ประเทศไทยใน พ.ศ. 2565
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2565 (ค.ศ. 2022) ในประเทศไทย
| |||||
ดูเพิ่ม: |
---|
ผู้นำ
แก้- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
- นายกรัฐมนตรี:
- ประยุทธ์ จันทร์โอชา (อิสระ;[a] พักการปฏิบัติหน้าที่ระหว่างวันที่ 24 สิงหาคม – 30 กันยายน)
- ประวิตร วงษ์สุวรรณ (พลังประชารัฐ; รักษาการ 24 สิงหาคม – 30 กันยายน)
- สภาผู้แทนราษฎร: ชุดที่ 25
- ประธานสภาผู้แทนราษฎร: ชวน หลีกภัย (ประชาธิปัตย์)
- วุฒิสภา: ชุดที่ 12
- ประธานวุฒิสภา: พรเพชร วิชิตชลชัย (แต่งตั้ง)
- ประธานศาลฎีกา:
- ปิยกุล บุญเพิ่ม (จนถึง 30 กันยายน)
- โชติวัฒน์ เหลืองประเสริฐ (ตั้งแต่ 1 ตุลาคม)
เหตุการณ์
แก้มกราคม
แก้- 5 มกราคม – การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย: ประเทศไทยพบอัตราตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนมากเป็นอันดับ 13 ของโลกและเป็นอันดับ 4 ของเอเชีย โดยมีจำนวนผู้ติดเชื้อสะสม 2,062 คน[1]
- 16 มกราคม
- การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย: พบผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนรายแรกในประเทศ[2]
- มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่างในจังหวัดชุมพร เขต 1 และจังหวัดสงขลา เขต 6 ผลปรากฏว่าผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์ชนะการเลือกตั้งทั้ง 2 เขต[3][4]
- 18 มกราคม – เกิดปัญหาเนื้อหมูราคาสูง โดยหมูสามชั้น เนื้อหมู หมูแดง และหมูสันในมีราคาสูงถึง 220 บาทต่อกิโลกรัม[5] มีการตั้งข้อสงสัยว่ารัฐบาลปกปิดการระบาดของเชื้อโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรเพื่อเอื้อต่อกลุ่มทุนขนาดใหญ่[6]
- 20 มกราคม – ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า ถูกขับออกจากพรรคพลังประชารัฐ พร้อมกับ ส.ส. อีก 20 คน[7]
- 25–26 มกราคม
- ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พร้อมคณะ เดินทางเยือนประเทศซาอุดีอาระเบียในฐานะแขกของรัฐบาล นับเป็นการเยือนระดับผู้นำรัฐบาลสองประเทศครั้งแรกในรอบ 30 ปี[8] พร้อมทั้งมีการยกระดับเป็นความสัมพันธ์ปกติ[9]
- เกิดเหตุการณ์น้ำมันดิบรั่วไหลกลางทะเล บริเวณท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมชายหาดเป็นบริเวณกว้าง[10]
- 30 มกราคม – มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่างในกรุงเทพมหานคร เขต 9 ผลปรากฏว่าผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้ง[11]
กุมภาพันธ์
แก้- 18 กุมภาพันธ์ – การประชุมรัฐสภาวาระอภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติ : รังสิมันต์ โรม ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ตัวแทนจากพรรคก้าวไกล อภิปรายคำให้การของพลตำรวจตรีปวีณ พงศ์สิรินทร์ ในการดำเนินคดีการค้ามนุษย์ในประเทศไทย โดยมีประเด็นของเจ้าหน้าที่รัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์[12]
- 21 กุมภาพันธ์ – การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย: กระทรวงสาธารณสุขยกระดับเตือนภัยโควิด-19 เป็นระดับ 4 ทั่วประเทศ หลังยอดผู้ติดเชื้อเพิ่มสูง โดยมีรายงานว่าส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์โอมิครอนและเริ่มมีการแพร่ระบาดของสายพันธุ์ย่อยโอมิครอน BA.2 เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 50[13]
- 24–26 กุมภาพันธ์ – การเสียชีวิตของภัทรธิดา พัชรวีระพงษ์[14]
มีนาคม
แก้- 5–25 มีนาคม – กีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 47 ณ จังหวัดศรีสะเกษ
- 5 มีนาคม – การประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2565: นายมานะ หงษ์ทอง เสียชีวิต นับเป็นเหยื่อรายแรกที่เสียชีวิตลงโดยที่ไม่ได้เข้าร่วมการชุมนุม[15]
- 8 มีนาคม – เกิดปัญหามะนาวราคาสูง โดยราคามะนาวสูงถึงกระสอบละ 1,000 บาท[16]
- 14 มีนาคม – ประยุทธ์ จันทร์โอชา เดินทางด้วยเที่ยวบินเชิงพาณิชย์แบบเช่าเหมาลำเที่ยวบินที่สอง เพื่อเปิดใช้งานท่าอากาศยานนานาชาติเบตงอย่างเป็นทางการ[17] แต่สายการบินนกแอร์ประกาศยกเลิกเที่ยวบินในวันต่อมา[18]
