วิศวกร คือผู้ที่ประกอบอาชีพทางด้านวิศวกรรม มีหน้าที่ ศึกษาวิเคราะห์ คำนวณ ออกแบบ ตรวจสอบแก้ไขปัญหาและควบคุมการผลิต อาทิ การก่อสร้างสิ่งก่อสร้าง การออกแบบและผลิตรถยนต์ การควบคุมเครื่องจักรกลโรงงานต่าง ๆ โดยวิศวกรยังแบ่งออกได้เป็นหลายสาขา เช่น วิศวกรโยธา วิศวกรเครื่องกล วิศวกรไฟฟ้า วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม วิศวกรรมเคมี วิศวกรรมอุตสาหการ วิศวกรรมโทรคมนาคม วิศวกรรมเกษตร วิศวกรรมอากาศยาน วิศวกรรมการขนถ่ายวัสดุ วิศวกรรมโลหการ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมเซรามิก วิศวกรรมเหมืองแร่ วิศวกรรมยานยนต์ วิศวกรรมธรณี ฯลฯ

วิศวกร
พระวิศวกรรม เทพองค์อุปถัมภ์ของงานช่าง
อาชีพ
ประเภทอาชีพ
วิชาชีพ
กลุ่มงาน
วิทยาศาสตร์ประยุกต์
รายละเอียด
ความสามารถคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ การแก้ปัญหา การออกแบบ
สถานที่
ปฏิบัติงาน
หน่วยงานหรือบริษัทตามสาขาอาชีพ, สถาบันวิจัย
อาชีพที่เกี่ยวข้อง
นักวิทยาศาสตร์ สถาปนิก นักบินอวกาศ
วิศวกรกำลังดูแบบเครื่องจักร

วิศวกรในประเทศไทย

แก้

กฎหมายไทย (กฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 3 และ 4 (พ.ศ. 2508) ออกตามความในพระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม พ.ศ. 2505) กำหนดให้วิศวกรในบางสาขาจำเป็นต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรม หรือที่รู้จักกันว่า "ใบ กว." เพื่อการประกอบอาชีพด้วย ได้แก่ สาขาโยธา เครื่องกล ไฟฟ้ากำลัง ไฟฟ้าสื่อสาร อุตสาหการ เหมืองแร่ สิ่งแวดล้อม และเคมี ใบประกอบวิชาวิศวกรรมแบ่งเป็น 4 ระดับ ดังนี้

  • ภาคีวิศวกร (พิเศษ)
  • ภาคีวิศวกร
  • สามัญวิศวกร
  • วุฒิวิศวกร

โดยมีสภาวิศวกรเป็นผู้พิจารณาออกใบอนุญาต ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ แขนง ลักษณะ และขนาดของงานด้วย แต่ถ้าหากสาขา แขนง ลักษณะ และขนาดของงาน ไม่เข้าข่ายที่กำหนด ก็ไม่จำเป็นต้องมีใบอนุญาต ในปัจจุบัน การศึกษาทางด้านวิศวกรรมในประเทศไทย ได้มีการขยายตัวมากขึ้น มีสถาบันการศึกษาหลายสถาบันได้ทำการเปิดสอนในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต ทำให้โอกาสทางการศึกษาทางด้านวิศวกรรมมีเพิ่มมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม สถาบันการศึกษาเหล่านั้นก็จะต้องให้ความสำคัญกับคุณภาพของการศึกษาด้วยความเอาใจใส่ เพื่อคุณภาพของนักศึกษา

หาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

แก้