พรรครวมไทยสร้างชาติ
พรรครวมไทยสร้างชาติ (อังกฤษ: United Thai Nation Party; อักษรย่อ: รทสช.[2]) เป็นพรรคการเมืองไทยที่จดทะเบียนจัดตั้งพรรคขึ้นโดยเสกสกล อัตถาวงศ์ ในปี พ.ศ. 2564 โดยนำชื่อมาจากวลีที่คิดขึ้นโดย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตนายกรัฐมนตรี และเคยเข้าร่วมพรรคนี้ในเวลาต่อมาในช่วงปี พ.ศ. 2566 ปัจจุบันมี พีระพันธ์ุ สาลีรัฐวิภาค เป็นหัวหน้าพรรค และ เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ เป็นเลขาธิการพรรค
พรรครวมไทยสร้างชาติ | |
---|---|
ผู้ก่อตั้ง | เสกสกล อัตถาวงศ์ |
หัวหน้า | พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค |
รองหัวหน้า | |
เลขาธิการ | เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ |
รองเลขาธิการ | |
เหรัญญิก | ปรากรมศักดิ์ ชุณหะวัณ |
นายทะเบียนสมาชิก | เกรียงยศ สุดลาภา |
โฆษก | อัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ |
รองโฆษก | |
ประธานที่ปรึกษา | ไตรรงค์ สุวรรณคีรี |
ที่ปรึกษา | ปรีชา มุสิกุล |
ผู้ประสานงาน | หิมาลัย ผิวพรรณ |
คำขวัญ | สู้ให้ทุกปัญหา พึ่งพาได้ทุกเรื่อง |
ก่อตั้ง | 3 มีนาคม พ.ศ. 2564 |
แยกจาก | พรรคพลังประชารัฐ พรรคประชาธิปัตย์ |
ที่ทำการ | 35/3 ซอยอารีย์ 5 แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร |
สมาชิกภาพ (ปี 2566) | 50,652 คน[1] |
สี | สีน้ำเงิน |
สภาผู้แทนราษฎร | 36 / 495 |
เว็บไซต์ | |
unitedthaination |
ประวัติ
แก้ช่วงก่อตั้งพรรค
แก้พรรครวมไทยสร้างชาติ เป็นพรรคการเมืองไทยที่จดทะเบียนก่อตั้งเป็นลำดับที่ 5/2564 เมื่อวันพุธที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2564 มีที่ทำการพรรคแห่งแรกอยู่ที่ 169/98 อาคารเสริมทรัพย์ ถนนรัชดาภิเษก แขวงรัชดาภิเษก เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร[3] มีเสกสกล อัตถาวงศ์ เป็นผู้ก่อตั้ง[4] โดยส่งทีมงานของตนไปจดทะเบียนชื่อกับสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้อื่นนำชื่อไปใช้ เนื่องจากชื่อพรรคเป็นวลีที่พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ตั้งชื่อขึ้นด้วยตนเอง[5] และประกาศเป็นชื่อภารกิจในการฟื้นฟูประเทศของเขาหลังประสบความสำเร็จในการควบคุมการระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทยในระลอกแรกได้เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2563[6] รวมถึงมักใช้เป็นแฮชแท็กท้ายโพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กของเขา และปรากฏอยู่ในชื่อกิจกรรมที่จัดโดยหน่วยงานของรัฐบาลในขณะนั้นอีกด้วย[7]
ต่อมา พรรครวมไทยสร้างชาติได้จัดการประชุมใหญ่วิสามัญที่สโมสรราชพฤกษ์ เมื่อวันพุธที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2565 เพื่อเปลี่ยนแปลงข้อบังคับ ตราสัญลักษณ์ ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ (มาอยู่ที่ 35/3 ซอยอารีย์ 5 แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร) และเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารของพรรคชุดใหม่จำนวน 9 คน ประกอบด้วยพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค เป็นหัวหน้าพรรค, เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ เป็นเลขาธิการพรรค, ปรากรมศักดิ์ ชุณหะวัณ เหรัญญิกพรรค, เกรียงยศ สุดลาภา นายทะเบียนสมาชิกพรรค และกรรมการบริหารอื่น ประกอบด้วย ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง, วิทยา แก้วภราดัย, ชื่นชอบ คงอุดม, วิสุทธิ์ ธรรมเพชร และเกชา ศักดิ์สมบูรณ์ โดยพีระพันธุ์ได้กล่าวปราศรัยในการประชุมใหญ่เกี่ยวกับทิศทางการทำงานของพรรคซึ่งเป็นการรวมตัวของผู้มีอุดมการณ์ที่จะทำงานเพื่อบ้านเมืองแบบเดียวกัน และชูวิสัยทัศน์ที่จะปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเพื่อลดความเหลื่อมล้ำและสร้างโอกาสที่เท่าเทียมกันในสังคม[8]
