ชัชชาติ สิทธิพันธุ์
รองศาสตราจารย์ ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ (ชื่อเล่น: ทริป) เป็นอดีตสมาชิกพรรคเพื่อไทย อดีตรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตผู้ช่วยอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขามีสมญาที่ประชาชนตั้งให้ว่า บุรุษที่แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี[1] รวมถึงเป็นคนที่สนิทสนมกับคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ อดีตประธานยุทธศาสตร์การเลือกตั้งของพรรคเพื่อไทยที่เขาเคยเป็นสมาชิกด้วย
รองศาสตราจารย์ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ม.ป.ช., ม.ว.ม. | |
---|---|
![]() | |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม | |
ดำรงตำแหน่ง 27 ตุลาคม พ.ศ. 2555 – 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 | |
นายกรัฐมนตรี | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ |
ถัดไป | พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม | |
ดำรงตำแหน่ง 18 มกราคม พ.ศ. 2555 – 27 ตุลาคม พ.ศ. 2555 | |
นายกรัฐมนตรี | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2509 (54 ปี) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | พรรคเพื่อไทย (?–2562) |
คู่สมรส | ปิยดา สิทธิพันธุ์ |
ศาสนา | พุทธ |
ประวัติแก้ไข
ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เป็นบุตรของพลตำรวจเอกเสน่ห์ สิทธิพันธุ์ อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล กับจิตต์จรุง สิทธิพันธุ์ (สกุลเดิม: กุลละวณิชย์)[2] มีพี่น้องร่วมบิดา-มารดา สองคนคือ
- ดร.ปรีชญา สิทธิพันธุ์ - อาจารย์ประจำภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- รศ. นายแพทย์ ฉันชาย สิทธิพันธุ์ - กรรมการแพทยสภาวาระ พ.ศ. 2562-2564 รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ทัวร์-พี่ฝาแฝด)
ชัชชาติสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษา จากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา[3] สำเร็จปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธา (เกียรตินิยมอันดับ 1) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโครงสร้าง จากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ และวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ เออร์แบนา-แชมเปญจน์ สหรัฐอเมริกา ด้วยทุนมูลนิธิอานันทมหิดล ประจำปี พ.ศ. 2530[4]
ชัชชาติสมรสกับปิยดา อัศวฤทธิภูมิ พนักงานการบินไทย มีบุตรชายหนึ่งคน[2]
ประวัติการศึกษาและการอบรมแก้ไข
- ปริญญาเอก วิศวกรรมโยธา (โครงสร้าง) มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ เออร์แบนา-แชมเปญจน์ ประเทศสหรัฐอเมริกา
- ปริญญาโท วิศวกรรมโยธา (โครงสร้าง) สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา
- ปริญญาโท บริหารธุรกิจ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ปริญญาตรี วิศวกรรมโยธา (เกียรตินิยมอันดับหนึ่งเหรียญทอง) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประวัติการอบรมหลักสูตรกรรมการแก้ไข
- หลักสูตร Risk Management Program for Corporate Leaders
- หลักสูตร Directors Certification Program (DCP)
- หลักสูตร Finance for Non-Finance Directors (FND)
ประวัติการอบรมอื่นๆแก้ไข
- หลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านการบริหารงานพัฒนาเมือง (มหานคร รุ่นที่ 4) วิทยาลัยพัฒนามหานคร มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
- หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง สถาบันวิทยาการตลาดทุน (วตท. รุ่นที่ 22) [5]
