อัศวิน ขวัญเมือง
พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง (เกิด 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2494) เป็นอดีตนายตำรวจและนักการเมืองชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนที่ 16 และรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล
อัศวิน ขวัญเมือง | |
---|---|
อัศวิน ใน พ.ศ. 2562 | |
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 16 | |
ดำรงตำแหน่ง 18 ตุลาคม พ.ศ. 2559 – 24 มีนาคม พ.ศ. 2565 (5 ปี 188 วัน)[1] | |
ก่อนหน้า | หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร |
ถัดไป | ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ |
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร | |
ดำรงตำแหน่ง 3 เมษายน พ.ศ. 2556 – 18 ตุลาคม พ.ศ. 2559 (3 ปี 198 วัน) | |
ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2550 – 30 กันยายน พ.ศ. 2551 (0 ปี 364 วัน) | |
ก่อนหน้า | พลตำรวจโท อดิศร นนทรีย์ |
ถัดไป | พลตำรวจโท สุชาติ เหมือนแก้ว |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2494 อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | รวมไทยสร้างชาติ (2566–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | วาสนา ขวัญเมือง |
บุตร | พงศกร ขวัญเมือง |
ศิษย์เก่า | โรงเรียนนายร้อยตำรวจ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร |
ทรัพย์สินสุทธิ | 11.5 ล้านบาท (พ.ศ. 2565) |
ลายมือชื่อ | |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
สังกัด | สำนักงานตำรวจแห่งชาติ |
ประจำการ | พ.ศ. 2520–2554 |
ยศ | พลตำรวจเอก |
ประวัติ
แก้อัศวิน ขวัญเมือง เกิดเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2494 ที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จบการศึกษาจากระดับชั้นมัธยมศึกษาศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนด่านช้างวิทยา, โรงเรียนตำรวจภูธรภาค 7, โรงเรียนนายร้อยตำรวจรุ่นที่ 30 (นรต.30) จบหลักสูตรการบริหารงานตำรวจชั้นสูง รุ่นที่ 16 และหลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 45[2]
ครอบครัว
แก้อัศวินมีชื่อเรียกเล่น ๆ จากสื่อมวลชนว่า "บิ๊กวิน" [3]มีบ้านพักส่วนตัวอยู่ที่จังหวัดนนทบุรี ชีวิตครอบครัวสมรสกับวาสนา ขวัญเมือง มีบุตรชาย 3 คน ประกอบด้วย พันตำรวจตรี อัษฎาวุธ ขวัญเมือง สุกฤษฎิ์ ขวัญเมือง และร้อยตำรวจเอก พงศกร ขวัญเมือง
รับราชการตำรวจ
แก้เริ่มแรกอัศวินรับราชการตำรวจที่กรุงเทพฯ ด้วยตำแหน่งรองสารวัตรสืบสวนสอบสวน สถานีตำรวจนครบาลสำเหร่ เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2520 ถึง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2521 และย้ายไปเป็นรองรองสารวัตรสืบสวนสอบสวน สถานีตำรวจภูธรอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ในปี พ.ศ. 2524 เป็นรองสารวัตรป้องกันปราบปราม สถานีตำรวจภูธรเมืองนครปฐม จากนั้นมาเป็นสารวัตรแผนก 5 กองกำกับการสืบสวนสอบสวน กองบังคับการตำรวจภูธร 3 จังหวัดนครปฐม ในปี 2526 ต่อมาปี 2528 เลื่อนยศเป็นพันตำรวจตรี เป็นสารวัตรสถานีตำรวจภูธรด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี
อัศวินได้ชื่อว่าเป็นนายตำรวจมือปราบฝีมือดีคนหนึ่ง เคยผ่านคดีสำคัญ ๆ ระดับชาติมาแล้วหลายคดี[4] เช่น คดีจับกุมนพพล ประสงค์ศิล (จิ๊บ ไผ่เขียว)[5] คดีวิสามัญฆาตกรรมชาญชัย ประสงค์ศิล (โจ๊ก ไผ่เขียว)[6] คดีจับกุมสมคิด พุ่มพวง[7] คดีจับกุมอนุชิต ล้ำเลิศ (ฆาตกรแหม่มชาวรัสเซีย)[8] เป็นต้น