การเข้าร่วมพรรคของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
แก้ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2565 เกิดความขัดแย้งระหว่างพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ซึ่งได้รับเสนอชื่อในบัญชีของพรรคพลังประชารัฐ กับพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ[9] จนกระทั่งพรรคพลังประชารัฐเสนอชื่อพลเอกประวิตรเป็นนายกรัฐมนตรีในการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในปี พ.ศ. 2566[10] ในวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2565 พลเอกประยุทธ์จึงกล่าวกับสื่อมวลชนว่าตัดสินใจสมัครเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ และพร้อมรับการเสนอชื่อจากสมาชิกพรรคดังกล่าวเป็นนายกรัฐมนตรีอีกสมัย ในการเลือกตั้งครั้งเดียวกัน[11] ต่อมา เสกสกล อัตถาวงศ์ ผู้ก่อตั้งพรรครวมไทยสร้างชาติ ซึ่งขณะนั้นได้ย้ายไปก่อตั้งและเป็นหัวหน้าพรรคเทิดไท ได้ตัดสินใจลาออกจากสมาชิกพรรค และกลับมาร่วมงานกับพรรครวมไทยสร้างชาติ[12]
พรรครวมไทยสร้างชาติได้จัดการประชุมใหญ่วิสามัญ ครั้งที่ 1/2566 ในชื่อ "รวมใจ รวมไทยสร้างชาติ" ในวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2566 ณ โถงนิทรรศการ 1 และ 2 ชั้น G ภายในศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ซึ่งเป็นสถานที่ที่พลเอกประยุทธ์และรัฐบาลเคยใช้จัดการประชุมเอเปค 2022 จนประสบความสำเร็จมาก่อนหน้านี้[13][14][15][16] โดยส่วนหนึ่งได้มีนักการเมืองที่เคยสังกัดพรรคการเมืองต่าง ๆ เช่น พรรคพลังประชารัฐ, พรรคประชาธิปัตย์, พรรคพลังท้องถิ่นไท เป็นต้น เข้ามาร่วมเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติด้วย[17] ทั้งนี้ ในงานดังกล่าว พลเอกประยุทธ์ได้สมัครเป็นสมาชิกตลอดชีพของพรรค และได้กล่าววิสัยทัศน์ต่อหน้าสมาชิกพร้อมด้วยผู้สนับสนุนพรรค[18] เขากล่าวถึงนโยบายของพรรค ได้แก่ การปรับปรุงกฎหมาย ลดค่าครองชีพของประชาชน และเสริมสร้างความสามัคคีภายในชาติ[19]
มีนักการเมืองและบุคคลมีชื่อเสียงเปิดตัวและสมัครสมาชิกพรรค เช่น ชัชวาลล์ คงอุดม,[20] เขตรัฐ เหล่าธรรมทัศน์,[21][22], ธนกร วังบุญคงชนะ[23][24], อนุชา บูรพชัยศรี[25], สุชาติ ชมกลิ่น[26], ไตรรงค์ สุวรรณคีรี, ชุมพล กาญจนะ[27], เสกสรร ชัยเจริญ[28][29], ทิพานัน ศิริชนะ, มินทร์ ลักษิตานนท์, ศุข ศักดิ์ณรงค์เดช[30], รังสิมา รอดรัศมี , ยศวริศ ชูกล่อม[31], พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล[32] อนุชา นาคาศัย[33] ฐิติภัสร์ โชติเดชาชัยนันต์[34] และนิโรธ สุนทรเลขา[35] อนึ่ง ส.ส. บางส่วนได้ลาออกเพื่อมาสมัครสมาชิกกับ รทสช. ด้วย
เวลาต่อมา บุญญาพร นาตะธนภัทร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบัญชีรายชื่อ ซึ่งถูกขับจากพรรครวมแผ่นดินมาร่วมงานกับพรรครวมไทยสร้างชาติ โดยถือว่าเป็น ส.ส. คนแรกของพรรคที่ทำหน้าที่อยู่ในสภาผู้แทนราษฎร โดยเข้ามาพร้อมกับกุสุมาลวตี ศิริโกมุท และพิพิธ รัตนรักษ์[36] หลังจากนั้น สัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ อดีตหัวหน้าพรรคพลเมืองไทย ได้ตัดสินใจย้ายมาสังกัดพรรครวมไทยสร้างชาติ พร้อมกับศิลัมพา เลิศนุวัฒน์ บุตรสาวซึ่งเป็น ส.ส. คนเดียวของพรรคพลเมืองไทยด้วย ทำให้พรรครวมไทยสร้างชาติมี ส.ส. ทั้งสิ้น 2 คน[37]
ในวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2566 พรรครวมไทยสร้างชาติได้จัดประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคโดยมีพลเอกประยุทธ์เข้าร่วม ซึ่งที่ประชุมได้แต่งตั้งให้พลเอกประยุทธ์ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการกำหนดแนวทางและยุทธศาสตร์พรรค มีผลตั้งแต่วันที่ 28 มกราคม[38] วันที่ 1 มีนาคม พรรคได้จัดงานทำบุญพรรคและเปิดตัวสมาชิกพรรคอย่างเป็นทางการ อาทิ ไพโรจน์ ตันบรรจง, วัฒนา สิทธิวัง, วัชระ ยาวอหะซัน, สมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล, เจือ ราชสีห์, ปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข และเปล่งมณี เร่งสมบูรณ์สุข, ศิริวรรณ ปราศจากศัตรู, ชุมพล จุลใส และสุพล จุลใส และสินธพ แก้วพิจิตร[39] ก่อนหน้านั้นในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ได้มีการเปิดตัวสมาชิกพรรคอาทิ พลตรีนายแพทย์ เหรียญทอง แน่นหนา, พันตำรวจโท ฐนภัทร กิตติวงศา, ชัยวัฒน์ เป้าเปี่ยมทรัพย์, รณเทพ อนุวัฒน์ และสาธิต อุ๋ยตระกูล[40] ในวันที่ 16 มีนาคม ศรัณย์วุฒิ ศรัณย์เกตุ ส.ส. อุตรดิตถ์ พรรคเพื่อชาติ ได้จัดแถลงข่าวที่รัฐสภาประกาศว่าหลังจากมีการประกาศยุบสภาแล้วจะลาออกจากสมาชิกพรรคเพื่อชาติเพื่อย้ายมาสังกัดพรรครวมไทยสร้างชาติ[41] ต่อมาในวันที่ 20 มีนาคม เกรียงไกร จงเจริญ อดีตว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. พรรคเพื่อไทย เขตบางแค[42] ได้ย้ายมาร่วมงานกับพรรครวมไทยสร้างชาติ[43] และในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2566 พรรครวมไทยสร้างชาติได้เปิดตัวทีมเศรษฐกิจ พร้อมด้วยที่ปรึกษา เพื่อรองรับการเลือกตั้ง โดยมีหัวหน้าทีมเศรษฐกิจคือหม่อมหลวงชโยทิต กฤดากร ผู้แทนการค้าไทยในขณะนั้น และมีสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นหนึ่งในที่ปรึกษาทีมเศรษฐกิจ[44]
ต่อมาในวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2566 พรรครวมไทยสร้างชาติได้จัดการประชุมใหญ่สามัญ ครั้งที่ 1/2566 ที่โถงนิทรรศการ 5 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี เพื่อแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรค[45] จากนั้นได้ทำการเปิดตัวผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตทั้ง 400 คน และเปิดตัวพลเอกประยุทธ์ในฐานะผู้ได้รับเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีของพรรคในลำดับที่ 1 ทั้งนี้ พลเอกประยุทธ์ยังประกาศให้พีระพันธุ์เป็นผู้ได้รับเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีของพรรคในลำดับที่ 2 เพื่อรองรับในกรณีที่พลเอกประยุทธ์ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหลังการเลือกตั้งครั้งนี้ ซึ่งจะหมดวาระในวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2568[46] ส่งผลให้ในการเลือกตั้งครั้งนี้พรรครวมไทยสร้างชาติมีผู้สมัครนายกรัฐมนตรีของพรรคจำนวน 2 คน[47]
จากนั้นในวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2566 พรรครวมไทยสร้างชาติได้แต่งตั้งรองหัวหน้าพรรคจำนวน 4 คน ประกอบด้วย สุชาติ ชมกลิ่น, ธนกร วังบุญคงชนะ, อนุชา บูรพชัยศรี และเสกสกล อัตถาวงศ์ โดยมีผลย้อนหลังไปตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2566[48]
