สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์

นักวิชาการ และนักการเมืองชาวไทย

ศาสตราจารย์ สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ (เกิด 20 เมษายน พ.ศ. 2515) ชื่อเล่น เอ้ เป็นศาสตราจารย์, วิศวกร,นักวิชาการ และนักการเมืองชาวไทย อดีตอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง,นายกสภาวิศวกร,นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย และประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ดูแลพื้นที่กรุงเทพมหานคร

สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์
สุชัชวีร์ในปี 2565
อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ดำรงตำแหน่ง
2 ตุลาคม พ.ศ. 2558 [1] – 12 ธันวาคม พ.ศ. 2564
(6 ปี 71 วัน)[2]
ก่อนหน้าศาสตราจารย์ โมไนย ไกรฤกษ์
(รักษาราชการแทน)
ถัดไปรองศาสตราจารย์ อนุวัฒน์ จางวนิชเลิศ
(รักษาราชการแทน)
นายกสภาวิศวกร
ดำรงตำแหน่ง
19 มีนาคม 2562[3] – 8 ธันวาคม 2564
(2 ปี 264 วัน)[4]
ก่อนหน้ากมล ตรรกบุตร[5]
ถัดไปรองศาสตราจารย์ ปิยะบุตร วานิชพงษ์พันธุ์[6]
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
(สัดส่วนกรุงเทพมหานคร)
เริ่มดำรงตำแหน่ง
9 ธันวาคม พ.ศ. 2566
(0 ปี 131 วัน)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด20 เมษายน พ.ศ. 2515 (51 ปี) [4]
อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ประเทศไทย[4]
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2564–ปัจจุบัน)
คู่สมรสสวิตา สุวรรณสวัสดิ์
ศิษย์เก่า
อาชีพ
ลายมือชื่อ
เว็บไซต์

ประวัติและการศึกษา แก้

สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ เกิดเมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2515 ที่ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ประเทศไทย[4] บุตรชายของ นายธีรศักดิ์ และนางวัลลีย์ สุวรรณสวัสดิ์ ซึ่งทั้งคู่เป็นครูอาชีวะอยู่ที่ จังหวัดระยอง [7][8]

สุชัชวีร์ได้เข้าศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนระยองวิทยาคม [8][9] ก่อนเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมการก่อสร้าง คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง โดยเขาได้ทำโปรเจกต์จบเกี่ยวกับ "การออกแบบอุโมงค์รถไฟใต้ดินของกรุงเทพ" จากนั้นได้ไปศึกษาต่อในระดับปริญญาโท ในสาขาวิศวกรรมโยธาจากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน กับ ปริญญาโทสาขาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนโยบาย และระดับปริญญาเอก ในสาขาวิศวกรรมปฐพีจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) ประเทศสหรัฐอเมริกา[10]โดยเขาได้รับทุนจากรัฐบาลไทยเพื่อศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา และเป็นนักวิชาการของไมโครซอฟท์ขณะศึกษาอยู่ที่เอ็มไอที[9] ปัจจุบันกำลังศึกษเข้ารับการศึกษาหลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 66 วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการกองทัพไทย [11]

การทำงาน แก้

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง แก้

สุชัชวีร์เริ่มอาชีพในตำแหน่งอาจารย์ ประจำสาขาวิศวกรรมโยธาที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ใน พ.ศ. 2546[12] ซึ่งเขามีความเชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมธรณีเทคนิค การก่อสร้างใต้ดินและอุโมงค์[13] และได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยอธิการบดีในปีเดียวกัน [14]

ในปี พ.ศ. 2553 สุชัชวีร์ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมโยธาที่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง[15] และได้ดำรงตำแหน่งเป็นคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ในปีเดียวกัน [14]

สุชัชวีร์ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สมัยแรกในปี พ.ศ. 2558 [1] และดำรงตำแหน่งสมัยที่สองในปี พ.ศ. 2562 [16]

ในระหว่างดำรงตำแหน่งอธิการบดีในปี พ.ศ. 2560 สถาบันฯ ได้มีการสร้างความร่วมมือด้านการวิจัยและการศึกษากับมหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน ทำให้เกิดการจัดตั้งมหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล ขึ้น[17] [18] มีการจัดตั้งสถาบันไทย-โคเซน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง(KOSEN - KMITL) หรือสถาบันโคเซ็นแห่งสจล. เพื่อพัฒนากำลังคนด้านเทคโนโลยี วิศวกรรม และนวัตกรรมภายใต้บันทึกความเข้าใจระหว่างสถาบันโคเซ็นประเทศญี่ปุ่นกับสจล. โดยสถาบันได้รับการจัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2561 [19][20][21] ในปี พ.ศ. 2562 ได้มีการจัดตั้งสถาบันสอนการเขียนโปรแกรม 42 บางกอก ขึ้นที่สจล. ผ่านบันทึกความเข้าใจระหว่างสจล. กับ สถาบัน Ecole 42 ปารีสประเทศฝรั่งเศส [22][23] ปี พ.ศ. 2564 ได้มีการริเริ่มจัดสร้างโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร โดยมีจุดประสงค์เพื่อรักษาและสนับสนุนศูนย์วิจัยนวัตกรรมทางการแพทย์ครบวงจร ทำให้ภาครัฐลดการนำเข้าเทคโนโลยีทางการแพทย์จากต่างประเทศ กระจายความช่วยเหลือโรงพยาบาลทั้งในประเทศและต่างประเทศ และสามารถต่อยอดนวัตกรรมทางการแพทย์สู่เชิงพาณิชย์ได้ในอนาคต และเขายังดำรงตำแหน่งเป็นประธานมูลนิธิ ของโรงพยาบาลอีกด้วย[24][25][26][27] นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งคณะและวิทยาลัยใหม่ทั้ง วิทยาลัยวิศวกรรมสังคีต (IMSE) [28] โรงเรียนสาธิตนานาชาติพระจอมเกล้า (KMIDS). [29][30] และคณะแพทยศาสตร์ [31][32] ทำให้ สจล. กลายเป็นมหาวิทยาลัยที่มีคณะแพทยศาสตร์แห่งที่ 22 ของประเทศ[33]

