ฐิติมา ฉายแสง นักการเมืองสตรีชาวไทย อดีตเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม อดีตรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง[2] อดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดฉะเชิงเทรา สังกัดพรรคเพื่อไทย และเป็นน้องสาวของจาตุรนต์ ฉายแสง

ฐิติมา ฉายแสง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดฉะเชิงเทรา เขต 1
เริ่มดำรงตำแหน่ง
14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
(0 ปี 310 วัน)
ก่อนหน้ากิตติชัย เรืองสวัสดิ์
คะแนนเสียง35,488 (30.45%)
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
19 สิงหาคม พ.ศ. 2554 – 24 มกราคม พ.ศ. 2555
(0 ปี 152 วัน)
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ก่อนหน้าปณิธาน วัฒนายากร
ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
25 มกราคม พ.ศ. 2555 – 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
(0 ปี 34 วัน)
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ถัดไปอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2503 (63 ปี)
อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา
พรรคการเมืองไทยรักไทย (2548-2550)
พลังประชาชน (2550-2551)
เพื่อไทย (2551-2561,2564-ปัจจุบัน)
ไทยรักษาชาติ (2561-2562)
คู่สมรสปรีชา บุณยกิดา[1]

ประวัติ แก้

ฐิติมา ฉายแสง มีชื่อเล่นว่า เปิ้ล เกิดเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2503[3] ที่ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นบุตรสาวของนายอนันต์ และนางเฉลียว ฉายแสง เป็นน้องสาวของนายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย และนายวุฒิพงศ์ ฉายแสง อดีตรัฐมนตรี ปัจจุบันสมรสกับปรีชา บุณยกิดา มีบุตร 2 คน[1]

ฐิติมา ฉายแสง สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ระดับปริญญาตรี ด้านศึกษาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยศิลปากร ระดับปริญญาโท ด้านบริหารธุรกิจ และด้านบริหารรัฐกิจ จากมหาวิทยาลัยเซาท์อีสเทอร์น ประเทศสหรัฐอเมริกา

การทำงาน แก้

ฐิติมา ฉายแสง เคยทำงานเป็นผู้เชี่ยวชาญประจำตัวนายจาตุรนต์ ฉายแสง ต่อมาได้เข้าสู่งานการเมืองโดยการสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดฉะเชิงเทรา เขต 1 ในปี พ.ศ. 2548 สังกัดพรรคไทยรักไทย และได้รับแต่งตั้งเป็นโฆษกคณะกรรมาธิการการพาณิชย์ สภาผู้แทนราษฎร ต่อจากนั้นในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 สังกัดพรรคพลังประชาชน ได้รับเลือกตั้งในพื้นที่เดิม และได้รับแต่งตั้งเป็นรองประธานคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ รวมถึงมีบทบาทในการอภิปรายในสภา จนกระทั่งได้รับฉายาจากนายประมวล เอมเปีย ส.ส.ชลบุรี พรรคประชาธิปัตย์ ว่า "นางมารร้าย"[4]

ในวันที่ 17 กุมภาพันธุ์ พ.ศ. 2553 นางฐิติมา ฉายแสง เข้าร่วมการชุมนุม กับกลุ่ม นปช.[5]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 ฐิติมาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่เดิม สังกัดพรรคเพื่อไทย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยแพ้ให้กับ ดร.บุญเลิศ ไพรินทร์ จากพรรคประชาธิปัตย์[6] ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จากนั้นได้รับแต่งตั้งเป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง แต่ยังคงปฏิบัติหน้าที่ในฐานะโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเช่นเดิม

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 ฐิติมาได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง สังกัดพรรคไทยรักษาชาติ แต่พรรคถูกยุบเสียก่อน จึงทำให้เธอหมดสิทธิ์ในการลงเลือกตั้ง จึงลงพื้นที่ช่วยหาเสียงให้นายกิตติชัย เรืองสวัสดิ์ ผู้สมัคร ส.ส. เขต 1 ฉะเชิงเทรา พรรคอนาคตใหม่ โดยให้สัมภาษณ์ว่า เพราะพรรคอนาคตใหม่ มีจุดยืนประชาธิปไตยที่แน่วแน่ ประกอบกับพื้นที่ที่ผู้สมัครของพรรคอนาคตใหม่ลงสมัครเป็นเขตพื้นที่เมือง ซึ่งมีนักศึกษาเยอะ วัยรุ่นเยอะ มีมหาวิทยาลัย มีโรงเรียนใหญ่ๆ หลายแห่ง ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีแนวโน้มที่จะเลือกพรรคอนาคตใหม่ เพราะเป็นเหมือนตัวแทนของคนรุ่นใหม่[7] ฐิติมากลับเข้าพรรคเพื่อไทยในเวลาต่อมา

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 ฐิติมาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่เดิม สังกัดพรรคเพื่อไทย และได้รับเลือกตั้งอีกครั้งในรอบ 12 ปี

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แก้

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดฉะเชิงเทรา เขต 1 สังกัดพรรคไทยรักไทย
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดฉะเชิงเทรา เขต 2 สังกัดพรรคพลังประชาชน ร่วมกับ วุฒิพงศ์ ฉายแสง
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 จังหวัดฉะเชิงเทรา เขต 1 สังกัดพรรคเพื่อไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 .go.th/download_acc/asset_report/e_201107071113440.pdf บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนางฐิติมา ฉายแสง[ลิงก์เสีย]ยื่นต่อ ป.ป.ช. เมื่อ 10 พฤษภาคม 2554
  2. ครม.ตั้ง ขรก.การเมือง"ปู 2"ครบทุกตำแหน่ง "วัน อยู่บำรุง"นั่งที่ปรึกษา รมช.คค.-"ผดุง"ตามโผเลขาฯ มท.1[ลิงก์เสีย]
  3. 'ฐิติมา ฉายแสง'สวย เผ็ด ดุ[ลิงก์เสีย]
  4. "พิจารณา พ.ร.บ.งบฯเดือดรอบดึก"มาร์ค"ยันคลิปเสียงเก๊ ซัดกันนัว ส.ส.ปชป.ด่า"นางมารร้าย" ประชุมสภาล่ม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-30. สืบค้นเมื่อ 2011-08-04.
  5. 'แม้ว'ยุคนแปดริ้วป่วนกรุงปลายเดือนนี้
  6. เลือกตั้งแปดริ้วล้มยักษ์ ตระกูลฉายแสง-ตันเจริญปราชัย เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนมติชน
  7. https://www.khaosod.co.th/politics/news_2300828
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2022-02-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๒๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๖๑, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

ก่อนหน้า ฐิติมา ฉายแสง ถัดไป
รศ.ดร.ปณิธาน วัฒนายากร    
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
(25 สิงหาคม พ.ศ. 2554 - 24 มกราคม พ.ศ. 2555)
ปฏิบัติหน้าที่แทน
(25 มกราคม พ.ศ. 2555 - 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555)
  อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด
(รักษาการ)