ภายหลังเสร็จสิ้นการเลือกตั้งแล้ว ในวันที่ 30 มิถุนายน พรรครวมไทยสร้างชาติได้เปิดตัวทีมโฆษกพรรคชุดแรก ซึ่งเน้นที่กลุ่มบุคคลรุ่นใหม่ของพรรคเป็นหลัก ประกอบด้วย อัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ เป็นโฆษกพรรค, ชินภัสร์ กิจเลิศสิริวัฒนา, พงศ์พล ยอดเมืองเจริญ และ รัดเกล้า สุวรรณคีรี เป็นรองโฆษกพรรค โดยมีที่ปรึกษาทีมโฆษกคือเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ , ธนกร วังบุญคงชนะ และ ศรัณย์วุฒิ ศรัณย์เกตุ[49] และในวันเดียวกัน พีระพันธุ์ซึ่งเป็นว่าที่ ส.ส. บัญชีรายชื่อลำดับที่ 1 ได้ลาออกจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อความสะดวกในการดำรงตำแหน่งเลขาธิการนายกรัฐมนตรีตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง[50] ส่งผลให้อนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ผู้ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น และรองหัวหน้าพรรค ซึ่งเป็นผู้สมัคร ส.ส. บัญชีรายชื่อลำดับที่ 14 ของพรรค ได้รับการเลื่อนลำดับขึ้นเป็นว่าที่ ส.ส. แทน[51]
การลาออกของพล.อ.ประยุทธ์
แก้ต่อมาเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม เฟซบุ๊กของพรรคได้ออกแถลงการณ์ของพลเอกประยุทธ์ โดยระบุว่าขอประกาศวางมือทางการเมือง และลาออกจากสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ ทำให้ต้องพ้นจากตำแหน่งประธานคณะกรรมการกำหนดแนวทางและยุทธศาสตร์ของพรรคไปโดยปริยาย[52] จากนั้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม เสกสกลซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งพรรคได้ยื่นหนังสือลาออกจากสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ โดยมีผลทันที ส่งผลให้พ้นจากตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคไปโดยปริยาย[53] และต่อมาเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ชินภัสร์ได้ยื่นหนังสือลาออกจากสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ เนื่องจากเห็นว่าพรรคยังทำงานแบบเดิมโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงระบบภายใน โดยมีผลทันที ส่งผลให้พ้นจากตำแหน่งรองโฆษกพรรคไปโดยปริยาย[54]
บุคลากร
แก้หัวหน้าพรรค
แก้ลำดับที่ | ชื่อ | เริ่มดำรงตำแหน่ง | สิ้นสุดการดำรงตำแหน่ง | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
1 | ว่าที่ร้อยโท ไกรภพ นครชัยกุล | 31 มีนาคม พ.ศ. 2564 | 7 มีนาคม พ.ศ. 2565 | |
- | ประจง ประสานฉ่ำ | 7 มีนาคม พ.ศ. 2565 | 31 มีนาคม พ.ศ. 2565 | รักษาการหัวหน้าพรรค |
2 | ธัญย์ธรณ์เทพ แย้มอุทัย | 31 มีนาคม พ.ศ. 2565 | 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 | |
- | ธนดี หงษ์รัตนอุทัย | 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 | 3 สิงหาคม พ.ศ. 2565 | รักษาการหัวหน้าพรรค |
3 | พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค | 3 สิงหาคม พ.ศ. 2565 |
เลขาธิการพรรค
แก้ลำดับที่ | ชื่อ | เริ่มดำรงตำแหน่ง | สิ้นสุดการดำรงตำแหน่ง | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
1 | วาสนา คำประเทือง | 31 มีนาคม พ.ศ. 2564 | 31 มีนาคม พ.ศ. 2565 | รักษาการในตำแหน่งเลขาธิการพรรค |
2 | ธนดี หงษ์รัตนอุทัย | 31 มีนาคม พ.ศ. 2565 | 3 สิงหาคม พ.ศ. 2565 | รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าพรรค |
3 | เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ | 3 สิงหาคม พ.ศ. 2565 | ปัจจุบัน |