ในกลางปี พ.ศ. 2551 เมื่ออัศวินดำรงยศพลตำรวจโท ได้ถูกปรับย้ายจากตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจนครบาลไปเป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และให้พลตำรวจโท สุชาติ เหมือนแก้ว รับตำแหน่งนี้แทน ทั้งนี้ถูกวิจารณ์ว่าเป็นเพราะไม่อาจจัดการกับการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้[ต้องการอ้างอิง]
ต่อมาในรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กลางปี พ.ศ. 2552 มีข่าวว่า สุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง พยายามจะผลักดันอัศวินให้เป็นที่ปรึกษา (สบ.10) ในยศพลตำรวจเอก ซึ่งเป็นตำแหน่งที่เปิดขึ้นใหม่ แต่คณะกรรมการข้าราชการตำรวจไม่อนุมัติ ท้ายที่สุดในเดือนตุลาคม ปีเดียวกัน เขาก็ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นพลตำรวจเอก และรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ[9][10] และต่อมาได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรักษาราชการการแทนผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 2 ก่อนย้ายจากตำแหน่งนั้นมาดำรงตำแหน่งรักษาราชการการผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2553[11] ในปลายปีเดียวกันได้รับฉายาจากสื่อมวลชนว่า "อัศวินปิดจ๊อบ" เนื่องจากมีผลการทำงานที่ดุดัน รวดเร็ว และ "มือปราบไผ่เขียว"[12] และยังได้รับผลโหวตจากการสำรวจความคิดเห็นจากเอแบคโพลด้วยว่า เป็นนายตำรวจที่เป็นตำรวจมือปราบที่ประชาชนรู้สึกชื่นชอบและบรรเทาเหตุอาชญากรรมได้มากที่สุด[13]
ภายหลังอัศวินเกษียณอายุราชการ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรองผู้ว่าราชการ กทม. (ในสมัยที่หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร เป็นผู้ว่าราชการ) ดูแลงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และเทศกิจ[14] ต่อมาอัศวินได้รับการแต่งตั้งจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติให้ตำแหน่งผู้ว่าราชการ กทม.[15] นับว่าเป็นตำรวจคนแรกในประวัติศาสตร์ที่ได้ดำรงตำแหน่งนี้ ในปี พ.ศ. 2553 ได้รับการคัดเลือกให้รับรางวัลและประกาศเกียรติคุณ พ่อตัวอย่างแห่งชาติ[16][17]
งานด้านการเมือง
แก้ภายหลังเกษียณอายุราชการตำรวจ อัศวินได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรองผู้ว่าราชการ กทม. ดูแลงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และเทศกิจ โดยมีหม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร เป็นผู้ว่าราชการในขณะนั้น
วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2559 อัศวินได้รับการแต่งตั้งจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้เป็นผู้ว่าราชการ กทม.[15] คนที่ 16 โดยดำรงตำแหน่งจนลาออกเพื่อลงสมัครเป็นผู้ว่าราชการเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2565[18] นับได้ว่าเป็นนายตำรวจไทยคนแรกในประวัติศาสตร์ที่ได้ดำรงตำแหน่งนี้[17] และมีผลงานเปลี่ยน กทม. ด้วยนโยบาย "ผลักดันทันใจ แก้ไขทันที" และ "Now ทำจริง เห็นผลจริง"[19] ในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการ กทม. เช่น สร้างอุโมงค์ระบายน้ำหนองบอน[20] สร้างโครงข่ายถนนสายหลักแนวตะวันตก-ตะวันออก เปิดโรงพยาบาลคลองสามวา เร่งสร้างโรงพยาบาล กทม. ทุกมุมเมือง สร้างแก้มลิงใต้ดิน (water bank) แก้ปัญหาน้ำท่วมปากซอยสุทธิพร 2 และวงเวียนบางเขน และเพิ่มโทรทัศน์วงจรปิดทั่วกรุงเทพฯ โดยติดตั้งใหม่ 20,217 ตัว เป็นต้น[21]
วันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2566 อัศวินได้ทำการสมัครเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) ในงานที่จัดขึ้นที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยระบุว่าตนเองมาสมัครเพื่อ "ช่วยงานเฉย ๆ" ไม่ได้ต้องการตำแหน่งอะไร และยังกล่าวอีกว่าจะไม่ลงสมัครส.ส.ทั้งแบบแบ่งเขตและบัญชีรายชื่อ เนื่องด้วยต้องการมาช่วยงาน "เจ้านายเก่า" คือ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ที่มาสมัครเข้ามาเป็นสมาชิกของพรรคในวันเดียวกัน[22] โดยในวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2566 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการในคณะกรรมการกำหนดแนวทางและยุทธศาสตร์พรรคซึ่งมีพลเอกประยุทธ์เป็นประธาน[23] แต่ในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2566 เขาได้สมัครในแบบบัญชีรายชื่อสังกัด รทสช. ลำดับที่ 20[24]
การวิพากษ์วิจารณ์
แก้ประเด็นการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม
แก้เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 เกิดฝนตกอย่างหนักในพื้นที่กรุงเทพฯ จนน้ำท่วมขัง[25] บริเวณวงเวียนบางเขน สูงประมาณ 20 เซนติเมตร และใช้เวลาระบายน้ำร่วม 2 ชั่วโมงนั้น อัศวินกล่าวภายหลังลงพื้นที่ติดตามการแก้ไขปัญหาระบบระบายน้ำบริเวณปากซอยวิภาวดี-รังสิต 44 ว่า แม้ กทม. ดำเนินการก่อสร้างบ่อหน่วงน้ำใต้ดิน (water bank) เสร็จแล้ว แต่ผู้รับเหมายังไม่ได้ส่งมอบงานให้ กทม. ทำให้เจ้าหน้าที่ กทม. ไม่มีกุญแจเปิดเครื่องสูบน้ำ[26] จึงสั่งการให้ผู้เกี่ยวข้องทำกุญแจสำรองไว้หลายดอก เพราะปัญหาลักษณะนี้ไม่ควรเกิดขึ้น และยอมรับว่าเป็นความผิดของ กทม.[ต้องการอ้างอิง]
เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในช่วงน้ำท่วม ไม่เห็นผู้ว่าราชการ กทม. ลงพื้นที่ตรวจการระบายน้ำ[27] แต่อัศวินชี้แจงว่า คนวิจารณ์อาจเข้าใจว่าตนไม่ทำอะไร แต่ที่จริงแล้วทำงานตลอด แต่อาจจะไม่ได้ออกสื่อ เพราะหลายครั้งเกิดฝนตกหนักหรือน้ำท่วมในช่วงเวลากลางดึกก็ลงไปพื้นที่ติดตามการแก้ปัญหาทันที จะให้เชิญสื่อมาทำข่าวก็เกรงใจ[2]
ประเด็นอ้างผลงานป้ายรถเมล์ใหม่
แก้อัศวินโพสต์ภาพและข้อความลงในเฟซบุ๊กเรื่องที่ กทม. ทดลองนำป้ายหยุดรถเมล์รูปแบบใหม่มาใช้ โดยระบุว่า ได้รูปแบบจากแนวคิดของภาคประชาสังคม เช่น กลุ่มเมเดย์ (Mayday)[28] และในปี พ.ศ. 2562 กทม. จะจัดสรรงบประมาณมาปรับปรุงป้ายหยุดรถเมล์เป็นรูปแบบใหม่จำนวน 500 ป้าย[29]
ต่อมามีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งระบุว่า เป็นตัวแทนของทีมเมเดย์ ออกมาตอบโต้ว่า อัศวินไม่เคยมาร่วมประชุมเรื่องดังกล่าวแม้แต่ครั้งเดียว[30] และไม่เคยให้การสนับสนุนใด ๆ ในการทำโครงการดังกล่าว แต่กลับอ้างว่าเป็นผลงานของตนเอง ทำให้มีผู้ใช้เฟซบุ๊กจำนวนมากเข้าไปแสดงความคิดเห็นต่อว่าในเพจของ ผู้ว่าราชการ กทม. ที่นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง พร้อมเรียกร้องให้มีการให้เครดิตและให้เกียรติกับคนที่ทำงานจริงด้วย[ต้องการอ้างอิง]
ต่อมาอัศวินชี้แจงว่า ป้ายรถเมล์รูปแบบใหม่ ไม่ใช่ผลงานของตนเอง และแจ้งในเฟซบุ๊กส่วนตัวแล้วว่า เป็นการนำแนวคิดจากกลุ่มของภาคประชาสังคม เช่น กลุ่มเมย์เดย์ มาผลิตเป็นป้ายหยุดรถเมล์ ซึ่งนำร่องไปแล้ว 30 ป้าย และ กทม. ได้จัดสรรงบประมาณในปี พ.ศ. 2562 และ 2563 เพื่อจัดทำป้ายไปติดตั้งบริเวณจุดเชื่อมต่อการเดินทางและที่ที่มีประชาชนใช้เส้นทางจำนวนมาก[29]
อัศวินระบุว่า กทม. กับกลุ่มเมย์เดย์ได้ทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่องในการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ ตนดีใจและขอขอบคุณที่คนรุ่นใหม่เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาเมือง เพราะสิ่งที่กลุ่มดังกล่าวคิดก็เพื่อให้เกิดประโยชน์และตรงกับความต้องการของประชาชนส่วนรวม กทม. เพียงแต่นำความคิดของกลุ่มดังกล่าวมาทำให้เกิดขึ้นจริงเท่านั้น[28]
ประเด็นการเลือกตั้งผู้ว่าราชการ กทม.
