กฤษฎา บุญราช (เกิด 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2500) กรรมการอิสระ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล​ จำกัด (มหาชน)​, อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทยคนแรกที่จบการศึกษาจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง (สิงห์ทอง) ผู้ช่วยเลขาธิการสภากาชาดไทยและผู้อำนวยการสำนักงานบริหารกิจการเหล่ากาชาด สภากาชาดไทย

กฤษฎา บุญราช
กรรมการกองทุนส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
ดำรงตำแหน่ง
7 ตุลาคม พ.ศ. 2562 – 5 สิงหาคม พ.ศ. 2567
นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน
ถัดไปณอคุณ สิทธิพงษ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ดำรงตำแหน่ง
23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 – 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้าฉัตรชัย สาริกัลยะ
ถัดไปเฉลิมชัย ศรีอ่อน
ปลัดกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 – 30 กันยายน พ.ศ. 2560
นายกรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
รัฐมนตรีว่าการอนุพงษ์ เผ่าจินดา
ก่อนหน้าวิบูลย์ สงวนพงศ์
ถัดไปฉัตรชัย พรหมเลิศ
ประธานกรรมการการไฟฟ้านครหลวง
ดำรงตำแหน่ง
15 มีนาคม พ.ศ. 2559 – 15 มีนาคม พ.ศ. 2561[1]
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด5 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 (67 ปี)
เชื้อชาติไทย
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยรามคำแหง
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ประวัติ

แก้

กฤษฎา บุญราช เกิดเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 ที่อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ ฉะเชิงเทรา (บ.ฉ.83)จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะรัฐศาสตร์ (สิงห์ทอง)[2] มหาวิทยาลัยรามคำแหง และคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จบปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การทำงาน

แก้

กฤษฎา บุญราช เริ่มรับราชการในสังกัดศูนย์รับผู้อพยพ อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย เคยทำหน้าที่เลขานุการปลัดกระทรวงมหาดไทย (เจริญจิตต์ ณ สงขลา) เคยเป็นนายอำเภอในระหว่างปี พ.ศ. 2537 ถึงปี พ.ศ. 2546 ได้แก่ อำเภอดอยเต่า อำเภอแม่อาย อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง และอำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ตรวจราชการกรมการปกครอง

ในปี พ.ศ. 2549 เป็นรองผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา และต่อมาขึ้นเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา ในปี พ.ศ. 2554 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ในขณะที่ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เขาได้เข้าร่วมในการชุมนุมกับกลุ่ม กปปส. ในการเดินทางไปที่ศาลากลางจังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556[3]โดยให้เหตุผลว่าเพื่อไม่ให้กลุ่มผู้ชุมนุมทำลายศาลากลางจังหวัด

กฤษฎา บุญราช ได้รับแต่งตั้งเป็นอธิบดีกรมการปกครอง ต่อมาเป็น ปลัดกระทรวงมหาดไทย ต่อจากนาย วิบูลย์ สงวนพงศ์ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558[4] นับเป็นปลัดกระทรวงมหาดไทยคนแรกที่จบการศึกษาจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง (สิงห์ทอง)[5]

กฤษฎา ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการอีกหลายตำแหน่ง อาทิ กรรมการในคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ[6] กรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดิน[7] กรรมการในคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรเฉพาะกิจ[8] ประธานกรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญา[9] กรรมการในคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ[10] กรรมการสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ [11] กรรมการในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้

กรรมการในคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปเพื่อรองรับการปรับเปลี่ยนตามนโยบาย thailand 4.0 ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 194/2560[12] กรรมการในคณะกรรมการจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปี การประกาศใช้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติไทยตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 210/2559[13]อดีตรองประธานกรรมการในคณะกรรมการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่[14] อดีตประธานคณะกรรมการรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่น[15]อดีตกรรมการในคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ

ผอ.ศปป.2 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร[16] ประธานกรรมการการไฟฟ้านครหลวง รองประธานกรรมการคนที่หนึ่ง ในคณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้[17] รองประธานกรรมการคนที่สอง ในคณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลาง[18] รองประธานกรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมกิจการฮัจย์ แห่งประเทศไทย[19] กรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์[20] กรรมการในคณะกรรมการบริหารการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก [21] กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการ การทำงานของคนต่างด้าว[22] กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการในคณะกรรมการเตรียมการเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง ในรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 7/2560 และเป็นอดีตอธิบดีกรมการปกครอง อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา อดีตคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ อดีตอนุกรรมการในคณะอนุกรรมการพิจารณามาตรการด้านการผลิตและการตลาดสินค้าข้าว[23] อดีตอนุกรรมการในคณะอนุกรรมการตรวจสอบปริมาณและคุณภาพข้าวคงเหลือของรัฐ[24] อดีตอนุกรรมการในคณะอนุกรรมการประสานงานการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์[25] อดีตกรรมการในคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการมันสำปะหลัง[26] อดีตกรรมการในคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว[27]

วันที่ 1 พฤศจิกายน 2559 ได้รับแต่งตั้งเป็น กรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และในวันที่ 6 สิงหาคม 2567 นายกฤษฎา ถูกปลดออกจากการเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน[28]

กฤษฎา บุญราช
รับใช้  ไทย
แผนก/สังกัดกองอาสารักษาดินแดน
ประจำการพ.ศ. 2550 - ปัจจุบัน
ชั้นยศ  นายกองเอก

ได้รับพระราชทานยศ นายกองเอก[29] ในปี พ.ศ. 2550

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ครม.อนุมัติตั้งบอร์ด กฟน.ใหม่ 13 ราย “ฉัตรชัย พรหมเลิศ” นั่งประธานฯ
  2. มท.ยุค“สิงห์ทอง”คุมมาเฟียคลองหลอด
  3. เปิดใจ"ผู้ว่าฯสงขลา"นาทีเจรจาม็อบบุกศาลากลาง
  4. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 132 ตอน 192 ง พิเศษ หน้า 9 20 สิงหาคม 2558
  5. สิงห์ทองผงาด! ครม.ไฟเขียว “กฤษฎา บุญราช” ว่าที่ปลัดกระทรวงมหาดไทยรามคำแหงคนแรก
  6. กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ
  7. กรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดิน
  8. กรรมการในคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรเฉพาะกิจ
  9. ประธานกรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญา
  10. กรรมการในคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ
  11. กรรมการสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ
  12. "คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 194/2560" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-06-20. สืบค้นเมื่อ 2019-06-20.
  13. "คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 210/2559" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-10-09. สืบค้นเมื่อ 2017-09-05.
  14. รองประธานกรรมการในคณะกรรมการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่
  15. พระราชบัญญัติสัญชาติ ฉบับที่5
  16. "ผบ.ทบ. มีคำสั่งตั้งกำลังพลปฏิบัติหน้าที่ใน กอ.รมน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-12. สืบค้นเมื่อ 2017-04-12.
  17. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-06-15. สืบค้นเมื่อ 2016-10-07.
  18. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-10-22. สืบค้นเมื่อ 2016-10-07.
  19. รองประธานกรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมกิจการฮัจญ์แห่งประเทศไทย
  20. กรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์
  21. "กรรมการในคณะกรรมการบริหารการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-15. สืบค้นเมื่อ 2017-01-18.
  22. กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว
  23. อนุกรรมการในคณะอนุกรรมการพิจารณามาตรการด้านการผลิตและการตลาดสินค้าข้าว
  24. อนุกรรมการในคณะอนุกรรมการตรวจสอบปริมาณและคุณภาพข้าวคงเหลือของรัฐ
  25. อนุกรรมการในคณะอนุกรรมการประสานงานการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์
  26. กรรมการในคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการมันสำปะหลัง
  27. กรรมการในคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว
  28. มติคณะรัฐมนตรีไทย
  29. ได้รับพระราชทานยศ นายกองเอก
  30. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๗, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๗
  31. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๑๕, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
  32. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๗ ข หน้า ๑๑๒, ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๓๘
  33. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๗ ข หน้า ๑๔๗, ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๓๘
  34. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๓๕ ตอนที่ ๑๓ ข หน้า ๗๙, ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๑
  35. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๒, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๑ ข หน้า ๓, ๑๒ มกราคม ๒๕๕๔