- 21 มีนาคม – ผู้จัดระดับความน่าเชื่อถือ สแตนดาร์ดแอนด์พัวร์ส (S&P) ลดระดับความน่าเชื่อถือของธนาคารพาณิชย์ไทย 4 แห่ง ได้แก่ ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงไทยและธนาคารทหารไทยธนชาต[19]
เมษายน
แก้- 19 เมษายน – มีการเปิดเผยว่าภาครัฐมีภาระหนี้ที่ไม่จัดอยู่ในหนี้สาธารณะและรอการชดใช้อยู่ถึง 1 ล้านล้านบาท และกล่าวหาว่าเป็นการซุกหนี้[20]
- 20 เมษายน – ศาลสั่งคณะกรรมการการเลือกตั้งชดใช้เงินแก่สุรพล เกียรติไชยากร เป็นเงิน 70 ล้านบาท หลังถูกแจกใบส้มในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562[21]
- 22 เมษายน – สัดส่วนการถือหุ้น ธนาคารไทยพาณิชย์ของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวเพิ่มขึ้น 0.20% [22]จาก เดิม 23.38% เป็น 23.58%
พฤษภาคม
แก้- 1–2 พฤษภาคม – ฟูมิโอะ คิชิดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น เดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐบาล เนื่องในโอกาสความสัมพันธ์ไทย–ญี่ปุ่นครบ 135 ปี โดยทั้งสองฝ่ายมีการตกลงพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนด้านต่าง ๆ รวมทั้งการกู้ยืมเงิน[23]
- 21 พฤษภาคม – การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรี เขต 3 แทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. 2565 ผลปรากฏว่าผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์ชนะการเลือกตั้ง
- 22 พฤษภาคม
- มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565 ผลปรากฏว่า ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้สมัครอิสระ ชนะการเลือกตั้ง[24]
- มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565 ผลปรากฏว่า พรรคเพื่อไทยได้ที่นั่งในสภากรุงเทพมหานครมากที่สุด รองลงมาคือพรรคก้าวไกล
- มีการเลือกตั้งนายกเมืองพัทยา พ.ศ. 2565 ผลปรากฏว่า ปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ จากกลุ่มเรารักพัทยา ชนะการเลือกตั้ง[25]
- 24 พฤษภาคม – เกิดปัญหาปุ๋ยราคาสูงปุ๋ยบางสูตรราคากระสอบละมากกว่า 2,000 บาท [26]
- 30 พฤษภาคม
- การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย: มีผู้เสียชีวิตเกิน 30,000 ราย[27]
- ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้วันที่ 12 สิงหาคมของทุกปีเป็นวันผ้าไทยแห่งชาติ ตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ
มิถุนายน
แก้- 1 มิถุนายน – การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย: ยกเลิกมาตรการกักตัวผู้ที่เดินทางเข้าประเทศ[28]
- 9 มิถุนายน – ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. 2565 มีผลบังคับใช้ ทำให้เป็นประเทศแรกในเอเชียที่กัญชาไม่ผิดกฎหมาย[29]
- 14 มิถุนายน – ลอยด์ ออสติน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐ เดินทางเยือนประเทศไทยในฐานะแขกของกระทรวงกลาโหม โดยมีแถลงการณ์ระบุว่าสหรัฐต้องการเพิ่มความแข็งแกร่งของความสามารถในปฏิบัติการร่วมระหว่างกองกำลังสหรัฐและไทยและสนับสนุนต่อความต้องการของฝ่ายไทยในการปรับปรุงกองทัพให้ทันสมัย[30]
- 23 มิถุนายน – การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย: มีการผ่อนคลายมาตรการเกี่ยวกับการสวมหน้ากากอนามัย โดยให้เป็นไปตามความสมัครใจแต่ยังคงแนะนำให้ผู้มีโรคประจำตัวและผู้ที่อยู่ในพื้นที่แออัดสวมหน้ากากอนามัย[31]
- 30 มิถุนายน – เครื่องบินรบมิก-29 ของกองทัพอากาศพม่าบินรุกล้ำชายแดนไทยในบริเวณบ้านวาเล่ย์ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก[32] ทำให้ทรัพย์สินของราษฎรได้รับความเสียหายและต้องมีการอพยพฉุกเฉิน[33]
กรกฎาคม
แก้- 5 กรกฎาคม – หวัง อี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจีน เดินทางเยือนประเทศไทยในฐานะแขกของกระทรวงการต่างประเทศ เข้าหารือในเรื่องการเชื่อมโยงทางรถไฟจีน–ลาวกับไทย ด้านประยุทธ์ จันทร์โอชายืนยันว่าจะดำเนินการให้แล้วเสร็จตามกำหนด[34]
- 9–10 กรกฎาคม – แอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ เดินทางเยือนประเทศไทยในฐานะแขกของกระทรวงการต่างประเทศ มีการลงนามข้อตกลง 2 ฉบับซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับขยายความร่วมมือทางยุทธศาสตร์และพัฒนาห่วงโซ่อุปทาน[35]