นอกจากนี้ เขายังเป็นผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยเด็กเล็ก (Kids University by KMITL) ในปี 2563 โดยเป็นโครงการหลักสูตรระยะสั้นสำหรับเด็กเล็กวัย 3-10 ปี ที่มุ่งเน้นการเฟ้นหาความสามารถพิเศษ (Talent Developer) พร้อมด้วยทักษะใหม่ (New Skill) เพื่อส่งเสริมความสามารถพิเศษของเด็กปฐมวัย[34]

ในช่วงที่เขาดำรงตำแหน่งอธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังได้รับการว่าจ้างจากงบประมาณของ กรุงเทพมหานคร ด้วยวงเงิน 120 ล้านบาท เพื่อให้สจล.ร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นที่ปรึกษาโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้มีกลุ่มศิษย์เก่าสถาปัตยกรรมศาสตร์ ของสถาบันฯ บางส่วนได้ยื่นจดหมายถึงผู้บริหารสถาบัน เพื่อคัดค้านการที่สถาบันฯ เป็นที่ปรึกษางานสำรวจ ออกแบบ และจัดทำแผนแม่บทเพื่อการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา และขอให้สถาบันฯ ถอนตัว เนื่องจากมีความสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียความน่าเชื่อถือของสจล. ในหมู่นักวิชาชีพ เพราะโครงการนี้เป็นโครงการขนาดใหญ่ที่มีผลกระทบที่ซับซ้อน ในขณะที่ภาคประชาชนก็ยังไม่มีความเห็นเป็นผลสรุปชัดเจนในหมู่นักวิชาชีพ โดยเฉพาะสถาปนิก นักวางผังเมือง ก็ยังมีความเห็นแตกต่างอย่างชัดเจน ในสถานการณ์เช่นนี้ สจล.จึงควรวางตัวเป็นกลาง และระมัดระวังในการเข้าไปเป็นเครื่องมือของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ตัวเขานั้นได้ มอบหมายให้ อันธิกา สวัสดิ์ศรี อาจารย์ภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ ในฐานะโฆษกโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ชี้แจงว่า เนื้อหาในจดหมายเปิดผนึกของศิษย์เก่าฯ อาจมีความเข้าใจที่คาดเคลื่อน เพราะการเป็นที่ปรึกษาให้กับโครงการของรัฐ ก็ถือว่าเป็นภารกิจของสถาบันการศึกษา ส่วนข้อสงสัยต่อโครงการ ก็อยากให้กลุ่มศิษย์เก่าฯ เข้ามาพูดคุยเพื่อความเข้าใจต่อไป [35]

สุชัชวีร์ได้รับเลือกเป็นประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย(ทปอ.) 2 วาระติดต่อกัน[36] โดยมีวาระตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 [37] จนถึงปี พ.ศ. 2563 [38]

ในปี พ.ศ. 2561 ขณะที่เขาดำรงตำแหน่งประธานทปอ. กระทรวงศึกษาธิการ ได้มีนโยบายที่จะปรับปรุงระบบ การคัดเลือกกลางบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายปฏิรูปการศึกษาของประเทศ โดยมีหลักการ 3 ประการ คือ

  • (1) นักเรียนควรอยู่ในห้องเรียนจนจบมัธยมศึกษาปีที่ 6
  • (2) นักเรียนแต่ละคนมีเพียง 1 สิทธิ์ในการตอบรับสาขาวิชาที่เลือกเพื่อความเสมอภาค
  • (3) สถาบันอุดมศึกษาในเครือข่ายที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ทุกแห่งจะเข้าสู่ระบบเคลียร์ริ่งเฮาส์ เพื่อบริหาร 1 สิทธิ์ของนักเรียน และเพื่อให้ระบบการสอบคัดเลือกบุคคลเข้ารับการศึกษาในระดับอุดมศึกษาระบบใหม่มีความชัดเจนป้องกันไม่ให้นักเรียนเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในภายหลัง[39] [40]

ในปีแรกที่เริ่มใช้ระบบTCAS ได้เกิดปัญหาขึ้น เช่น ปัญหาระบบล่มตั้งแต่วันแรก[41] เนื่องจากมีผู้ใช้งานที่มาก โดยมีผู้สมัครเข้ามาในระบบถึง 40,000 คน ต่อวินาที[42] ความไม่เข้าใจของนักเรียนและผู้ปกครองในการใช้ระบบ รวมไปถึงปัญหาการเลือกอันดับ ซึ่งเกิดจากการที่ผู้เข้าสอบคะแนนสูงสามารถเลือกคณะที่ต้องการเข้าศึกษาได้ และยังสามารถสำรองที่นั่งให้ตัวเองได้ ทำให้จำนวนที่นั่งที่มหาวิทยาลัยเปิดรับนั้นเต็มอย่างรวดเร็ว ทำให้นักเรียนบางส่วนเดือดร้อนเพราะไม่สามารถเลือกคณะที่ต้องการได้ [43] การเปลี่ยนระบบนี้สร้างความไม่พอใจในหมู่ผู้ปกครองกับนักเรียนในปีนั้น[44] และระบบ TCAS ยังถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า ขาดการมีส่วนรวมของนักเรียนในการออกแบบระบบตั้งแต่ต้น[45] เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ทางทปอ.จึงได้มีการประชุมเพื่อจัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบ TCAS ปี 2562 ด้วยกันทั้งหมด 3 ชุด ประกอบด้วย 1.คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงของระบบการคัดเลือกระบบ TCAS ปีการศึกษา 2561 มีนาย สมคิด เลิศไพฑูรย์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เป็นประธาน 2.คณะกรรมการพัฒนาระบบTCAS ปีการศึกษา 2562 มีนาย ชูศักดิ์ ลิ่มสกุล สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เป็นประธาน และ 3.คณะกรรมการพัฒนาระบบสารสนเทศ ของระบบTCAS ปีการศึกษา 2562 มี นายแพทย์ ชัยเลิศ พิชิตพรชัย ผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล (มม.) เป็นประธาน เพื่อร่วมกันพัฒนาระบบ TCAS ในปีถัดมา และป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำเดิม[46] ในฐานะประธาน ทปอ. สุชัชวีร์ได้กล่าวถึงการแก้ปัญหานี้ว่า "นโยบายที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากระบบ TCAS นั้น ทปอ. จะมุ้งเน้น การหาแนวทางที่จะลดค่าใช้จ่ายในการสมัครให้มากที่สุด โดยยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง ตลอดจนจะมีการทำประชาพิจารณ์จากผู้มีส่วนได้เสีย เช่น นักเรียน ผู้ปกครอง และมหาวิทยาลัย รวมถึงกำหนดให้การจัดเวทีสาธารณะ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมจากนักศึกษาให้มากขึ้น โดยเวทีดังกล่าวจะสามารถเสนอแนะความเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการศึกษาในระดับอุดมศึกษาของประเทศ"[47] จากเหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้ ทปอ. มีการพัฒนาระบบสารสนเทศที่ใช้สำหรับการรับสมัครในระบบ TCAS เพื่อให้สามารถรองรับผู้ใช้งานจำนวนมาก [48] และปรับปรุงข้อสอบ TCAS โดยจะถูกนำมาใช้ในปีการศึกษา 2565 [49]

