – พาน สกุลนี (ไวพจน์ เพชรสุพรรณ) ศิลปินแห่งชาติชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2485)
- 14 มกราคม – ริการ์ดู บูฟิลย์ สถาปนิกชาวสเปน (เกิด 5 ธันวาคม พ.ศ. 2482)[87]
- 18 มกราคม – ปาโก เฆนโต นักฟุตบอล และผู้จัดการทีมชาติสเปน (เกิด 21 ตุลาคม พ.ศ. 2476)[88]
- 19 มกราคม – กัสปาร์ อูว์เลียล นักแสดงชาวฝรั่งเศส (เกิด 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2527)[89]
- 20 มกราคม – มีต โลฟ นักร้อง และนักแสดงชาวอเมริกัน (เกิด 27 กันยายน พ.ศ. 2490)[90]
- 21 มกราคม – แพทย์หญิงวราลัคน์ สุภวัตรจริยากุล (หมอกระต่าย) แพทย์ผู้ชำนาญการด้านจักษุวิทยา ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เกิด 24 มกราคม พ.ศ. 2531)[91]
- 22 มกราคม – ทิก เญิ้ต หั่ญ พระภิกษุชาวเวียดนาม (เกิด 11 ตุลาคม พ.ศ. 2469)[92]
กุมภาพันธ์
แก้- 3 กุมภาพันธ์ – อะบู อิบรอฮีม อัลฮาชิมี อัลกุเราะชี ผู้นำรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ (เกิด 1 หรือ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2519)[93]
- 6 กุมภาพันธ์ – ลตา มังเคศกร นักร้องชาวอินเดีย (เกิด 28 กันยายน พ.ศ. 2472)
- 24 กุมภาพันธ์ - นิดา พัชรวีระพงษ์ นักแสดง นางแบบ นักร้องชาวไทย (เกิด 13 กันยายน พ.ศ. 2527)
มีนาคม
แก้- 13 มีนาคม – วิลเลียม เฮิร์ต นักแสดงชาวอเมริกัน (เกิด 20 มีนาคม พ.ศ. 2493)[94]
- 23 มีนาคม – แมเดลิน อาลไบรต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ (เกิด 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2480)[95]
เมษายน
แก้- 2 เมษายน – เลโอเนล ซันเชซ นักฟุตบอลชาวชิลี (เกิด 25 เมษายน พ.ศ. 2479)[96]
- 19 เมษายน – คาเนะ ทานากะ อภิศตวรรษิกชนชาวญี่ปุ่น (เกิด 2 มกราคม พ.ศ. 2446)[97]
- 21 เมษายน – อึมวาอี กีบากี ประธานาธิบดีเคนยา (เกิด 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474)[98]
พฤษภาคม
แก้- 13 พฤษภาคม – เคาะลีฟะฮ์ บิน ซายิด อัลนะฮ์ยาน ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (เกิด 25 มกราคม พ.ศ. 2491)[99]
- 17 พฤษภาคม – แวนเจลิส นักแต่งเพลง และนักดนตรีชาวกรีก (เกิด 29 มีนาคม พ.ศ. 2486)[100]
- 20 พฤษภาคม – บูชาร์ นิชานี ประธานาธิบดีแอลเบเนีย (เกิด 29 กันยายน พ.ศ. 2509)[101]
มิถุนายน
แก้- 7 มิถุนายน – คาร์ล ดยุกแห่งเวือร์ทเทิมแบร์ค (ประสูติ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2479)
กรกฎาคม
แก้- 8 กรกฎาคม -
- ชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น (เกิด 21 กันยายน พ.ศ. 2497)[102]
- ฌูแซ เอดัวร์ดู ดุช ซังตุช ประธานาธิบดีแองโกลา (เกิด 28 สิงหาคม พ.ศ. 2485)[103]
- ลุยส์ เอเชเบร์ริอา ประธานาธิบดีเม็กซิโก (เกิด 17 มกราคม พ.ศ. 2465)[104]
- 18 กรกฎาคม – แคลส์ โอลเดนเบิร์ก ประติมากรชาวอเมริกัน–สวีเดน (เกิด 28 มกราคม พ.ศ. 2472)[105]
- 31 กรกฎาคม
สิงหาคม
แก้- 5 สิงหาคม – อิซเซ มิยาเกะ นักออกแบบชาวญี่ปุ่น (เกิด 22 เมษายน พ.ศ. 2481)[108]
- 8 สิงหาคม – โอลิเวีย นิวตัน-จอห์น นักร้อง และนักแสดงชาวบริติช-ออสเตรเลีย (เกิด 26 กันยายน พ.ศ. 2491)[109]
