ประเสริฐ จันทรรวงทอง

รองนายกรัฐมนตรีไทยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

ประเสริฐ จันทรรวงทอง ม.ป.ช. ม.ว.ม. (เกิด 1 เมษายน พ.ศ. 2503) ชื่อเล่น ไก่ เป็นนักการเมืองชาวไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และประธานคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย ในรัฐบาล แพทองธาร ชินวัตร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย อดีตเลขาธิการพรรคเพื่อไทย[1] อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา 6 สมัยและอดีตสมาชิกสภาจังหวัดนครราชสีมา 2 สมัย

ประเสริฐ จันทรรวงทอง
ประเสริฐ ใน พ.ศ. 2567
รองนายกรัฐมนตรีไทย
เริ่มดำรงตำแหน่ง
3 กันยายน พ.ศ. 2567
(0 ปี 137 วัน)
นายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร
ก่อนหน้าภูมิธรรม เวชยชัย
สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ
พิชัย ชุณหวชิร
อนุทิน ชาญวีรกูล
พัชรวาท วงษ์สุวรรณ
พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
เริ่มดำรงตำแหน่ง
1 กันยายน พ.ศ. 2566
(1 ปี 139 วัน)
นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน
แพทองธาร ชินวัตร
ก่อนหน้าชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
ดำรงตำแหน่ง
27 ตุลาคม พ.ศ. 2555 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556
(0 ปี 247 วัน)
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
รัฐมนตรีว่าการชัชชาติ สิทธิพันธุ์
ก่อนหน้าชัจจ์ กุลดิลก
ชัชชาติ สิทธิพันธุ์
ถัดไปพ้อง ชีวานันท์
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบบัญชีรายชื่อ
ดำรงตำแหน่ง
14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 – 9 มกราคม พ.ศ. 2567
(0 ปี 240 วัน)
เลขาธิการพรรคเพื่อไทย
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 – 27 ตุลาคม พ.ศ. 2566
(3 ปี 26 วัน)
ก่อนหน้าอนุดิษฐ์ นาครทรรพ
ถัดไปสรวงศ์ เทียนทอง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จังหวัดนครราชสีมา
ดำรงตำแหน่ง
6 มกราคม พ.ศ. 2544 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2566
(22 ปี 73 วัน)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 เมษายน พ.ศ. 2503 (64 ปี)
อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย
พรรคการเมืองความหวังใหม่ (2539-2544)
ไทยรักไทย (2544–2550)
พลังประชาชน (2550–2551)
เพื่อไทย (2551–ปัจจุบัน)

ประวัติ

แก้

ประเสริฐเกิดเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2503 ที่ตำบลสีคิ้ว อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา[2] มีชื่อเล่นว่า "ไก่" จบการศึกษาในระดับประถมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนมงคลกุลวิทยา ระดับประถมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนไทยวัฒนาประชารัฐ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนอำนวยศิลป์ พระนคร ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ระดับปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จบปริญญาโท มหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

ในปี พ.ศ. 2566 พชร จันทรรวงทอง บุตรชายของเขาชนะการเลือกตั้งในจังหวัดนครราชสีมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป และได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย ทั้งนี้ ปรีชา จันทรรวงทอง พี่ชายของนายประเสริฐ ยังดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นนายกเทศมนตรีเมืองสีคิ้ว ในขณะที่นายประเสริฐเป็นรัฐมนตรี

การทำงาน

แก้

นายประเสริฐเคยดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาจังหวัดนครราชสีมา 2 สมัย ต่อมาได้เป็น ส.ส.พรรคไทยรักไทยในปี พ.ศ. 2544 และ พ.ศ. 2548 ก่อนที่พรรคจะถูกยุบ และย้ายไปสังกัดพรรคพลังประชาชน นายประเสริฐลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งและได้รับเลือก ก่อนที่พรรคพลังประชาชนจะถูกตัดสินยุบพรรค ทำให้นายประเสริฐต้องย้ายไปสังกัดพรรคเพื่อไทยในเวลาต่อมา โดยนายประเสริฐเป็นหนึ่งในผู้ที่ร่วมการอภิปรายไม่ไว้วางใจ นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะด้วย