- 10 กรกฎาคม – มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปาง เขต 4 แทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. 2565 ผลปรากฏว่าผู้สมัครจากพรรคเสรีรวมไทยชนะการเลือกตั้ง
- 12 กรกฎาคม – การแข่งขันฟุตบอลนัดกระชับมิตรระหว่างทีมแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดกับลิเวอร์พูลที่สนามราชมังคลากีฬาสถาน[36]
- 14 กรกฎาคม – เกิดเหตุกราดยิงที่หมู่บ้านป่าเกี๊ยะ หมู่ที่ 18 ตำบลท่าก๊อ อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 3 ราย และผู้บาดเจ็บ 2 ราย และมีสัตว์ตาย ซึ่งเป็นสุนัข
และแมวจำนวนมาก [37]
- 21 กรกฎาคม – การระบาดของฝีดาษลิง พ.ศ. 2565: พบผู้ป่วยฝีดาษลิงเป็นรายแรกของประเทศไทยที่จังหวัดภูเก็ต[38]
- 19 กรกฎาคม – มีการยอมรับว่าราชการไทยมีการใช้งานสปายแวร์เพกาซัส หลังมีรายงานว่าพบในโทรศัพท์ของกลุ่มผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาล[39]
- 19–23 กรกฎาคม – การอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2565: สภาผู้แทนราษฎรลงมติไว้วางใจคณะรัฐมนตรี[40] แต่ธรรมนัส พรหมเผ่า เปิดเผยหลักฐานว่ามีการแลกเปลี่ยนยศตำแหน่งกับการให้ลงมติไว้วางใจ[41]
- 26 กรกฎาคม–6 สิงหาคม – ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยอาเซียน 2022 ณ จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเลื่อนมาจากกำหนดการเดิมเมื่อ พ.ศ. 2563 การแข่งขันครั้งนี้ทีมชาติไทยสามารถคว้าเหรียญทองได้เป็นอันดับที่ 1
สิงหาคม
แก้- 3 สิงหาคม - เหตุกราดยิงที่จังหวัดอุบลราชธานี มีผู้เสียชีวิต 3 ราย
- 5 สิงหาคม – เกิดเหตุเพลิงไหม้สถานบันเทิงเมาเท่น บี ที่อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี มีผู้เสียชีวิต 26 คน[42]
- 10 สิงหาคม – คณะกรรมการนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย มีมติปรับดอกเบี้ยนโยบายขึ้น 0.25% เป็น 0.75%[43]
- 11 สิงหาคม – โคฐาภยะ ราชปักษะ อดีตประธานาธิบดีศรีลังกาที่ถูกประชาชนขับไล่ เดินทางถึงประเทศไทย ซึ่งมีการเปิดเผยว่าทางการไทยพิจารณาคำขอของรัฐบาลศรีลังกาบนพื้นฐานของความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างสองประเทศ[44]
- 12 สิงหาคม – พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565 ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
- 15 สิงหาคม – รัฐสภาพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่ทันเส้นตาย ทำให้กลับไปใช้ "สูตรหาร 100" ในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งหน้าโดยปริยาย[45]
- 17 สิงหาคม – ราคาไข่ไก่สูงสุดเป็นประวัติการณ์โดยขายที่ฟองละ 3.60 บาท[46]
- 24 สิงหาคม – ศาลรัฐธรรมนูญมีมติให้พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา หยุดการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะนายกรัฐมนตรีชั่วคราว หลังรับคำร้องพิจารณากรณีรัฐธรรมนูญห้ามมิให้บุคคลดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีรวมกันเกิน 8 ปี[47]
กันยายน
แก้- 4–10 กันยายน – ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันอาเซียนฟุตซอลคัพ 2022 ณ จังหวัดนครราชสีมา โดยสโมสรฟุตซอลห้องเย็นท่าข้ามจากประเทศไทยได้เป็นรองชนะเลิศอันดับที่หนึ่ง
- 13 กันยายน - เกิดเหตุนักเรียนทำปืนลั่นส่งผลให้เด็กชาย นพศิลป์ งามสุด เสียชีวิตที่โรงเรียนในจังหวัดนนทบุรี
- 14 กันยายน – เกิดเหตุกราดยิงที่กรมยุทธศึกษาทหารบก มีผู้เสียชีวิต 2 ราย[48]
- 22–25 กันยายน – ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 48 โดยฟุตบอลทีมชาติไทยได้เป็นรองชนะเลิศลำดับที่สอง
- 23 กันยายน – ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐในรอบ 15 ปี 11 เดือน[49] โดยอัตราแลกเปลี่ยนมากกว่า 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ[50]
- 30 กันยายน – ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้เริ่มนับวาระการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ตั้งแต่รัฐธรรมนูญปี 2560 มีผลใช้บังคับ[51]
ตุลาคม
แก้- 1 ตุลาคม – การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย: รัฐบาลยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน รวมระยะเวลาในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั้งสิ้น 2 ปี 6 เดือน[52]