ในช่วงปี พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2563 สุชัชวีร์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานสมาคมสถาบันอุดมศึกษาแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้[50] ซึ่งเป็นองค์การนอกภาครัฐที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยเหลือสถาบันสมาชิกในการเสริมความแข็งแกร่งให้กับตนเองผ่านการช่วยเหลือร่วมกัน ให้สามารถบรรลุความแตกต่างในด้านการสอน การวิจัย และการบริการสาธารณะ ระหว่างสมาชิกสถาบันในประเทศของตนและประเทศอื่นๆที่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ [51]

วิศวกร แก้

ระหว่างศึกษาที่สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ สุชัชวีร์ได้กลับมาประเทศไทยในช่วงปี พ.ศ. 2542-2543 เพื่อทำงานเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมปฐพี ในโครงการรถไฟฟ้ามหานคร[52] ณ เวลานั้น เขาได้ก่อตั้งคณะกรรมการยุววิศวกรแห่งประเทศไทย ซึ่งเขาดำรงตำแหน่งประธานคนแรก [53] ในปี พ.ศ. 2542 เขายังเป็นกรรมการ วิศวกรรมธรณี ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ [52] และยังเป็นสมาชิกของหน่วยงานรัฐบาลที่ตรวจสอบความเสียหายของรันเวย์สนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นสนามบินแห่งใหม่ [54][55]

สุชัชวีร์ได้รับเลือกเป็นประธานของคณะกรรมการงานก่อสร้างใต้ดินและอุโมงค์ (Thailand Underground and Tunneling Group:TUTG) ในปี พ.ศ. 2555 [56] ในฐานะที่เขาเป็นสมาชิกของสมาคมอุโมงค์และพื้นที่ใต้ดินนานาชาติ(International Tunneling and Underground Space Association:ITA) ซึ่งเป็นองค์กรระดับนานาชาติที่ส่งเสริมการใช้พื้นที่ใต้ดินเพื่อประโยชน์ของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม [57]

ในปี พ.ศ. 2557 สุชัชวีร์ได้รับเลือกเป็นนายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์[58] โดยมีวาระตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557-2559 [59]

สุชัชวีร์ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหนึ่งในกรรมการสภาวิศวกร ในปี พ.ศ. 2558 [60]ต่อมาเขาได้รับเลือกให้เป็นนายก สภาวิศวกร ในปี พ.ศ. 2562 [61][62][63] และเขาได้ลาออกในปี พ.ศ. 2564 เพื่อลงสมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร[64]

บทบาทอื่น ๆ แก้

เมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2551 สุชัชวีร์ได้รับการแต่งตั้งจากคณะรัฐมนตรีให้ดำรงตำแหน่งกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทยและยังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นโฆษกของคณะกรรมการ[65][66] จนถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2551 [67]

มกราคม พ.ศ. 2555 สุชัชวีร์ได้รับการแต่งตั้งจากคณะรัฐมนตรี ให้ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการการเคหะแห่งชาติ [68] โดยเขาได้มีการนำเสนอแผนเปิดตัวโครงการที่พักอาศัย 22 โครงการ จำนวน 7,812 ยูนิต มูลค่า 4,700 ล้านบาท ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2556 [69] จนกระทั่งเขาได้ลาออกเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2556 [70]

สิงหาคม พ.ศ. 2557 หัวหน้า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้แต่งตั้งให้เขาดำรงตำแหน่งกรรมการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.)[71]คณะกรรมการบริหารขององค์กรได้มีมติแต่งตั้งให้เขาดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ คณะอนุกรรมการส่งเสริมการกำกับดูแลกิจการที่ดี [72] จนกระทั่งเขาลาออกเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2559 [73]

20 มิถุนายน 2561 คณะรัฐมนตรี ได้มีมติแต่งตั้งให้เขาดำรงตำแหน่งกรรมการ(ผู้ส่งคุณวุฒิจากภาคธุรกิจ) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) [74] โดยครบกำหนดวาระในวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2564 [75]

นอกจากนี้สุชัชวีร์ยังดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยหลายแห่ง เช่น กรรมการสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย สมัยแรก วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 [76] และสมัยที่สอง วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2560[77] กรรรมการสภามหาวิทยาลัยรังสิต ระหว่างปี พ.ศ. 2559-2564 [78][79]มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2560 [80]