แก้ในระหว่างดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการ กทม. เครือข่ายรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยท้องถิ่น (คปท.) จำนวน 75 คน มีมติให้อัศวิน ผู้ว่าราชการ กทม. ที่มาจากการแต่งตั้งของคณะรัฐประหาร ลาออกจากตำแหน่งผู้ว่าราชการ กทม. เพื่อให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการ กทม. ใหม่ตามเจตจำนงอันเป็นอำนาจของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย[31]
วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ที่ศาลาว่าการ กทม. 2 ดินแดง อัศวินให้สัมภาษณ์ถึงกรณีกระแสข่าวที่พลตำรวจเอก จักรทิพย์ ชัยจินดา อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ขอถอนตัวพร้อมเปิดทางให้ลงสมัครเลือกตั้งผู้ว่าราชการ กทม.[32] โดยกล่าวว่า "เป็นเรื่องของเขา ไม่ใช่เรื่องของผม เขาจะไปไหนก็เรื่องของเขา จะสมัครหรือไม่สมัครก็เรื่องของเขา"[ต้องการอ้างอิง]
ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวถามอัศวินว่า จะลงสมัครเลือกตั้งผู้ว่าราชการ กทม. สมัยหน้าด้วยหรือไม่ อัศวินระบุว่า "ขณะนี้ยังเป็นผู้ว่าราชการ กทม. จะไปสมัครทำไม จะให้ลาออกพรุ่งนี้แล้วไปสมัครเหรอ"[2]
จากนั้นผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีกระแสข่าวพรรคพลังประชารัฐ เตรียมบุคคลลงสมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการ กทม. ประกอบด้วย พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี และที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี และสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (ต่อมาเปิดตัวลงสมัครในนาม พรรคประชาธิปัตย์) ใครเป็นคู่แข่งน่ากลัวที่สุด อัศวินระบุว่า "ไม่กลัวใครเลย ตอนนี้เกิดมาจะอายุ 70 ปีแล้ว ปืนก็ยังไม่กลัว ระเบิดยังไม่กลัว สมัครผู้ว่าราชการ กทม. จะไปกลัวทำไม แล้วผมก็ยังไม่ได้คิดจะลงสมัคร ขอให้หมดวาระก่อน แล้วค่อยมาถามผมหรือถ้าเขาประกาศรับสมัครแล้วค่อยมาถามผมและตอนนี้ไม่ต้องมาถามผมเพราะยังเป็นผู้ว่าราชการ กทม. อยู่ ยังไม่ได้ลาออกจากผู้ว่าราชการ กทม."[ต้องการอ้างอิง]
อัศวินกล่าวต่อว่า ขณะนี้ยังไม่ถึงเวลาที่ตัดสินใจ แต่จะทำวันนี้ให้ดีที่สุดเพราะหากสมมติว่าในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 มีประกาศเลือกตั้งผู้ว่าราชการ กทม. พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการตนก็ค่อยตัดสินใจวันนั้น เพราะตนเป็นคนง่าย ๆ ไม่ต้องมีการวางแผน แต่ขณะนี้ยังไม่ถึงเวลาและเรื่องการเลือกตั้งให้เป็นในส่วนของรัฐบาล[ต้องการอ้างอิง]
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีพรรคพลังประชารัฐ มีชื่อบุคคลสามคนเป็นผู้สมัครลงเลือกตั้งผู้ว่าราชการ กทม. แต่อัศวินไม่มีพรรคการเมืองสนับสนุน อัศวินกล่าวเพียงว่า "ผมไม่มีพรรคการเมือง มีแต่พี่น้องประชาชน"[33]
ในวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2565 อัศวินลาออกจากตำแหน่งผู้ว่าราชการ กทม. เพื่อเตรียมลงสมัครรับเลือกตั้งในตำแหน่งดังกล่าว ซึ่งมีกำหนดเปิดรับสมัครในอีกหนึ่งสัปดาห์หลังจากนั้น[18]
ทรัพย์สิน
แก้ในปี 2565 อัศวิน ขวัญเมืองยื่นรายการทรัพย์สิน 11.5 ล้านบาทต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ โดยระบุว่ามีที่ดิน 6 แปลง ยานพาหนะ 1 คันและทองคำรูปพรรณ และแจ้งว่ามีรายได้จากเงินเดือน เงินเพิ่มและบำนาญเท่านั้น[34]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2553 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[35]
