พงศกร ขวัญเมือง
ผู้เขียนหลักของบทความนี้อาจมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเรื่องบทความ |
บทความนี้อาจต้องเขียนใหม่ทั้งหมดเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพของวิกิพีเดีย หรือกำลังดำเนินการอยู่ คุณช่วยเราได้ หน้าอภิปรายอาจมีข้อเสนอแนะ |
ร้อยตำรวจเอก พงศกร ขวัญเมือง (เกิด 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2536) ชื่อเล่น เอิร์ธ เป็นนักการเมืองชาวไทย ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ อดีตรองสารวัตรสอบสวน สถานีตำรวจนครบาลทุ่งมหาเมฆ เคยดำรงตำแหน่งโฆษกกรุงเทพมหานครในยุคที่พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง บิดาของเขาเป็นอดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
พงศกร ขวัญเมือง | |
---|---|
โฆษกกรุงเทพมหานคร | |
ดำรงตำแหน่ง 15 ตุลาคม พ.ศ. 2562 – 3 เมษายน พ.ศ. 2563 | |
ผู้ว่าการ | อัศวิน ขวัญเมือง |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2564–2567) |
บุพการี |
|
ศิษย์เก่า | โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนเตรียมทหาร โรงเรียนนายร้อยตำรวจ มหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด |
อาชีพ | ตำรวจ นักการเมือง |
ชื่อเล่น | เอิร์ธ |
ประวัติ
แก้พงศกร ขวัญเมือง เกิดเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 เป็นบุตรคนสุดท้องในจำนวน 3 คนของพลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง กับวาสนา ขวัญเมือง[1] สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย, โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 53 (ประธานรุ่น), ปริญญาตรีจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่นที่ 69 (ประธานรุ่น)[2], ปริญญาโทรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน และมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด โดยทุนรัฐบาลอังกฤษ ก่อนเข้ารับราชการเมื่อปี 2559 ในตำแหน่งรองสารวัตรสอบสวน สถานีตำรวจนครบาลทุ่งมหาเมฆ และลาออกจากราชการในเวลาต่อมา
งานการเมือง
แก้พงศกรมีความสนใจงานด้านการเมืองมาตั้งแต่ พ.ศ. 2561[3] ปีต่อมาหลังลาออกจากราชการตำรวจ เขาได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งโฆษกกรุงเทพมหานคร พร้อมกับจินดารัตน์ ชโยธิน, ธรรมรัต หวั่งหลี และอรพินทร์ เพชรทัต โดยมีหน้าที่หลักคือการประชาสัมพันธ์มาตรการการจัดการโรคโควิด 19 ในกรุงเทพมหานคร[1][4]
ต่อมา พงศกรได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566 ในพื้นที่เขตคลองเตยและวัฒนา โดยสังกัดพรรคประชาธิปัตย์[5] ทั้งนี้ พลตำรวจเอกอัศวิน บิดาของเขา ได้เข้าร่วมงานการเมืองกับพรรครวมไทยสร้างชาติ[6]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 เปิดตัวและหัวใจ ทายาท ‘ผู้ว่าฯ กทม.’ “ร.ต.ท.พงศกร ขวัญเมือง”
- ↑ ประวัติ "หมวดเอิร์ธ พงศกร" โฆษกกรุงเทพมหานคร ทายาทผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
- ↑ matichon (2018-04-12). "คนใกล้ชิดแจงข่าว 'อัศวิน' ส่งลูกลง ส.ส.กทม. แค่คิดแต่ยังไม่ตัดสินใจ". มติชนออนไลน์.
- ↑ ""ไม่คิดว่าคนรุ่นไหนสำคัญเหนือคนรุ่นไหน" เอิร์ธ-พงศกร ขวัญเมือง คลื่นลูกใหม่ใต้ปีก กทม". THE STANDARD. 2019-12-23.
- ↑ ""พรรคประชาธิปัตย์" ได้หมายเลขผู้สมัคร ส.ส.กรุงเทพฯ ครบ 33 เขต". สยามรัฐ. 2023-04-03.
- ↑ "พ่อ-ลูกแยกกันเดิน! พงศกร สวมเสื้อปชป.ชิงส.ส.กทม. อัศวิน ช่วยนายเก่า อยู่รทสช". ข่าวสด. 2023-01-25.
ข้อมูลเพิ่มเติม
แก้- เว็บไซต์พงศกร ขวัญเมือง ที่ ModernBangkok.com