- 11 สิงหาคม – แอนน์ เฮช นักแสดงชาวอเมริกัน (เกิด 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2512)[110]
- 12 สิงหาคม – ว็อล์ฟกัง เพเทอร์เซิน ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวเยอรมัน (เกิด 14 มีนาคม พ.ศ. 2484)[111]
- 30 สิงหาคม – มีฮาอิล กอร์บาชอฟ ประธานาธิบดีสหภาพโซเวียต (เกิด 2 มีนาคม พ.ศ. 2474)[112]
กันยายน
แก้- 8 กันยายน – สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร (พระราชสมภพ 21 เมษายน พ.ศ. 2469)[113]
ตุลาคม
แก้- 24 ตุลาคม – แอชตัน คาร์เตอร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐ (เกิด 24 กันยายน พ.ศ. 2497)[114]
พฤศจิกายน
แก้- 25 พฤศจิกายน – ไอรีน คารา เอสคาเลรา (ไอรีน คารา) อดีตนักแสดง และนักร้อง และนักแต่งเพลงชาวอเมริกัน (เกิด 18 มีนาคม พ.ศ. 2502)[115]
- 30 พฤศจิกายน – เจียง เจ๋อหมิน อดีตเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน และประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีน (เกิด 17 สิงหาคม พ.ศ. 2469)[116]
ธันวาคม
แก้- 5 ธันวาคม – เคิร์สตี้ หลุยส์ อัลลีย์ (เคิร์สตี้ อัลลีย์) อดีตนักแสดง และโปรดิวเซอร์ และนางแบบ และผู้มีบุคลิกทางโทรทัศน์ชาวอเมริกัน (เกิด 12 มกราคม พ.ศ. 2494)
- 16 ธันวาคม – ซินิชา มิฮายลอวิช อดีตนักฟุตบอล และผู้ฝึกสอนฟุตบอลชาวเซอร์เบีย (เกิด 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512)[117]
- 29 ธันวาคม –
- เอดซง อารังชีส ดู นาซีเมงตู (เปเล่) อดีตนักฟุตบอลชาวบราซิล (เกิด 23 ตุลาคม พ.ศ. 2483)[118]
- วิเวียน เวสต์วูด นักออกแบบแฟชั่น และนักธุรกิจชาวอังกฤษ (เกิด 8 เมษายน พ.ศ. 2484)[119]
- 31 ธันวาคม – สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 (ประสูติ 16 เมษายน พ.ศ. 2470)[120]
บันเทิงคดีที่อ้างอิงถึงปีนี้
แก้ภาพยนตร์
แก้ละคร การ์ตูน ซีรีส์
แก้วันสำคัญทางศาสนาและพิธีกรรม
แก้- 1 กุมภาพันธ์ – วันตรุษจีน
- 16 กุมภาพันธ์ – วันมาฆบูชา
- 13–15 เมษายน – สงกรานต์
- 4 พฤษภาคม – วันฉัตรมงคล
- 13 พฤษภาคม – วันพืชมงคล
- 15 พฤษภาคม – วันวิสาขบูชา
- 13 กรกฎาคม – วันอาสาฬหบูชา
- 14 กรกฎาคม – วันเข้าพรรษา
- 10 ตุลาคม – วันออกพรรษา
- 31 ตุลาคม – วันฮาโลวีน
- 8 พฤศจิกายน – วันลอยกระทง
- 25 ธันวาคม – วันคริสต์มาส
รางวัลโนเบล
แก้- สาขาเคมี – แคโรลีน เบอร์ทอซซี, ม็อตเติน พี. เมิลดัล และคาร์ล แบร์รี ชาร์เพลส[121]
- สาขาวรรณกรรม – แอนนี แอร์โน[122]
- สาขาสันติภาพ – อาเลส บิอัลเลียตสกี, เมมอเรียล และศูนย์เสรีภาพพลเมือง[123]
- สาขาฟิสิกส์ – อาแล็ง อัสแปต์, จอห์น เคลาเซอร์ และอันโทน ไซลิงเงอร์[124]
- สาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ – สวันเตอ แพบู[125]
- สาขาเศรษฐศาสตร์ – เบน เบอร์แนงกี, ดักลาส ไดมอนด์ และฟิลิป เอช. ดีบวิก[126]
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "International Year of Artisanal Fisheries and Aquaculture". United Nations (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-02-15.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "International Year of Basic Sciences for Sustainable Development". United Nations. สืบค้นเมื่อ December 30, 2021.