ปัจจุบันสุชัชวีร์ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมนักเรียนทุนรัฐบาลไทย[81] และดำรงตำแหน่งประธานมูลนิธิโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ในพระสังฆราชูปถัมภ์ [82]

บทบาททางการเมือง แก้

สุชัชวีร์มีกระแสข่าวมาหลายปีแล้วว่าเตรียมลงสมัครรับเลือกตั้งในตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยมีการนำเสนอนโยบายและแนวคิด มาโดยตลอด ในช่วงปลายปี 2564 ก็มีข่าวว่าเขาพยายามมองหาพรรคการเมืองสังกัด จนวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์มีมติเป็นเอกฉันท์เห็นชอบให้สุชัชวีร์เป็นสมาชิกพรรคตลอดชีพ[12] และเป็นว่าที่ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในสังกัดของพรรค โดยสุชัชวีร์ได้ยื่นใบลาออกจากตำแหน่งอธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มีผลในวันเดียวกัน[33]

การลงสมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แก้

วันที่ 15 ธันวาคม 2564 สุชัชวีร์ได้ประกาศตัวเป็นว่าที่ผู้สมัครรับการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในนามพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเขาได้มีการนำเสนอนโยบาย เปลี่ยนกรุงเทพฯ เราทำได้ โดยมี 2 แนวทางย่อย ได้แก่ "เปลี่ยนชีวิตคนกรุงเทพฯ" ที่กล่าวถึง การสร้างอาชีพและสวัสดิการ การพัฒนาระบบสาธารณสุข และการศึกษา กับ "เปลี่ยนโครงสร้างเมือง" ที่กล่าวถึง การแก้ปัญหาจราจร การสร้างแก้มลิงใต้ดินเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม การสร้างเมืองให้มีความปลอดภัย[4] และเสนอให้ กทม. เสนอตัวเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูร้อน 2036[83]

เขาเป็นผู้สมัครหมายเลข 4 ในการรับการเลือกตั้งหลังยื่นใบสมัครอย่างเป็นทางการ[84]ระหว่างหาเสียงเขาได้นำเสนอวิสัยทัศน์ เพื่อทำให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองสวัสดิการต้นแบบของอาเซียน ให้ได้ภายใน 4 ปี [85]

วันที่ 22 พฤษภาคม 2565 ได้มีการลงคะแนนเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผลปรากฏว่าเขาไม่ได้รับเลือกตั้งโดยได้รับคะแนนเสียงเป็นอันดับสอง คือ 254,723 คะแนน คิดเป็น 9.60% ของจำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งในครั้งนั้น [86] เขาได้แถลงยอมรับความพ่ายแพ้ และได้โทรศัพท์ไปแสดงความยินดีกับชัชชาติ สิทธิพันธุ์ซึ่งเป็นผู้ได้รับเลือกเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนต่อไป [87]

ผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ แก้

ในเดือนกันยายน ปี พ.ศ. 2565 สุชัชวีร์ได้รับการเสนอชื่อเป็น ผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ของพรรคประชาธิปัตย์ในลำดับที่ 12 [88] โดยเขาได้รับมอบหมายให้เป็นหัวหน้าทีมนโยบายการศึกษาทันสมัยของพรรค[89] ต่อมาในเดือนตุลาคม จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ได้ลงนามแต่งตั้งเขาให้เป็นประธานคณะทำงานด้านนโยบายของพรรคในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร พร้อมกับวทันยา บุนนาคซึ่งได้รับการมอบหมายให้เป็นประธานคณะทำงานนวัตกรรมการเมืองกรุงเทพฯ [90] เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566

ปัจจุบันเขาดำรงตำแหน่งเป็นรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ดูแลพื้นที่กรุงเทพมหานคร [91]

ชีวิตส่วนตัว แก้

ปัจจุบัน สุชัชวีร์ สมรสกับ นางสวิตา สุวรรณสวัสดิ์ มีบุตรชายด้วยกัน 1 คน[92]

เขายังได้รับฉายา “The Disruptor เมืองไทย” ในฐานะเป็นผู้พลิกฟื้น สจล. ระหว่างที่ดำรงตำแหน่งอธิการบดี สู่องค์กรระดับนานาชาติ ปรับโครงสร้างการบริหารการศึกษาที่ไม่เอื้อต่อการพัฒนา ปัญหาการเสียดุลทางการแพทย์และเทคโนโลยี ฯลฯ สู่สถาบันอุดมศึกษาชั้นนำแห่งหนึ่งของไทย[93][94]

ผลงานการเขียนหนังสือ แก้

สุชัชวีร์เคยเป็นคอลัมนิสต์ “มองอนาคตไทย” ของหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ [95]และเป็นผู้เขียนหนังสือ

  • เทคโนโลยีการก่อสร้างอุโมงค์ Tunneling Technology. พ.ศ. 2551, ISBN 974-150-054-8[96]
  • คิดต่างสร้างการเปลี่ยนแปลง. พ.ศ. 2563, ISBN 978-616-93529-0-7[97]
  • A story of the impossible สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. พ.ศ.2563 [98]

