เฉลิมชัย ศรีอ่อน

เฉลิมชัย ศรีอ่อน (เกิด 7 มีนาคม พ.ศ. 2508) เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ในรัฐบาลของ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รับผิดชอบดูแลพื้นที่ภาคกลาง และได้รับการเลือกตั้งจากที่ประชุมพรรคเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์คนปัจจุบัน

เฉลิมชัย ศรีอ่อน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ดำรงตำแหน่ง
10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 – 1 กันยายน พ.ศ. 2566
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
รัฐมนตรีช่วยธรรมนัส พรหมเผ่า
ประภัตร โพธสุธน
มนัญญา ไทยเศรษฐ์
สุนทร ปานแสงทอง
ก่อนหน้ากฤษฎา บุญราช
ถัดไปธรรมนัส พรหมเผ่า
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
ดำรงตำแหน่ง
6 มิถุนายน พ.ศ. 2553 – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554
นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ก่อนหน้าไพฑูรย์ แก้วทอง
ถัดไปเผดิมชัย สะสมทรัพย์
เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์
เริ่มดำรงตำแหน่ง
15 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
ก่อนหน้าจุติ ไกรฤกษ์
ดำรงตำแหน่ง
6 สิงหาคม พ.ศ. 2554 – 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556
ก่อนหน้าสุเทพ เทือกสุบรรณ
ถัดไปจุติ ไกรฤกษ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด7 มีนาคม พ.ศ. 2508 (58 ปี)
อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประเทศไทย
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2543–ปัจจุบัน)
คู่สมรสธันยวีร์ ศรีอ่อน

ประวัติ แก้ไข

นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน เกิดวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2508 ที่อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์[1] มีชื่อเล่นว่า "ต่อ" เป็นบุตรของนายหลียักหมิ่น แซ่ลี และนางหลวย ศรีอ่อน สมรสกับนางธันยวีร์ ศรีอ่อน มีบุตร 1 คน คือ สรวิศ ศรีอ่อน

การศึกษา แก้ไข

เขาสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนพรหมานุสรณ์จังหวัดเพชรบุรี ระดับปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง และระดับปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขานโยบายและการวางแผน จากมหาวิทยาลัยเกริก

การดำรงตำแหน่งทางการเมือง แก้ไข

เขาเริ่มต้นเส้นทางการเมืองโดยการเป็นสมาชิกสภาจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (ส.จ.) ในปี พ.ศ. 2533 - 2543 เป็นประธานสภาจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (พ.ศ. 2538 - 2540) และเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ครั้งแรกในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 และได้รับการเลือกตั้งต่อมาในปี พ.ศ. 2548, พ.ศ. 2550 และ พ.ศ. 2554

เฉลิมชัย ศรีอ่อน ดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ดูแลพื้นที่ภาคกลาง ต่อมาในการปรับคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2553 เขาได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานแทนไพฑูรย์ แก้วทอง[2]

เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยแพ้ให้กับพรเทพ วิสุทธิ์วัฒนศักดิ์ จากพรรคเพื่อไทย ไปเพียง 106 คะแนน[3] หลังการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคได้ลาออกจากตำแหน่ง ทำให้คณะกรรมการบริหารพรรคต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ ซึ่งในวันที่ 15 พฤษภาคม ปีเดียวกัน สมาชิกพรรคก็ได้ลงมติให้เฉลิมชัยดำรงตำแหน่งเลขาธิการของพรรค[4]

ในรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และเป็นกรรมการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดต่อ​ไวรัสโคโรนา​ 2019 ประธานกรรมการในคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร[5]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้ไข

อ้างอิง แก้ไข

  1. ประวัติผู้สมัคร ส.ส. เก็บถาวร 2012-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
  2. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี, เล่ม ๑๒๗ ตอนพิเศษ ๗๒ ง หน้า ๒, ๘ มิถุนายน ๒๕๕๓
  3. พลวุฒิ สงสกุล (2018-09-19). "แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ เตรียมหย่อนบัตรปี 62 ส.ส. ลด 23 จังหวัด อีสานหด 10 ที่นั่ง". THE STANDARD. สืบค้นเมื่อ 2019-02-18.
  4. ทีมงาน "จุรินทร์"กินรวบทุกตำแหน่ง คุมรองหน.4 ภาคสยายปีก "เฉลิมชัย"นั่งเลขา
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร, เล่ม ๑๓๖ ตอนพิเศษ ๒๕๗ ง หน้า ๔, ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๒
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๒, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๑, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