โรงเรียนอุทัยวิทยาคม

โรงเรียนอุทัยวิทยาคม เป็นโรงเรียนประจำจังหวัดอุทัยธานี และเป็น 1 ในโรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูง ระดับมัธยมศึกษา ปีการศึกษา 2559 ตั้งอยู่เลขที่ 55 หมู่ที่ 2 ถนนพหลโยธิน 333 บ้านเนินตูม ตำบลสะแกกรัง อ.เมืองฯ จ.อุทัยธานี ติดกับถนนสายอุทัยธานี-พหลโยธิน เป็นโรงเรียนแบบ สหศึกษาประจำจังหวัดอุทัยธานี ปี 2515 กระทรวงศึกษาธิการ ได้รวมโรงเรียนเบญจมราชูทิศอุทัยธานี ซึ่งเป็นโรงเรียนหญิงล้วน และโรงเรียนอุทัยทวีเวทซึ่งเป็นโรงเรียนชายล้วน เป็นโรงเรียนเดียวกันและเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนอุทัยวิทยาคม โดยยังใช้สถานที่เดิมแยกเป็นโรงเรียนอุทัยวิทยาคม 1 (เรียนที่โรงเรียนอุทัยทวีเวท) และโรงเรียนอุทัยวิทยาคม 2 (เรียนที่โรงเรียนเบญจมราชูทิศ) ขณะนั้น นายยงยุทธ สาธิตานันท์ เป็นครูใหญ่ เพื่อรอการก่อสร้างอาคาร เรียนในที่แห่งใหม่ ในท้องที่หมู่ 2 บ้านเนินตูม ตำบลสะแกกรัง อำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี ซึ่งมี ผู้บริจาคที่ดินให้ประมาณ 77 ไร่ 10 ตารางวา วันที่ 26 พฤษภาคม 2520 ย้ายโรงเรียนจากโรงเรียนเดิมทั้ง 2 แห่ง มารวมกันที่โรงเรียนอุทัยวิทยาคม จนถึงปัจจุบัน

โรงเรียนอุทัยวิทยาคม
Uthaiwitthayakhom School
ที่ตั้ง
ข้อมูล
ชื่ออื่นอ.ท.ว. (UTW)
หน่วยงานกำกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, กระทรวงศึกษาธิการ
รหัส1061700260
ระดับปีที่จัดการศึกษาม.1 - ม.6
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอนไทย
สี███ เหลือง ███ แดง
เพลงมาร์ชอ.ท.ว.
เว็บไซต์www.utw.ac.th

ประวัติ แก้

ความเป็นมาของโรงเรียนเบญจมราชูทิศ แก้

เดิมตั้งอยู่ตรงข้ามกับบ้านพักผู้พิพากษาหัวหน้าศาล เปิดทำการสอนครั้งแรก 21 กันยายน พ.ศ. 2456 ระยะแรก นายน้อม รักษาการแทน เพื่อรอ นายผัน ชูโชย ครูใหญ่ที่กระทรวงธรรมการส่งมา เป็นครั้งแรก เปิดสอนชั้น ป.1 – ป.4

เมื่อย้ายโรงเรียนไปสร้างใหม่ เป็นโรงเรียนประจำจังหวัดอุทัยธานี “อุทัยทวีเวท” เมื่อ พ.ศ. 2465 โรงเรียนเบญจมราชูทิศตัวอย่าง ได้เป็นโรงเรียนประจำอำเภอ ส่วนนักเรียนโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ได้เรียนรวมกันกับโรงเรียนอุทัยทวีเวท ที่อาคารหลังแรก จนถึงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2468 จึงแยกเป็นโรงเรียนชาย และโรงเรียนหญิง

พ.ศ. 2468 ได้ย้ายมาสร้างอาคารเรียนใหม่ในที่ดินฟากคลองฉนวน ทางทิศเหนือยกฐานะเป็นโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดอุทัยธานี “เบญจมราชูทิศ” มี นางหาด ธนโกสัย เป็นครูใหญ่ (ปัจจุบันเป็นศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดอุทัยธานี)

2508 ได้รวมโรงเรียนการช่างสตรีอุทัยธานี กับโรงเรียนเบญจมราชูทิศ เข้าด้วยกันใช้ชื่อว่า โรงเรียนเบญจมราชูทิศ เปิดทำการสอนตามโครงการมัธยมแบบประสม[1]

ความเป็นมาของโรงเรียนอุทัยทวีเวท แก้

พ.ศ. 2461 กระทรวงธรรมการได้ส่ง นายผูก นิลพงศ์ มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ จึงอนุมัติให้สร้าง โรงเรียนขึ้นใหม่ หลังที่ว่าการอำเภอน้ำซึม (อำเภอเมืองอุทัยธานี) เป็นเนื้อที่ของโรงเรียนทั้งหมด 7 ไร่ 3 งาน 80 ตารางวา เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นประโยคประถม จนถึงมัธยมปีที่ 4 เป็นแบบสหศึกษา เปิด ทำการสอนตั้งแต่วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2465 ให้ชื่อว่า “โรงเรียนประจำจังหวัดอุทัยธานีอุทัยเทวีเวท” (ปัจจุบัน เป็นโรงเรียนอนุบาลเมืองอุทัยธานี) ย้ายนักเรียนโรงเรียนเบญจมราชูทิศ มาสอนที่โรงเรียนอุทัยทวีเวท โรงเรียน เบญจมราชูทิศ ให้เป็นโรงเรียนประจำอำเภอ ต่อมาได้เป็นโรงเรียนสตรีประจำจังหวัด ชื่อ โรงเรียนสตรี เบญจมราชูทิศ ใน พ.ศ. 2468 นักเรียนสตรีได้แยกจากโรงเรียนอุทัยทวีเวทไปรวมกับโรงเรียนสตรี เบญจมราชูทิศ ใช้ชื่อ “เบญจมราชูทิศ” (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดอุทัยธานี)[2]

