ปรีชาพล พงษ์พานิช

ร้อยโท ปรีชาพล พงษ์พานิช กรรมการในคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อดีตหัวหน้าพรรคไทยรักษาชาติ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น สังกัดพรรคเพื่อไทย และอดีตประธานคณะกรรมาธิการการสื่อสารและโทรคมนาคม

ปรีชาพล พงษ์พานิช
หัวหน้าพรรคไทยรักษาชาติ
ดำรงตำแหน่ง
7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 – 7 มีนาคม พ.ศ. 2562
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด15 กันยายน พ.ศ. 2523 (43 ปี)
อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองพลังประชาชน (2550–2551)
เพื่อไทย (2551–2561, 2564–ปัจจุบัน)
ไทยรักษาชาติ (2561–2562)

ประวัติ แก้

ร้อยโท ปรีชาพล พงษ์พานิช (ป๋อม) เกิดเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2523 (43 ปี) ที่จังหวัดขอนแก่น เป็นบุตรของนายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช กับนางระเบียบรัตน์ พงษ์พานิช สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย ปริญญาตรี ด้านวิศวกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย และระดับปริญญาโท ด้านเศรษฐศาสตร์การเมือง จากมหาวิทยาลัยซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย เช่นเดียวกัน

และระดับปริญญาเอก ด้านบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง[1]

การทำงาน แก้

ร้อยโท ปรีชาพล พงษ์พานิช รับราชการทหารติดยศร้อยตรี ประจำสำนักงบประมาณ กระทรวงกลาโหม และได้ย้ายมาช่วยราชการกระทรวงมหาดไทย เมื่อครั้งที่บิดา ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย[2] ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดขอนแก่น เขต 2 สังกัดพรรคพลังประชาชน โดยการสนับสนุนของนายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช และนางระเบียบรัตน์ พงษ์พานิช[3] จนได้รับการเลือกตั้งเป็น ส.ส. ที่มีอายุเพียง 27 ปี ซึ่งนับว่าเป็น ส.ส.ชายที่มีอายุน้อยที่สุด

ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ร้อยโท ปรีชาพล พงษ์พานิช เป็นสมาชิกคนหนึ่งที่อภิปรายการจัดสรรงบประมาณที่ผิดปกติของกระทรวงกลาโหม โดยเฉพาะการจัดซื้อรถหุ้มเกราะล้อยางจากยูเครน และร้อยโท ปรีชาพล ได้กล่าวว่าไม่นานนี้คงได้เห็นแก๊งออฟกลาโหมขึ้นศาลแน่นอน[4]

ในปี พ.ศ. 2553 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยให้ ส.ส. 6 คน พ้นสมาชิกภาพ กรณีถือครองหุ้นในธุรกิจสื่อ และบริษัทที่เป็นคู่สัมปทานของรัฐ ซึ่งปรีชาพล พงษ์พานิช เป็นหนึ่งใน ส.ส. ที่ถูกตัดสิทธิ์[5] แต่ก็สามารถกลับเข้ามาเป็น ส.ส.ได้อีกครั้งในการเลือกตั้งซ่อมฯ

ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น และได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมาธิการการสื่อสารและโทรคมนาคม ของสภาผู้แทนราษฎร

ในปี พ.ศ. 2561 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นหัวหน้าพรรคไทยรักษาชาติ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 คือ การยื่นพระนามทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ มหิดล เป็นผู้ที่จะเสนอเป็นนายกรัฐมนตรีในนามของพรรคฯ[6][7] ต่อมาในวันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2562 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ยุบพรรคไทยรักษาชาติพร้อมตัดสิทธิ์กรรมการบริหารพรรคห้ามลงสมัครรับเลือกตั้ง จดทะเบียนจัดตั้งพรรคใหม่ หรือเป็นกรรมการบริหารพรรคการเมืองเป็นเวลา 10 ปี[8]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดขอนแก่น 3 สมัย แก้


เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ว่าที่ ดร.ป๋อม... อ่านต่อที่ : https://www.dailynews.co.th/article/738836
  2. "บทสัมภาษณ์ นิตยสารสกุลไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-19. สืบค้นเมื่อ 2010-08-22.
  3. "ร.ท.ปรีชาพล พงษ์พานิช ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-18. สืบค้นเมื่อ 2010-08-19.
  4. "ถกงบฯวันที่2 กลาโหมเละ อภิปรายเดือดสับยับซื้อ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-23. สืบค้นเมื่อ 2010-08-21.
  5. ศาลรัฐธรรมนูญตัดสิทธิ์ 6 ส.ส. ถือหุ้นต้องห้าม 2 รมต. ติดโผด้วย[ลิงก์เสีย]
  6. "ครั้งประวัติศาสตร์! ทูลกระหม่อมฯ ตอบรับ ไทยรักษาชาติ ลงชิงนายกฯ". ข่าวสด. 8 Feb 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-02-08.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. "Princess Ubolratana: Thai royal to stand as PM candidate". Thailand General Election 2019. Bangkok: BBC. 2019-02-08. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-08. สืบค้นเมื่อ 2019-02-09.
  8. "ยุบ'ไทยรักษาชาติ'! ฐานทำ'สถาบัน'เสื่อม". เดลินิวส์. 7 Mar 2019. สืบค้นเมื่อ 7 Mar 2019.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2022-02-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๘, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓๘, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

ก่อนหน้า ปรีชาพล พงษ์พานิช ถัดไป
เริ่มต้น    
หัวหน้าพรรคไทยรักษาชาติ
(7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 – 7 มีนาคม พ.ศ. 2562)
  (ถูกตัดสินให้ยุบพรรค)