รางวัลและเกียรติคุณ แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "ตอนพิเศษ 241 ง.". ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (Report) (เล่ม 132 ed.). ราชกิจจานุเบกษา. 2015-10-06. p. 2.
  2. ""พี่เอ้ ดร.สุชัชวีร์" ลาออกจากอธิการบดีสจล". pptvhd36.com. 9 Dec 2021.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการสภาวิศวกร [จำนวน ๕ ราย ๑. นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ฯลฯ], เล่ม ๑๓๖ ตอนพิเศษ ๙๕ ง หน้า ๕, ๑๗ เมษายน ๒๕๖๒
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 NATT W. (2022-04-07). "เปิดประวัติ สุชัชวีร์ (ดร.เอ้) "The Disruptor เมืองไทย"". สปริงนิวส์. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-15. สืบค้นเมื่อ 2022-11-15.
  5. "คณะกรรมการสภาวิศวกร สมัยที่ 6 (2558-2561)". สภาวิศวกร. 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-15. สืบค้นเมื่อ 2022-11-15.
  6. สภาวิศวกร - Council of Engineers Thailand (2021-12-09). "คณะกรรมการสภาวิศวกร ได้มีมติเลือก รองศาสตราจารย์ ปิยะบุตร วาณิชพงษพันธุ์ ดำรงตำแหน่งนายกสภาวิศวกร". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-15. สืบค้นเมื่อ 2022-11-15.
  7. NATT.W (7 April 2022). "เปิดประวัติ สุชัชวีร์ (ดร.เอ้) "The Disruptor เมืองไทย"". สปริงนิวส์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-23. สืบค้นเมื่อ 2022-11-23.
  8. 8.0 8.1 "'Disruptor' Suchatvee Suwansawat ready to shine his bright light on Bangkok". Thai PBS. 14 December 2021. สืบค้นเมื่อ 2022-11-23.
  9. 9.0 9.1 ""Suchatvee Suwansawat"". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 October 2017. สืบค้นเมื่อ 31 October 2022.
  10. ""Professor Dr. Suchatvee Suwansawat"". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 October 2022. สืบค้นเมื่อ 31 October 2022.
  11. ""ครม. อนุมัติรายชื่อหลักสูตร วปอ. รุ่น 66 จำนวน 289 คน"". 11 July 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 December 2023. สืบค้นเมื่อ 22 December 2023.
  12. 12.0 12.1 "สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ : จาก "พี่เอ้" อธิการบดี สจล. ผู้ "ไม่กลัวทัวร์" ก่อนเปิดตัวลงผู้ว่าฯ กทม". BBC. 10 December 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 November 2022. สืบค้นเมื่อ 1 November 2022.
  13. "บัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการ จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ". www.basd.mhesi.go.th. 27 December 2019. สืบค้นเมื่อ 1 November 2022.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  14. 14.0 14.1 "หมายเลข 4 ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ พรรคประชาธิปัตย์". mgronline.com. 11 May 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 November 2022. สืบค้นเมื่อ 1 November 2022.
  15. "ตอนพิเศษ 166 ง.". ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งศาสตราจารย์ (Report) (เล่มที่ 129 ed.). ราชกิจจานุเบกษา. 31 October 2012. p. 9.
  16. "ตอนพิเศษ 49 ง.". ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (Report) (เล่มที่ 137 ed.). ราชกิจจานุเบกษา. 2 March 2020. p. 8.
  17. Burns, Krista (28 November 2017). "CMU and KMITL Announce Research and Education Collaboration". Carnegie Mellon University (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 November 2022. สืบค้นเมื่อ 1 November 2022.
  18. "CMKL's AI Supercomputer Leads the Battle Against COVID-19". บางกอกโพสต์ (ภาษาอังกฤษ). 19 October 2021. สืบค้นเมื่อ 1 November 2022.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  19. "Kosen-KMITL History". Kosen-KMITL (ภาษาอังกฤษ). 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 November 2022. สืบค้นเมื่อ 1 November 2022.
  20. "ศธ.ผุดสถาบันไทยโคเซ็น ผลิตวิศวกรนักปฏิบัติป้อน EEC". ประชาชาติ. 30 December 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 November 2022. สืบค้นเมื่อ 1 November 2022.
  21. ดิจิทัล, ฐานเศรษฐกิจ (31 March 2022). "รู้จัก สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อดีตอธิการบดี สจล. สู่สนามเลือกตั้งกทม". ฐานเศรษฐกิจ. สืบค้นเมื่อ 1 November 2022.
  22. "The Founding of 42 Bangkok". 42 Bangkok (ภาษาอังกฤษ). 15 October 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 November 2022. สืบค้นเมื่อ 1 November 2022.
  23. ""Ecole 42 Bangkok" เรียนฟรีนักโปรแกรมเมอร์ระดับโลก". Bangkokbiznews. 3 January 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 November 2022. สืบค้นเมื่อ 1 November 2022.
  24. "ตอนพิเศษ 49 ง.". Notification of King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang Re: Establishment of Divisions of King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang (No.18), B.E. 2564 (A.D. 2021) (PDF) (Report) (ภาษาอังกฤษ) (เล่ม 138 ed.). ราชกิจจานุเบกษา. 28 January 2021. p. 67.
  25. "ประวัติความเป็นมา". KMCHF. สืบค้นเมื่อ 2 November 2022.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  26. "สจล.รุกตั้ง "โรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร" เป็นศูนย์การแพทย์". ไทยรัฐ. 22 April 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 November 2022. สืบค้นเมื่อ 2 November 2022.
  27. โซเชียลนิวส์ (19 October 2021). "สจล. เดินเครื่องก่อสร้าง "รพ. พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร" คาดแล้วเสร็จใน 2 ปี หนุนการเข้าถึงระบบสาธารณสุข และ นวัตกรรมทางการแพทย์". MCOT. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 November 2022. สืบค้นเมื่อ 2 November 2022.
