มนัญญา ไทยเศรษฐ์
มนัญญา ไทยเศรษฐ์ (เกิด 7 สิงหาคม พ.ศ. 2505) ชื่อเล่น แหม่ม เป็นนักการเมืองชาวไทย ประธานคณะที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (ชาดา ไทยเศรษฐ์)[1] และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
มนัญญา ไทยเศรษฐ์ | |
---|---|
มนัญญา ใน พ.ศ. 2562 | |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ | |
ดำรงตำแหน่ง 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 – 1 กันยายน พ.ศ. 2566 (4 ปี 53 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
รัฐมนตรีว่าการ | เฉลิมชัย ศรีอ่อน |
ก่อนหน้า | วิวัฒน์ ศัลยกำธร |
ถัดไป | อนุชา นาคาศัย ไชยา พรหมา |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 7 สิงหาคม พ.ศ. 2505 อำเภอหนองขาหย่าง จังหวัดอุทัยธานี |
ศาสนา | อิสลาม |
พรรคการเมือง | ภูมิใจไทย (2561–2567) |
คู่สมรส | อนุชา ซักเซ็ค |
บุตร | เจเศรษฐ์ ไทยเศรษฐ์ ปารีณา ซักเซ็ค กฤษฎา ซักเซ็ค ปารีชา ซักเซ็ค อามาจีนา ซักเซ็ค |
บุพการี |
|
ญาติ | ชาดา ไทยเศรษฐ์ (พี่ชาย) |
ศิษย์เก่า | โรงเรียนอุทัยวิทยาคม มหาวิทยาลัยสวนดุสิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ |
ชื่อเล่น | แหม่ม |
ประวัติ
แก้มนัญญา ไทยเศรษฐ์ เป็นลูกสาวของเดชา กับปาลี้ ไทยเศรษฐ์[2] และเป็นน้องสาวของชาดา ไทยเศรษฐ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุทัยธานีหลายสมัย มีบุตรชายคือ เจเศรษฐ์ ไทยเศรษฐ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุทัยธานี มนัญญาเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนอุทัยวิทยาคม ต่อมาเข้าเรียนที่คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต และปริญญาตรีอีกแห่งหนึ่งที่คณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
มนัญญาสมรสกับอนุชา ซักเซ็ค มีบุตร 5 คน ซึ่งเจเศรษฐ์บุตรคนโตของทั้งสอง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุทัยธานี ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 และ 2566[3]
การเมือง
แก้มนัญญา ไทยเศรษฐ์ เป็นนักการเมืองท้องถิ่น เคยดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี จนกระทั่งลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2562[4] ต่อมาวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 จึงได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา[5] สัดส่วนของพรรคภูมิใจไทย[6] ดูแลรับผิดชอบงานของกรมวิชาการเกษตร และมีนโยบายในการห้ามใช้สารคลอร์ไพริฟอส และพาราควอต ในภาคการเกษตรของประเทศไทย[7]ในเดือนกุมภาพันธ์ 2567 เธอลาออกจากสมาชิกพรรคภูมิใจไทยเพื่อดำรงตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี [8]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2565 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
- พ.ศ. 2564 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[10]
อ้างอิง
แก้- ↑ "ประธานคณะที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เปิดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการคณะทำงานเครือข่ายขับเคลื่อนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีระดับภาค" รุ่นที่ 1 ภาคใต้". กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี.
- ↑ "แหม่ม มนัญญา" หญิงแกร่งแห่งดอนหมื่นแสน
- ↑ “มนัญญา ไทยเศรษฐ์” ในมุมคุณแม่ลูก 5 วิพากษ์จุดอ่อน-จุดแข็ง “ชาดา”
- ↑ น้องสาว ‘ชาดา ไทยเศรษฐ์’ ลาออกนายกเทศมนตรีอุทัยฯ คาดเตรียมนั่งเก้าอี้ รมต.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี, เล่ม ๑๓๖ ตอนพิเศษ ๑๗๖ ง หน้า ๒, ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๖๒
- ↑ แหม่ม-มนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรี “อกสามศอก” ของจริง
- ↑ "มนัญญา" ยัน หากยังนั่งเก้าอี้ รมช.เกษตรฯ อยู่ ไม่มีการใช้ 2 สารพิษ
- ↑ ”ลาออกภท. ตั้งแต่เดือนกพ. ปัดกระแสข่าว ตีจากบ้านใหญ่อุทัยธานี
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๕, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๒, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๔, เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๒, ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