- 6 ตุลาคม – เกิดเหตุกราดยิงที่จังหวัดหนองบัวลำภู ทำให้มีผู้เสียชีวิต 38 ราย[53](รวมผู้ก่อเหตุ) และบาดเจ็บ 10 ราย[54] ทำให้เกิดการตั้งคำถามถึงระบบภายในองค์กรตำรวจ ปัญหายาเสพติด ระบบการเตือนภัย ตลอดจนความปลอดภัยของประชาชน[55]
- 10 ตุลาคม – เกิดอุทกภัยในจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นครั้งที่ร้ายแรงที่สุดในรอบ 44 ปี[56]
- 13 ตุลาคม – พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ทรงพิธีเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ณ อุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ (บริเวณสนามม้านางเลิ้งเดิม) เขตดุสิต[57][58]
- 20 ตุลาคม – กสทช. มีมติรับทราบการควบรวมกิจการระหว่างทรูกับดีแทค ซึ่งจะทำให้บริษัทโทรคมนาคมรายใหญ่ของประเทศลดลงจาก 3 รายเหลือ 2 ราย[59]
พฤศจิกายน
แก้- 18–19 พฤศจิกายน
- ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค 2022 ที่กรุงเทพมหานคร[60]
- 18 พฤศจิกายน – การประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2565: ตำรวจควบคุมฝูงชนใช้กำลังสลายการชุมนุมผู้ประท้วงที่เดินขบวนเรียกร้องต่อกลุ่มผู้นำประเทศเอเปค เบื้องต้นมีผู้ประท้วงได้รับบาดเจ็บ 5 ราย โดยมีผู้ชุมนุมคนหนึ่งถูกยิงด้วยกระสุนยางและตาบอดเนื่องจากดวงตาสลายจากแรงกระสุน[61] ตำรวจอ้างว่าได้รับบาดเจ็บ 5 ราย และผู้ถูกจับกุม 25 ราย[62]
ธันวาคม
แก้- 15 ธันวาคม – ส.ส. 31 คนจากพรรคต่าง ๆ ลาออกจากตำแหน่ง ส.ส. และพรรคเดิมเพื่อไปสังกัดพรรคภูมิใจไทย[63]
- 18 ธันวาคม – เรือหลวงสุโขทัยล่มในอ่าวไทยเนื่องจากพายุ[64] กำลังพลเสียชีวิต 24 นาย สูญหาย 5 นาย[65]
ผู้เสียชีวิต
แก้มกราคม
แก้- 8 มกราคม – บุญทัน คล้ายละมั่ง (ศรเพชร ศรสุพรรณ) นักร้องเพลงลูกทุ่ง (เกิด พ.ศ. 2491)[66]
- 12 มกราคม – พาน สกุลนี (ไวพจน์ เพชรสุพรรณ) ศิลปินแห่งชาติ (เกิด พ.ศ. 2485)
- 16 มกราคม – มิเชล ชัยโรจน์ พูพาร์ต (ไมเคิล พูพาร์ต) นักแสดง (เกิด พ.ศ. 2512)[67]
- 17 มกราคม - สมพล พงศ์ไทย ราชบัณฑิต (เกิด พ.ศ. 2492)
- 21 มกราคม
- ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลังคนที่ 12 (เกิด พ.ศ. 2495)
- วราลัคน์ สุภวัตรจริยากุล จักษุแพทย์ (เกิด พ.ศ. 2531)
- 23 มกราคม – พระมหาคณานัมธรรมปัญญาธิวัตร (ถนอม เถี่ยนถึก) เจ้าคณะใหญ่อนัมนิกายรูปที่ 12 (เกิด พ.ศ. 2479)
- 28 มกราคม – แสวง พิบูลย์สราวุธ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมคนที่ 13 (เกิด พ.ศ. 2473)
- 31 มกราคม – ชูชีพ เอี่ยมเอิบ (วิชาญน้อย พรทวี) นักมวยไทย (เกิด พ.ศ. 2491)
กุมภาพันธ์
แก้- 1 กุมภาพันธ์ – แถมสุข นุ่มนนท์ นักประวัติศาสตร์ (เกิด พ.ศ. 2478)
- 19 กุมภาพันธ์ – ธรรมรัตน์ นาคสุริยะ นักพากย์ (เกิด พ.ศ. 2477)
- 20 กุมภาพันธ์ – เศรษฐา ศิระฉายา ศิลปินแห่งชาติ (เกิด พ.ศ. 2487)
- 24 กุมภาพันธ์
- ชานนท์ ภาคศิริ (สุรินทร์ ภาคศิริ) นักประพันธ์เพลง (เกิด พ.ศ. 2485)
- ภัทรธิดา พัชรวีระพงษ์ (นิดา พัชรวีระพงษ์) นักแสดง (เกิด พ.ศ. 2527) (ดูเพิ่ม)
- 28 กุมภาพันธ์ – พิชัย รัตตกุล ประธานรัฐสภาคนที่ 25 (เกิด พ.ศ. 2469)[68]
มีนาคม
แก้- 7 มีนาคม – ติณพงษ์ หาญตนศิริสกุล (เบิกฤกษ์ ชาติวันชัย) นักมวยไทย (เกิด พ.ศ. 2487)
- 10 มีนาคม – กรีพงศ์ เทียมเศวต (สรพงศ์ ชาตรี) ศิลปินแห่งชาติ (เกิด พ.ศ. 2492)
- 15 มีนาคม – สมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต) เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุตรูปที่ 8 (เกิด พ.ศ. 2479)
- 21 มีนาคม – วัฒน์ วรรลยางกูร นักเขียน (เกิด พ.ศ. 2498)
- 23 มีนาคม – ปภังกร ฤกษ์เฉลิมพจน์ นักแสดง (เกิด พ.ศ. 2539)
เมษายน
แก้- 4 เมษายน – สุมาลี จาติกวณิช นักการสังคม (เกิด พ.ศ. 2474)
- 6 เมษายน – เสฐียรพงษ์ วรรณปก ราชบัณฑิต (เกิด พ.ศ. 2482)
- 9 เมษายน – เสน่ห์ จามริก ราษฎรอาวุโส (เกิด พ.ศ. 2470)
- 18 เมษายน – วิทยา ศุภพรโอภาส นักสื่อสารมวลชน (เกิด พ.ศ. 2492)
- 21 เมษายน – สมชาย ไชยเวช อดีตรองอธิบดีกรมตำรวจ (เกิด พ.ศ. 2477)
- 22 เมษายน – ชาญชัย ลี้ถาวร อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์คนที่ 26 (เกิด พ.ศ. 2470)
พฤษภาคม
แก้- 3 พฤษภาคม – หม่อมราชวงศ์รุจีสมร สุขสวัสดิ์ ครู (เกิด พ.ศ. 2463)