- ↑ "International Year of Sustainable Mountain Development". United Nations. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-19. สืบค้นเมื่อ December 30, 2021.
- ↑ "International Year of Glass". United Nations. สืบค้นเมื่อ July 17, 2021.
- ↑ "World's largest free trade deal is under way, but what is RCEP?". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). 2022-01-01. สืบค้นเมื่อ 2022-01-01.
- ↑ Elassar, Alaa; Meilhan, Pierre (2022-01-02). "Sudan's Prime Minister resigns amid violent anti-coup protests that have left at least 57 people dead". CNN.
- ↑ Lillis, Joanna (2022-01-03). "Kazakhstan: Gas price hike fuels Zhanaozen protests". eurasianet.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-01-04.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "'No one can win a nuclear war': Superpowers release rare joint statement". The Sydney Morning Herald. 4 January 2022. สืบค้นเมื่อ 4 January 2022.
- ↑ "Kazakhstan is in turmoil after massive protests force the government to resign". NPR. 5 January 2022. สืบค้นเมื่อ 7 January 2022.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Russian paratroopers arrive in Kazakhstan as unrest continues". The Guardian. 6 January 2022. สืบค้นเมื่อ 7 January 2022.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Global Coronavirus Cases Top 300 Million". The New York Times. 7 January 2022. สืบค้นเมื่อ 7 January 2022.
- ↑ "University of Maryland School of Medicine Faculty Scientists and Clinicians Perform Historic First Successful Transplant of Porcine Heart into Adult Human with End-Stage Heart Disease". University of Maryland Medical Center. 10 January 2022. สืบค้นเมื่อ 11 January 2022.
- ↑ "Man gets genetically-modified pig heart in world-first transplant". BBC News. 10 January 2022. สืบค้นเมื่อ 11 January 2022.
- ↑ "Get away from shore - US and Japan warn on tsunami". BBC News. 15 January 2022. สืบค้นเมื่อ 15 January 2022.
- ↑ "Novak Djokovic: Tennis star deported after losing Australia visa battle". BBC News. 16 January 2022. สืบค้นเมื่อ 16 January 2022.
- ↑ "Novak Djokovic leaves Australia after court rejects visa challenge". CNN. 16 January 2022. สืบค้นเมื่อ 16 January 2022.
- ↑ "Novak Djokovic visa saga LIVE: Djokovic to miss 2022 Australian Open after losing court case". Sydney Morning Herald. 16 January 2022. สืบค้นเมื่อ 16 January 2022.
- ↑ Paquette, Danielle (January 25, 2022). "Mutinous soldiers announce overthrow of Burkina Faso president". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ January 24, 2022.
- ↑ Jones, Gavin; Amante, Angelo (2022-01-29). "Italy re-elects President Mattarella". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-01-29.
- ↑ "Islamic State leader Abu Ibrahim al-Qurayshi killed in Syria, US says". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 3 February 2022. สืบค้นเมื่อ 3 February 2022.
- ↑ "2022 Olympics - Next Winter Olympic Games | Beijing 2022". International Olympic Committee. May 28, 2020. สืบค้นเมื่อ May 29, 2020.
- ↑ Richard Davies, Africa, News (14 February 2022). "Madagascar – Death Toll From Tropical Cyclone Batsirai Rises to 121". Flood List. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-14. สืบค้นเมื่อ 14 February 2022.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ Astor, Maggie (February 8, 2022). "World Surpasses 400 Million Confirmed Covid Cases". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 8, 2022. สืบค้นเมื่อ February 9, 2022.
