ราเกซ เชอร์มา (เกิด 13 มกราคม ค.ศ. 1949) เป็นอดีตนักบินกองทัพอากาศอินเดียซึ่งบินบนยานโซยุซ ที-11 ซึ่งปล่อยวันที่ 3 เมษายน ค.ศ. 1984 เป็นส่วนหนึ่งของโครงการอินเตอร์คอสมอส เชอร์มาเป็นชาวอินเดียคนแรกที่เดินทางในอวกาศ[1][2]


ราเกซ เชอร์มา

เกิด (1949-01-13) 13 มกราคม ค.ศ. 1949 (75 ปี)
ปาเตียละ, รัฐปัญจาบ, อินเดีย
สัญชาติอินเดีย
อาชีพนักบินฝึกหัดที่กองทัพอากาศอินเดีย
รางวัล Ashok Chakra
วีรชนแห่งสหภาพโซเวียต
อาชีพในอวกาศ
อยู่บนอวกาศ
7 21 40นา
การคัดเลือกค.ศ.1982
ภารกิจโซยุซ T-11 / โซยุซ T-10
เครื่องหมายภารกิจ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ อินเดีย
แผนก/สังกัดFlag of the กองทัพอากาศอินเดีย กองทัพอากาศอินเดีย
ชั้นยศ นาวาอากาศโท
คู่สมรสMadhu
บุตรสอง, Kartika (ลูกสาว) กับ Kapil Sharma (ลูกชาย)

ชีวิตช่วงต้น แก้

ราเกซ เชอร์มาเกิดวันที่ 13 มกราคม ค.ศ. 1949 ที่ปาเตียลา รัฐปัญจาบ ประเทศอินเดีย เขาเข้าศึกษาที่โรงเรียนไวยากรณ์เซนต์จอจส์ ไฮเดอราบาด เขาสำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยนีซัม เขาเข้าร่วมนักเรียนนายทหารกองทัพอากาศใน ค.ศ. 1966

อาชีพ แก้

เขาเป็นศิษย์เก่าวิทยาลัยกลาโหมแห่งชาติรุ่นที่ 35 เข้าร่วมเป็นนักบินทดสอบในกองทัพอากาศอินเดียใน ค.ศ. 1970 เขาบินอากาศยานมีโคยัน-กูเรวิชหลายเที่ยวตั้งแต่ ค.ศ. 1971 ราเกซก้าวหน้าอย่างรวดรเวผ่านหลายระดับ และใน ค.ศ. 1984 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นหัวหน้าฝูงบินและนักบินในกองทัพอากาศอินเดีย[3] เขาได้รับเลือกเมื่อวันที่ 20 กันยายน ค.ศ. 1982 ให้เป็นนักบินอวกาศและเป็นส่วนหนึ่งของโครงการร่วมระหว่างองค์การวิจัยอวกาศอินเดียและโครงการอวกาศอินเตอร์คอสมอสของโซเวียต[4]

เขาเกษียณจากยศผู้บังคับการกองบิน และเข้าร่วมการบินฮินดูสถาน จำกัด (HAL) ใน ค.ศ. 1987 และเป็นหัวหน้านักบินทดสอบในกองนาชิก (Nashik) ของ HAL จน ค.ศ. 1992 ก่อนย้ายไปบังกาลอร์เพื่อทำงานเป็นหัวหน้านักบินทดสอบของ HAL เขายังสัมพันธ์กับอากาศยานรบเบา เธจัส[4]

การบินอวกาศ แก้

ใน ค.ศ. 1984 เขาเป็นพลเมืองอินเดียคนแรกที่ไปอวกาศเมื่อเขาบินบนจรวดโซยุซ ที-11 ของโซเวียตที่ปล่อยจากท่าอวกาศยานบัยโกเงอร์ในสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคาซัค วันที่ 2 เมษายน ค.ศ. 1984 เขาใช้เวลาบนยาน 7 วัน 21 ชั่วโมง 40 นาทีระหว่างที่ทีมทำการศึกษาทางวิทยาศาสตร์และเทคนิคซึ่งมีช่วงทดลอง 43 ช่วง เขาทำงานเป็นหลักในสาขาชีวการแพทย์และการสัมผัสระยะไกล[4] ประเทศอินเดียกลายเป็นชาติที่ 14 ที่ส่งคนสู่อวกาศ[4]

รางวัล แก้

เขาได้รับเกียรติวีรบุรุษแห่งสหภาพโซเวียตเมื่อกลับจากอวกาศ รัฐบาลอินเดียมอบรางวัลวีรคติสูงสุด (ระหว่างยามสงบ) อโศกจักร (Ashoka Chakra) แก่เขาและสมาชิกโซเวียตสองคนในภารกิจนั้น มาลีเชฟและสเตรคาลอฟ[4]

อ้างอิง แก้

  1. "Cosmonaut Biography: Rakesh Sharma". Spacefacts.de. สืบค้นเมื่อ 2012-07-06.
  2. "Rakesh Sharma". Mapsofindia.com. สืบค้นเมื่อ 2012-07-06.
  3. "Rakesh Sharma". aerospaceguide.net. สืบค้นเมื่อ 4 June 2014.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 Srinivasan, Pankaja (2010-04-04). "The down to earth Rakesh Sharma". The Hindu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-24. สืบค้นเมื่อ 2014-04-05.