- 4 พฤษภาคม – เจริญ คันธวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงานคนที่ 10 (เกิด พ.ศ. 2476)
- 14 พฤษภาคม – รวี สิริอิสสระนันท์ (วาด รวี) นักเขียน (เกิด พ.ศ. 2514)
- 28 พฤษภาคม – ทักษิณา สวนานนท์ อดีตสมาชิกวุฒิสภา (เกิด พ.ศ. 2480)
มิถุนายน
แก้- 5 มิถุนายน
- รุ่งเรือง อิศรางกูร ณ อยุธยา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์คนที่ 86 (เกิด พ.ศ. 2481)
- ธนยศ ชินพันธุ์ (สุริยา ชินพันธุ์) นักแสดง (เกิด พ.ศ. 2495)
- 6 มิถุนายน – ชาญชัย ไพรัชกุล อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (เกิด พ.ศ. 2472)
- 11 มิถุนายน – มาลินีมงคล อมาตยกุล (หม่อมเจ้ามาลินีมงคล ยุคล) อดีตหม่อมเจ้า (ประสูติ พ.ศ. 2483)
- 28 มิถุนายน – ไกวัล วัฒนไกร นักพากย์ (เกิด พ.ศ. 2494)
กรกฎาคม
แก้- 2 กรกฎาคม – ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารคนที่ 6 (เกิด พ.ศ. 2499)
- 6 กรกฎาคม – สมบัติ พลายน้อย (ส.พลายน้อย) ศิลปินแห่งชาติ (เกิด พ.ศ. 2472)
- 10 กรกฎาคม – วลัชณัฏฐ์ ก้องภพตารีย์ (โป๊งเหน่ง เชิญยิ้ม) นักแสดงตลก (เกิด พ.ศ. 2508)
- 23 กรกฎาคม – หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี พระอนุวงศ์ (ประสูติ พ.ศ. 2465)
สิงหาคม
แก้- 1 สิงหาคม - วีรยุทธ รสโอชา นักแสดง (เกิด พ.ศ. 2506)
- 5 สิงหาคม - เบ็ญจรงค์ ธนโกเศศ ศิลปินแห่งชาติ (เกิด พ.ศ. 2461)
- 8 สิงหาคม – วิโรจน์ ทองชิว ผู้กำกับภาพยนตร์ (เกิด พ.ศ. 2506)
- 16 สิงหาคม – เจ้าลัดดา ณ น่าน เจ้านายราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์ (ประสูติ พ.ศ. 2472)
- 18 สิงหาคม
- ยงยุทธ สัจจวาณิชย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขคนที่ 22 (เกิด พ.ศ. 2471)
- สมบัติ เมทะนี ศิลปินแห่งชาติ (เกิด พ.ศ. 2480)[69]
- 24 สิงหาคม – สมัคร ผลประเสริฐ (ยอด นครนายก) นักแสดงตลก (เกิด พ.ศ. 2492)
กันยายน
แก้- 1 กันยายน – หม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคล พระอนุวงศ์ (ประสูติ พ.ศ. 2479)
- 8 กันยายน – ภิญญา ช่วยปลอด รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์คนที่ 33 (เกิด พ.ศ. 2483)
- 15 กันยายน
- หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล ผู้กำกับภาพยนตร์ (เกิด พ.ศ. 2496)
- วิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขคนที่ 48 (เกิด พ.ศ. 2503)
- 23 กันยายน – มารุต บุนนาค ประธานรัฐสภาคนที่ 22 (เกิด พ.ศ. 2467)
- 24 กันยายน – ปัญญา จินตะเวช อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (เกิด พ.ศ. 2490)
- 25 กันยายน – หม่อมหลวงสุรีกร สุริยง (หม่อมหลวงสุรีย์วัล สุริยง) นักแสดง (เกิด พ.ศ. 2505)
- 29 กันยายน – โชคชัย บูลกุล นักธุรกิจ (เกิด พ.ศ. 2480)
ตุลาคม
แก้- 3 ตุลาคม – โกเมน ภัทรภิรมย์ อดีตสมาชิกวุฒิสภา (เกิด พ.ศ. 2475)
- 11 ตุลาคม – บรรพต วีระรัฐ (เด่น ดอกประดู่) นักแสดงตลก (เกิด พ.ศ. 2485)
- 28 ตุลาคม – นิรัตติศัย กัลย์จาฤก นักแสดง (เกิด พ.ศ. 2504)
พฤศจิกายน
แก้- 1 พฤศจิกายน – จุมพล มั่นหมาย อดีตรองเลขาธิการพระราชวัง (เกิด พ.ศ. 2493)
- 2 พฤศจิกายน – ปิยะ ตระกูลราษฎร์ นักแสดง (เกิด พ.ศ. 2497)
- 10 พฤศจิกายน –พระครูอาภัสร์ธรรมคุณ (บุญรอด อาภสฺสโร) เจ้าคณะตำบลโคกกลาง (เกิด พ.ศ. 2492)
- 25 พฤศจิกายน – สกล ชื่นตระกูล แม่ทัพภาคที่ 4 คนที่ 21 (เกิด พ.ศ. 2497)
- 22 พฤศจิกายน – หม่อมหลวงอนงค์ นิลอุบล นักเคมีอินทรีย์ (เกิด พ.ศ. 2461)
- 27 พฤศจิกายน – ลินดา ค้าธัญเจริญ นักแสดง (เกิด พ.ศ. 2499)
ธันวาคม
แก้- 18 ธันวาคม – สุชาดา ถิระวัฒน์ ครู (เกิด พ.ศ. 2467)
- 22 ธันวาคม – ชาญ เชยโสภณ (ทม วิศวชาติ) นักแสดง (เกิด พ.ศ. 2478)
เชิงอรรถ
แก้- ↑ วันที่ 9 มิถุนายน 2562 มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้ได้รับเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีจากพรรคพลังประชารัฐ
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ ""หมอธีระ" ชี้ควรสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ด้วยวัคซีน คาดหลังกลางเดือน ช่วงเร่งการระบาด". ไทยรัฐออนไลน์. January 5, 2022. สืบค้นเมื่อ January 6, 2022.