- พ.ศ. 2549 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[36]
- พ.ศ. 2560 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[37]
- พ.ศ. 2565 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[38]
- พ.ศ. 2528 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[39]
อ้างอิง
แก้- ↑ "กทม.ติดประกาศนโยบาย "ชัชชาติ" 214 ข้อ สั่งห้ามถ่ายรูปหน้าห้อง ผู้ว่าฯ". www.thairath.co.th. 2022-05-31.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 "ประวัติ พล.ต.อ. อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนใหม่". www.modify.in.th.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ฉายา ตร.ปี 59! 'จักรทิพย์' สุภาพบุรุษโล่เงิน 'บิ๊กวิน' ผู้ว่าส้มหล่น"". www.thairath.co.th. 2012-12-11.
- ↑ "พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง มือปราบอันดับ 1 ของโพลล์ "ที่สุดแห่งปี 2553"". mgronline.com. 2011-01-10.
- ↑ "สอบ"จิ๊บ ไผ่เขียว"ขยายผลล่าแก๊งค้ายา". posttoday.com. 2010-12-15.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "อัศวินแถลงข่าวจับจิ๊บ ไผ่เขียว-ปปส.อายัดทรัพย์กว่า35ล". teenee.com. 14 Dec 2010.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ผู้ว่าฯ กทม. ย้อนความหลัง เผยสมคิดเป็นคนพูดจาดี ทำสาวหลงกล หลังเป็นผู้นำทีมจับเมื่อ 14 ปีก่อน". mgronline.com. 2019-12-18.
- ↑ "แกะรอยมือฆ่า 2 แหม่มรัสเซีย หลัง 48 ชั่วโมงผ่านไป". mgronline.com. 2007-02-26.
- ↑ เด็กสุเทพ'ไปไม่ถึงฝัน ส่อ'หลุด'เก้าอี้'ผบ.ตร.' 'อัศวิน'ปิ๋วพลาด'รอง ผบ.ตร.' 'ก.ตร.'เบรกไม่อนุมัติ!!
- ↑ โปรดเกล้าฯ48นายพลพงศพัศ-อัศวินพล.ต.อ. จากคมชัดลึก
- ↑ ปลด “ศรีวราห์” พ้น รรท.ผบช.ภ.1 ตั้ง “อัศวิน” เสียบแทนเก็บถาวร 2010-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จาก ผู้จัดการออนไลน์
- ↑ "ตั้งฉายา'มือปราบไผ่เขียว'ให้'อัศวิน' จากคมชัดลึก". 30 ธันวาคม 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-02. สืบค้นเมื่อ 2010-12-30.
- ↑ โพลสำรวจ “อัศวิน ปิดจ็อบ” ครองใจ ปชช.ปราบโจร![ลิงก์เสีย]
- ↑ ทีมผู้บริหาร ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร, หน้า 16 กทม.-จราจร. เดลินิวส์ ฉบับที่ 23,183: วันพุธที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2556 แรม 8 ค่ำ เดือน 4 ปีมะเส็ง[ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้]
- ↑ 15.0 15.1 ราชกิจจานุเบกษา, คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 64/2559 เรื่อง การให้ผู้ว่าราชการ กทม. พ้นจากตำแหน่ง และการแต่งตั้งผู้ว่าราชการ กทม. เล่ม 133 ตอนพิเศษ 238 ง วันที่ 18 ตุลาคม 2559
- ↑ เกียรติคุณ พ่อตัวอย่างแห่งชาติ
- ↑ 17.0 17.1 "ส่องประวัติ "อัศวิน ขวัญเมือง" เจ้าของฉายา "บิ๊กวินปิดจ๊อบ"". www.sanook.com/men. 21 Oct 2016.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 18.0 18.1 ""อัศวิน" เซ็นลาออก "ผู้ว่าฯ กทม." แล้ว ปิดฉาก "คสช." แต่งตั้ง 5 ปี 5 เดือน 5 วัน". bangkokbiznews. 2022-03-24.