บุคลากรพรรคในปัจจุบัน
แก้กรรมการบริหารพรรค
แก้ลำดับที่ | ชื่อ | ตำแหน่ง |
---|---|---|
1 | พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค | หัวหน้าพรรค |
2 | เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ |
|
3 | ปรากรมศักดิ์ ชุณหะวัณ | เหรัญญิกพรรค |
4 | เกรียงยศ สุดลาภา | นายทะเบียนสมาชิกพรรค |
5 | วิทยา แก้วภราดัย | รองหัวหน้าพรรค |
6 | วิสุทธิ์ ธรรมเพชร | |
7 | เกชา ศักดิ์สมบูรณ์ | |
8 | ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง | |
9 | ชื่นชอบ คงอุดม |
ไม่ใช่กรรมการบริหารพรรค
แก้ลำดับที่ | ชื่อ | ตำแหน่ง |
---|---|---|
1 | สุชาติ ชมกลิ่น | รองหัวหน้าพรรค |
2 | ธนกร วังบุญคงชนะ |
|
3 | อนุชา บูรพชัยศรี | รองหัวหน้าพรรค |
4 | จุติ ไกรฤกษ์ | |
5 | สยาม บางกุลธรรม | รองเลขาธิการพรรค |
6 | อัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ | โฆษกพรรค |
7 | พงศ์พล ยอดเมืองเจริญ | รองโฆษกพรรค |
8 | รัดเกล้า สุวรรณคีรี | |
9 | ไตรรงค์ สุวรรณคีรี | ประธานที่ปรึกษาพรรค |
10 | ปรีชา มุสิกุล | ที่ปรึกษาพรรค |
11 | ศรัณย์วุฒิ ศรัณย์เกตุ | ที่ปรึกษาทีมโฆษกพรรค |
บุคลากรพรรคในอดีต
แก้คณะกรรมการกำหนดแนวทางและยุทธศาสตร์พรรคการเมือง
แก้ลำดับที่ | ชื่อ | ตำแหน่ง |
---|---|---|
1 | พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (ลาออก)[52] | ประธานกรรมการ |
2 | พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค | รองประธานกรรมการ |
3 | ไตรรงค์ สุวรรณคีรี | กรรมการ |
4 | พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง | |
5 | ชัชวาลล์ คงอุดม | |
6 | ชุมพล กาญจนะ | |
7 | วิทยา แก้วภราดัย | |
8 | สุชาติ ชมกลิ่น | |
9 | อนุชา บูรพชัยศรี | |
10 | วิสุทธิ์ ธรรมเพชร | |
11 | พงษ์ศักดิ์ จ่าแก้ว | |
12 | เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ | กรรมการและเลขานุการ |
การเลือกตั้ง
แก้ผลการเลือกตั้งทั่วไป
แก้การเลือกตั้ง | จำนวนที่นั่ง | คะแนนเสียงทั้งหมด | สัดส่วนคะแนนเสียง | ที่นั่งเปลี่ยน | ผลการเลือกตั้ง | ผู้นำเลือกตั้ง |
---|---|---|---|---|---|---|
2566 | 36 / 500
|
4,766,408 | 12.06% | 36 | ร่วมรัฐบาล | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ข้อวิจารณ์
แก้การลงคลิป
แก้ก่อนการเลือกตั้ง ปี พ.ศ. 2566 พรรครวมไทยสร้างชาติได้เผยแพร่วีดีโอของทางพรรค ซึ่งมีเนื้อหาเสียดสีนโยบายพรรคการเมืองพรรคหนึ่ง ในส่วนของเนื้อหานั้นประกอบด้วย อนุสาวรีย์ประธิปไตยที่ถูกปิดด้วยแผ่นผ้าประท้วง ลูกชายต่อว่ามารดาว่าทำไมไม่โหวตเลือกอาหารที่จะทาน ลูกสาวที่กลายเป็นผู้ให้บริการคอนเทนต์สำหรับผู้ใหญ่ และข้าศึกประชิดชายแดนที่ไร้การป้องกัน เพราะยกเลิกเกณฑ์ทหาร โดยทางพรรคอธิบายถึงเหตุผลการผลิตและเผยแพร่คลิปนี้ว่า หลายฉากในคลิปเป็นเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว และเป็นเหตุการณ์ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นจริง ซึ่งถูกวิพากย์วิจารณ์ว่าเป็นการปลุกเร้าให้เกิดความเกลียดแบบสุดขั้ว และสะท้อนช่วงเวลาของความสิ้นหวัง และหากทางพรรคยังใช้การเมืองแห่งอารมณ์เหมือนการปล่อยคลิปดังกล่าวอีก จะเป็นวิธีการที่ล้าหลังและสุ่มเสี่ยงมากในระยะยาว ในประเทศไทยที่มีประวัติศาสตร์การแบ่งขั้วมายาวนาน เพราสื่อว่า ต้องแตกหักกัน ซึ่งไม่เป็นผลดีสำหรับสังคมประชาธิปไตยที่อยากจะหาวิธีการอยู่กันอย่างสันติ[55]
คำร้องคัดค้านการเป็น สส.