- ↑ "Thailand reports first death from Omicron coronavirus variant". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 2022-01-17.
- ↑ "ผลไม่เป็นทางการ! 'ประชาธิปัตย์'คว้าชัย โกยคะแนนเลือกตั้งซ่อม'สงขลา-ชุมพร'". naewna.com. 2022-01-16. สืบค้นเมื่อ 2022-01-17.
- ↑ ""ปชป." เฮ คะแนน "เลือกตั้งซ่อมชุมพร" ทิ้งห่าง "พปชร."". bangkokbiznews. 2022-01-16. สืบค้นเมื่อ 2022-01-17.
- ↑ ""หมูแพง" ราคาพุ่งไม่หยุด รับตรุษจีน พ่อค้าหัวหมูหยุดขายชั่วคราว". bangkokbiznews. January 18, 2022. สืบค้นเมื่อ January 18, 2022.
- ↑ "'หมออ๋อง' หดหู่จรรยาบรรณสัตวแพทย์ กรมปศุสัตว์ ปกปิด ASF ทำ 'หมูแพง'". มติชนออนไลน์. 10 January 2022. สืบค้นเมื่อ 10 January 2022.
- ↑ "เปิดชื่อ 21 ส.ส. กลุ่ม 'ธรรมนัส' พลังประชารัฐ ขับพ้นพรรค". workpointTODAY. สืบค้นเมื่อ 24 January 2022.
- ↑ ""นายกฯ"เยือน"ซาอุฯ" หารือทวิภาคี ชี้ ความสัมพันธ์ ต้องดีกว่า32ปีที่ผ่านมา". กรุงเทพธุรกิจ. 25 January 2022. สืบค้นเมื่อ 25 January 2022.
- ↑ "ไทย-ซาอุดีอาระเบีย ปรับความสัมพันธ์ทางการทูตเป็นปกติอย่างสมบูรณ์แล้ว". workpointTODAY. สืบค้นเมื่อ 26 January 2022.
- ↑ ""สตาร์ ปิโตรเลียม" ระดมกำลังจัดการคราบน้ำมันรั่วระยอง-แจ้งเบอร์เยียวยาผลกระทบผู้เดือดร้อน". สยามรัฐ. 30 January 2022. สืบค้นเมื่อ 28 February 2022.
- ↑ "กกต. เผยผลคะแนนเลือกตั้งซ่อมหลักสี่ คนออกมาใช้สิทธิ์ไม่ถึง 53%". www.thairath.co.th. 2022-02-03.
- ↑ "'ส.ส.โรม' เปิดคำให้การ 'ปวีณ' ทำคดีค้ามนุษย์จนต้องลี้ภัย เจอทหาร-ตำรวจยศใหญ่ ถูกชวนเข้าหน่วย 904". ประชาไท. 18 February 2022. สืบค้นเมื่อ 13 March 2022.
- ↑ "สธ.เตือนภัยระดับ 4 โควิดกระจายทั่วประเทศ". ไทยพีบีเอส. 21 February 2022. สืบค้นเมื่อ 1 March 2022.
- ↑ "เพื่อนเล่านาทีช็อก นิดา พลัดตกเรือ กลางแม่น้ำเจ้าพระยา จมหายต่อหน้า". ข่าวสด. 2022-02-24.
- ↑ ศูนย์ทนายฯเผย มานะ หงษ์ทอง เหยื่อกระสุนยาง คฝ. สลายม็อบดินแดง เสียชีวิต หลังป่วยติดเตียงกว่าครึ่งปี
- ↑ "มะนาวแพง ขึ้นราคาอีกกระสอบละพัน ต้องแบ่งขาย 5 ลูก 20". ไทยรัฐออนไลน์. 8 March 2022. สืบค้นเมื่อ 13 March 2022.
- ↑ "'บิ๊กตู่' บินตรงเปิดเที่ยวบินปฐมฤกษ์ สนามบินเบตง พร้อมดันเป็นฮับโลจิสติกส์ชายแดนใต้". ข่าวสด. 2022-03-14. สืบค้นเมื่อ 2022-03-14.
- ↑ "ไหวไหมเบตง! "นกแอร์" ยกเลิกเครื่องหลังนายกฯ เปิดสนามบินไม่ถึง 24 ชั่วโมง". ผู้จัดการออนไลน์. 15 March 2022. สืบค้นเมื่อ 1 April 2022.
- ↑ "S&P หั่นเรตติ้ง '4 แบงก์ไทย' นักวิเคราะห์ชี้ ส่อกระทบต้นทุนการเงิน แต่มองว่ายังเป็นกลุ่มที่น่าสนใจลงทุน". THE STANDARD. 22 March 2022. สืบค้นเมื่อ 24 March 2022.
- ↑ "คลังยันไม่ได้ซุกหนี้ 1 ล้านล้านบาท แจงเหตุไม่บรรจุเป็น "หนี้สาธารณะ"". ประชาชาติธุรกิจ. 19 April 2022. สืบค้นเมื่อ 20 April 2022.
- ↑ "ศาลสั่ง กกต.ชดใช้ "อดีต ส.ส.เชียงใหม่ พท." รวม 70 ล้าน เหตุแจกใบส้มไม่รอบคอบ". ผู้จัดการออนไลน์. 20 April 2022. สืบค้นเมื่อ 21 April 2022.
- ↑ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ธนาคารไทยพาณิชย์
- ↑ "เรื่องน่ารู้สัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น เมื่อนายกฯ ญี่ปุ่น เยือนกรุงเทพฯ". BBC News ไทย. สืบค้นเมื่อ 11 July 2022.
