ศานนท์ หวังสร้างบุญ

ศานนท์ หวังสร้างบุญ (เกิด 10 ตุลาคม พ.ศ. 2532) เป็นนักเคลื่อนไหวเพื่อสังคม นักธุรกิจ และข้าราชการการเมืองชาวไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ดูแลด้านการศึกษา สังคม และงานพาณิชย์ เขาเป็นรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่อายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์

ศานนท์ หวังสร้างบุญ
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เริ่มดำรงตำแหน่ง
1 มิถุนายน พ.ศ. 2565[1]
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ จักกพันธุ์ ผิวงาม, วิศณุ ทรัพย์สมพล และทวิดา กมลเวชช
ผู้ว่าการชัชชาติ สิทธิพันธุ์
ก่อนหน้าพล.ต.ท. โสภณ พิสุทธิวงษ์
ศักดิ์ชัย บุญมา
สกลธี ภัททิยกุล
เกรียงยศ สุดลาภา
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด10 ตุลาคม พ.ศ. 2532 (34 ปี)[2]
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
บุตร1 คน
ศิษย์เก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (วศ.บ.)
อาชีพนักเคลื่อนไหวเพื่อสังคม, นักการเมือง

ประวัติ แก้

ศานนท์ หวังสร้างบุญ เกิดเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2532 ในครอบครัวที่ประกอบธุรกิจร้านวัสดุก่อสร้าง[3] เขาเป็นบุตรคนโตในจำนวนพี่น้อง 4 คน สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล ปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมอุตสาหการ) คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[2] โดยในปีการศึกษา 2553 ศานนท์ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่ง นายกองค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อบจ.)[4] ด้านชีวิตครอบครัวสมรสแล้ว มีบุตร 1 คน[3]

การทำงาน แก้

 
บ้านเรือนในชุมชนป้อมมหากาฬขณะกำลังถูกทุบทำลาย ศานนท์เคยทำงานขับเคลื่อนเพื่อปกป้องชุมชนนี้

ช่วงเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 ศานนท์เคยเปิดร้านเกมเพลย์สเตชันในตึกที่อาของเขาปล่อยเช่า แต่กิจการไม่ประสบความสำเร็จ[3] จากนั้นเมื่อจบการศึกษาระดับปริญญาตรี เขาได้เข้าทำงานที่พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล ประเทศไทย โดยเคยดำรงตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ[3] ต่อมาในปี พ.ศ. 2554 ศานนท์ได้ร่วมงานกับ "ปลาจะเพียร" กลุ่มอิสระที่ช่วยเหลือชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยครั้งใหญ่[3]

ศานนท์เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง Satarana (สาธารณะ) เครือข่ายภาคประชาสังคมที่ทำงานเรื่องการพัฒนาเมือง[1] และเป็นหนึ่งในทีมกลุ่มเมล์เดย์ (Mayday) ผู้ออกแบบปรับปรุงป้ายหยุดรถเมล์รูปแบบใหม่[5] ทั้งยังเป็นผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่ม Trawell นอกจากนี้เขายังเคยเป็นเจ้าของกิจการ Once Again Hostel ย่านประตูผี[6], Luk Hostel ย่านเยาวราช[7] รวมถึงยังเคยเป็นเจ้าของ Locall.bkk แพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรี่ ครอบคลุมพื้นที่ร้านอาหารบริเวณย่านเสาชิงช้า-ประตูผี, เยาวราช และนางลิ้นจี่[8]

ศานนท์มีชื่อเสียงจากการร่วมต่อสู้เพื่อชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายภาครัฐ เช่น ชุมชนป้อมมหากาฬ[9] โดยเขาเป็นหนึ่งในคณะกรรมการร่วมประชุมเพื่อหารือทางออก แม้สุดท้ายชุมชนดังกล่าวจะถูกรื้อก็ตาม[10]

รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แก้

ต่อมาในปี พ.ศ. 2562 ศานนท์ได้ร่วมงานกับ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ในนามกลุ่ม Better Bangkok ร่วมกันออกแบบนโยบาย เพื่อสร้างกรุงเทพฯ ให้น่าอยู่[2] จากนั้นเมื่อชัชชาติลงสมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและได้รับเลือกตั้งในอีกสามปีต่อมา ศานนท์ก็ได้รับแต่งตั้งเป็นรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ดูแลด้านการศึกษา สังคม และงานพาณิชย์[11] ซึ่งเขาเป็นรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่อายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์[1]