แก้15 มิถุนายน พ.ศ. 2566 มีเอกสารที่นำเสนอต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ประกาศผลการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต ครั้งที่ 1 ปรากฏว่ามี ว่าที่ ส.ส. ที่ประกาศผลรับรอง 329 คน ขณะที่มี 71 เขต ที่มีเรื่องร้องคัดค้าน มีรายงานว่า เอกสารดังกล่าวอาจเป็นเอกสารสรุปของฝ่ายปฏิบัติการ แจ้งเรื่องร้องคัดค้านการเลือกตั้ง ที่ยังไม่ได้นำเสนอต่อที่ประชุม กกต.[56] โดยพรรครวมไทยสร้างชาติถูกร้องคัดค้านทั้งสิ้น 3 คน ดังนี้
ลำดับ | รายชื่อ สส. | เขตที่ลงเลือกตั้ง |
---|---|---|
1 | พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล | นครศรีธรรมราช เขต 10 |
2 | พงษ์มนู ทองหนัก | พิษณุโลก เขต 3 |
3 | พิพิธ รัตนรักษ์ | สุราษฎร์ธานี เขต 2 |
แต่ถึงกระนั้น กกต. ก็ประกาศรับรอง สส. ทั้ง 500 คนก่อน โดยได้ชี้แจงว่าจะดำเนินการพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันเลือกตั้ง
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ ข้อมูลพรรคการเมืองที่ยังดำเนินการอยู่ ณ วันที่ 8 มีนาคม 2566
- ↑ "ทำความรู้จัก 'รวมไทยสร้างชาติ' หนึ่งพรรคประกาศหนุน 'พล.อ.ประยุทธ์' ในสนามการเมือง". workpointTODAY.
- ↑ ทำความรู้จัก “รวมไทยสร้างชาติ” พรรคใหม่ หนุน “บิ๊กตู่” นั่งนายกฯ
- ↑ "เสกสกล"ขอลุยทำพรรครวมไทยสร้างชาติ หนุน"ประยุทธ์"เป็นนายกฯ
- ↑ ตรีสุวรรณ, หทัยกาญจน์ (2022-08-03). "รวมไทยสร้างชาติตั้งเป้ากวาด ส.ส. ใต้ยกภาค "หมดเวลาวัฒนธรรมเสาไฟฟ้า"". สืบค้นเมื่อ 2023-07-02.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "'ณัฐวุฒิ' จับแพะชนแกะ! ผ่าแผนปฏิบัติการ 'น้องเล็ก 3 ป' ชิงลงมือก่อน". ไทยโพสต์. 2022-02-07. สืบค้นเมื่อ 2023-07-02.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ฮาแว, ไพศาล (2023-01-09). "'รวมไทยสร้างชาติ' ฐานทัพใหม่ 'ประยุทธ์' นักการเมืองเต็มตัว หวังกวาด ส.ส. เกิน 100". เดอะสแตนดาร์ด. สืบค้นเมื่อ 2023-07-02.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ “พีระพันธุ์” นั่งหัวหน้าพรรค ชูนโยบายแก้กฎหมายล้าสมัย สร้างสังคมเท่าเทียม[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ร้าว แต่ยังไม่แตก พลังประชารัฐในภาวะ "มังกรสองหัว"". BBC News ไทย. 2021-09-27. สืบค้นเมื่อ 2023-02-02.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "พรึ่บ! พปชร.เปิดตัวว่าที่ผู้สมัครส.ส. ลั่นเข็น 'ลุงป้อม' นั่งนายกฯ". ไทยโพสต์. 2022-12-21. สืบค้นเมื่อ 2023-07-02.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ""บิ๊กตู่" ประกาศเป็นแคนดิเดตนายกฯ "รวมไทยสร้างชาติ" ยันคุย "พี่ป้อม" แล้ว สัมพันธ์พี่น้องทหารไม่แตกหัก". mgronline.com. 2022-12-23.
- ↑ ไปไหนไปกัน! 'แรมโบ้'ลาออกหน.พรรคเทิดไท ย้ายซบ'รทสช.'เสริมทัพ'บิ๊กตู่'
- ↑ "กกต. จับตา 'รวมไทยสร้างชาติ' เปิดตัว 'บิ๊กตู่' ชี้สวมหมวก 2 ใบต้องแยกให้ชัด". 2023-01-07.
- ↑ 'บิ๊กตู่' ได้ฤกษ์ 9 มกรา. สมัครสมาชิก รทสช.