- ↑ "Steinmeier elected for second term as German president". Euronews (ภาษาอังกฤษ). 2022-02-13. สืบค้นเมื่อ 2022-02-13.
- ↑ Rainford, Sarah (21 February 2022). "Russia recognises Ukraine separatist regions as independent states". BBC (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 21 February 2022.
- ↑ "Russian President Vladimir Putin announces military assault against Ukraine in surprise speech". MSN (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 24 February 2022.
- ↑ "Putin puts Russia's strategic nuclear force on 'special alert'". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 27 February 2022. สืบค้นเมื่อ 27 February 2022.
- ↑ "Belarus referendum approves proposal to renounce non-nuclear status - agencies". Reuters (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 27 February 2022. สืบค้นเมื่อ 28 February 2022.
- ↑ "Belarus opens door for Russian nuclear weapons as Putin ally moves to commit troops". The Telegraph (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 28 February 2022. สืบค้นเมื่อ 28 February 2022.
- ↑ "Beijing 2022 Paralympic Winter Games". IPC. สืบค้นเมื่อ March 22, 2022.
- ↑ Hyun-woo, Nam (2022-03-09). "Yoon Suk-yeol wins presidential election". Korea Times. สืบค้นเมื่อ 2022-03-09.
- ↑ "Endurance: Shackleton's lost ship is found in Antarctic". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 9 March 2022. สืบค้นเมื่อ 9 March 2022.
- ↑ "No survivors found in China Eastern plane crash, state media says". CBS News. 2022-03-22. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 March 2022. สืบค้นเมื่อ March 22, 2022.
- ↑ "Russia-Ukraine war latest: Russian actions 'look exactly like war crimes', says Ukraine; explosions seen in Odesa – live". The Guardian. 3 April 2022. สืบค้นเมื่อ 3 April 2022.
- ↑ "Killings in Bucha are deliberate massacre - Ukraine". BBC News. 3 April 2022. สืบค้นเมื่อ 3 April 2022.
- ↑ Falconer, Rebecca (April 13, 2022). "World surpasses half a billion confirmed COVID cases". Axios. สืบค้นเมื่อ April 13, 2022.
- ↑ "Russian warship: Moskva sinks in Black Sea". BBC News. 15 April 2022. สืบค้นเมื่อ 15 April 2022.
- ↑ "Russia says Moskva cruiser has sunk after reported Ukrainian missile strike". The Guardian. 15 April 2022. สืบค้นเมื่อ 15 April 2022.
- ↑ "Election présidentielle 2022". www.resultats-elections.interieur.gouv.fr. สืบค้นเมื่อ 2022-04-25.
- ↑ "Macron re-elected as French voters hold off Le Pen's far right once more". France 24 (ภาษาอังกฤษ). 2022-04-24. สืบค้นเมื่อ 2022-04-25.
- ↑ "French election result: Macron defeats Le Pen and vows to unite divided France". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2022-04-25. สืบค้นเมื่อ 2022-04-25.
- ↑ Solar Eclipses: 2001 to 2100 เก็บถาวร 2007-06-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน – Fred Espenak/Jean Meeus, NASA/GSFC (อังกฤษ)
- ↑ "Prime Minister Mahinda Rajapaksa resigns". NewsWire (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2022-05-09. สืบค้นเมื่อ 2022-05-09.
- ↑ "More violence reported around the country : Over 100 injured". NewsWire. 9 May 2022. สืบค้นเมื่อ 9 May 2022.
- ↑ "WATCH LIVE: Astronomers reveal 'groundbreaking' findings about the Milky Way". PBS. 12 May 2022. สืบค้นเมื่อ 12 May 2022.
- ↑ "Hundreds of Ukrainian troops evacuated from Mariupol steelworks after 82-day assault". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2022-05-17. สืบค้นเมื่อ 2022-05-17.
- ↑ "Минобороны показало кадры сдачи в плен украинских военных с "Азовстали"". РБК (ภาษารัสเซีย). สืบค้นเมื่อ 2022-05-17.
- ↑ "WHO to hold emergency meeting on monkeypox on Friday -sources". Reuters. 20 May 2022. สืบค้นเมื่อ 21 May 2022.