หลังได้รับตำแหน่ง ศานนท์กล่าวว่าจะฟื้นฟูโครงการ "บ้านอิ่มใจ" ที่พักชั่วคราวของคนไร้บ้าน กลับมาอีกครั้ง[12] โดยบ้านอิ่มใจเป็นโครงการที่หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้ริเริ่มในปี พ.ศ. 2555 โดยเช่าอาคารการประปานครหลวงแม้นศรีเดิม[13] แต่ได้ยกเลิกสัญญาเช่าอาคารดังกล่าวในปี พ.ศ. 2562 ในสมัย พล.ต.อ. อัศวิน ขวัญเมือง เป็นผู้ว่าฯ กทม. เนื่องจากการใช้พื้นที่ไม่คุ้มค่าเช่าพื้นที่กับสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ปีละ 28 ล้านบาท[14] และปรับภารกิจเป็นการคัดกรองคนไร้บ้านตามจุดต่าง ๆ ใน กทม. โดยไม่มีการพักค้างคืนแทน[15]

รางวัลที่ได้รับ แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 "คุยกับ 'ศานนท์' รองผู้ว่าฯกทม. อายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ กับความตั้งใจเปลี่ยนเมืองให้ดีกว่าเดิม". CH3Plus.com. 2 Jun 2022.
  2. 2.0 2.1 2.2 matichon (2022-06-07). "ศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าฯกทม. วัย 33 ปี". มติชนออนไลน์.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 "ศานนท์ หวังสร้างบุญ จากนักขับเคลื่อนสังคม สู่รองพ่อเมือง กทม. อายุน้อยสุดของชัชชาติ". The Cloud. 2022-06-07.
  4. "กลุ่มนศ. ส่งจม.เปิดผนึกขอมหาวิทยาลัยทั่วประเทศปกป้องนศ". VoiceTV. 2014-11-25.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. "ผู้สร้างป้ายรถเมล์โฉมใหม่ จวก ผู้ว่าฯ กทม. เคลมเป็นผลงาน แต่ไม่เคยช่วยทำ!". แบ่งปันโอกาส เพื่ออนาคตที่ก้าวหน้า. 2019-03-12.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. "คุณศานนท์ หวังสร้างบุญ : ผู้ก่อตั้ง Once Again Hostel โฮสเทลสร้างสรรค์ " TREA TALKS Real Estate 2017 - Future Thailand: ประเทศไทย 4.0 ก้าวไปข้างหน้าอย่างไร ไม่ต้องทิ้ง ใครไว้ข้างหลัง" :". The thai real estate association.
  7. "ในความมืดมีแสงสว่าง : คุยกับ 2 ผู้ประกอบการที่พา 'คนทำงาน' และ 'ธุรกิจ' สู้วิกฤตไปด้วยกัน". The 101 World. 2020-07-23.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. "สุดเจ๋ง! Locall .bkk แพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรีที่ช่วยชุมชนก้าวข้ามวิกฤต". www.smethailandclub.com. 2022-06-08.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. ประชุมพันธ์, จินตนา (16 Feb 2017). "ชุมชนป้อมมหากาฬ: พื้นที่ประวัติศาสตร์ที่ยังมีลมหายใจ กับภาพสะท้อนความล้าหลังของกฎหมายไทย". THE MOMENTUM.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  10. "ชาวป้อมมหากาฬ ตื้นตัน 'ศานนท์' นั่งรองผู้ว่าฯ ไม่ลืมภาพนุ่งขาสั้น คีบแตะร่วมสู้อำนาจรัฐต้านไล่รื้อ". มติชนออนไลน์. 2022-06-02.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  11. "ชัชชาติ ลงนามคำสั่งมอบอำนาจ 4 รองผู้ว่าฯ กทม. สั่งและปฏิบัติราชการแทน : อินโฟเควสท์". สำนักข่าวอินโฟเควสท์. 2022-06-03.
  12. "รองผู้ว่าฯ ศานนท์ นัดถกช่วย 'คนไร้บ้าน' จ่อฟื้น 'บ้านอิ่มใจ' เมินวันหยุด บอก ทำอะไรได้ ทำเลย". มติชนออนไลน์. 2022-06-04.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  13. "กทม.เปิดบ้านอิ่มใจช่วยคนเร่ร่อน". posttoday.com. 2012-11-10.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  14. "แบกไม่ไหว! ค่าเช่า 'บ้านอิ่มใจ' พุ่ง 'อัศวิน' สั่งคืนพื้นที่-ขีดเส้นตาย มิ.ย.ย้ายคนไร้ที่พึ่งออก". มติชนออนไลน์. 2019-03-14.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  15. "'บ้านอิ่มใจ'ที่พึ่งสุดท้ายปิดตัว ตกงานเพิ่มยอด'คนไร้ที่อยู่'". dailynews. 2019-10-09.
  16. "สมาคมนิสิตเก่าเอ็มบีเอ จุฬาฯ จัดงานประกาศรางวัล DRIVE AWARD 2019 และ JUMC STAR 2019 [PR] - Brand Buffet". brandbuffet. 2019-08-26.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  17. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๖ ข หน้า ๘, ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๖