  28. ""วิศวลาดกระบัง "ยืนหนึ่งหลักสูตรมากสุด เป้ายกระดับเป็น 1ใน10อาเซียน". คมชัดลึก. 2021-09-11. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-11. สืบค้นเมื่อ 2022-11-11.
  29. Ken Mathis Lohatepanont (2021-12-20). "The Bangkok gubernatorial election explained". Thai Enquirer (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-11. สืบค้นเมื่อ 2022-11-11.
  30. "เอ้ สุชัชวีร์ บนเก้าอี้อธิการบดี : การพลิกโฉม สจล. สู่มหาวิทยาลัยชั้นนำ". สปริงนิวส์. 2022-05-06. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-11. สืบค้นเมื่อ 2022-11-11.
  31. ""วิศวลาดกระบัง "ยืนหนึ่งหลักสูตรมากสุด เป้ายกระดับเป็น 1ใน10อาเซียน". คมชัดลึก. 2021-09-11. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-11. สืบค้นเมื่อ 2022-11-11.
  32. Thammarat Thadaphrom (2018-03-01). "KMITL opens international program in medical science". Nation News Bureau of Thailand (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-11. สืบค้นเมื่อ 2022-11-11.
  33. 33.0 33.1 ""พี่เอ้" สุชัชวีร์ ชายผู้ประกาศตัว "ไม่กลัวทัวร์" ก่อนเปิดตัวลงผู้ว่าฯ กทม". BBC News ไทย. 10 Dec 2021. สืบค้นเมื่อ 2022-06-15.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  34. Techsauce Team (2021-11-11). "สจล. เปิด KIDS University มหาวิทยาลัยเด็กเล็ก พร้อมหลักสูตรสร้าง New Skills ดันเด็กไทยให้ก้าวล้ำนานาชาติ". Techsauce. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-07. สืบค้นเมื่อ 2023-04-07.
  35. "ปม"สจล."ที่ปรึกษาโครงการริมฝั่งเจ้าพระยา "177ศิษย์เก่าสถาปัตย์"&"ผู้บริหาร" ใครเข้าใจผิด??". ผู้จัดการ. 23 April 2016. สืบค้นเมื่อ 25 December 2021.
  36. CUPT (2022). "เกี่ยวกับเรา รายชื่อประธาน". Council of University Presidents of Thailand (CUPT). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-03. สืบค้นเมื่อ 2022-11-03.
  37. "ทปอ. เดินหน้าบทบาท มหาวิทยาลัย 4.0 เลือก 'สุชัชวีร์' นั่ง ปธ.คนใหม่". ไทยรัฐ. 2016-08-21. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-03. สืบค้นเมื่อ 2022-11-03.
  38. "'ทปอ.' ยก 'สุชัชวีร์' อธิการ สจล. นั่งเก้าอี้ต่อ ดัน ทีแคส คัดนศ.เข้ามหาวิทยาลัย ปี 62". ข่าวสด. 2018-08-20. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-03. สืบค้นเมื่อ 2022-11-03.
  39. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาระบบใหม่ (PDF) (Report). กระทรวงศึกษาธิการ. 2017-05-23. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-14. สืบค้นเมื่อ 2023-02-14.
  40. "เปลี่ยนชื่อระบบรับนศ.'แอดมิชชั่น'เป็น'TCAS'". dailynews. 2017-06-01.
  41. "วันแรกก็ล่มแล้ว!! สมัครเข้ามหา'ลัย ระบบ TCAS รอบ 3 นร.บ่นอนาคตเนี่ยจะล่ม". mgronline.com. 2018-05-09.
  42. "4หมื่นคนต่อวินาที!ทปอ.แจงเด็กแห่สมัครTCASรอบ3เพียบทำระบบล่ม". แนวหน้า. 2018-05-10. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-14. สืบค้นเมื่อ 2023-02-14.
  43. "ปัญหา 'กั๊กที่นั่ง' ที่ระบบบังคับ- เมื่อ "TCAS" ระบบสอบเข้ามหาวิทยาลัย ทำเด็ก 'ปวดหัว'". ข่าวสด. 2018-05-30.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  44. "บทเรียนเจ็บปวด TCAS : ผู้ใหญ่คิด แต่เด็กรับกรรม". VoiceTV. 1 Jun 2018.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  45. "ชำแหละจุดอ่อน TCAS ภาระหนักอึ้งของ #Dek61 สะท้อนปัญหาใหญ่ระบบการศึกษาไทย". THE STANDARD. 2018-06-13.
  46. "'ทปอ.' ยก 'สุชัชวีร์' อธิการ สจล. นั่งเก้าอี้ต่อ ดัน ทีแคส คัดนศ.เข้ามหาวิทยาลัย ปี 62". ข่าวสด. 2018-08-20. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-14. สืบค้นเมื่อ 2023-02-14.
  47. "ทปอ. ตั้งบอร์ด 3 ด้าน สางปัญหา TCAS พร้อมเปิดรอบ 5 รับตรงเดือนหน้า". เวิร์คพอยท์. 2018-06-18. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-14. สืบค้นเมื่อ 2023-02-14.
  48. "ทปอ.เปิดตัว 3 ระบบไอที รับสมัคร TCAS 62 รองรับการใช้งานสูงสุด 30,000 ครั้งต่อวินาที เริ่มใช้งาน 1 ธ.ค.นี้". ไทยพีบีเอส. 2018-09-26. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-14. สืบค้นเมื่อ 2023-02-14.
  49. "มติทปอ.เตรียมปรับปรุงข้อสอบ TCAS เริ่มใช้ปี 65". ผู้จัดการออนไลน์. 2019-04-21. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-14. สืบค้นเมื่อ 2023-02-14.
  50. "Presidents of ASAIHL". Association of Southeast Asian Institutions of Higher Learning (ภาษาอังกฤษ). 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-03. สืบค้นเมื่อ 2022-11-03.
  51. "Contact US". Association of Southeast Asian Institutions of Higher Learning. สืบค้นเมื่อ 8 November 2022.
  52. 52.0 52.1 Suwansawat, Suchatvee (2002). Earth pressure balance (EPB) shield tunneling in Bangkok : ground response and prediction of surface settlements using artificial neural networks (Sc.D.) (ภาษาอังกฤษ). Massachusetts Institute of Technology. สืบค้นเมื่อ 2022-11-09.
  53. AFEO. "Engineering Institute of Thailand (Young Engineer chapter)". The ASEAN Federation of Engineering Organisations (AFEO) (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-09. สืบค้นเมื่อ 2022-11-09.
  54. Fuller, Thomas (February 2, 2007). "Thailand's airport imbroglio grows - Asia - Pacific - International Herald Tribune". International Herald Tribune – โดยทาง The New York Times.
  55. "Thailand's airport imbroglio grows - International Herald Tribune". www.iht.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-04.
  56. TunnelTalk (2012). "WTC Bangkok extends official welcome to ITA". TunnelTalk (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-09. สืบค้นเมื่อ 2022-11-09.