- ↑ "WHO working closely with countries responding to monkeypox". WHO. 20 May 2022. สืบค้นเมื่อ 21 May 2022.
- ↑ Reuters (2022-05-28). "Real Madrid beats Liverpool 1-0 to win Champions League final". New York Post (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-28. สืบค้นเมื่อ 2022-05-28.
- ↑ Whisky Wars: Denmark and Canada strike deal to end 50-year row over Arctic island
- ↑ Faizi, Fazel Rahman (22 June 2022). "News agency: 1,000 dead, 1,500 injured in Afghan quake". The Washington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 June 2022. สืบค้นเมื่อ 22 June 2022.
- ↑ Dasgupta, Sravasti (22 June 2022). "Afghanistan earthquake: Death toll rises to 950 after major quake hits Paktika province". The Independent. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 June 2022. สืบค้นเมื่อ 22 June 2022.
- ↑ https://www.axios.com/2022/07/07/boris-johnson-resignation-uk-prime-minister |access-date=2022-07-07 |website=Axios}}
- ↑ "Boris Johnson to resign as Conservative leader". 7 July 2022 – โดยทาง www.bbc.co.uk.
- ↑ https://www.bbc.co.uk/news/live/world-asia-62088876
- ↑ Garner, Rob (2022-07-12). "NASA's Webb Delivers Deepest Infrared Image of Universe Yet". NASA. สืบค้นเมื่อ 2022-07-14.
- ↑ ศรีลังกา : เหตุประท้วงขับไล่ผู้นำศรีลังกาเริ่มคลี่คลาย หลังโกตาบายา ราชปักษา ยื่นจดหมายลาออกอย่างเป็นทางการ
- ↑ "Heatwave: Ferocious European heat heads north". BBC News. 2022-07-19. สืบค้นเมื่อ 2022-07-19.
- ↑ "Why the WHO Wants Everyone to Wake Up About Monkeypox". Bloomberg.com (ภาษาอังกฤษ). 2022-07-26. สืบค้นเมื่อ 2022-07-27.
- ↑ "WHO ประกาศฝีดาษลิง เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ -"อนุทิน"ประชุมด่วนพรุ่งนี้ | Hfocus.org เจาะลึกระบบสุขภาพ". Hfocus.org.
- ↑ M7-quake-death-toll-in-Luzon-island-rises-to-5
- ↑ "Home of the Birmingham 2022 Commonwealth Games". Birmingham 2022. สืบค้นเมื่อ May 29, 2020.
- ↑ "Al Qaeda leader Zawahiri killed in CIA drone strike in Afghanistan, U.S. officials say". สืบค้นเมื่อ August 1, 2022.
- ↑ CNN, Jeremy Herb and Eric Cheung. "US House Speaker Nancy Pelosi lands in Taiwan amid threats of Chinese retaliation". CNN.
- ↑ "Taiwan: Pelosi leaves Taipei to sound of Chinese fury". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2022-08-03. สืบค้นเมื่อ 2022-08-03.
- ↑ "Author Salman Rushdie stabbed on lecture stage in New York". AP NEWS (ภาษาอังกฤษ). 2022-08-12.
- ↑ "ซัลมาน รัชดี นักเขียนผู้โผล่จากที่ซ่อน ก่อนถูกแทงกลางเวทีนิวยอร์ก". BBC News ไทย. 2022-08-13.
- ↑ "Turkey, Israel to restore full diplomatic relations". www.aljazeera.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Pakistan floods: Disaster to cost more than $10bn, minister says". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2022-08-30. สืบค้นเมื่อ 2022-08-30.
- ↑ "Prince Charles Becomes King Following Queen Elizabeth's Death". September 8, 2022.
- ↑ "Queen Elizabeth II has died". BBC News.
- ↑ "Britain's new monarch to be known as King Charles III". Reuters. September 8, 2022. สืบค้นเมื่อ September 8, 2022.
- ↑ "Armenia says 105 troops killed in Azerbaijan border clashes". BBC News. 15 September 2022. สืบค้นเมื่อ 15 September 2022.
- ↑ "Kyrgyzstan says death toll from border conflict rises to 36". Reuters. สืบค้นเมื่อ 18 September 2022.