- ↑ "ชัชชาติ ทุบสถิติ ชนะเลือกตั้งผู้ว่า กทม. คะแนนทะลุล้าน". ประชาชาติธุรกิจ. 22 May 2022. สืบค้นเมื่อ 22 May 2022.
- ↑ "เลือกตั้งนายกพัทยา เบียร์ ปรเมศวร์ ชนะ สินธ์ไชย พาลูกทีมเข้าวินทุกเขต". ไทยรัฐ. 22 May 2022. สืบค้นเมื่อ 22 May 2022.
- ↑ "ปุ๋ยแพง" ล่าสุดปรับราคาขึ้นอีก บางสูตรทะลุ 2,000 บาท
- ↑ Coronavirus thailand 30May2022
- ↑ "เปิดประเทศ-เลิกกักตัว 1 มิ.ย. สัญญาณบวก "เที่ยวไทย"". ประชาชาติธุรกิจ. 1 June 2022. สืบค้นเมื่อ 5 June 2022.
- ↑ ""อนุทิน" ประกาศ 9 มิ.ย. ปลดล็อกกัญชาไม่มีเลื่อนแล้ว ขอประชาชนใช้เพื่อสุขภาพ | Hfocus.org เจาะลึกระบบสุขภาพ". Hfocus.org.
- ↑ ""รมว.กลาโหมสหรัฐฯ ออสติน" บินพบประยุทธ์ถึงกรุงเทพฯ กระชับสัมพันธ์แน่น เสนอตัวช่วยปรับปรุงกองทัพให้ทันสมัย เปิดวาทะเด็ด ..." ผู้จัดการออนไลน์. 14 June 2022. สืบค้นเมื่อ 11 July 2022.
- ↑ "ราชกิจจานุเบกษา ประกาศ "ถอดแมสก์" สวมหน้ากากอนามัย โดยสมัครใจ มีผลทันที". bangkokbiznews. 2022-06-23.
- ↑ "พม่าส่งเครื่องบินรบมิก-29 ล้ำแดนไทย 2 หมู่บ้านวิ่งหนีเข้าหลุมหลบภัย รร.สั่งหยุดเรียนฉุกเฉินทันที". มติชนออนไลน์. 30 June 2022. สืบค้นเมื่อ 11 July 2022.
- ↑ "เหตุระทึก เครื่องบินเมียนมา รุกล้ำไทย ชาวบ้านหนีตาย สุดกังขาทหารมีไว้ทำไม". ไทยรัฐ. 1 July 2022. สืบค้นเมื่อ 11 July 2022.
- ↑ "รมว.ต่างประเทศจีนพบประยุทธ์ ท่ามกลางความล่าช้ารถไฟไทย-จีน". BBC News ไทย. สืบค้นเมื่อ 11 July 2022.
- ↑ "บลิงเคนเซ็นข้อตกลง 2 ฉบับ ก่อนชม "ไทย" มีบทบาทผลักดันสหรัฐฯ ภายในภูมิภาคคานอำนาจ "จีน" รับปากดึงเม็ดเงินลงทุน 2.7 พันล้านดอลลาร์ธุรกิจพลังงานสีเขียวเข้าประเทศ ส่งเสริมสังคมเพื่อ LGBTQ+". ผู้จัดการออนไลน์. 10 July 2022. สืบค้นเมื่อ 11 July 2022.
- ↑ "ผลบอลศึกแดงเดือด The Match Bangkok แมนยู ฟอร์มดุ ถล่ม ลิเวอร์พูล 4-0". ประชาชาติธุรกิจ. 12 July 2022. สืบค้นเมื่อ 12 July 2022.
- ↑ "ตร.จับหนุ่มคลั่งกราดยิงที่แม่สรวย ยืนยันชาวบ้านตาย 3 ศพ บาดเจ็บ 2 ราย (คลิป)". ไทยรัฐออนไลน์. 14 กรกฎาคม 2565. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2565.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ aof (2022-07-21). "ฝีดาษวานร ไทยพบผู้ติดเชื้อรายแรก ที่ ภูเก็ต เป็นชายชาวไนจีเรีย". ประชาชาติธุรกิจ.
- ↑ "'ชัยวุฒิ' ตอบในสภาเรื่อง 'เพกาซัส' มีการใช้จริงในคดีพิเศษ-จับผู้ค้ายาเสพติด-'ปิยบุตร' เคยถูกเจาะข้อมูล 8 ครั้ง". ประชาไท. สืบค้นเมื่อ 30 July 2022.
- ↑ "Thai PM and ten ministers survive latest censure debate". ThaiPBS World. สืบค้นเมื่อ 23 July 2022.
- ↑ ""ธรรมนัส"แฉนอกจาก"แจกกล้วย"แล้วยังประเคนยศ-ตำแหน่งแลกโหวตหนุน". ฐานเศรษฐกิจ. 22 July 2022. สืบค้นเมื่อ 23 July 2022.
- ↑ เหยื่อเพลิงไหม้ MOUNTAIN B เสียชีวิตเพิ่ม รายที่ 26 จ.ชลบุรี, สืบค้นเมื่อ 2022-10-27
- ↑ "มติกนง. 6 ต่อ1.ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.25 % ต่อปี". คมชัดลึกออนไลน์. 10 August 2022. สืบค้นเมื่อ 21 August 2022.
- ↑ ""โกตาบายา ราชปักษา" อดีต ปธน.ศรีลังกา ที่ถูกประชาชนขับไล่ ถึงไทยแล้ว". ประชาชาติธุรกิจ. 11 August 2022. สืบค้นเมื่อ 11 August 2022.
