ปัญจาบ (ปัญจาบ: ਪੰਜਾਬ) เป็นรัฐหนึ่งในตอนเหนือของประเทศอินเดีย ติดกับรัฐชัมมูและกัศมีร์ทางตอนเหนือ, รัฐหิมาจัลประเทศทางตะวันออก, รัฐหรยาณาทางใต้และตะวันออกเฉียงใต้, รัฐราชสถานทางตะวันตกเฉียงใต้ และแคว้นปัญจาบ ประเทศปากีสถานทางตะวันตก รัฐปัญจาบครอบคลุมพื้นที่ 50,362 ตารางกิโลเมตร หรือ 1.53% พื้นที่ในประเทศอินเดีย คิดเป็นรัฐที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 20 ของประเทศ มีประชากร 27,704,236 คน (2011) คิดเป็นรัฐที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 16 ของประเทศ และประกอบด้วย 22 เขต ประชากรใช้ภาษาหลักคือภาษาปัญจาบ อันเป็นภาษาราชการของรัฐ กลุ่มชาติพันธุ์ประกอบด้วยชาวปัญจาบ และมีประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาซิกข์ ราว 58% ของประชากรในรัฐ เมืองหลวงของรัฐคือจัณฑีครห์ ซึ่งเป็นเมืองหลวงร่วมกับรัฐหรยาณาซึ่งอยู่ติดกัน

รัฐปัญจาบ
โลโกอย่างเป็นทางการของรัฐปัญจาบ
Logo
ที่มาของชื่อ: ปัญจ (ห้า) และ อาบ (น้ำ)
ที่ตั้งของปัญจาบในประเทศอินเดีย
ที่ตั้งของปัญจาบในประเทศอินเดีย
พิกัด (จัณฑีครห์): 30°47′N 75°50′E / 30.79°N 75.84°E / 30.79; 75.84
ประเทศ อินเดีย
เมืองหลวงจัณฑีครห์
เมืองใหญ่สุดลุธิอาณา
อำเภอ22 อำเภอ
การปกครอง
 • ราชยปาลวิชาเยนทรปาล สิงห์ (Vijayendrapal Singh)
 • มุกขยมนตรีกัปตันอมรินทร สิงห์ (Captain Amarinder Singh)
(พรรค INC)
 • นิติบัญญัติระบบสภาเดี่ยว (117 ที่นั่ง)
 • โลกสภาโลกสภา (13 ที่นั่ง)
ราชยสภา (7 ที่นั่ง)
 • ศาลสูงศาลสูงปัญจาบและหรยาณา††
พื้นที่
 • ทั้งหมด50,362 ตร.กม. (19,445 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 20
ความสูงจุดสูงสุด551 เมตร (1,808 ฟุต)
ความสูงจุดต่ำสุด150 เมตร (490 ฟุต)
ประชากร
 (2011)[1]
 • ทั้งหมด27,743,338 คน
 • อันดับอันดับที่ 16
 • ความหนาแน่น550 คน/ตร.กม. (1,400 คน/ตร.ไมล์)
เดมะนิมชาวปัญจาบ (Punjabi)
จีดีพี (2018–19)[2][3]
 • รวม₹5.18ข้อผิดพลาดนิพจน์: "lc" เป็นคำที่ไม่รู้จัก
 • ต่อประชากร₹153,061
เขตเวลาUTC+05:30 (IST)
รหัส ISO 3166IN-PB
เอชดีไอ (2018)เพิ่มขึ้น 0.723 (สูง)[4] · 9th
การรู้หนังสือ (2011)76.68%
ภาษาทางการภาษาปัญจาบ[5]
เว็บไซต์punjab.gov.in
^† เมืองหลวงร่วมกับรัฐหรยาณา
††เก่นกันทั้งในปัญจาบ หรยาณา และจัณฑีครห์
สัญลักษณ์ของรัฐปัญจาบ
ตราตราสัญลักษณ์ปัญจาบ (เสาอโศก ต้นข้าว และดาบไขว้)
ภาษาภาษาปัญจาบ
การแสดงภังครา, Giddha
สัตว์แอนทิโลปอินเดีย
สัตว์ปีกNorthern goshawk[6] (Accipiter gentilis)