  57. "The Thailand Underground and Tunnelling Group (TUTG) of the Engineering Institute of Thailand, under His Majesty the King's Patronage, says the country has the potential to become a hub for Asean underground and tunnel construction, provided it receives m". เนชั่นทีวี (ภาษาอังกฤษ). 2012-05-22. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-09. สืบค้นเมื่อ 2022-11-09.
  58. PR COE (2014-01-21). "กิจกรรมของสภาวิศวกร: แสดงความยินดีกับนายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย" (PDF) (Press release). The Council of Engineers Thailand. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-09. สืบค้นเมื่อ 2022-11-09.
  59. "แต่งตั้งลงนามและมอบหมายหน้าที่คณะกรรมการอำนวยการ วาระปี พ.ศ. 2557-2559". คำสั่งวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่ 001/2557 (PDF). Department of Children and Youth (Report). The Engineering Institute of Thailand. 2014-01-02. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-09. สืบค้นเมื่อ 2022-11-09.
  60. "ตอนพิเศษ 289 ง.". ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการสภาวิศวกร (Report) (เล่มที่ 132 ed.). ราชกิจจานุเบกษา. 9 November 2015. p. 1.
  61. "ตอนพิเศษ 95 ง.". ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการสภาวิศวกร (Report) (Vol. 136 ed.). ราชกิจจานุเบกษา. 17 April 2019. p. 5.
  62. "ศ. ดร. สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ นายกสภาวิศวกร สมัยที่ 7". Engineering today. 2019-04-28. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-09. สืบค้นเมื่อ 2022-11-09.
  63. ""ศ.ดร.สุชัชวีร์" ดำรงตำแหน่งนายกสภาวิศวกร สมัยที่ 7 ชูบทบาทยกระดับมาตรฐานวิศวกรให้มีความรับผิดชอบต่อสังคม". RYT9. 2019-04-12. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-09. สืบค้นเมื่อ 2022-11-09.
  64. ""ดร.สุชัชวีร์" ลาออกจากสภาวิศวกร ราชกิจจาฯ เผยแพร่ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการสภาวิศวกรแทน". เนชั่นทีวี. 2022-04-09. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-09. สืบค้นเมื่อ 2022-11-09.
  65. "48 ง.". ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย (Report) (เล่ม 125 ed.). ราชกิจจานุเบกษา. 24 April 2008. p. 1.
  66. "ข่าวมอนิเตอร์ประจำวันที่ 9 ธันวาคม 2551". ประชาไท. 2008-12-09. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-14. สืบค้นเมื่อ 2022-11-14.
  67. "คณะกรรมการการรถไฟฯ". State Railway of Thailand Annual Report 2009 (PDF). การรถไฟแห่งประเทศไทย Official Website (Report). การรถไฟแห่งประเทศไทย. 2009. p. 82. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-01-31. สืบค้นเมื่อ 2022-11-14.
  68. "26 ง.". ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการการเคหะแห่งชาติ (Report) (เล่ม 129 ed.). ราชกิจจานุเบกษา. 31 January 2012. p. 25.
  69. "NHA ready to launch 22 housing projects". บางกอกโพสต์ (ภาษาอังกฤษ). 2013-05-30. สืบค้นเมื่อ 2022-11-14.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  70. รายงานประจำปีการเคหะแห่งชาติปี 2556 (PDF). การเคหะแห่งชาติ Official Website (Report). 2013. p. 27. สืบค้นเมื่อ 2022-11-14.{{cite report}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  71. "65 ง.". ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการบริหารกิจการขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (Report) (Vol. 133 ed.). ราชกิจจานุเบกษา. 17 March 2016. p. 18.
  72. "Order of the Bangkok Mass Transit Authority No.991-2557". Bangkok Mass Transit Authority Annual Report 2015 (PDF). องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ Official Website (Report) (ภาษาอังกฤษ). องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ. 2015. p. 72. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-14. สืบค้นเมื่อ 2022-11-14.
  73. "BMTA Board of Directors (October 2015-30 September 2016) held a total of 15 meeting". Bangkok Mass Transit Authority Annual Report 2016 (PDF). องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ Official Website (Report) (ภาษาอังกฤษ). องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ. 2016. p. 92. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-14. สืบค้นเมื่อ 2022-11-14.
  74. "ตอนพิเศษ 142 ง.". ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง (Report) (เล่มที่ 135 ed.). ราชกิจจานุเบกษา. 20 June 2018. p. 9.
  75. "คณะกรรมการ การไฟฟ้านครหลวงปี 2564". รายงานประจำปีการไฟฟ้านครหลวง 2021. การไฟฟ้านครหลวง Official Website (Report). การไฟฟ้านครหลวง. 2021. p. 74. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-14. สืบค้นเมื่อ 2022-11-14.
  76. "ตอนพิเศษ 28 ง.". ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย (Report) (Vol. 128 ed.). ราชกิจจานุเบกษา. 10 June 2011. p. 26.
  77. "ตอนพิเศษ 248 ง.". ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย (Report) (Vol. 134 ed.). ราชกิจจานุเบกษา. 6 October 2017. p. 3.
  78. หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยรังสิต (2016). "กรรมการสภามหาวิทยาลัยรังสิต ปี พ.ศ. 2559". หอสมุด มหาวิทยาลัยรังสิต. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-14. สืบค้นเมื่อ 2022-11-14.
  79. รายงานการประชุมคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยรังสิต ครั้งที่ 4/2564 (PDF). มหาวิทยาลัยรังสิต Official Website (Report). สภามหาวิทยาลัยรังสิต. 2021-09-17. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-14. สืบค้นเมื่อ 2022-11-14.
  80. "ตอนพิเศษ 150 ง.". ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา (Report) (Vol. 133 ed.). ราชกิจจานุเบกษา. 4 July 2016. p. 19.