ความเป็นมาของโรงเรียนอุทัยวิทยาคม แก้

ปี 2515 กระทรวงศึกษาธิการ ได้รวมโรงเรียนเบญจมราชูทิศอุทัยธานี ซึ่งเป็นโรงเรียนหญิงล้วน และโรงเรียนอุทัยทวีเวทซึ่งเป็นโรงเรียนชายล้วน เป็นโรงเรียนเดียวกันและเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนอุทัยวิทยาคม โดยยังใช้สถานที่เดิมแยกเป็นโรงเรียนอุทัยวิทยาคม 1 (เรียนที่โรงเรียนอุทัยทวีเวท) และโรงเรียนอุทัยวิทยาคม 2 (เรียนที่โรงเรียนเบญจมราชูทิศ) ขณะนั้น นายยงยุทธ สาธิตานันท์ เป็นครูใหญ่ เพื่อรอการก่อสร้างอาคาร เรียนในที่แห่งใหม่ ในท้องที่หมู่ 2 บ้านเนินตูม ตำบลสะแกกรัง อำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี ซึ่งมี ผู้บริจาคที่ดินให้ประมาณ 77 ไร่ 10 ตารางวา[3] วันที่ 26 พฤษภาคม 2520 ย้ายโรงเรียนจากโรงเรียนเดิมทั้ง 2 แห่ง มารวมกันที่โรงเรียนอุทัยวิทยาคม จนถึงปัจจุบัน รายชื่อผู้บริจาคที่ดินให้มีดังนี้

  1. ป้อมมูลนิธิ 27 ไร่ 2 งาน
  2. จากมูลนิธิ 22 ไร่ 1 งาน
  3. นายทวี เต่าทอง 11 ไร่ 1 งาน
  4. นางสนิท กาญจโนภาส 10 ไร่
  5. นายเทียน ขหัตถุ 3 ไร่ 2 งาน
  6. นายมณเฑียร กฤษณพันธ์ 3 ไร่
  7. นายพินิจ เลาหวิโรจน์ 10 ตารางวา

ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียนอุทัยวิทยาคม แก้

+
= === ลำดับที่ ====

ชื่อ-สกุล แก้

ปี พ.ศ.ที่ดำรงตำแหน่ง แก้

1 นายยงยุทธ สาธิตานันท์ 2515 - 2520
2 นายคำพันธุ์ คงนิล 2520 - 2525
3 นายวิรัตน์ กล้าวิกย์กรรม 2525 - 2529
4 นายเพิ่มยศ บุญปาน 2529 - 2533
5 นายสุธน จุลโมกข์ 2533 - 2535
6 นายจวง โอสถิกานนท์ 2535 - 2537
7 นายวิโรจน์ ฟักสุวรรณ์ 2537 - 2540
8 นายวิชิต บุญประดับ 2540 - 2541
9 นายเลอพงษ์ วงศ์สง่า 2541 - 2542
10 นายจำเนียร เหล่าเขตรกิจ 2542 - 2545
11 นายประเสริฐ เกษตรเอี่ยม 2545 - 2546
12 นายธนิต มณฑา 2546 - 2548
13 นายประเสริฐ เกษตรเอี่ยม 2548 - 2552
14 นายเรวัต จันทร์จินดา 2553 - 2556
15 นายจิณณาวัฒน์ โคมบัว 2557 - 2563
16 นายสมชาย ลักษณะ (รองผู้อำนวยการโรงเรียน รักษาการในตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียน) 2563 - 2564
17 นายประเสริฐ สุวรรณชัยเลิศ 2564 - ปัจจุบัน

อาคารและสถานที่ในโรงเรียนอุทัยวิทยาคม แก้

  • อาคาร 1 อุทัยพิทักษ์ (ฝ่ายวิชาการ ธุรการ ห้องผู้บริหาร และกลุ่มงานคอมพิวเตอร์)
  • อาคาร 2 อุทัยทิฆัมพร (กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยและกลุ่มงานแนะแนว)
  • อาคาร 3 (กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์)
  • อาคาร 4 อุทัยอินทรารักษ์ (กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์และกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ)
  • อาคาร 5 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา (กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ)
  • อาคาร 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
  • ลานธรรมประชารวมใจไทยเศรษฐ์
  • โรงพลศึกษา
  • ร้านค้าสวัสดิการ
  • ห้องสมุด
  • ห้องดนตรีไทย
  • หอประชุมอาทิตย์อุทัย
  • หอประชุมอาทิตย์อุทัย 2
  • ศาลาอเนกประสงค์
  • ศูนย์สะเต็มศึกษาจังหวัดอุทัยธานี
  • ธนาคารโรงเรียน
  • ห้องประชุมเบญจมราชูทิศ
  • ห้องประชุมศุภรัตน์

รายนามศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง แก้

อ้างอิง แก้

  1. www.utw.ac.th/ความเป็นมาของโรงเรียนเ//
  2. http://www.utw.ac.th/uthaitaweewate/
  3. http://www.utw.ac.th/history/

แหล่งข้อมูลอื่น แก้