- ↑ มาแล้วกำหนดการ 'บิ๊กตู่-ภาษาไตรรงค์' บนเวที 'รวมไทยสร้างชาติ' 9 มกรา.
- ↑ "เปิดอีเวนต์ "บิ๊กตู่" เข้าพรรค รทสช.9 ม.ค.ขึ้นเวทีโชว์วิสัยทัศน์กลางศูนย์สิริกิติ์". mgronline.com. 2023-01-07.
- ↑ มติชนสุดสัปดาห์ (2023-01-09). "ที่มาที่ไป รวมไทยสร้างชาติ กว่าจะมาถึง เปิดตัว 'บิ๊กตู่' กระหึ่ม วันนี้". มติชนสุดสัปดาห์.
- ↑ "นักการเมืองเต็มตัว 'บิ๊กตู่' สมัครสมาชิก รทสช. ขึ้นเวทีร่ายยาวภารกิจเพื่อคนไทยทั้งชาติ". 2023-01-09.
- ↑ "'พล.อ.ประยุทธ์' สมัครสมาชิก 'รวมไทยสร้างชาติ' เปิดใจต้องพาประเทศไทยไปต่อ". workpointTODAY.
- ↑ 'ชัช เตาปูน' ลาออกส.ส.พลังท้องถิ่นไท จ่อซบรวมไทยสร้างชาติ
- ↑ ทิ้งพรรครวมพลัง! เขตรัฐ จ่อสมัครเข้า รวมไทยสร้างชาติ ขออาสาชิง ส.ส.กทม.
- ↑ 'เอกนัฏ' รับใบสมัคร 'เขตรัฐ' เข้ารทสช. ยัน 'บิ๊กป้อม' ปาดหน้าลงราชบุรี เป็นเรื่องปกติ ไม่มีผลกระทบ
- ↑ เปิดตัวซบ'รทสช.' 'ธนกร'สมัครสมาชิกพรรค หนุน'บิ๊กตู่'นั่งนายกฯอีกสมัย
- ↑ "'ธนกร'ลาออกส.ส.สมาชิกพปชร.ไปรวมไทยสร้างชาติ". posttoday. 2023-01-19.
- ↑ "อนุชา" สมัครเข้าพรรค "รวมไทยสร้างชาติ" หนุน "ลุงตู่" นั่งนายกฯ ต่อ
- ↑ 'สุชาติ' ลั่นช่วยงาน รทสช. ไม่หวังตำแหน่งในพรรค เผยมี 15 ส.ส.ตามสมทบ
- ↑ "'ไตรรงค์-ชุมพล-ชัช เตาปูน' เปิดตัวซบรวมไทยสร้างชาติยก 'บิ๊กตู่' ผู้มากบารมี!". เดลินิวส์.
- ↑ ‘แรมโบ้’นำ‘หนุ่มเสก’อดีตนักร้องดัง เข้ารทสช.
- ↑ 'หนุ่มเสก' ลง ส.ส.บัญชีรายชื่อ รทสช. ลุยช่วยประยุทธ์หาเสียงทั่วประเทศ
- ↑ “ทิพานัน” เข้ารวมไทยสร้างชาติ ลุยงานสื่อสาร “เอกนัฏ” เชื่อพรรคปักธง กทม. ได้
- ↑ พลิกขั้ว ! 2 แกนนำเสื้อแดง 'สมหวัง-เจ๋ง ดอกจิก' สมัครเข้าร่วม 'พรรคลุงตู่'
- ↑ 'ปุ้ย พิมพ์ภัทรา'สวมเสื้อพรรค รทสช.แล้ว
- ↑ 'อนุชา' ไขก๊อกพ้น ส.ส. ลาออกจาก 'พปชร.' ซบ รวมไทยสร้างชาติ
- ↑ “ฐิติภัสร์” ลาออก ส.ส.- สมาชิกพรรค พปชร.แล้ว เตรียมสมัคร “รวมไทยสร้างชาติ” ดีเดย์ 1 มี.ค.นี้
- ↑ เลือกแล้ว! 'นิโรธ'ร่อนใบลาออกทิ้ง พปชร. ซบรวมไทยสร้างชาติ ช่วย'บิ๊กตู่'
- ↑ "'บุญญาพร นาตะธนภัทร' ส.ส. คนแรกของรวมไทยสร้างชาติ หลังถูกขับจากพรรครวมแผ่นดิน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-01-30. สืบค้นเมื่อ 2023-01-30.
