ติ๊กต็อก (อังกฤษ: TikTok) คือแอปพลิเคชันที่เป็นบริการเครือข่ายสังคมสัญชาติจีน ติ๊กต็อกเป็นบริการประเภทไมโครบล็อกกิง (micro-blogging) ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถสร้างเนื้อหาวิดีโอสั้น ๆ ความยาวไม่เกิน 15 วินาที เช่น การแสดงทักษะหรือท่าเต้น การแสดงมุกตลก การร้องตามด้วยริมฝีปาก (ลิปซิงก์) เป็นต้น โดยให้บริการทางไอโอเอสและแอนดรอยด์ ติ้กต็อกเริ่มต้นให้บริการในประเทศจีนเมื่อ พ.ศ. 2559 โดยใช้ชื่อว่า โต่วอิน (จีน: 抖音; พินอิน: Dǒuyīn แปล: เสียงสั่น) ต่อมาจึงเปิดให้บริการระหว่างประเทศใน พ.ศ. 2561 จนกลายเป็นแอปพลิเคชันที่นิยมใช้กันทั่วโลก ติ๊กต็อกได้รับความนิยมมากในกลุ่มวัยรุ่นทั่วโลก โดยมีจำนวนผู้ใช้แค่ในเฉพาะสหรัฐถึง 80 ล้านคนในปัจจุบัน

บริษัท ติ๊กต็อก จำกัด
นักพัฒนาไบต์แดนซ์
วันที่เปิดตัวกันยายน 2016; 7 ปีที่แล้ว (2016-09)
รุ่นเสถียร
ไอโอเอส/ไอแพดโอเอส28.4.0 / 28 กุมภาพันธ์ 2023; 12 เดือนก่อน (2023-02-28)
แอนดรอยด์28.5.4 / 3 มีนาคม 2023; 12 เดือนก่อน (2023-03-03)
ระบบปฏิบัติการ
ก่อนหน้าmusical.ly
ภาษา40 ภาษา[1]
ประเภทแชร์วิดีโอ
สัญญาอนุญาตซอฟต์แวร์จำกัดสิทธิ์ด้วยข้อกำหนดการใช้งาน
เว็บไซต์tiktok.com แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ
โต่วอิน
นักพัฒนาBeijing Microlive Vision Technology Co., Ltd
วันที่เปิดตัว20 กันยายน 2016; 7 ปีก่อน (2016-09-20)
รุ่นเสถียร
ไอโอเอส/ไอแพดโอเอส24.4.0 / 1 มีนาคม 2023; 12 เดือนก่อน (2023-03-01)
แอนดรอยด์24.6.0 / 14 มีนาคม 2023; 11 เดือนก่อน (2023-03-14)
วินโดวส์2.0.0 / 7 มีนาคม 2023; 12 เดือนก่อน (2023-03-07)
แมคโอเอส2.0.0 / 7 มีนาคม 2023; 12 เดือนก่อน (2023-03-07)
ระบบปฏิบัติการ
ภาษา2 ภาษา[2]
ประเภทแชร์วิดีโอ
สัญญาอนุญาตซอฟต์แวร์จำกัดสิทธิ์ด้วยข้อตกลง
เว็บไซต์www.douyin.com
Douyin
ภาษาจีน抖音
ความหมายตามตัวอักษร"Vibrating sound"

ประวัติ แก้

ไบต์แดนซ์ (ByteDance) เปิดตัวติ๊กต็อกในประเทศจีนเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2559[3] ติ๊กต็อกได้รับการพัฒนาใน 200 วัน และภายในหนึ่งปีมีผู้ใช้ 100 ล้านคน มีการดูวิดีโอมากกว่า 1 พันล้านวิดีโอทุกวัน[4][5] ติ๊กต็อกได้รับการเปิดตัวในตลาดต่างประเทศเมื่อกันยายน พ.ศ. 2560[6] ในวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2561 ติ๊กต็อกเป็นแอปพลิเคชันอันดับ 1 จากการดาวน์โหลดแอปพลิเคชันฟรีในแอปสโตร์ต่าง ๆ ในประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ[7] ติ๊กต็อกมีการดาวน์โหลดประมาณ 80 ล้านครั้งในสหรัฐ และ 800 ล้านครั้งทั่วโลก ตามข้อมูลจากเซ็นเซอร์ทาวเวอร์ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยโทรศัพท์เคลื่อนที่ แต่ไม่รวมผู้ใช้แอนดรอยด์ในประเทศจีน[8] คนดังรวมถึงจิมมี แฟลลอน และโทนี ฮอว์ก ได้เริ่มใช้แอปพลิเคชันเมื่อพฤศจิกายน พ.ศ. 2561[9][10] ในเมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2562 ติ๊กต็อกและเนชันแนลฟุตบอลลีกประกาศความร่วมมือหลายปี ความร่วมมือดังกล่าวรวมถึงการเปิดตัวอย่างเป็นทางการบัญชีของเนชันฟุตบอลลีก ที่จะนำเนชันฟุตบอลลีกให้เนื้อหาให้กับแฟน ๆ ทั่วโลก[11]

อ้างอิง แก้

  1. "TikTok – Make Your Day". iTunes. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 May 2019. สืบค้นเมื่อ 3 December 2019.
  2. "抖音". App Store. สืบค้นเมื่อ 15 March 2023.
  3. "Is Douyin the Right Social Video Platform for Luxury Brands? | Jing Daily". Jing Daily (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 11 March 2018. สืบค้นเมื่อ 30 October 2018.
  4. Graziani, Thomas (30 July 2018). "How Douyin became China's top short-video App in 500 days". WalktheChat (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 3 January 2019.
  5. "8 Lessons from the rise of Douyin (Tik Tok) · TechNode". TechNode (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 15 June 2018. สืบค้นเมื่อ 3 January 2019.
  6. "Tik Tok, a Global Music Video Platform and Social Network, Launches in Indonesia" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 30 October 2018.
  7. "Tik Tok, Global Short Video Community launched in Thailand with the latest AI feature, GAGA Dance Machine The very first short video app with a new function based on AI technology". thailand.shafaqna.com. สืบค้นเมื่อ 15 March 2018.
  8. Yurieff, Kaya (21 November 2018). "TikTok is the latest social network sensation". Cnn.com.
  9. Alexander, Julia (15 November 2018). "TikTok surges past 6M downloads in the US as celebrities join the app". The Verge. สืบค้นเมื่อ 3 January 2019.
  10. Spangler, Todd; Spangler, Todd (20 November 2018). "TikTok App Nears 80 Million U.S. Downloads After Phasing Out Musical.ly, Lands Jimmy Fallon as Fan". Variety (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 3 January 2019.
  11. "The NFL joins TikTok in multi-year partnership". TechCrunch (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-22. สืบค้นเมื่อ 2019-09-05.

DEFAULTSORT

แหล่งข้อมูลอื่น แก้