ต่อมาวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2552 นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย แถลงผลการประชุมคณะทำงานโฆษกพรรคว่า การประชุมเป็นการแบ่งหน้าที่การทำงานของรองโฆษกพรรคที่มีการตั้งขึ้นเพิ่มเติมอีก 8 คน จากเดิมที่มีรองโฆษกเพียงคนเดียว โดยเป็น ส.ส.ถึง 6 คน คือ นายแพทย์ ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน นายประเสริฐ จันทรรวงทอง ส.ส.นครราชสีมา นางฐิติมา ฉายแสง ส.ส.ฉะเชิงเทรา นายสุชาติ ลายน้ำเงิน ส.ส.ลพบุรี ร.ท.ปรีชาพล พงษ์พานิช ส.ส.ขอนแก่น น.ส.วิสาระดี เตชะธีราวัฒน์ ส.ส.เชียงราย สำหรับคนนอกที่มารับตำแหน่งรองโฆษกอีก 2 คนคือ นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ และนายพิทยา พุกกะมาน อดีตผู้สมัคร ส.ส.สัดส่วน รวมขณะนี้พรรคเพื่อไทยมีรองโฆษก 9 คน เพื่อต้องการให้มีการประสานเชื่อมโยงกับการทำงานในสภาฯของ ส.ส.ด้วยกันให้มากขึ้น เพราะบางครั้งข้อมูลที่พรรคได้รับมานั้นมาจากคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทน ราษฎร ที่มี ส.ส.พรรคเพื่อไทยเป็นคณะกรรมาธิการ[3]

ในปี พ.ศ. 2554 ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมาธิการการป้องกันปราบปรามการฟอกเงินและยาเสพติด สภาผู้แทนราษฎร ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (ครม.ยิ่งลักษณ์ 3) [4] จนกระทั่งพ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556[5]

ในปี พ.ศ. 2563 นายประเสริฐ ได้รับแต่งตั้งเป็นเลขาธิการพรรคเพื่อไทย รวมทั้งทำหน้าที่ประสานงานในการจัดตั้งรัฐบาลหลังการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2566 ต่อมาเขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน ในปี พ.ศ. 2566[6] ต่อมาในปี พ.ศ. 2567 ในรัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรีอีกตำแหน่งหนึ่ง[7]ในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2567 คณะรัฐมนตรีให้ตำแหน่งประธานคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย[8] ในฐานะที่เป็นรัฐมนตรีที่กำกับสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ[9]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

แก้

ประเสริฐได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2544 สังกัดพรรคไทยรักไทย และได้รับเลือกตั้งมาอีก 5 สมัยต่อกันเป็นลำดับ คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดนครราชสีมา สังกัดพรรคไทยรักไทย
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดนครราชสีมา สังกัดพรรคไทยรักไทย
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดนครราชสีมา สังกัดพรรคพลังประชาชนพรรคเพื่อไทย
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดนครราชสีมา สังกัดพรรคเพื่อไทย
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดนครราชสีมา สังกัดพรรคเพื่อไทย
  6. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. เปิดใจ “เลขาฯเพื่อไทยคนใหม่” “ประเสริฐ จันทรรวงทอง”
  2. ชีวประวัติ ประเสริฐ จันทรรวงทอง
  3. พท.ตั้งทีมโฆษกฯพร้อมแบ่งงาน[ลิงก์เสีย]
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 3)
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ๕)
  6. โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง คณะรัฐมนตรี "เศรษฐา" นายกฯ ควบ "รมว.คลัง"
  7. "โปรดเกล้าฯ ครม.แพทองธาร แล้ว "ภูมิธรรม" รองนายกฯ ควบ กห. , "เฉลิมชัย" รมว.ทส". ไทยพีบีเอส. 4 กันยายน 2024. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. เช็กมติครม. 15 ตุลาคม 2567 แต่งตั้ง-โยกย้าย ครบทุกตำแหน่ง
  9. นายกฯ แบ่งงาน ‘รองฯประเสริฐ​’ คุม​ ’สธ.​-ทส.-งานซอฟต์​พาวเวอร์’
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๒, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๐, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
ก่อนหน้า ประเสริฐ จันทรรวงทอง ถัดไป
ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์    
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
(ครม. 63)

(1 กันยายน พ.ศ. 2566 – ปัจจุบัน)
  อยู่ในวาระ
ชัจจ์ กุลดิลก
ชัชชาติ สิทธิพันธุ์
   
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
(ครม. 60)

(27 ตุลาคม พ.ศ. 2555 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556)
  พ้อง ชีวานันท์
อนุดิษฐ์ นาครทรรพ    
เลขาธิการพรรคเพื่อไทย
(1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 – 27 ตุลาคม พ.ศ. 2566)
  สรวงศ์ เทียนทอง