เกรียงยศ สุดลาภา

นายเกรียงยศ สุดลาภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ จังหวัดกรุงเทพมหานครพรรครวมไทยสร้างชาติและเป็นนายทะเบียนสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (พลตำรวจเอกอัศวิน ขวัญเมือง)อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (ถาวร เสนเนียม) อดีตรองโฆษกกรุงเทพมหานคร ในสมัยนายอภิรักษ์ โกษะโยธินเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และหลังจากเกิดรัฐประหารในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2557 เกรียงยศ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท) โดยแต่งตั้งให้เป็นโฆษกคณะกรรมาธิการ ดูแลทางด้านการปกครองส่วนท้องถิ่น

เกรียงยศ สุดลาภา
เกรียงยศ ในปี พ.ศ. 2564
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ดำรงตำแหน่ง
1 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 – 25 มีนาคม พ.ศ. 2565
ผู้ว่าการอัศวิน ขวัญเมือง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด5 มกราคม พ.ศ. 2509 (58 ปี)
ศาสนาพุทธ

ประวัติ แก้

นายเกรียงยศ สุดลาภา เกิดเมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2509 เป็นบุตรของนายเชาวน์วัศ สุดลาภา อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนที่ 7 และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และด้านครอบครัวเกรียงยศ สุดลาภา มีบุตรชาย 2 คน คือ นายพศุตม์ สุดลาภา และนายณภดล สุดลาภา คู่สมรส พิมพ์พีรฎา กิจเพิ่มพูล

นายเกรียงยศ สุดลาภา เรียนจบการศึกษาระดับชั้นประถมที่โรงเรียนเซนต์คาเบรียล ระดับมัธยมที่โรงเรียนเซนต์คาเบรียล กทม.และ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กทม. และจากนั้นเดินทางไปศึกษาต่อจนจบปริญญาตรี Catholic Central High School, Grand Rapids, Michigan ประเทศสหรัฐอเมริกา และจบระดับปริญญาโทด้าน Art and Media management ที่ Columbia College Chicago เมืองชิคาโก สหรัฐอเมริกา และกลับมาศึกษาต่อในระดับปริญญาโทเพิ่มอีก คือปริญญาโทรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (MPA) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ (GSPA NIDA) เมื่อปี พ.ศ. 2544

งานการเมือง แก้

นายเกรียงยศ สุดลาภา เข้าเวทีการเมืองครั้งแรกโดยการได้รับการแต่งตั้งให้เป็น รองโฆษกกรุงเทพมหานคร (ดูแลด้านกิจการกรุงเทพมหานคร) ในสมัยนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และเคยสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ และสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบแบ่งเขตในเขตเลือกตั้งที่ 6 กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ แต่ได้เพียงลำดับที่ 4 และได้ลงเลือกตั้งระบบบัญชีรายชื่อในนามพรรคประชาธิปัตย์อีกครั้งในปีพ.ศ. 2554 อยู่ในลำดับที่ 68 [1]

ในปี พ.ศ. 2551 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ[2]

นายเกรียงยศ สุดลาภา เป็นผู้หนึ่งที่ได้รับการเสนอชื่อให้ลงสมัครรับเลือกตั้งซ่อมแทนนายทิวา เงินยวง ในการเลือกตั้งซ่อม เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2553 แต่สุดท้ายพรรคประชาธิปัตย์ มีมติให้นายพนิช วิกิตเศรษฐ์ เป็นตัวแทนลงสมัครรับเลือกตั้ง[3] ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์[4] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง และในวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2558 นายเกรียงยศ สุดลาภา ได้รับการแต่งตั้งโดย คสช.ให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ(สปท.)[5] และดำรงตำแหน่งโฆษกคณะกรรมาธิการ (กมธ)ให้ดูแลทางด้านการปกครองท้องถิ่นในสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ(สปท) และในวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2561 ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโดยพลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นผู้แต่งตั้งให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 กำกับดูแลสำนักการศึกษา สำนักวัฒนธรรม กีฬาและท่องเที่ยว สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล สำนักงานการต่างประเทศ สำนักพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร สำนักการคลัง ของกรุงเทพมหานคร

นายเกรียงยศ ย้ายไปร่วมงานกับพรรครวมไทยสร้างชาติ[6] และได้รับเลือกตั้งให้เป็นนายทะเบียนพรรครวมไทยสร้างชาติ ในการประชุมใหญ่วิสามัญ พรรครวมไทยสร้างชาติ เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2565

ปัจจุบันได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใแบบบัญชีรายชื่อ พรรครวมไทยสร้างชาติจังหวัดกรุงเทพมหานคร

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ""ปชป.-พท."ฐานคะแนน กทม.สูสี เลือกซ่อมเขต 6 "วัดกันที่กระแส"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-30. สืบค้นเมื่อ 2010-08-01.
  2. "การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (นายเกรียงยศ สุดลาภา และนายสุกิจ ก้องธรนินทร์)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2021-10-05.
  3. องอาจเผยชื่อ5คนปชป.คัดลงชิงส.ส.แทนทิวา
  4. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคประชาธิปัตย์)
  5. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ เล่ม 132 ตอน 239 ง พิเศษ หน้า 3 5 ตุลาคม 2558
  6. มหกรรมการลาออกครั้งใหญ่ ส.ส.รุ่นใหญ่ รุ่นใหม่ ใครย้ายไปพรรคไหนบ้าง
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๕, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2011-01-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๑๗๘. ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๐ เก็บถาวร 2017-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๘ ข หน้า ๔, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