ชลน่าน ศรีแก้ว

อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

นายแพทย์ ชลน่าน ศรีแก้ว (เกิด 4 มิถุนายน พ.ศ. 2504) ชื่อเล่น ไหล่ เป็นแพทย์และ นักการเมืองชาวไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดน่าน เขต 2 อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาล เศรษฐา ทวีสิน อดีตหัวหน้าพรรคเพื่อไทย และอดีตผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

ชลน่าน ศรีแก้ว
ชลน่านในปี พ.ศ. 2566
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ดำรงตำแหน่ง
1 กันยายน พ.ศ. 2566 – 27 เมษายน พ.ศ. 2567
(0 ปี 239 วัน)
นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน
รัฐมนตรีช่วยสันติ พร้อมพัฒน์
ก่อนหน้าอนุทิน ชาญวีรกูล
ถัดไปสมศักดิ์ เทพสุทิน
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ดำรงตำแหน่ง
28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556
(0 ปี 245 วัน)
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
รัฐมนตรีว่าการประดิษฐ สินธวณรงค์
ก่อนหน้าสุรวิทย์ คนสมบูรณ์
ถัดไปสรวงศ์ เทียนทอง
ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
ดำรงตำแหน่ง
23 ธันวาคม พ.ศ. 2564 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2566
(1 ปี 87 วัน)
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้าสมพงษ์ อมรวิวัฒน์
ถัดไปชัยธวัช ตุลาธน
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดน่าน
เริ่มดำรงตำแหน่ง
6 มกราคม พ.ศ. 2544
(23 ปี 272 วัน)
หัวหน้าพรรคเพื่อไทย
ดำรงตำแหน่ง
28 ตุลาคม พ.ศ. 2564 – 30 สิงหาคม พ.ศ. 2566
(1 ปี 306 วัน)
ก่อนหน้าสมพงษ์ อมรวิวัฒน์
ถัดไปแพทองธาร ชินวัตร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด4 มิถุนายน พ.ศ. 2504 (63 ปี)
อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ประเทศไทย
พรรคการเมืองเพื่อไทย (2551–ปัจจุบัน)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
ประชาธิปัตย์ (2526–2543)[1]
ไทยรักไทย (2543–2550)
พลังประชาชน (2550–2551)
คู่อาศัยนวลสกุล บำรุงพงษ์
บุตร2 คน
ลายมือชื่อ

ประวัติ

ชลน่านเกิดเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2504 ที่ตำบลไหล่น่าน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน เป็นบุตรของนายใจ และนางหมาย ศรีแก้ว สำเร็จการศึกษาแพทย์ศาสตรบัณฑิต จากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อปีการศึกษา พ.ศ. 2529 (ร่วมรุ่นกับ นายแพทย์ภูมินทร์ ลีธีระประเสริฐ และ นายแพทย์บัญญัติ เจตนจันทร์) และปริญญาโทรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (MPA) จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ในปี พ.ศ. 2542

ชลน่านใช้ชีวิตคู่ร่วมกับแพทย์หญิงนวลสกุล บำรุงพงษ์ โดยมิได้จดทะเบียนสมรส มีบุตรธิดา 2 คน[2][3]

การทำงาน

นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว เป็นแพทย์ประจำโรงพยาบาลเวียงสา อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน และเคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว อำเภอปัว จังหวัดน่าน ระว่างปี พ.ศ. 2538–2543 ต่อมาได้เข้ามาทำงานการเมือง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดน่าน สังกัดพรรคไทยรักไทย

ในปี พ.ศ. 2547 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และปี พ.ศ. 2548 เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์ สุชัย เจริญรัตนกุล เป็นรัฐมนตรีว่าการสาธารณสุข ในรัฐบาล พ.ต.ท ทักษิณ ชินวัตร และเป็นกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (วิปรัฐบาล) นอกจากนั้นแล้ว เขายังได้รับแต่งตั้งเป็นรองโฆษกพรรคเพื่อไทย ในระยะหนึ่งอีกด้วย

