อัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์
อัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ (เกิด 19 กันยายน พ.ศ. 2519) ชื่อเล่น มุ่ง เป็นกรรมการใน คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรไทย (รัฐบาล แพทองธาร ชินวัตร) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรี 2 สมัย และโฆษกพรรครวมไทยสร้างชาติคนปัจจุบัน
อัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ | |
---|---|
อัครเดช ใน พ.ศ. 2566 | |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดราชบุรี เขต 4 | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 | |
ก่อนหน้า | ชะวรลัทธิ์ ชินธรรมมิตร |
เขตเลือกตั้ง | อำเภอบ้านโป่ง |
คะแนนเสียง | 54,815 |
โฆษกพรรครวมไทยสร้างชาติ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 30 มิถุนายน พ.ศ. 2566 | |
ผู้นำ | พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 19 กันยายน พ.ศ. 2519 จังหวัดราชบุรี ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2553–2566) รวมไทยสร้างชาติ (2566–ปัจจุบัน) |
ชื่อเล่น | มุ่ง |
ประวัติ
แก้อัครเดช เกิดเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2519 ที่บ้านห้วยกระบอก ตำบลกรับใหญ่ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เป็นบุตรของ นายวุฒิพงษ์ วงษ์พิทักษ์โรจน์ ประธานบริษัทในเครือวงษ์พิทักษ์ และนางสมจิตต์ วงษ์พิทักษ์โรจน์ อัครเดชเข้าศึกษาที่โรงเรียนดรุณาราชบุรี ก่อนจะย้ายมาโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เขาจบปริญญาตรีคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่างนั้นยังเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมไทย-แคนาดา และปริญญาโท MBA (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต) วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตกรุงเทพมหานคร[1]
การทำงาน
แก้ในช่วงแรก อัครเดชเทำงานในการดูแลธุรกิจครอบครัวบริษัทในเครือวงษ์พิทักษ์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2553 เขาได้เข้าร่วมทำกิจกรรมกับพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกะดอคณะกรรมาธิการการตำรวจ สภาผู้แทนราษฎร[2] จากนั้นได้ไปช่วยงาน สรวุฒิ เนื่องจำนงค์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นเพื่อนสมัยเรียนมหาวิทยาลัย อีกทั้งยังช่วยนายสรวุฒิหาเสียงในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปี พ.ศ. 2554 ด้วย ต่อมาเขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรองประธานกรรมาธิการกิจการศาล องค์กรอิสระ องค์กรอัยการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และกองทุน สภาผู้แทนราษฎร และทำงานกับพรรคประชาธิปัตย์เรื่อยมา[1]
ในปี พ.ศ. 2556 เขาได้รับการทาบทามจาก เฉลิมชัย ศรีอ่อน เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ให้มาลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในอำเภอบ้านโป่ง ถึงแม้การเลือกตั้งใน พ.ศ. 2557 จะเป็นโมฆะ แต่ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาก็ได้ลงสมัครในจังหวัดราชบุรี เขต 4 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกตั้ง[1]
ในปี พ.ศ. 2566 อัครเดชได้ลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์ และลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 สังกัดพรรครวมไทยสร้างชาติ และได้รับเลือกเป็นสมัยที่ 2 อีกทั้งยังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นโฆษกพรรคในวันที่ 30 มิถุนายน ปีเดียวกัน[3] และยังดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การอุตสาหกรรม ในสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 26 อีกด้วย[4]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2566 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[5]
- พ.ศ. 2564 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[6]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 https://www.opt-news.com/news/28302 อปท.นิวส์
- ↑ Wilasinee (2023-07-19). "ประวัติ อัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ สส. รวมไทยสร้างชาติ ผู้ค้าน พิธา ชิงเก้าอี้นายกฯ". Thaiger ข่าวไทย.
- ↑ https://www.pptvhd36.com (2023-06-30). "เปิดตัวทีมโฆษก "รวมไทยสร้างชาติ" เน้นสื่อสารถึงประชาชน รองรับการขยายกลุ่มผู้สนับสนุนพรรค". pptvhd36.com.
{{cite web}}
: แหล่งข้อมูลอื่นใน
(help)|last=
- ↑ "เปิดรายชื่อ 'ประธานกรรมาธิการ' ทั้ง 35 คณะ อย่างเป็นทางการ". THE STANDARD. 2023-10-05.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๔, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๔, เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๔, ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