วิบูลย์ สงวนพงศ์

วิบูลย์ สงวนพงศ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ[1]อดีต ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดหลายจังหวัด และ อดีตอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

วิบูลย์ สงวนพงศ์
ม.ป.ช., ม.ว.ม., จ.ภ.
ปลัดกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 – 30 กันยายน พ.ศ. 2558
ก่อนหน้า พระนาย สุวรรณรัฐ
ถัดไป กฤษฎา บุญราช
อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 – 30 กันยายน พ.ศ. 2555
ก่อนหน้า อนุชา โมกขะเวส
ถัดไป ฉัตรชัย พรหมเลิศ
กรรมการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
ดำรงตำแหน่ง
5 ตุลาคม พ.ศ. 2553 – 21 ธันวาคม พ.ศ. 2553
กรรมการศูนย์รักษาความสงบ
ดำรงตำแหน่ง
21 มกราคม พ.ศ. 2557 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2557
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2497 (68 ปี)
อำเภอวังน้อย พระนครศรีอยุธยา,ไทย ไทย
เชื้อชาติ ไทย
บิดา แกล้ว สงวนพงศ์
มารดา ชุบ สงวนพงศ์
คู่สมรส นางอัจฉรา สงวนพงศ์

ประวัติแก้ไข

วิบูลย์ สงวนพงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2497 ที่อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษา จากโรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย ระดับปริญญาตรีจากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และระดับปริญญาโทจากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์[2] สมรสกับ นางอัจฉรา สงวนพงศ์ นายด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่

วิบูลย์ สงวนพงศ์ ผ่านการอบรมในหลักสูตรต่างๆ ได้แก่ หลักสูตรนายอำเภอ วิทยาลัยการปกครอง หลักสูตร ผู้บริหารระดับ 9 สถาบันดำรงราชานุภาพกระทรวงมหาดไทย และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย(AIT) หลักสูตรนักปกครองระดับสูง กระทรวงมหาดไทย หลักสูตร การป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน (ปรอ.) รุ่นที่ ๑๕ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร หลักสูตรผู้บริหารเทคโนโลยีและสารสนเทศระดับสูง (Chief Information Officer)สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน หลักสูตรการกำกับดูแลกิจการสำหรับกรรมการและผู้บริหารระดับสูง ของรัฐวิสาหกิจและองค์กรมหาชน รุ่นที่ ๔ สถาบันพระปกเกล้า หลักสูตร Role of the Chairman Program (RCP) รุ่นที่ ๒๕/๒๐๑๑ สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD)

การทำงานแก้ไข

วิบูลย์ สงวนพงศ์ รับราชการในสังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เคยดำรงตำแหน่งจ่าจังหวัด ป้องกันจังหวัด และเป็นนายอำเภอหนองขาหย่าง จังหวัดอุทัยธานี ในปี พ.ศ. 2535 เป็นหัวหน้าฝ่ายบรรจุและแต่งตั้ง เป็นผู้อำนวยการสำนัก และเป็นรองผู้ว่าราชการจังหวัด ในปี พ.ศ. 2541 รวมระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง 7 ปี 4 จังหวัด คือ จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดลพบุรี และได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) ในปี พ.ศ. 2548 ที่จังหวัดอ่างทอง และย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2550 จากนั้นในปี พ.ศ. 2552 ได้รับแต่งตั้งเป็นรองปลัดกระทรวงมหาดไทย และเป็นอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในปีถัดมา กระทั่งได้รับแต่งตั้งเป็นปลัดกระทรวงมหาดไทย ในปี พ.ศ. 2555[3] เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2558 เขาได้รับพระราชทานยศ นายกองเอก[4]

วิบูลย์ เคยได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการหลายตำแหน่ง อาทิ ประธานคณะกรรมการสรรหาสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร[5] รองประธานกรรมการในคณะกรรมการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่[6] กรรมการในคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ[7] กรรมการในคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง[8] กรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดิน[9] อดีตกรรมการในคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ อดีตรองประธานกรรมการในคณะกรรมการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่[10] อดีตประธานคณะกรรมการรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่น[11]อดีตสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ กรรมการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ในรัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ระหว่างวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ถึง 21 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ระหว่างวันที่ 21 มกราคม 2557 ถึง 31 มีนาคม 2557 เขาเป็นกรรมการในศูนย์รักษาความสงบ ตามคำสั่งที่ พิเศษ 1/2557 เรื่องจัดตั้งศูนย์รักษาความสงบ โดย ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ เป็นบุคคลเดียวที่ได้ เป็นกรรมการในศูนย์ที่ถูกจัดตั้งขึ้นตามพระราชกำหนดในสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อปราบปรามกลุ่มผู้ชุมนุมทางการเมือง ในเหตุการณ์การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553และวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557

เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข

อ้างอิงแก้ไข

  1. สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 24 มกราคม 2566
  2. "Thailand Tobacco Monopoly : โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-27. สืบค้นเมื่อ 2012-10-10.
  3. วิบูลย์ สงวนพงศ์ ได้รับแต่งตั้งเป็นปลัดกระทรวงมหาดไทย
  4. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดน
  5. ปลัดกระทรวงมหาดไทยในฐานะประธานคณะกรรมการสรรหาสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ลงนามประกาศแต่งตั้ง สก. กทม. จำนวน 30 ราย
  6. รองประธานกรรมการในคณะกรรมการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่
  7. กรรมการในคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
  8. กรรมการในคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
  9. กรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดิน
  10. กรรมการในคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ
  11. พระราชบัญญัติสัญชาติ ฉบับที่5
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๔, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑๓, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๘ ข หน้า ๕, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
  15. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๑๒๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗๑, ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๒๙
  16. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑ ข หน้า ๓๗, ๒๓ มกราคม ๒๕๕๒
  17. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๒๕๙, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕
  18. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๒, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๑ ข หน้า ๑๓, ๑๒ มกราคม ๒๕๕๔