ไชยยศ จิรเมธากร
ไชยยศ จิรเมธากร (เกิด 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2503) รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์[1] ดูแลพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อดีตรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง[2] อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี 6 สมัย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ และอดีตเลขาธิการพรรคเพื่อแผ่นดิน ปัจจุบันสังกัดพรรคประชาธิปัตย์
ไชยยศ จิรเมธากร | |
---|---|
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 (5 ปี 201 วัน) | |
รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง | |
ดำรงตำแหน่ง 13 สิงหาคม พ.ศ. 2562 – 16 มิถุนายน พ.ศ. 2565 | |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ดำรงตำแหน่ง 27 กันยายน พ.ศ. 2565 – 1 กันยายน พ.ศ. 2566 | |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ | |
ดำรงตำแหน่ง 6 มิถุนายน พ.ศ. 2553 – 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554 | |
นายกรัฐมนตรี | อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ |
เลขาธิการพรรคเพื่อแผ่นดิน | |
ดำรงตำแหน่ง 20 เมษายน พ.ศ. 2552 – 4 มีนาคม พ.ศ. 2553 | |
ก่อนหน้า | ชาญชัย ชัยรุ่งเรือง |
ถัดไป | สิทธิชัย โควสุรัตน์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2503 อำเภอเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2529–2548,2554–ปัจจุบัน) ไทยรักไทย (2548–2549) เพื่อแผ่นดิน (2550–2554) |
คู่สมรส | ภัทรวดี จิรเมธากร (หย่า) |
ประวัติ
แก้นายไชยยศ จิรเมธากร เกิดเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2503 เป็นบุตรของนายวีระ กับนางเล็กน้อย จิรเมธากร สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อปี พ.ศ. 2526 และระดับปริญญาโท สาขากฎหมายเศรษฐกิจ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกจากนี้ยังเคยเข้ารับการศึกษาอบรมในหลักสูตรต่าง ๆ อาทิ
- ประกาศนียบัตรชั้นสูง สาขากฎหมายมหาชน สถาบันพระปกเกล้า
- ประกาศนียบัตรชั้นสูง สาขาการเมืองการปกครองฯ (ปปร.) สถาบันพระปกเกล้า
- ปริญญาบัตร สาขาการป้องกันประเทศ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
นายไชยยศ จิรเมธากร มีน้องสาว คือ รสพิมล จิรเมธากร เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 22
งานการเมือง
แก้นายไชยยศ จิรเมธากร เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 6 สมัย[3] ได้รับเลือกตั้งครั้งแรกในการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2529 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกตั้งอีก 2 สมัยต่อเนื่องในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์เช่นเดิม คือ การเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2531 และ พ.ศ. 2535
นายไชยยศ สอบตก 2 สมัยในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2538 และ พ.ศ. 2539 และเป็นช่วงที่พรรคประชาธิปัตย์ก็ไม่มี ส.ส.ในจังหวัดอุดรธานี จนกระทั่งในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 นายไชยยศ ได้รับเลือกตั้งอีกครั้ง ในนามพรรคประชาธิปัตย์เช่นเดิม และนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา พรรคประชาธิปัตย์ก็ไม่มี ส.ส.ในจังหวัดอุดรธานีอีกเลย ต่อมาในการเลือกตั้งซ่อมแทนนายประสพ บุษราคัม ที่ถูกใบแดง นายไชยยศ ได้ลงสมัครในนามพรรคเพื่อแผ่นดิน และร่วมกิจกรรมกับพรรคภูมิใจไทย[4][5] แม้ว่าในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 นายไชยยศ จะย้ายกลับลงสมัคร ส.ส. อีกครั้งในนามพรรคประชาธิปัตย์ แต่ก็ไม่ได้รับเลือกตั้ง[6]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ลำดับที่ 28 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[7] ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง จากนั้นในวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2565 นายไชยยศ ได้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีกสมัยแทนนาย วีระชัย วีระเมธีกุล ที่ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็น ส.ส.[8][9] แต่ดำรงตำแหน่งได้ไม่นาน เขาก็ลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพื่อกลับไปทำหน้าที่รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี[10]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 ไชยยศได้เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ของพรรคประชาธิปัตย์ ในลำดับที่ 8 [11]
รัฐมนตรี
แก้นายไชยยศ จิรเมธากร ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ[12] ในรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เมื่อปี พ.ศ. 2553 สืบต่อจากนายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ ซึ่งย้ายไปเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม โดยเป็นโควต้ารัฐมนตรีของพรรคเพื่อแผ่นดิน
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แก้ไชยยศ จิรเมธากร ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้วทั้งหมด 7 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดอุดรธานี สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดอุดรธานี สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดอุดรธานี สังกัดประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดอุดรธานี สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดอุดรธานี สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดอุดรธานี สังกัดพรรคเพื่อแผ่นดิน
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ (เลื่อนแทน)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2548 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[13]
- พ.ศ. 2546 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[14]
อ้างอิง
แก้- ↑ เปิดรายชื่อกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ จำนวน 39 คน
- ↑ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง
- ↑ "ข้อมูลสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2010-06-07.
- ↑ "บุญจงบอกไชยยศมาพรรคตลอดติดกม.ยังไม่ย้าย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-20. สืบค้นเมื่อ 2011-05-08.
- ↑ "พผ.ประชุมเช็คส.ส.เนื้อแท้ คุยมี18เสียงพร้อมหนุนรัฐบาลทำคลอดมากับมือ เผย 8คนซบภท. 3 ร่วมมภ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2010-08-24.
- ↑ "ผลนับคะแนนเลือกตั้ง สส.อุดรธานี 2554 (ไม่เป็นทางการ)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-06. สืบค้นเมื่อ 2012-02-04.
- ↑ เปิด 150 รายชื่อผู้สมัครส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์พรรคประชาธิปัตย์
- ↑ "วีระชัย วีระเมธีกุล" ลาออกจาก "ส.ส.ปชป." อีกราย
- ↑ ประกาศสภาฯ ให้ ‘ไชยยศ จิรเมธากร’ เลื่อนเป็นส.ส.ปชป. แทน‘วีระชัย วีระเมธีกุล’
- ↑ ไชยยศ-นราพัฒน์ ยื่นใบลาออก จาก ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์
- ↑ "เผยเซฟโซนปาร์ตี้ลิสต์ ปชป. "จุรินทร์-ชวน" นำทีม "ตั๊น" ที่ 10 เบียด "เดียร์" พร้อมใส่เฝือกหาเสียง". ผู้จัดการออนไลน์. 2023-04-04. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-06. สืบค้นเมื่อ 2023-04-06.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รวม 18 ราย) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 127 ตอน พิเศษ 72ง วันที่ 8 มิถุนายน 2553
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๙, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ประวัติผู้สมัคร ส.ส. เก็บถาวร 2012-11-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน