ฉัตรชัย สาริกัลยะ
พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ นักการเมืองและทหารบกชาวไทย ดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 อดีตรองนายกรัฐมนตรี[1] ประธานกรรมการในคณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์งานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก[2]ประธานกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ[3]ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการขนาดใหญ่และโครงการสำคัญ[4] ประธานกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ[5] ประธานกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ[6] อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประธานคณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลาง [7][8]ประธานคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญาที่เป็นธรรม[9]ประธานคณะอนุกรรมการร่วมจัดทำยุทธศาสตร์สินค้าเกษตรเป็นรายพืชเศรษฐกิจ 4 สินค้า[10] ประธานกรรมการคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรเฉพาะกิจ[11] อดีตประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ รองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และเป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ อดีตประธานคณะกรรมการพิจารณาการทุ่มตลาดและการอุดหนุน[12] อดีตรองผู้บัญชาการทหารบก อดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก อดีตเจ้ากรมการทหารสื่อสาร และอดีตผู้อำนวยการสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก
ฉัตรชัย สาริกัลยะ | |
---|---|
![]() | |
สมาชิกวุฒิสภา | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 | |
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 – 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 | |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ก่อนหน้า | หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล ยงยุทธ ยุทธวงศ์ ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร ณรงค์ พิพัฒนาศัย |
ถัดไป | ประวิตร วงษ์สุวรรณ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ วิษณุ เครืองาม จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ อนุทิน ชาญวีรกูล |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 31 สิงหาคม พ.ศ. 2557 – 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 | |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ก่อนหน้า | นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล |
ถัดไป | อภิรดี ตันตราภรณ์ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ | |
ดำรงตำแหน่ง 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 – 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 | |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ก่อนหน้า | ปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา |
ถัดไป | กฤษฎา บุญราช |
รองผู้บัญชาการทหารบก | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 – 30 กันยายน พ.ศ. 2558 | |
ก่อนหน้า | อุดมเดช สีตบุตร |
ถัดไป | วลิต โรจนภักดี |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 5 สิงหาคม พ.ศ. 2498 |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | พลตรีหญิง อัญรัช สาริกัลยะ |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
สังกัด | กองทัพบกไทย |
ยศ | ![]() |
ประวัติ แก้
ฉัตรชัย สาริกัลยะ เป็นบุตรของพันตรี นุกูล และนางประกอบ สาริกัลยะ[13] จบการศึกษาจาก โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่น 12 (ตท.12) และ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่น 23 (จปร.23) รุ่นเดียวกับพล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ ผู้บัญชาการทหารบก
การทำงาน แก้
ฉัตรชัย เป็นนายทหารช่าง[14] เคยดำรงตำแหน่งเจ้ากรมการเงินทหารบก, รองปลัดบัญชีทหารบก, ผู้อำนวยการสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก, ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบก(ฝ่ายส่งกำลังบำรุง), รองเสนาธิการทหารบก, ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก(อัตราพลเอก), ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก, รองผู้บัญชาการทหารบกเป็นตำแหน่งสุดท้ายในราชการทหาร
หลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ได้รับแต่งตั้งให้ทำหน้าที่รองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา[15] ต่อมาได้ปรับไปรับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558[16]
ในวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 เขาลงนามใน ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เรื่อง คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และวิธีการได้มาซึ่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2558[17]ใจความสำคัญคือลดจำนวนคณะกรรมจาก 12 รายเหลือ 5 ราย
ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 เขาแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ จำนวน 10 ราย โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 13 และมาตรา 14 แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558[18]
- นายสะมะแอ เจะมูดอ
- นายกิตติ โกสินสกุล
- นายวิริยะ ศิริชัยเอกวัฒน์
- นายปัญญา คำลาภ
- นายสมศักดิ์ ปณีตัธยาศัย
- นายชนินทร์ ชลิศราพงศ์
- นางเรวดี ประเสริฐเจริญสุข
- นายนิธิวัฒน์ ธีรนันทกุล
- รองศาสตราจารย์ ดร.กังวาลย์ จันทรโชติ
- ดร.สุชาติ อิงธรรมจิตร์
ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 เขาแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ จำนวน 5 ราย โดย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2558[19]เป็นที่สังเกตว่าเป็นกรรมการที่ไม่เคยเป็นกรรมการดังกล่าวมาก่อนเลยทั้งหมด ได้แก่
ในวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2559 เขาแต่งตั้งนายวิทยา ผิวผ่อง เป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี
ครอบครัว แก้
ฉัตรชัย สมรสกับ พล.ต.หญิง อัญรัช สาริกัลยะ ผู้ทรงคุณวุฒิกองบัญชาการกองทัพไทย และอุปนายกสมาคมแม่บ้านทหารบก ทั้งคู่มีบุตรสาว 1 คน และ บุตรชาย 1 คน คือ ฤตธวัช สาริกัลยะ ขวัญวัตน์ สาริกัลยะ ( วัชรี โส ) ฉัตรชัย มีชื่อที่เพื่อน ๆ และสื่อมวลชนเรียกว่า "บิ๊กนมชง" เนื่องจากเมื่อสมัยเป็นนักเรียนนายร้อยชอบรับประทานนม และต้องเป็นนมชงเท่านั้น หรือ "บิ๊กฉัตร"[20] [21]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้
- พ.ศ. 2556 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[22]
- พ.ศ. 2553 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[23]
- พ.ศ. 2523 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)
- พ.ศ. 2535 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)
อ้างอิง แก้
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, รัฐมนตรีลาออก[ลิงก์เสีย], เล่มที่ ๑๓๖, ตอน พิเศษ ๑๑๘ ง, ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒, หน้า ๑
- ↑ ประธานฝ่ายประชาสัมพันธ์[ลิงก์เสีย]
- ↑ กรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ
- ↑ ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการขนาดใหญ่และโครงการสำคัญ
- ↑ ประธานกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ
- ↑ ประธานกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-10-22. สืบค้นเมื่อ 2016-10-07.
- ↑ ประธานคณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลาง
- ↑ ประธานคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญาที่เป็นธรรม
- ↑ ประธานคณะอนุกรรมการร่วมจัดทำยุทธศาสตร์สินค้าเกษตรเป็นรายพืชเศรษฐกิจ 4 สินค้า
- ↑ ประธานกรรมการคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรเฉพาะกิจ
- ↑ ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
- ↑ "ชีวประวัติ ฉัตรชัย สาริกัลยะ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-05-11. สืบค้นเมื่อ 2018-12-26.
- ↑ "'โฟกัส'กองทัพ ตรวจแถว แคนดิเดต'ผบ.ทบ.'". ไทยรัฐ. 2013-05-16. สืบค้นเมื่อ 2014-09-01.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน 32 ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี
- ↑ ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- ↑ แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ
- ↑ แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์
- ↑ "ทำความรู้จัก "บิ๊กนมชง" มือเศรษฐกิจ คสช". เนชั่นแชนแนล. 2014-06-07. สืบค้นเมื่อ 2014-09-01.
- ↑ ""บิ๊กฉัตร" ปัดถูกทาบนั่ง ครม.ตู่". เนชั่นแชนแนล. 2014-08-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-31. สืบค้นเมื่อ 2014-09-01.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี 2556 เก็บถาวร 2013-12-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 130 ตอนที่ 30 ข, 6 ธันวาคม 2556.
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-01-24. สืบค้นเมื่อ 2021-05-03.
ก่อนหน้า | ฉัตรชัย สาริกัลยะ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย |
รองนายกรัฐมนตรี (ครม.61) (23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 – 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2562) |
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ วิษณุ เครืองาม จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ อนุทิน ชาญวีรกูล | ||
ปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ครม. 61) (19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 – 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560) |
นายกองเอก กฤษฎา บุญราช | ||
นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (ครม. 61) (31 สิงหาคม พ.ศ. 2557 – 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558) |
อภิรดี ตันตราภรณ์ |