ในอดีจบริเวณรัฐปัญจาบเป็นที่ตั้งของอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ จนถึงประมาณ 1900 ปีก่อนคริสตกาล ได้ถูกรุกรานโดยอเล็กซานเดอร์มหาราช เมื่อ 330 ปีก่อนคริสตกาล และต่อมาถูกปกครองโดยพระเจ้าจันทรคุปตเมารยะ กษัตริย์ไชนะ ภายใต้คำแนะนำของปราชญ์นามว่าจาณักยะ ปัญจาบกลายมาเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรคุปตะ, อาณาจักรของชาว Alchon Huns, อาณาจักรของพระเจ้าหรรษวรรธนะ แห่งอาณาจักร Pushyabhuti และอาณาจักรมองโกล ต่อมาประมาณ ค.ศ. 1000 ถูกรุกรานโดยมุสลิมและกลายเป็นส่วนหนึ่งของรัฐสุลต่านเดลี และ อาณาจักรโมกุล ในช่วงเวลาไล่เลี่ยกันศาสนาซิกข์ก็ถือกำเนิดขึ้นในปัญจาบ และสมาพันธรัฐซิกข์ (Sikh Confederacy) ก็ถือกำเนิดขึ้นและเข้าปกครองบริเวณปัญจาบหลังการล่มสลายของอาณาจักรโมกุล และรวมเป็นอาณาจักรซิกข์โดยมหาราชารันจิต สิงห์ หลังการเข้ามาของบริษัทอินเดียตะวันออกของบริเตนและสงครามอังกฤษ-ซิกข์ในปี 1849 จังหวัดปัญจาบของบริทิชอินเดียได้ถูกแบ่งเป็นปัญจาบตะวันตกและปัญจาบตะวันออก ตามความแตกต่างทางศาสนา ซึ่งต่อมาปัญจาบตะวันตกรวมเข้ากับประเทศมุสลิม ปากีสถาน และปัญจาบตะวันออก (ต่อมาเรียกว่า ปัญจาบของอินเดีย) ถูกรวมเข้ากับ PEPSU ก่อนจะถูกแบ่งอาณาเขตใหม่ตามภาษาพูด เป็นรัฐหรยาณา ซึ่งเป็นชนกลุ่มพูดสำเนียงหรยาณีของภาษาฮินดี, รัฐหิมาจัลประเทศซึ่งพูดภาษาปหารี และรัฐปัญจาบซึ่งพูดภาษาปัญจาบในปัจจุบัน

เศรษฐกิจของปัญจาบขับเคลื่อนด้วยเกษตรกรรมเป็นหลัก ด้วยแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์[7] อุตสาหกรรมอื่น ๆ ประกอบด้วยชิ้นส่วนทางวิทยาศาสตร์ ผลิตผลทางการเกษตร ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ บริการด้านการเงิน เครื่องจักรเครื่องกล ผ้าดิบ เสื้อผ้า เครื่องจักรเย็บผ้า อุปกรณ์กีฬา แป้ง ปุ๋ย จักรยาน น้ำมันสน น้ำตาล และการท่องเที่ยว นอกจากนี้ปัญจาบมีโรงงานกลึงโลหะ (metal rolling) มากที่สุดในอินเดีย โดยเฉพาะใน "เมืองเหล็กกล้า" หรือ Mandi Gobindgarh ใน Fatehgarh Sahib district

ศัพทมูล

แก้

ในอดีต บริเวณนี้เรียกว่า สัปตะสินธุ (Sapta Sindhu)[8] ดินแดนในยุคพระเวท อันประกอบด้วยแม่น้ำเจ็ดสายไหลรวมกันลงมหาสมุทร[9] ชื่อสันสกฤตของบริเวณนี้เท่าที่ปรากฏในรามายณะ และมหาภารตะ คือ "ปัญจนาท" (Panchanada) อันแปลว่า ดินแดนแห่งแม่น้ำห้าสาย ซึ่งต่อมาเมื่อแปลเป็นภาษาเปอร์เซียกลายเป็นคำว่า "ปัญจาบ" (Punjab) ภายหลังการปกครองโดยชาวมุสลิม[10][11] คำว่า "ปัญจาบ" เป็นภาษาเปอร์เซียมาจากคำว่า "ปัญจ-" ที่แปลว่า ห้า และ "-าบ" ที่แปลว่า สายน้ำ ปัญจาบจึงรวมแล้วแปลว่า "แม่น้ำห้าสาย" แม่น้ำห้าสายนั้นประกอบด้วย แม่น้ำสตลุช, แม่น้ำบีอาส, แม่น้ำราวี, แม่น้ำจนาพ และ แม่น้ำเฌลัม