- ↑ "สูตรคำนวณปาร์ตี้ลิสต์ : สภาล่มตามคาด ปิดม่านสูตรหาร 500 กลับไปใช้สูตรหาร 100". BBC News ไทย. 15 August 2022. สืบค้นเมื่อ 15 August 2022.
- ↑ อาหารสัตว์ดันราคาไข่ไก่ทะลุ 3.60 บาทต่อฟอง
- ↑ "เปิดมติฉบับเต็ม! ศาลรธน.สั่งเด็ดขาดให้ 'ประยุทธ์' หยุดปฏิบัติหน้าที่นายกฯ". เดลินิวส์. สืบค้นเมื่อ 24 August 2022.
- ↑ ศาลทหาร อนุมัติฝากขัง "จ่าคลั่ง" 12 วัน คุมส่งเรือนจำ มณฑลทหารบกที่ 11 นครปฐม
- ↑ "บาทยวบสุด 16 ปี คลังถกด่วนธปท. แก้อ่อนค่าเร็วไป". thaipost. 22 September 2022. สืบค้นเมื่อ 22 September 2022.
- ↑ "เงินบาท" เปิดอ่อนค่า 37.37 บ. หลังดอลลาร์แข็ง". ข่าวหุ้น. 23 September 2022. สืบค้นเมื่อ 23 September 2022.
- ↑ ""บิ๊กตู่" ไปต่อ! ศาล รธน.ชี้ 8 ปีนายกฯ เริ่มนับ 6 เม.ย.60". ผู้จัดการออนไลน์. 30 September 2022. สืบค้นเมื่อ 30 September 2022.
- ↑ "ยุบ ศบค. ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน คุมโควิด-19 ตั้งแต่ 1 ต.ค." BBC News ไทย. 23 September 2022. สืบค้นเมื่อ 1 October 2022.
- ↑ ยอดล่าสุดเหยื่อกราดยิงเด็กเล็กหนองบัวลำภู 38 ราย
- ↑ ""กราดยิงหนองบัวลำภู" ฌาปนกิจศพครอบครัวผู้สูญเสียเท่านั้น". กรุงเทพธุรกิจ. 2022-10-08. สืบค้นเมื่อ 2022-10-08.
- ↑ "สรุปเหตุกราดยิงหนองบัวลำภูที่พรากชีวิตคนไปอย่างน้อย 36 ราย สู่คำถามต่อความปลอดภัยของ ปชช". The MATTER. 6 October 2022. สืบค้นเมื่อ 6 October 2022.
- ↑ "อุบลฯน้ำท่วมหนักสุดรอบ 44 ปี เร่งป้องถนนเลี่ยงเมือง ก่อน 2 อำเภอถูกตัดขาด". มติชนออนไลน์. 10 October 2022. สืบค้นเมื่อ 10 October 2022.
- ↑ "ในหลวง-พระราชินีเสด็จฯ เปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ ร.9". BBC ไทย. 2022-10-13.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ หนึ่ง (2022-10-13). "'ในหลวง-พระราชินี' ทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ ร.9 เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต 13 ตุลาคม".
- ↑ "ทรู ดีแทค: ก สทช. ไฟเขียวดีล ท่ามกลางเสียงค้านของกลุ่มผู้บริโภค". BBC News ไทย. 20 October 2022. สืบค้นเมื่อ 21 October 2022.
- ↑ "Thailand Announces Dates for APEC Economic Leaders' Meeting". APEC (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ ""พายุ ดาวดิน" 7 วัน หลังเสียดวงตาจากการสลายการชุมนุมหยุดเอเปค". BBC News ไทย. 2022-11-25.
- ↑ "เอเปค : กลุ่มราษฎรแจ้งความเอาผิด "คฟ." ขณะตาขวา "พายุ ดาวดิน" ได้รับบาดเจ็บสาหัส". BBC News ไทย. 18 November 2022. สืบค้นเมื่อ 21 December 2022.
- ↑ "31 ส.ส.ลาออกมีผลวันนี้! พปชร.ไหลมากสุด 11 คน-พท.7-ก.ก.5 จับตาภูมิใจไทยเปิดตัว 16 ธ.ค." มติชนออนไลน์. 15 December 2022. สืบค้นเมื่อ 15 December 2022.
- ↑ จนท.นำเรือฝ่าคลื่นไปรับลูกเรือ-ศพ จากเรือน้ำมันที่ช่วยเหลือ-กลับคืนฝั่ง
- ↑ เกาะติดทร.ค้นหาผู้สูญหายเรือหลวงสุโขทัย อัปเดตล่าสุด (26 ธ.ค.)
- ↑ 146 (2022-01-08). "อาลัย สิ้นศรเพชร ศรสุพรรณ ปิดตำนาน นักร้องลูกทุ่งชื่อดัง". ข่าวสด.
{{cite web}}
: CS1 maint: numeric names: authors list (ลิงก์) - ↑ "ช็อก!! อดีตดารา "ไมเคิล พูพาร์ต" เสียชีวิตคาบ้านพัก". TNN. January 16, 2022. สืบค้นเมื่อ January 16, 2022.
- ↑ "'พิชัย รัตตกุล' อดีตประธานรัฐสภา-หัวหน้าปชป. ถึงแก่อนิจกรรม สิริอายุ 96 ปี". Matichon. February 28, 2022. สืบค้นเมื่อ February 28, 2022.
- ↑ "อาลัย "สมบัติ เมทะนี" พระเอกตัวจริงในตำนาน เสียชีวิตแล้ว". TNN Online. 2022-08-18. สืบค้นเมื่อ 2022-08-18.