ปลายปี พ.ศ. 2552 สื่อมวลชนประจำรัฐสภา ได้ตั้งฉายานักการเมือง โดยให้ฉายานายแพทย์ชลน่านเป็น "ดาวสภาฯ" ด้วยบทบาทการอภิปรายโดยมุ่งเน้นข้อมูลมากกว่าการใช้วาทะศิลป์[4]

ชลน่านได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[5] (ครม.ยิ่งลักษณ์ 3) เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2555 กระทั่งได้รับโปรดเกล้าฯ ให้พ้นจากความเป็นรัฐมนตรีในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556[6]

ต่อมาเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เขาได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ต่อจากสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ และเนื่องจากในขณะนั้นพรรคเพื่อไทยเป็นพรรคฝ่ายค้านที่มีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากที่สุดในขณะนั้น จึงทำให้เขาเป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรไปโดยปริยาย โดยมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2564[7]

หลังการเลือกตั้งใหญ่ในปี พ.ศ. 2566 ชลน่านเป็นผู้เสนอชื่อพิธา ลิ้มเจริญรัตน์[8] และเศรษฐา ทวีสิน[9] ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภาเพื่อลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม และ 22 สิงหาคม ตามลำดับ โดยพิธาได้รับเสียงเห็นชอบไม่ถึงเกณฑ์ที่รัฐธรรมนูญกำหนด และมติรัฐสภาในสัปดาห์ถัดมา ห้ามการเสนอชื่อพิธาซ้ำ[10][11] ส่วนเศรษฐาได้รับเสียงเห็นชอบเกินเกณฑ์ที่กำหนด และได้เป็นนายกรัฐมนตรี[12]

ทั้งนี้ ก่อนหน้าการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีครั้งที่สาม พรรคเพื่อไทยถูกวิจารณ์อย่างหนักหลังจากนำพรรครวมไทยสร้างชาติและพรรคพลังประชารัฐเข้าร่วมรัฐบาล ทำให้สังคมทวงถามสัญญาที่ชลน่านให้ไว้ก่อนการเลือกตั้งว่าหากพรรคเพื่อไทยนำทั้ง 2 พรรคเข้าร่วมรัฐบาล ตนจะลาออกจากหัวหน้าพรรค ส่งผลให้แฮชแท็ก #ชลน่านลาออกกี่โมง ติดอันดับในทวิตเตอร์[13] ต่อมาชลน่านได้กล่าวว่าตนจะลาออกจากหัวหน้าพรรคเพื่อไทยหลังการจัดตั้งรัฐบาลเสร็จสิ้น[14]

ในที่สุด เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2566 เวลา 16.00 น. ชลน่านได้แถลงข่าวลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค ณ ที่ทำการพรรค ส่งผลให้คณะกรรมการบริหารพรรคที่เหลืออยู่ต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ โดยที่ประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคชุดรักษาการ ได้มีมติเลือกรองศาสตราจารย์ ชูศักดิ์ ศิรินิล รองหัวหน้าพรรค ทำหน้าที่รักษาการหัวหน้าพรรค และเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ภายใน 60 วันคือภายในวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2566[15]

ต่อมาในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2566 เขาได้รับการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในช่วงเวลาที่ดำรงตำแหน่งเขาได้ขับเคลื่อนโครงการตามนโยบายของรัฐบาลหลายอย่าง เช่น โครงการสามสิมบาทรักษาทุกที่ ซึ่งเป็นการต่อยอดจากโครงการสามสิบบาทรักษาทุกโรค เป็นต้น