- ↑ "Ukraine war live: Putin announces 'partial mobilisation' of Russia and threatens nuclear retaliation saying 'I'm not bluffing'". The Guardian. 21 September 2022. สืบค้นเมื่อ 21 September 2022.
- ↑ Troianovski, Anton (September 30, 2022). "Putin Frames Illegal Annexation as Part of Existential Battle with West". The New York Times.
- ↑ "Putin signs decrees paving way for annexing Ukraine territories of Kherson and Zaporizhzhia". TheGuardian.com. September 29, 2022.
- ↑ Reuters (2022-09-30). "Burkina Faso army captain announces overthrow of military government". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-09-30.
- ↑ "Explosion damages Kerch bridge linking Crimea to Russia". France 24 (ภาษาอังกฤษ). 2022-10-08.
- ↑ "Liz Truss resigns: PM's exit kicks off another Tory leadership race". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2022-10-20. สืบค้นเมื่อ 2022-10-23.
- ↑ "Ukrainian troops enter Kherson after Russian retreat". www.aljazeera.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ usa snowstorm latest figures take deathtoll up to 61
- ↑ ""九叶派"最后一位诗人郑敏去世,享年102岁|界面新闻 · 快讯". Jiemian News (ภาษาจีน). สืบค้นเมื่อ 2022-01-03.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ltalie, Hillel (January 7, 2022). "Oscar winner and groundbreaking star Sidney Poitier dies". AP News (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ January 7, 2022.
- ↑ "Former Prime Minister Toshiki Kaifu dies at 91". Japan Times (ภาษาญี่ปุ่น). 9 January 2022. สืบค้นเมื่อ 9 January 2022.
- ↑ Zabalbeascoa, Anatxu (14 January 2022). "Ricardo Bofill, Architect of Otherworldly Buildings, Dies at 82" (ภาษาสเปน). The New York Times. สืบค้นเมื่อ 14 January 2022.
- ↑ "Real Madrid: Six-time European Cup winner Francisco 'Paco' Gento dies aged 88". BBC Sports (ภาษาสเปน). 18 January 2022. สืบค้นเมื่อ 18 January 2022.
- ↑ "French actor Gaspard UIIiel dead in skiing accident at 37". CNN (ภาษาฝรั่งเศส). 19 January 2022. สืบค้นเมื่อ 19 January 2022.
- ↑ "Meat Loaf, 'Bat Out of Hell' singer, has died at 74". CNN (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 20 January 2022. สืบค้นเมื่อ 20 January 2022.
- ↑ "อาลัย พญ.วราลัคน์ สุภวัตรจริยากุล ถูกบิ๊กไบค์ชนเสียชีวิต ขณะเดินข้ามทางม้าลาย". Thai PBS.
- ↑ Greenblatt, Lilly. "Remembering Thich Nhat Hanh (1926-2022) - Lion's Roar" (ภาษาเวียดนาม).
- ↑ Islamic State leader 'taken off battlefield' in Syria raid, US says
- ↑ Serviss, Lew; Genzlinger, Neil (March 13, 2022). "William Hurt, Oscar-Winning Leading Man of the 1980s, Dies at 71". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 13, 2022. สืบค้นเมื่อ March 14, 2022.
- ↑ Wilhite, Stephen (23 March 2022). "GIPHY Remembers Stephen Wilhite". GIPHY. สืบค้นเมื่อ 24 March 2022.
- ↑ Muere Leonel Sánchez, leyenda de la Roja e ícono del 'Ballet Azul' (ในภาษาสเปน)
- ↑ Mills, Kelly-Ann (2022-04-25). "World's oldest person Kane Tanaka dies in Japan at the age of 119". mirror (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-04-28.
- ↑ Kenya: Mwai Kibaki, former president, is dead
- ↑ UAE President Sheikh Khalifa bin Zayed Al Nahyan dies aged 73
- ↑ Limbong, Andrew (19 May 2022). "Vangelis, famed film composer and synth pioneer, dead at 79". NPR. สืบค้นเมื่อ 19 May 2022.
- ↑ Semini, Llazar (28 May 2022). "Former Albanian President Bujar Nishani dies at 55". Associated Press (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 1 June 2022.
