การประท้วงในประเทศศรีลังกา พ.ศ. 2565

การประท้วงในประเทศศรีลังกา พ.ศ. 2565 เป็นการประท้วงต่อเนื่องของกลุ่มผู้ประท้วงที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ส่วนใหญ่เป็นประชาชนทั่วไปและพรรคการเมืองฝ่ายค้านที่ต่อต้านรัฐบาลของประธานาธิบดีโคฐาภยะ ราชปักษะ สาเหตุมาจากความเชื่อที่ว่า [ตระกูล] ราชปักษะไม่ได้ทำงานที่ดีในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศศรีลังกาซึ่งทำให้เกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจด้วยอัตราเงินเฟ้อรุนแรง ไฟฟ้าดับทุกวันนานถึง 10–13 ชั่วโมง การขาดแคลนเชื้อเพลิง และสิ่งอุปโภคจำเป็นมากมาย ผู้ประท้วงหลายคนต้องการให้คณะรัฐมนตรีที่ดำเนินการโดยตระกูลราชปักษะลาออก และเลือกตั้งคณะผู้ปกครองจากระบอบประชาธิปไตยที่มีคุณสมบัติเหมาะสมชุดใหม่[11][19]

การประท้วงในประเทศศรีลังกา พ.ศ. 2565
ส่วนหนึ่งของ วิกฤตเศรษฐกิจศรีลังกา
ชาวศรีลังกาประท้วงหน้าสำนักเลขาธิการประธานาธิบดีที่เมืองโคลัมโบ 13 เมษายน พ.ศ. 2565
วันที่15 มีนาคม พ.ศ. 2565[1] – 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565[2]
(7 เดือน 4 สัปดาห์ 2 วัน)
สถานที่ประเทศศรีลังกา
สาเหตุ
  • คณะรัฐมนตรีบริหารเศรษฐกิจผิดพลาด ส่งผลให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจตั้งแต่ พ.ศ. 2562 ถึงปัจจุบัน
  • ขาดแคลนเชื้อเพลิงและสิ่งของจำเป็น และไฟฟ้าดับ
  • เงินเฟ้อสูง และค่าครองชีพเพิ่มขึ้นรวดเร็ว
  • การทุจริตและความเห็นแก่ญาติของตระกูลราชปักษะ[3]
เป้าหมาย
  • โคฐาภยะ ราชปักษะ และผู้บริหารจากตระกูลราชปักษะ ลาออก
  • ร่างรัฐธรรมนูญใหม่
วิธีการการเรียกร้องทางการเมือง, ความเคลื่อนไหวทางอินเทอร์เน็ต, การจลาจล, การหยุดงาน, การประท้วง
สถานะยังดำเนินอยู่
  • ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
  • ห้ามออกนอกเคหสถานทั่วประเทศ
  • จำกัดการเข้าถึงสื่อสังคม
  • คณะรัฐมนตรีโคฐาภยะคณะที่สองลาออก
  • อชิต นิวาฑ กพราล ลาออก และนันทลาล วีรสิงหะ ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ว่าการธนาคารกลาง
  • สมาชิกรัฐสภา 41 คนของรัฐบาลกลายเป็นฝ่ายอิสระในรัฐสภา
  • ผู้ประท้วงถูกผู้สนับสนุนราชปักษะโจมตีต่อเนื่อง ผู้ประท้วงจึงตอบโต้ด้วยการโจมตีทรัพย์สินของผู้ภักดีต่อราชปักษะและสมาชิกรัฐสภาคนอื่น ๆ
  • มหินทะ ราชปักษะ ลาออก
  • ห้ามออกนอกเคหสถานทั่วเกาะตั้งแต่ 9–11 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 ต่อมาขยายถึง 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 และให้ทหารเข้าประจำหน้าที่
  • แต่งตั้งรนิล วิกรมสิงหะ เป็นนายกรัฐมนตรี
  • เบซิล ราชปักษะ สมาชิกรัฐสภา ลาออก
  • ผู้ประท้วงบุกที่พำนักประธานาธิบดีและเทมเพิลทรีส์ ที่พำนักนายกรัฐมนตรี
  • รนิล วิกรมสิงหะ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนต
  • โคฐาภยะ ราชปักษะ ลี้ภัยไปมัลดีฟส์
  • รนิล วิกรมสิงหะ ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานาธิบดีรักษาการ เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2565[4]
  • โคฐาภยะ ราชปักษะ ลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีผ่านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เมื่อวันที่ 14 กรกฏาคม พ.ศ. 2565 และลี้ภัยไปประเทศสิงคโปร์
คู่ขัดแย้ง

ผู้ประท้วงและองค์การฝ่ายค้าน:

ผู้นำ
ส่วนใหญ่ไม่มีผู้นำอย่างเป็นระบบระเบียบและเป็นศูนย์กลาง
ความสูญเสีย
ผู้ประท้วงเสียชีวิต 10 คน,[a][6][7][8][9][10]
บาดเจ็บมากกว่า 250 คน[11][12]
ถูกจับมากกว่า 600 คน[13]
อมรกีรติ อตุโกรละ (สมาชิกรัฐสภา)[14]
และผู้อารักขาเสียชีวิต[7]
สรัต กุมาระ เสียชีวิต[15]
ตำรวจเสียชีวิต 1 นาย[16]
บาดเจ็บ 24 คน[17]
ถูกจับมากกว่า 10 คน[18]