การทำงานแก้ไข
ชัชชาติเคยทำงานเป็นวิศวกรโครงสร้างในบริษัทเอกชน ต่อมาในปี พ.ศ. 2538 ได้เข้ารับราชการเป็นอาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับแต่งตั้งตำแหน่งทางวิชาการเป็นรองศาสตราจารย์ และได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยอธิการบดี ฝ่ายจัดการทรัพย์สิน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 - พ.ศ. 2555 นอกจากนั้นยังเคยดำรงตำแหน่งกรรมการในรัฐวิสาหกิจหลายแห่ง อาทิ บริษัทขนส่ง จำกัด การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และบริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด[6]และในปี พ.ศ. 2551 - เดือน มกราคม พ.ศ. 2555 เป็นกรรมการอิสระ กรรมการตรวจสอบ และกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน บมจ. แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์[7]
ชัชชาติในฐานะนักวิชาการ ได้มีโอกาสเข้ามาช่วยงานและให้คำปรึกษาแก่กระทรวงคมนาคมในสมัยรัฐบาลทักษิณ 2 และรัฐบาลสมัคร โดยที่ไม่ได้มีตำแหน่งใดๆ จนกระทั่ง พ.ศ. 2555 เขาได้รับการทาบทามทางโทรศัพท์[8] จากนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม แม้ทางมารดาจะไม่เห็นด้วย[8] แต่เขาก็ตกลงเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมในเดือนมกราคม พ.ศ. 2555[9] จากการที่เขาเข้ามารับงานทางการเมืองเป็นครั้งแรก ทำให้ในช่วงแรกในตำแหน่งรัฐมนตรี เขากลายเป็นรัฐมนตรีที่ประชาชนไม่รู้จักมากที่สุด[10] และจากการปรับคณะรัฐมนตรีครั้งต่อมา เขาก็ได้รับแต่งตั้งขึ้นเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2555[11]
ชัชชาติในฐานะรัฐมนตรีคมนาคมถือเป็นบุคคลระดับหัวกะทิของรัฐบาลในด้านการวางยุทธศาสตร์ของประเทศ[ต้องการอ้างอิง] เขาได้รับการกล่าวถึงในฐานะรัฐมนตรี "ดูโอเศรษฐกิจ" ของรัฐบาลคู่กับกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ[ต้องการอ้างอิง] และ "ดูโอระบบราง" คู่กับประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการรถไฟฯ[ต้องการอ้างอิง] ที่นโยบายของ ชัชชาติให้ความสำคัญกับการขนส่งระบบรางเป็นพิเศษ ผลงานในช่วงที่เขาเป็นรัฐมนตรี อาทิ การแก้แบบสถานีกลางบางซื่อให้รองรับรถไฟความเร็วสูง[12], การแก้แบบสายสีแดงเข้มจาก 3 ทางเป็น 4 ทาง[12], การจัดซื้อจัดขบวนรถด่วนพิเศษ CNR จำนวน 8 ขบวน, การเปลี่ยนรางรถไฟในภาคเหนือตอนบนทั้งหมด[13], ให้ข้าราชการระดับ 9 ขึ้นไปนั่งรถเมล์มาทำงานแล้วรายงานปัญหา[14]
วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ชัชชาติเป็นหนึ่งในตัวแทนฝ่ายรัฐบาลที่เข้าร่วมประชุมกับบรรดาแกนนำและตัวแทนฝ่ายต่าง ๆ เพื่อหาทางออกประเทศ ที่จัดขึ้นโดยกองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (กอ.รส.) หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 ในเดือนสิงหาคม ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2557 เขาเป็นกรรมการอิสระ กรรมการตรวจสอบ กรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน และประธานคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง บมจ. แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ในปี 2558 - 2561 กรรมการ บมจ. โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์[15] และวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2560 รัฐบาลทหารได้ตั้งเขาเป็นกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน[16] ชัชชาติชี้แจงว่าไม่ทราบเรื่องมาก่อน และยื่นใบลาออกจากตำแหน่งกรรมการในวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2560
ความนิยมแก้ไข