- ↑ "สัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์" พาลูกสาว “ศิลัมพา" ซบ “รทสช.” หนุน "บิ๊กตู่" นั่งนายกฯ "เอกนัฎ" เตรียมลงใต้ ถก "บ้านใหญ่เมืองนราฯ" หวังกวาดยก4เขต
- ↑ เปิดชื่อ 15 กก.ยุทธศาสตร์ รทสช. “บิ๊กตู่” คุม มีอำนาจเสนอแนะ กก.บห.พรรค
- ↑ เปิดรายชื่อสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ
- ↑ ประยุทธ์ รวมไทยสร้างชาติ พรรคอันดับ 1 จัดตั้งรัฐบาล “เพื่อนเฮ้ง” กำลังหลัก
- ↑ โผซบ‘รทสช.’ ‘ศรัณย์วุฒิ’ยก 3 จุดเด่น‘ลุงตู่’ มั่นใจได้กลับมาเป็นนายกฯอีกรอบ
- ↑ พท.ส่ง 'เกรียงไกร จงเจริญ' อดีต ขรก.ระดับ 10 ชิง ส.ส.พัฒนาเขตบางแค
- ↑ หนีเพื่อไทย! 'เกรียงไกร จงเจริญ'ย้ายซบ'รทสช.' หลังถูกเบี้ยวไม่ส่งลงสมัคร
- ↑ "เลือกตั้ง 66 'พล.อ.ประยุทธ์' เปิดตัวทีมเศรษฐกิจพรรครวมไทยสร้างชาติ ขออย่าระแวง ฝากอนาคตไว้กับตนได้". สำนักข่าวทูเดย์. 2023-03-23. สืบค้นเมื่อ 2023-04-18.
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรครวมไทยสร้างชาติ
- ↑ "เลือกตั้ง 66 'พล.อ.ประยุทธ์' เผยคือยุทธศาสตร์ ไม่ลงปาร์ตี้ลิสต์ ส่งไม้ต่อ 'พีระพันธุ์' หากได้นั่งนายกฯ อีก 2 ปี". สำนักข่าวทูเดย์. 2023-04-03. สืบค้นเมื่อ 2023-04-05.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ""พล.อ.ประยุทธ์ " เปิดตัวแคนดิเดตนายกฯ "รทสช" เกทับแลนด์สไลด์ คว้า 400 เขต". ช่อง 8. 2023-03-25. สืบค้นเมื่อ 2023-03-25.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "รทสช. จัดทัพ ตั้ง 4 รองหัวหน้าพรรค "สุชาติ-ธนกร-อนุชา-เสกสกล" ให้คำปรึกษางานการเมือง". มติชน. 2023-04-11. สืบค้นเมื่อ 2023-04-11.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "'รทสช.' เปิดตัว 'อัครเดช' นั่งโฆษกพรรค ลุยเวิร์กช็อป ระดมความคิด เปลี่ยนโครงสร้าง-การทำงาน". มติชน. 2023-06-30. สืบค้นเมื่อ 2023-06-30.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "พีระพันธุ์ ลาออก ส.ส.รวมไทยสร้างชาติ ขอทำหน้าที่เลขาธิการนายกฯ". ประชาชาติธุรกิจ. 2023-06-30. สืบค้นเมื่อ 2023-06-30.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ""เอกนัฏ" บอก "พีระพันธุ์" สละแค่ ส.ส. อยู่ช่วย "ลุงตู่" แต่ยังเป็นหัวหน้าพรรค". ไทยรัฐ. 2023-07-01. สืบค้นเมื่อ 2023-07-02.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 52.0 52.1 "ประยุทธ์'ประกาศวางมือทางการเมือง ลาออกจากสมาชิก'รทสช.'". แนวหน้า. 2023-07-11. สืบค้นเมื่อ 2023-07-11.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ‘แรมโบ้’ ลาออกจากสมาชิก รทสช. ‘แม่เลี้ยงติ๊ก’ เลื่อนลำดับเป็น สส.บัญชีรายชื่อแทน
- ↑ "เก็ต ชินภัสร์ ลาออกพรรครวมไทยสร้างชาติ ชี้ถ้าทำงานแบบเดิมเปลี่ยนประเทศไม่ได้". ผู้จัดการออนไลน์. 14 ธันวาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 14 ธันวาคม 2023.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "เลือกตั้ง 2566 : ถอดรหัสคลิปรวมไทยสร้างชาติ การต่อสู้เฮือกสุดท้ายของ "อนุรักษนิยมฮาร์ดคอร์"". BBC News ไทย. 2023-05-09.
- ↑ "เปิดชื่อ 71 ว่าที่ ส.ส. กกต.จ่อแขวน เหตุร้องคัดค้าน". Thai PBS.