ผู้ประท้วงมักตะโกนคำยอดนิยมของการเรียกร้อง เช่น "กลับบ้านซะโคฐา", "กลับบ้านซะราชปักษะ" และ "โคฐาปิสเส็ก" (โคฐาสติวิปลาส)[20]

การประท้วงส่วนใหญ่เป็นการแสดงโดยประชาชนทั่วไป รวมทั้งครู นักเรียน แพทย์ พยาบาล ผู้เชี่ยวชาญด้านไอที เกษตรกร ทนายความ นักเคลื่อนไหวทางสังคม นักกีฬา วิศวกร และเจ้าหน้าที่ตำรวจบางนาย[21][22]

เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ประธานาธิบดีโคฐาภยะ ราชปักษะ และนายกรัฐมนตรีรนิล วิกรมสิงหะ ประกาศลาออกหลังจากผู้ประท้วงบุกโจมตีบ้านในโคลัมโบ[23] อย่างไรก็ตาม ราชปักษะสัญญาว่าจะลาออกในวันที่ 13 กรกฎาคม แต่กลับลี้ภัยออกจากประเทศไปยังมัลดีฟส์และต่อมาไปยังประเทศสิงคโปร์ ราชปักษาลาออกจากดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีในเวลาต่อมา[24][25] โดยลาออกเป็นทางการเมื่อวันที่ 14 กรกฏาคม พ.ศ. 2565[26]วันที่ 11 สิงหาคม เขาเดินทางมาถึงประเทศไทย

หมายเหตุ แก้

  1. เสียชีวิตจากการถูกตำรวจยิง 3 คน, เสียชีวิตจากการถูกอมรกีรติ อตุโกรละ (สมาชิกรัฐสภา) ยิง 1 คน, เสียชีวิตจากสาเหตุอื่น 2 คน

อ้างอิง แก้

  1. "Sri Lanka's main opposition to hold demonstration on March 15 in Colombo". economynext.com. Echelon Media Company. 7 March 2022. สืบค้นเมื่อ 11 May 2022.
  2. "Sri Lanka's Budget for 2023 aims a way out of current economic crisis". 14 November 2022.
  3. "Sri Lanka's all-powerful Rajapaksas under fire". France 24 (ภาษาอังกฤษ). 1 April 2022. สืบค้นเมื่อ 1 April 2022.
  4. Jayasinghe, Uditha; Ghoshal, Devjyot (13 July 2022). "Rajapaksa dynasty draws to humiliating close in Sri Lanka". Reuters.
  5. "Former Sri Lanka PM to summon before Human Rights Commission regarding attack on protesters". ANI News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 29 May 2022.
  6. "Two killed in shooting near Weeraketiya PS chairman's residence". Adaderana. 9 May 2022.
  7. 7.0 7.1 "Sri Lanka MP among five killed on day of violence". Al Jazeera. 8 May 2022.
  8. "UPDATE – One dead, 24 injured from gunshot injuries as protestors and police clash in Rambukkana – Latest News | Daily Mirror". www.dailymirror.lk.
  9. "Man gets electrocuted while protesting against power cuts in Sri Lanka: Police". Deccan Herald. Colombo. 3 April 2022. สืบค้นเมื่อ 3 April 2022.
  10. "Local rap star Shiraz Rudebwoy dies at protest site". Daily Mirror. Colombo. 12 April 2022. สืบค้นเมื่อ 17 April 2022.
  11. 11.0 11.1 Dhillon, Amrit (1 April 2022). "Sri Lanka: 50 injured as protesters try to storm president's house amid economic crisis". The Guardian (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 3 April 2022.
  12. "Sri Lanka PM Mahinda Rajapaksa offers to resign as crisis worsens". Al Jazeera. 9 May 2022.
  13. "Sri Lanka arrests over 600 protestors violating curfew in Western Province". The New Indian Express. 3 April 2022. สืบค้นเมื่อ 3 April 2022.
  14. "Sri Lankan PM Resigns, Ruling Party MP Killed In Clashes: 10 Points". NDTV. 8 May 2022.
  15. "Imaduwa PS Chairman dead following clash". 10 May 2022.
  16. "Violence rages in Sri Lanka, 8 killed in Negombo clash". Ani. 11 May 2022.
  17. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :5
  18. "CID arrests MPs Sanath Nishantha and Milan Jayathilake". Ada Derana. 17 May 2022.
  19. "Main opposition SJB to hold mass protest rally in Colombo". NewsWire. 13 March 2022. สืบค้นเมื่อ 1 April 2022.
  20. Srinivasan, Meera (4 April 2022). "Opposition reject Gotabaya call to join cabinet amid crisis". The Hindu (ภาษาIndian English). ISSN 0971-751X. สืบค้นเมื่อ 10 April 2022.
  21. "Sri Lanka's Leaderless Protests". thediplomat.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 18 April 2022.
  22. "Sri Lanka: The protesters". The Indian Express (ภาษาอังกฤษ). 17 April 2022. สืบค้นเมื่อ 18 April 2022.
  23. "Protestors storm Sri Lanka president's official residence in popular uprising". Economy Next. 2022-07-09. สืบค้นเมื่อ 2022-07-09.
  24. Jayasinghe, Uditha (14 July 2022). "Sri Lanka awaits president's resignation after flight". Reuters. Colombo. สืบค้นเมื่อ 14 July 2022.
  25. "Sri Lanka's embattled leader leaves Maldives on Saudi plane". Indian Express. 14 July 2022. สืบค้นเมื่อ 14 July 2022.
  26. "President Gotabaya Rajapaksa Resigns". Hiru News. 14 July 2022. สืบค้นเมื่อ 14 July 2022.