สุพล จุลใส ป.ช. ป.ม. (เกิด 4 มกราคม พ.ศ. 2510) ชื่อเล่น ลูกช้าง ปัจจุบันดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพร สังกัดพรรครวมไทยสร้างชาติ[1] อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร

สุพล จุลใส
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพร
เริ่มดำรงตำแหน่ง
24 มีนาคม พ.ศ. 2562
(6 ปี 36 วัน)
ก่อนหน้าธีระชาติ ปางวิรุฬรักษ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด4 มกราคม พ.ศ. 2510 (58 ปี)
อำเภอสวี จังหวัดชุมพร ประเทศไทย
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2549–2561)
รวมพลัง (2561–2566)
รวมไทยสร้างชาติ (2566–ปัจจุบัน)
คู่สมรสรัชนี จุลใส

ประวัติ

แก้

สุพล เกิดเมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2510 ที่ ตำบลครน อำเภอสวี จังหวัดชุมพร เป็นบุตรนายบุญธรรม นางหนูจวน จุลใส และเป็นพี่ชายนายชุมพล จุลใส ด้านครอบครัวสมรสกับนางรัชนี จุลใส มีบุตร 1 คน

สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาการพัฒนาชุมชน จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี และระดับปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์ (นโยบายสาธารณะ)) จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา[2]

งานการเมือง

แก้

สุพล เข้าสู่วงการการเมืองด้วยการเป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาสัก เมื่อ พ.ศ. 2553 จากนั้นก็ได้รับเลือกให้เป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร[3] ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 ถึง พ.ศ. 2561 ก่อนที่จะได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2562 สังกัดพรรครวมพลังประชาชาติไทย โดยสามารถเอาชนะธีระชาติ ปางวิรุฬห์รักษ์ อดีต สส. ชุมพร 3 สมัย จากพรรคประชาธิปัตย์ ไปได้ และเป็นผู้สมัครเพียงคนเดียวของพรรคที่ได้รับการเลือกตั้งในระบบแบ่งเขตในการเลือกตั้งครั้งนี้

ต่อมาสุพลได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2566 พร้อมกับนาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพจากพรรคเพื่อไทย[4]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

แก้

สุพล จุลใสได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 2 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดชุมพร สังกัดพรรครวมพลัง
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 จังหวัดชุมพร สังกัดพรรครวมไทยสร้างชาติ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. เปิดรายชื่อสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ
  2. นายสุพล จุลใส
  3. ไปไหนต่อ "สุพล จุลใส" หลังลูกหมี ต้อนรับป้อม-ธรรมนัส
  4. “ชวน” แจ้งสภา สส.ลาออกอีก 5 -ให้ถอดแมสก์ประชุมได้
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๕, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๔, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๙, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