สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย

สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นหน่วยงานระดับกรม สังกัดกระทรวงมหาดไทย ดำเนินงานเกี่ยวกับราชการประจำทั่วไปของกระทรวง ที่ไม่เป็นหน้าที่ของกรมใดกรมหนึ่ง กำกับ เร่งรัด การปฏิบัติราชการของส่วนราชการในกระทรวงให้เป็นไปตามนโยบาย แนวทาง และแผนการปฏิบัติราชการของกระทรวง จัดทำแผนแม่บท งานการข่าว งานประชาสัมพันธ์ การพัฒนาระบบงานและบุคลากร การติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงงานในสังกัดกระทรวง งานงบประมาณ การตรวจราชการและเรื่องราวร้องทุกข์ งานดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง การทำนิติกรรม สัญญา งานคดี งานการต่างประเทศและกิจการผู้อพยพ งานการสื่อสาร และงานประสานราชการ

สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
ตราสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง1 เมษายน พ.ศ. 2435 (132 ปี)
เขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานใหญ่ถนนอัษฎางค์ แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
งบประมาณประจำปี5,005.4368 ล้านบาท (พ.ศ. 2559)[1]
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • สุทธิพงษ์ จุลเจริญ, ปลัดกระทรวง
  • ชำนาญวิทย์ เตรัตน์, รองปลัดกระทรวง
  • โชตินรินทร์ เกิดสม, รองปลัดกระทรวง
  • เชษฐา โมสิกรัตน์, รองปลัดกระทรวง
  • ราชันย์ ซุ่นฮั้ว, รองปลัดกระทรวง
  • วรสุดา รัตนสุคนธ์, ผู้ช่วยปลัดกระทรวง
  • ว่าง, ผู้ช่วยปลัดกระทรวง

ประวัติ แก้

สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย เริ่มมีการก่อตั้งขึ้นพร้อมกันกับการก่อตั้งกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2435 ต่อมาในปี พ.ศ. 2476 มีพระราชบัญญัติจัดตั้งกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2476 โดยแบ่งส่วนราชการกระทรวงมหาดไทยออกเป็น 10 ส่วนราชการ ส่วนของสำนักงานปลัดกระทรวงฯ ใช้ชื่อว่า "กรมปลัด" ต่อมามีการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม จึงเปลี่ยนชื่อเป็น "สำนักงานปลัดกระทรวง"

รายชื่อปลัดกระทรวงมหาดไทย แก้

อำนาจและหน้าที่ แก้

  1. กำหนดยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง เพื่อรักษาความสงบสุขในสังคมและความมั่นคงของประเทศ
  2. เสนอแนะ กำหนดนโยบายด้านความมั่นคงเพื่อรักษาความสงบสุขในสังคม และความมั่นคงของประเทศ
  3. จัดทำและบูรณาการแผนมหาดไทย (แปลงนโยบาย)
  4. เสนอแนะนโยบายในการจัดตั้งและจัดสรรงบประมาณประจำปี
  5. ติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานในสังกัดกระทรวง
  6. พัฒนาบุคลากรของ มท.
  7. นโยบายและมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น
  8. ตรวจราชการกระทรวงและเรื่องราวร้องทุกข์
  9. อำนวยการและประสานงานในภารกิจเกี่ยวกับความมั่นคงภายใน
  10. ดำเนินการเกี่ยวกับการสื่อสารของกระทรวง รวมทั้งสนับสนุนและให้บริการด้านการสื่อสารแก่ส่วนราชการต่าง ๆ
  11. ดำเนินการเกี่ยวกับกฎหมายในความรับผิดชอบของกระทรวง และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งงานนิติกรรมและสัญญา งานเกี่ยวกับความรับผิดทางแพ่งของเจ้าหน้าที่ส่วนราชการ และงานคดีที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกระทรวง
  12. กำกับ เร่งรัด และประสานการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด
  13. ดำเนินการเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่กิจกรรมตลอดจนผลงานของกระทรวง
  14. ดำเนินการเกี่ยวกับการกำหนดแนวทางและระเบียบในการจัดระบบการสำรวจ การจัดเก็บ การประมวล และการใช้ประโยชน์ข้อมูลของหน่วยงานในสังกัดของกระทรวง และเป็นศูนย์ข้อมูลเพื่อการบริหารของกระทรวง
  15. ดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบ รูปแบบ และยุทธศาสตร์ในการบริหาร การปกครอง และการพัฒนา ตลอดจนพัฒนาบุคลากรระดับสูงของกระทรวง
  16. ดำเนินการและประสานการบริหารราชการในส่วนภูมิภาค
  17. งานราชการประจำทั่วไปของกระทรวง และงานที่ไม่ได้กำหนดเป็นอำนาจหน้าที่ของกรมใดกรมหนึ่งในสังกัดกระทรวง
  18. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่ของสำนักงานปลัดกระทรวง หรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

หน่วยงานภายใน แก้

ในอดีตมีการแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานปลัดกระทรวงฯ แบ่งออกเป็น 3 กอง คือ กองกลาง กองคลัง และกองที่ปรึกษา ต่อมาปี พ.ศ. 2515 ได้มีประกาศคณะปฏิวัติให้โอนกิจการกองแผนงานและหน่วยงานที่ปรึกษากระทรวงมหาดไทย มาเป็นส่วนหนึ่งในสำนักงานปลัดกระทรวงฯ โดยจัดตั้งเป็นหน่วยงานใหม่ ชื่อว่า สำนักนโยบายและแผนมหาดไทย

ราชการส่วนกลาง แก้

  1. กองกลาง[2]
  2. กองการเจ้าหน้าที่
  3. กองการต่างประเทศ
  4. กองคลัง
  5. กองสารนิเทศ
  6. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  7. ศูนย์ปฏิบัติการข่าว กระทรวงมหาดไทย[3]
  8. สถาบันดำรงราชานุภาพ
  9. สำนักกฎหมาย
  10. สำนักงานคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น
  11. สำนักตรวจราชการและเรื่องราวร้องทุกข์
  12. สำนักนโยบายและแผน
  13. สำนักพัฒนาและส่งเสริมการบริหารราชการจังหวัด

หน่วยงานรับผิดชอบขึ้นตรงปลัดกระทรวง แก้

  1. กลุ่มตรวจสอบภายใน
  2. กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
  3. ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต

หน่วยงานภายในที่จัดตั้งขึ้นและให้รายงานตรงต่อปลัดกระทรวง แก้

  1. กลุ่มยุทธศาสตร์การเปลี่ยนแปลง กระทรวงมหาดไทย
  2. สำนักบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด

ราชการส่วนภูมิภาค แก้

  • สำนักงานจังหวัด มีหัวหน้าสำนักงานจังหวัด (ข้าราชการพลเรือนสามัญ ประเภทอำนวยการ ระดับสูง) เป็นหัวหน้าหน่วยงาน มีสำนักงานตั้งอยู่ภายในศาลากลางจังหวัด
    • กลุ่มงานอำนวยการ
    • กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด
    • กลุ่มงานศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด
    • กลุ่มงานบริหารทรัพยากรบุคคล

ราชการส่วนกลางที่ตั้งอยู่ในภูมิภาค แก้

  • ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เขต 1 - 12
  • สำนักบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด ตั้งอยู่ใน 18 จังหวัด

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้