แต่ต่อมาในวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2567 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้​นายแพทย์​ชลน่าน​ ศรีแก้ว​ พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2544 สังกัดพรรคไทยรักไทย และได้รับเลือกตั้งมาอีก 5 สมัยต่อกันเป็นลำดับ คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดน่าน สังกัดพรรคไทยรักไทย
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดน่าน สังกัดพรรคไทยรักไทย
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดน่าน สังกัดพรรคพลังประชาชนพรรคเพื่อไทย
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดน่าน สังกัดพรรคเพื่อไทย
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดน่าน สังกัดพรรคเพื่อไทย
  6. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 จังหวัดน่าน สังกัดพรรคเพื่อไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. "เปิดประวัติ หมอชลน่าน จากประชาธิปัตย์ สู่ ส.ส.เพื่อไทย 5 สมัย ผู้ไม่เคยแพ้ในสนามการเมือง". ข่าวสด. 2019-05-29.
  2. "ส่องทรัพย์ "หมอชลน่าน ศรีแก้ว" นักการเมืองชื่อดัง รวยได้อีก". www.sanook.com/money. 2023-08-07.
  3. เปิดกรุ หมอชลน่าน ร่ำรวยกว่า 560 ล้านบาท, สืบค้นเมื่อ 2023-08-27
  4. "สื่อมวลชนประจำรัฐสภาตั้งฉายานักการเมืองประจำปี". prachatai.com. 2009-12-28.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 3)
  6. พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ๕)
  7. พระบรมราชโองการแต่งตั้งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร (นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว), ราชกิจจานุเบกษา, 29 ธันวาคม 2564
  8. "เริ่มแล้ว โหวตนายกฯ ชลน่านเสนอชื่อ พิธา แบบไร้คู่แข่ง คาดลงมติได้ก่อน5โมงเย็น". ข่าวสด. 2023-07-13. สืบค้นเมื่อ 2023-07-13.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. ""หมอชลน่าน" ลุกเสนอชื่อ "เศรษฐา" เป็นนายกรัฐมนตรี สส.รับรอง 287 เสียง ไร้คู่แข่ง". www.sanook.com/news. 2023-08-22.
  10. ""วันนอร์" นัดประชุมโหวตนายกฯ อีก 27 ก.ค. ย้ำเสนอชื่อ "พิธา" ไม่ได้แล้ว". Thai PBS.
  11. "ศาลรัฐธรรมนูญไม่รับคำร้องเสนอชื่อ "พิธา" โหวตนายกฯซ้ำ". Thai PBS.
  12. JINTAMAS SAKSORNCHAI, Associated Press (2023-08-22). "Former Thai leader Thaksin goes to jail as political party linked to him wins vote to take power". The Hill (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2023-08-22.
  13. "#ชลน่านลาออกกี่โมง ร้อนแรงขึ้นเทรนด์ หลัง 'พท.'เผยไต๋จับมือ 'รทสช.'". เดลินิวส์. 2023-08-18. สืบค้นเมื่อ 2023-08-26.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  14. ""ชลน่าน" ยัน ลาออกจากหัวหน้าพรรคเพื่อไทยแน่ พร้อมรับผิดชอบสิ่งที่ประกาศไว้". www.thairath.co.th. 2023-08-21.
  15. “หมอชลน่าน” ประกาศลาออกจากหัวหน้าพรรคเพื่อไทยแล้ว - “ชูศักดิ์” นั่งรักษาการแทน
  16. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
  17. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
  18. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๒๐๒, ๑๖ ตุลาคม ๒๕๔๕

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า ชลน่าน ศรีแก้ว ถัดไป
อนุทิน ชาญวีรกูล    
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
(1 กันยายน พ.ศ. 2566 – 27 เมษายน พ.ศ. 2567)
  สมศักดิ์ เทพสุทิน
สมพงษ์ อมรวิวัฒน์    
ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
(28 ตุลาคม พ.ศ. 2564 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2566)
  ชัยธวัช ตุลาธน
สมพงษ์ อมรวิวัฒน์    
หัวหน้าพรรคเพื่อไทย
(28 ตุลาคม พ.ศ. 2564 – 30 สิงหาคม พ.ศ. 2566)
  ชูศักดิ์ ศิรินิล
(รักษาการ)