ดร. ชัชชาติ มีภาพลักษณ์เป็นรัฐมนตรีติดดิน อาทิ ซ้อนจักรยานยนต์รับจ้าง[17] โหนรถเมล์[18] นั่งรถสองแถว โดยสารรถไฟ ออกตรวจตราราชการในพื้นที่ต่าง ๆ[19][20] รวมถึงการลงพื้นที่เพื่อตรวจปัญหาด้วยตนเอง[21][22] หลายครั้งที่เขาไปตรวจงานตามองค์กรของรัฐโดยที่ไม่ได้แจ้งให้ทราบล่วงหน้า[23]
สำหรับในโลกออนไลน์ ความนิยมได้เริ่มขึ้นมาจากรูปภาพหนึ่งที่ ดร. ชัชชาติ เข้าไปทำบุญใส่บาตรภายในวัดแห่งหนึ่งที่จังหวัดสุรินทร์ โดยมีลักษณะสวมเสื้อแขนกุด หิ้วถุงอาหาร และเดินด้วยเท้าเปล่า หลังจากภาพนี้ เผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต มีผู้คนตัดต่อภาพล้อเลียน รวมถึงเลียนแบบท่าทางในรูปดังกล่าวเป็นจำนวนมาก และได้รับการกล่าวขนานนามว่าเป็น"รัฐมนตรีที่แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี" จนกระทั่งมีแอปพลิเคชันในโทรศัพท์เคลื่อนที่สำหรับ ดร. ชัชชาติ โดยเฉพาะ[24]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข
- พ.ศ. 2556 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[25]
- พ.ศ. 2555 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[26]
ลำดับสาแหรกแก้ไข
พงศาวลีของชัชชาติ สิทธิพันธุ์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ กรองกระแส / ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ บทบาท สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ทัพหลวง เพื่อไทย มติชน. 5 มกราคม 2562
- ↑ 2.0 2.1 บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์
- ↑ จากนักวิชาการสู่รัฐมนตรี "ชัชชาติ สิทธิพันธุ์" ขอพิสูจน์ตัวเองด้วยผลงาน
- ↑ รายนามผู้ได้รับพระราชทานทุนอานันทมหิดล
- ↑ คณะกรรมการบริษัท ควอลิตี้เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)
- ↑ ประวัติกรรมการ
- ↑ คณะกรรมการบริษัท ควอลิตี้เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)
- ↑ 8.0 8.1 จากนักวิชาการสู่รัฐมนตรี "ชัชชาติ สิทธิพันธุ์" ขอพิสูจน์ตัวเองด้วยผลงาน. มติชน. 23 กันยายน 2555
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 2)
- ↑ เปิดชื่อ 10 อันดับรัฐมนตรีที่ปชช.พอใจและ 10 อันดับรมต. โลกลืม
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 3)
- ↑ 12.0 12.1 ปรับแบบสถานีกลางบางซื่อรับไฮสปีดงบก่อสร้างเพิ่มไม่ควรเกินหมื่นล. ผู้จัดการออนไลน์. 26 สิงหาคม 2556.
- ↑ "ชัชชาติ" ชี้แจงปิดซ่อมทางรถไฟสายเหนือ 16 ก.ย.นี้-ถกร่าง2ล้านล้านสัปดาห์หน้า ไทยพีบีเอส. 14 กันยายน 2556
- ↑ 'ชัชชาติ'สั่งข้าราชการซี9ขึ้นไปนั่งรถเมล์ กรุงเทพธุรกิจ. 25 มิถุนายน 2556
- ↑ คณะกรรมการบริษัท ควอลิตี้เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/242/26.PDF
- ↑ ชาวเน็ตแห่แชร์ ‘ชัชชาติ‘ นั่งวิน จยย.ไปทำงาน
- ↑ 'ชัชชาติ'นั่งรถเมล์ แจงปัญหาสารพัด
- ↑ "ชัชชาติ" เดินสายนั่งรถไฟชั้น 3 ตรวจงานสุรินทร์[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ชัชชาติ" นั่งรถไฟไปสุรินทร์พร้อมปรับปรุงรถเก่าคนไม่พอ[ลิงก์เสีย]
- ↑ ชัชชาติ ไปดูกับตา! ไม้กั้นทางรถไฟผีสิง เสียงดังข้ามคืน
- ↑ ชัชชาติขึ้นรถทัวร์ดูบินลาวตกที่ปักเซ
- ↑ "ชัชชาติ" เจอเองเต็ม ๆ นั่งรถเมล์ หวิดขึ้นเครื่องบินไม่ทัน[ลิงก์เสีย]
- ↑ “ชัชชาติ” Go Viral!! เมื่อรัฐมนตรีกลายเป็น “เน็ตไอดอล"
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี 2556, เลม 130 ตอนที่ 30 ข, 6 ธันวาคม 2556.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี 2555, เล่ม 129 ตอน 35 ข, 3 ธันวาคม 2555.
ก่อนหน้า | ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (ครม. 60) (29 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557) |
พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง |