พิชัย กุลละวณิชย์
พลตำรวจเอก[1] พิชัย กุลละวณิชย์ (16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2448 – 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเศรษฐการ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 2 สมัย อดีตสมาชิกวุฒิสภา และอดีตรองอธิบดีกรมตำรวจ มีศักดิ์เป็นตาของนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์
พิชัย กุลละวณิชย์ | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเศรษฐการ | |
ดำรงตำแหน่ง 11 มีนาคม พ.ศ. 2512 – 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 | |
นายกรัฐมนตรี | ถนอม กิตติขจร |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ | |
ดำรงตำแหน่ง 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 – 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 | |
นายกรัฐมนตรี | ถนอม กิตติขจร |
ดำรงตำแหน่ง 16 ตุลาคม พ.ศ. 2516 – 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 | |
นายกรัฐมนตรี | สัญญา ธรรมศักดิ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2448 |
เสียชีวิต | 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536 (88 ปี) |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | พรรคสหประชาไทย |
คู่สมรส | สมาน สุนทรฉาย คุณหญิงสมจิตต์ กุลละวณิชย์ |
พิชัย กุลละวณิชย์ | |
---|---|
รับใช้ | ไทย |
แผนก/ | กรมตำรวจ |
ชั้นยศ | พลตำรวจเอก |
ประวัติ
แก้พล.ต.อ.พิชัย (เดิมชื่อ จอน) เกิดเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2448 ที่อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นบุตรของนายปลื้ม กับนางสาย กุลละวณิชย์ มีพี่น้อง 8 คน คือ นายเจิม นายเจียน นายเจียม (พระพรหมคุณาภรณ์ (เจียม จิรปุญฺโญ)) พล.ต.อ.พิชัย นายจวน นางจันทร์ พล.อ.ท.จอม และนายเจริญฤทธิ์
ในวัยเด็กได้รับการศึกษาที่วัดลาดขวาง ต่อมาเข้าเรียนที่โรงเรียนประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา จนจบชั้นมัธยม 3 จากนั้นได้ย้ายเข้าไปอาศัยในกรุงเทพมหานคร และเข้าเรียนต่อที่โรงเรียนปทุมคงคา จนถึงชั้นมัธยม 6 จึงได้ย้ายไปเรียนต่อที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เมื่อจบชั้นมัธยม 8 ได้เข้าศึกษาต่อยันตรกรรม (วิศวกรรม) ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
งานการเมือง
แก้พล.ต.อ.พิชัย ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา ในปี พ.ศ. 2511[2] ต่อมาเมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2512 จึงได้ลาออกจากตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาเพื่อไปรับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเศรษฐการ ในรัฐบาลของจอมพล ถนอม กิตติขจร และเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร[3] จนกระทั่งเกิดการยึดอำนาจการปกครองแผ่นดิน เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514
ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลของจอมพล ถนอม กิตติขจรอีกครั้ง ในปี พ.ศ. 2515[4] ซึ่งรัฐบาลชุดดังกล่าวได้บริหารราชการจนถึงวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 เนื่องจากนายกรัฐมนตรี ได้ลาออกจากตำแหน่ง ภายหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา
ภายหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา นายสัญญา ธรรมศักดิ์ ได้เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และพลตำรวจเอก พิชัย ได้เข้าร่วมงานในตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จนถึงปี พ.ศ. 2517 และภายหลังเขาได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา อีกครั้งในปี พ.ศ.2518
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้- พ.ศ. 2509 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2505 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
- พ.ศ. 2512 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[7]
- พ.ศ. 2508 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ส.)[8]
- พ.ศ. 2478 – เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (พ.ร.ธ.)[9]
- พ.ศ. 2486 – เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ร.)[10]
- พ.ศ. 2500 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[11]
- พ.ศ. 2485 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[12]
- พ.ศ. 2493 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 8 ชั้นที่ 4 (อ.ป.ร.4)[13]
- พ.ศ. 2498 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[14]
- พ.ศ. 2475 – เหรียญเฉลิมพระนคร 150 ปี (ร.ฉ.พ.)
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- กัมพูชา:
- พ.ศ. 2497 – เหรียญประจำรัชกาล พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ ทองคำ[15]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๐ ตอน ๑๓๖ ง หน้า ๓๔๖๙ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๑๖
- ↑ "รายชื่อสมาชิกวุฒิสภาชุดที่ ๓" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2018-07-03.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (พลเอก กฤษณ์ สีวะรา พลตำรวจโท พิชัย กุลละวณิชย์ นายมนูญ บริสุทธิ์ นายอภัย จันทวิมล นายประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์)
- ↑ "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 32 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-04. สืบค้นเมื่อ 2016-05-24.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๑๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๒, ๑๙ ธันวาคม ๒๕๐๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๙, ๔ มกราคม ๒๕๐๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๔๖ ง หน้า ๑๘๓๖, ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๑๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๙๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑๙๐, ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๐๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนามผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๕๒, ๑๒ พฤษภาคม ๒๔๗๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน[ลิงก์เสีย], เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๕ ง หน้า ๒๗๘๙, ๓๑ สิงหาคม ๒๔๘๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๕๙ ง หน้า ๑๖๔๘, ๒ กรกฎาคม ๒๕๐๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๕๙ ตอนที่ ๖๑ ง หน้า ๒๔๔๗, ๑๘ กันยายน ๒๔๘๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่ ๘, เล่ม ๖๗ ตอนที่ ๓๙ ง หน้า ๓๐๔๑, ๑๘ กรกฎาคม ๒๔๙๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๒๒ ง หน้า ๗๒๓, ๒๒ มีนาคม ๒๔๙๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๗๕ ง หน้า ๒๒๘๐, ๒๐ กันยายน ๒๔๙๘