- ↑ Srisaard, Muanchan (2020-09-23). "กทม. สร้างมหานครแห่งความสุข ผู้ว่าฯ 'อัศวิน' คลายทุกข์ชาวกรุงผ่านนโยบาย ผลักดันทันใจแก้ไขทันที!". aroundonline.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "เช็คแผนก่อสร้าง "อุโมงค์ระบายน้ำ" บึงหนองบอน แก้น้ำท่วม "อ่อนนุช-สุขุมวิท"". bangkokbiznews. 2021-09-17.
- ↑ "ผู้ว่าฯอัศวิน โชว์ผลงาน 64 การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นแล้วในกทม". INN News. 2021-12-30.
- ↑ Sumtumpruek, Waruth (2023-01-09). "อัศวิน โผล่สมัครสมาชิก รวมไทยสร้างชาติ รับตามมาช่วยงานนายเก่า". ประชาชาติธุรกิจ.
- ↑ เปิดชื่อ 15 กก.ยุทธศาสตร์ รทสช. “บิ๊กตู่” คุม มีอำนาจเสนอแนะ กก.บห.พรรค
- ↑ "เลือกตั้ง 2566 : เปิดลำดับบัญชีรายชื่อ 100 คน "พรรครวมไทยสร้างชาติ"". pptvhd36.com.
- ↑ "ฝนถล่มกรุง น้ำท่วมขังถนนหลายสาย การจราจรติดขัด". Thai PBS. 2018-01-10.
- ↑ ""หากุญแจเปิดเครื่องสูบน้ำไม่ได้" ผู้ว่าฯกทม.เผยหลังน้ำท่วมบางเขน". posttoday.com. 2018-10-03.
- ↑ "'อัศวิน'แจงดราม่าไร้เงายามน้ำท่วมกรุง ยันลงพื้นที่แค่ไม่ได้ออกสื่อ". dailynews. 2020-10-08.
- ↑ 28.0 28.1 "กลุ่มเมล์เดย์ ผู้ช่วยเหลือคนใช้รถเมล์ในเมือง". mgronline.com. 2017-12-06.
- ↑ 29.0 29.1 "ดราม่าสนั่น ชาวเน็ตโวย ผู้ว่าฯ กทม. เคลมผลงานป้ายรถเมล์ใหม่ ทั้งที่ไม่เคยช่วย". ข่าวสด. 2019-03-11.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "กลุ่ม Mayday ชี้แจง กรณีดราม่าป้ายรถเมล์". www.thaich8.com. 23 Mar 2019.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "โดนใจคนกรุงหรือไม่? 4 ปี ผู้ว่าฯ กทม. (ม.44) 'อัศวิน ขวัญเมือง' อยู่ยาวปีที่ 5 ผู้ว่าฯ ลากตั้ง". VoiceTV. 2021-01-26.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "'จักรทิพย์' ถอนตัวชิงผู้ว่าฯกทม. ปม 'ธรรมนัส' หนุน 'อัศวิน'". มติชนออนไลน์. 2021-11-02.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ""อัศวิน" ลั่นยังไม่ตัดสินใจสมัครเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. หลัง "จักรทิพย์" เปิดทาง". bangkokbiznews. 2021-11-03.
- ↑ "สำรวจทรัพย์สิน 'อัศวิน' หลังพ้นผู้ว่าฯกทม. มี 11.5 ล้าน ไร้หนี้ ถือที่ดิน 6 แปลง". มติชนออนไลน์. 12 July 2022. สืบค้นเมื่อ 12 July 2022.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๕, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๒๑, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๐ เก็บถาวร 2022-12-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๘ ข หน้า ๖, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน เก็บถาวร 2022-09-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๙ ตอนที่ ๔๐ ข หน้า ๑๒๗, ๑๖ กันยายน ๒๕๖๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-06-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๕๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔๓, ๑๔ เมษายน ๒๕๒๙
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้ก่อนหน้า | อัศวิน ขวัญเมือง | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร | ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (18 ตุลาคม พ.ศ. 2559 – 24 มีนาคม พ.ศ. 2565) |
ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ | ||
พลตำรวจโท อดิศร นนทรีย์ | ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (1 ตุลาคม พ.ศ. 2550 – 30 กันยายน พ.ศ. 2551) |
พลตำรวจโท สุชาติ เหมือนแก้ว |