  81. "ทุนรัฐบาลดีเด่น+ดาวรุ่ง 8 ราย 8 สาขา ขับเคลื่อนประเทศ". ประชาชาติธุรกิจ. 2020-12-12.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  82. "รพ.พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารชูเทคโนโลยีการแพทย์ พร้อมให้บริการปี 67". กรุงเทพธุรกิจ. 2022-10-19.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  83. "'สุชัชวีร์' เปิดตัวโชว์วิสัยทัศน์ ชูเปลี่ยนกทม.เมืองสวัสดิการทันสมัย มั่นใจแก้ปัญหาคนกรุง น้ำท่วม-การศึกษา". WorkpointTODAY1. 2021-12-13. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-13. สืบค้นเมื่อ 2022-03-30.
  84. "เปิดหมายเลขผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม". ผู้จัดการออนไลน์. 2022-03-31. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-31. สืบค้นเมื่อ 2023-01-27.
  85. "เอ้ สุชัชวีร์ โชว์วิสัยทัศน์ขอโฟกัส 4 ปี ดันกทม.เป็นเมืองสวัสดิการต้นแบบของอาเซียน". สยามรัฐ. 2022-04-09. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-01-27. สืบค้นเมื่อ 2023-01-27.
  86. MCOT HD (2022-05-23). "(คลิปเต็ม) เจาะผลเลือกตั้ง ผู้ว่าฯ กทม.-ส.ก". YouTube. สืบค้นเมื่อ 2022-06-01.
  87. ""สุชัชวีร์" แถลงรับแพ้เลือกตั้ง ยินดี "ชัชชาติ" เป็นผู้ว่าฯ กทม. คนใหม่". ไทยรัฐ. 2022-05-22.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  88. "เผยเซฟโซนปาร์ตี้ลิสต์ ปชป. "จุรินทร์-ชวน" นำทีม "ตั๊น" ที่ 10 เบียด "เดียร์" พร้อมใส่เฝือกหาเสียง". ผู้จัดการออนไลน์. 2023-04-04. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-06. สืบค้นเมื่อ 2023-04-06.
  89. Aekarach Sattaburuth (2022-09-04). "Suchatvee in city education drive". Bangkok Post (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-11. สืบค้นเมื่อ 2022-11-11.
  90. "Democrats set sights on city". บางกอกโพสต์ (ภาษาอังกฤษ). 2022-10-11. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-11. สืบค้นเมื่อ 2022-11-11.
  91. ""เดชอิศม์" นั่งเลขาฯ ปชป. "ดร.เอ้" รองหัวหน้าพรรค คุม กทม. "นราพัฒน์-ตั๊น จิตภัสร์" ขึ้นรอง หน.ตามภารกิจ" (ภาษาอังกฤษ). 2023-12-09. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-12-22. สืบค้นเมื่อ 2023-12-22.
  92. "เจาะธุรกิจ "เมีย" - โชว์หลักฐาน! "ดร.เอ้" แจ้ง ป.ป.ช. "จดทะเบียนสมรส" ปี 63". กรุงเทพธุรกิจ. 2022-10-19.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  93. "THe Disruptor' เมืองไทย สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์". bangkokbiznews. 2019-08-01.
  94. "ถอดรหัสลับสู่ความสำเร็จในฐานะ The Disruptor แถวหน้าของเมืองไทย". ThaiPR.NET. 2021-09-22.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  95. "ข่าวสื่อมวลชน :มองอนาคตไทย". KMITL. 2017-02-15. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-23. สืบค้นเมื่อ 2022-11-23.
  96. เทคโนโลยีการก่อสร้างอุโมงค์ Tunneling Technology. Author : สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์
  97. คิดต่างสร้างการเปลี่ยนแปลง. Author : สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์
  98. A story of the impossible สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. Author : สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์
  99. "รศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ รับรางวัล "นักบริหารดีเด่นแห่งปี 2555". PRESS RELEASE. 2012-09-28. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-23. สืบค้นเมื่อ 2022-11-23.
  100. "Suchatvee 'Vince' Suwansawat". Eisenhower Fellowships (ภาษาอังกฤษ). 2013.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  101. "ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ นายก วสท. รับรางวัลนักเรียนทุนรัฐบาลไทยดีเด่น ประจำปี 2557". RYT8. 2014-12-30. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-23. สืบค้นเมื่อ 2022-11-23.
  102. kejjy (2015-12-17). "NIT Toyama College – KMITL President's Distinguished Honorary Award". Office of International Affairs :KMITL (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-23. สืบค้นเมื่อ 2022-11-23.
  103. superdia (2017-11-01). "Honorary Doctorate awarded to Prof. Dr. Suchatvee Suwansawat". Office of International Affairs :KMITL (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-23. สืบค้นเมื่อ 2022-11-23.
  104. "ศ.ดร.สุชัชวีร์ อธิการบดี สจล. ได้รับรางวัล บุคคลที่น่ายกย่องแห่งปี 2561". สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง . 2018-04-06. สืบค้นเมื่อ 2022-11-23.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  105. "ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ นายก วสท. รับรางวัลนักเรียนทุนรัฐบาลไทยดีเด่น ประจำปี 2557". ไทยรัฐ . 2014-12-30. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-23. สืบค้นเมื่อ 2022-11-23.
  106. ""สุชัชวีร์" ติด1ใน12 ผู้รับรางวัลศิษย์เก่าเกียรติยศ สจล.ครบรอบ62ปี". คมชัดลึก. 2014-12-30. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-23. สืบค้นเมื่อ 2022-11-23.
  107. "ม.เกษมบัณฑิต มอบปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ให้ "พี่เอ้ สุชัชวีร์" อดีตอธิการบดี สจล."". เดลินิวส์. 2023-02-15. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-07. สืบค้นเมื่อ 2023-04-07.
  108. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๔, เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๖๖, ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
  109. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๕๒ ข หน้า ๑๔๖, ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๐

แหล่งข้อมูลอื่น แก้