ชาวกรีกเรียกดินแดนตรงนี้ว่า "เพนตาโปเตเมีย" (pentapotamia) อันแปลว่า ดินแดนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำที่เกิดจากแม่น้ำห้าสาบ (an inland delta of five converging rivers)[12]

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้
 
อำเภอในประเทศปัญจาบและที่ตั้งสำนังานอำเภอ
 
มณฑลในรัฐปัญจาบ

รัฐปัญจาบประกอบ 22 อำเภอ (districts) ซึ่งแบ่งตามภูมิภาคออกเป็นภูมิภาค Majha, Malwa, Doaba และ Poadh อำเภอต่าง ๆ รวมกันเป็นมณฑล (division) จำนวน 5 มณฑล ได้แก่: ปติอะลา (Patiala), รูปนคร (Rupnagar), ชลันธร (Jalandhar), ฟารีดโกต (Faridkot) และ ฟีโรเซปุระ (Firozepur)[13] ด้านล่างนี้คือรายชื่อทั้ง 22 อำเภอแบ่งตามภูมิภาค

เมืองหลวงของรัฐคือจัณฑีครห์ และเมืองใหญ่สุดคือลุเธียนา ประชากรทั้งรัฐที่อาศัยในเขตนคร (urban) อยู่ที่ 37.48% เมืองสำคัญในรัฐนอกจากลุเธียนาแล้วได้แก่ อมฤตสระ, ชลันธร (Jalandhar), ปาเตียลา (Patiala), พถินดา (Bathinda) และ SAS-นคร (SAS Nagar)

อ้างอิง

แก้
  1. "Punjab Profile" (PDF). censusindia.gov.in. สืบค้นเมื่อ 16 March 2020.
  2. "MOSPI Gross State Domestic Product". Ministry of Statistics and Programme Implementation, Government of India. 1 March 2019. สืบค้นเมื่อ 9 June 2019.
  3. "STATE WISE DATA" (PDF). esopb.gov.in. Economic and Statistical Organization, Government of Punjab. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 30 June 2017. สืบค้นเมื่อ 17 February 2017.
  4. "Sub-national HDI - Area Database". Global Data Lab (ภาษาอังกฤษ). Institute for Management Research, Radboud University. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 September 2018. สืบค้นเมื่อ 25 September 2018.
  5. "Report of the Commissioner for linguistic minorities: 50th report (July 2012 to June 2013)" (PDF). Commissioner for Linguistic Minorities, Ministry of Minority Affairs, Government of India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 July 2016. สืบค้นเมื่อ 4 December 2016.
  6. "State Bird is BAAZ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 July 2014.
  7. "Punjab". Overseas Indian Facilitation Centre. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 ตุลาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2011.
  8. D. R. Bhandarkar, 1989, Some Aspects of Ancient Indian Culture: Sir WIlliam Meyers Lectures, 1938-39, Asia Educational Services, p. 2.
  9. A.S. valdiya, "River Sarasvati was a Himalayn-born river", Current Science, vol 104, no.01, ISSN 0011-3891.
  10. "Yule, Henry, Sir. Hobson-Jobson: A glossary of colloquial Anglo-Indian words and phrases, and of kindred terms, etymological, historical, geographical and discursive. New ed. edited by William Crooke, B.A. London: J. Murray, 1903". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-01. สืบค้นเมื่อ 2019-04-04.
  11. "Macdonell, Arthur Anthony. A practical Sanskrit dictionary with transliteration, accentuation, and etymological analysis throughout. London: Oxford University Press, 1929". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-01. สืบค้นเมื่อ 2019-04-04.
  12. "WHKMLA : History of West Punjab". zum.de. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2017.
  13. "Punjab District Map". Maps of India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 June 2017. สืบค้นเมื่อ 6 December 2019.