นักบินอวกาศ คือ บุคคลที่เดินทางไปกับยานอวกาศ ไม่ว่าจะไปในฐานะใด และไม่ว่าจะไปด้วยยานอวกาศแบบไหน ทั้งที่โคจรรอบโลก (ในระยะสูงจากพื้นราว 80-100 กิโลเมตรขึ้นไป) หรือที่เดินทางออกไปยังตำแหน่งอื่นใดนอกวงโคจรของโลก

บรูซ แมคแคนด์เลส 2 นักบินอวกาศชาวอเมริกัน ขณะทำงานอยู่นอกกระสวยอวกาศชาเลนเจอร์ เมื่อ พ.ศ. 2527 (ภาพจากองค์การนาซา)

คำว่า นักบินอวกาศ ในภาษาไทย นั้น ตรงกับคำศัพท์ในภาษาอังกฤษ ว่าแอสโตรนอต (astronaut) ซึ่งมีความหมายอย่างที่กล่าวมา เป็นที่น่าสังเกตว่า คำว่า นักบินอวกาศ ไม่ได้มีความหมายเฉพาะผู้ที่เป็นนักบิน (pilot) เท่านั้น แต่มีความหมายอย่างที่อาจเข้าใจได้ง่ายๆ ว่า ลูกเรืออวกาศ นั่นเอง อย่างไรก็ตาม ในภาษาไทยยังมีคำศัพท์อีกคำ ที่มีความหมายเช่นนี้ นั่นคือ มนุษย์อวกาศ

คำว่า แอสโตรนอต ในภาษาอังกฤษนั้น มีที่มาจากคำศัพท์ในภาษากรีก สองคำ คือ astro หมายถึงดวงดาว และ nautes ซึ่งหมายถึง กะลาสี

ปัจจุบันมีนักบินอวกาศหลายชาติ จึงมีการสร้างคำสำหรับเรียกนักบินอวกาศของแต่ละชาติต่างๆ กัน เช่น นักบินในโครงการอวกาศของรัสเซีย เรียกว่า คอสโมนอต (cosmonaut) อันเป็นการสร้างคำจากคำศัพท์จากภาษากรีกเช่นกัน โดยใช้คำว่า kosmo ที่หมายถึง อวกาศ และคำว่า nautes ที่หมายถึง กะลาสี

ส่วนในยุโรป มีการสร้างศัพท์ขึ้นใหม่ ว่า สเปชันนอต (spationaut) เป็นคำประสม ระหว่าง space ในภาษาละติน (อวกาศ) และ nautes ในภาษากรีก (กะลาสี) โดยมีความหมายว่านักบินอวกาศ หรือมนุษย์อวกาศ นั่นเอง

ส่วนในจีน เรียกว่า ไทโคนอต (taikonaut) ซึ่งเป็นคำศัพท์ที่คิดขึ้นใหม่ เมื่อ เดือนพฤษภาคม ปี ค.ศ. 1998 โดยสื่อมวลชนชาวมาเลเซีย ชื่อ Chiew Lee Yih ซึ่งมาจากคำว่า ไท่คง (太空) ในภาษาจีน หมายถึง อวกาศ แต่ในภาษาจีนนั้น มีคำว่า อยู่หาง หยวน (宇航員, ต้นหนอวกาศ) ซึ่งใช้กันมานานในความหมายว่า นักบินอวอากาศและมนุษย์อวกาศ ในภาษาพูดทั่วไปจะใช้ว่า ไท่คงเหริน (太空人) มีความหมายว่ามนุษย์อวกาศนั่นเอง แต่ข้อความภาษาอังกฤษที่ทางการจีนใช้เรียกนักบินอวกาศของตน ยังคงใช้ว่า astronaut ตามปกติ[1][2]

การบินในอวกาศโดยมนุษย์

แก้
 
  Currently have human spaceflight programs.
  Confirmed and dated plans for human spaceflight programs.
  Plans for human spaceflight on the simplest form (suborbital spaceflight, etc.).
  Plans for human spaceflight on the extreme form (space stations, etc.).
  Once had official plans for human spaceflight programs, but have since been abandoned.
ประเทศ/องค์กร องค์การอวกาศ ท่าอวกาศยาน นักบินอวกาศคนแรก วันที่เริ่ม
  สหภาพโซเวียต โครงการอวกาศโซเวียต ท่าอวกาศยานบัยโกเงอร์,
คาซัคสถาน
ยูรี กาการิน 12 เมษายน 1961
  สหรัฐ นาซา ฐานทัพอากาศแหลมคานาเวอรัล
และศูนย์อวกาศเคนเนดี
อลัน เชพเพิร์ด 5 พฤษภาคม 1961
  รัสเซีย รัฐวิสาหกิจรอสคอสมอส ท่าอวกาศยานบัยโกเงอร์,
คาซัคสถาน
อเล็กซานเดอร์ คาเรรี
อเล็กซานเดอร์ วิกตอเรนโก้
17 มีนาคม 1992
  จีน องค์การบริหารอวกาศแห่งชาติจีน ศูนย์ส่งดาวเทียมจิ่วเฉฺวียน หยาง ลีเหว่ย 15 ตุลาคม 2003
  องค์การอวกาศยุโรป องค์การอวกาศยุโรป ท่าอวกาศยานยุโรปเฟรนช์เกียนา,
เฟรนช์เกียนา, ฝรั่งเศส
... 2020
  อินเดีย องค์การวิจัยอวกาศอินเดีย ศูนย์อวกาศซาทิช ดาวน ... 2022
  ญี่ปุ่น องค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น ศูนย์อวกาศทะเนะงะชิมะ ... ...

ประเทศที่ส่งนักบินอวกาศในปัจจุบัน

แก้

ประเทศที่มีแผนที่จะส่งนักบินอวกาศ

แก้

นักบินอวกาศคนแรกของประเทศ

แก้
 
แผนที่นักบินอวกาศแบ่งตามประเทศ

สมุดภาพ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Chiew, Lee Yih (19 May 1998). "Google search of "taikonaut" sort by date". Usenet posting. Chiew Lee Yih. สืบค้นเมื่อ 27 September 2008.
  2. Chiew, Lee Yih (10 March 1996). "Chiew Lee Yih misspelled "taikonaut" 2 years before it first appear". Usenet posting. Chiew Lee Yih. สืบค้นเมื่อ 27 September 2008.
  3. "BBC News - Sci/Tech - Expensive ticket to ride". News.bbc.co.uk. สืบค้นเมื่อ 11 August 2017.
  4. "BBC News - SCI/TECH - Space tourist lifts off". News.bbc.co.uk. สืบค้นเมื่อ 11 August 2017.
  5. "BBC NEWS - Science/Nature - Lift-off for woman space tourist". News.bbc.co.uk. สืบค้นเมื่อ 11 August 2017.
  6. "'It's not tourism for me': Meet Australia's next space traveller". smh.com.au. สืบค้นเมื่อ 20 June 2022.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้