- ↑ Takahara, Kanako; Otake, Tomoko; Martin, Alex K. T. (8 July 2022). "Former Prime Minister Shinzo Abe dies after being shot in Nara". The Japan Times. สืบค้นเมื่อ 8 July 2022.
- ↑ Angola's former president dos Santos dies at 79
- ↑ Fallece Luis Echeverría Álvarez, presidente de México de 1970 a 1976 (ในภาษาสเปน)
- ↑ Claes Oldenburg, Pop Artist Who Monumentalized the Everyday, Dies at 93
- ↑ Former president Fidel V. Ramos succumbs to Covid-19
- ↑ "Al Qaeda leader Zawahiri killed in CIA drone strike in Afghanistan, U.S. officials say". สืบค้นเมื่อ August 1, 2022.
- ↑ "三宅一生さん死去 世界的な衣服デザイナー" (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2022-08-09.
- ↑ Bernstein, Adam (8 August 2022). "Olivia Newton-John, pop singer and 'Grease' star, dies at 73". Washington Post (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0190-8286. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 August 2022. สืบค้นเมื่อ 8 August 2022.
- ↑ Los Angeles County Medical Examiner-Coroner (August 2022). "Anne Heche: May 25, 1969 - August 11, 2022 (53 years ). Case Number: 2022-08397". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 18, 2022. สืบค้นเมื่อ August 18, 2022.
- ↑ Jr, Mike Fleming (16 August 2022). "Director Wolfgang Petersen Dies At 81; Hollywood Star Rose After 'Das Boot' To Include Blockbusters 'The Perfect Storm,' 'Air Force One' & 'In The Line Of Fire'". Deadline (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 August 2022. สืบค้นเมื่อ 16 August 2022.
- ↑ "สิ้นผู้นำสหภาพโซเวียตคนสุดท้าย มีฮาอิล กอร์บาชอฟ วัย 91 ปี". สืบค้นเมื่อ 2022-08-31.
- ↑ "Queen Elizabeth II has died, Buckingham Palace announces". BBC News. 8 September 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 September 2022. สืบค้นเมื่อ 8 September 2022.
- ↑ "แอชตัน คาร์เตอร์ อดีต รมว.กลาโหมสหรัฐฯ เสียชีวิตกะทันหันในวัย 68 ปี". www.thairath.co.th. 2022-10-26.
- ↑ Traub, Alex; Holpuch, Amanda (November 25, 2022). "Irene Cara: Fame singer and actress dies aged 63". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ November 25, 2022.
- ↑ McDonell, Stephen; Wong, Tessa (30 November 2022). "Former Chinese leader Jiang Zemin dies aged 96". BBC News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 30 November 2022.
- ↑ "Sinisa Mihajlovic: Ex-AC Milan and Bologna manager dies after long battle with leukemia". BBC Sport (ภาษาอังกฤษ). 16 December 2022. สืบค้นเมื่อ 16 December 2022.
- ↑ "Pele: Brazil football legend dies aged 82". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 29 December 2022.
- ↑ "Vivienne Westwood: Tributes for 'Queen of British Fashion after her death". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 29 December 2022. สืบค้นเมื่อ 29 December 2022.
- ↑ "Former Pope Benedict XVI dies at 95". BBC News (ภาษาอังกฤษ). 31 December 2022. สืบค้นเมื่อ 31 December 2022.
- ↑ "The Nobel Prize in Chemistry 2022". Nobelprize.org. สืบค้นเมื่อ October 5, 2022.
- ↑ "The Nobel Prize in Literature 2022". Nobelprize.org. สืบค้นเมื่อ October 6, 2022.
- ↑ "The Nobel Peace Prize 2022". Nobelprize.org. สืบค้นเมื่อ October 7, 2022.
- ↑ "The Nobel Prize in Physics 2022". Nobelprize.org. สืบค้นเมื่อ October 4, 2022.
- ↑ "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 2022". Nobelprize.org. สืบค้นเมื่อ October 3, 2022.
- ↑ "The Sveriges Riksbank Prize in Economic Sciences in Memory of Alfred Nobel 2022", The Nobel Prize, สืบค้นเมื่อ October 10, 2022