คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 62

อดีตคณะรัฐมนตรีไทย

คณะรัฐมนตรีคณะที่ 62 หรือ คณะรัฐมนตรีประยุทธ์ 2 (10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562[1] – 1 กันยายน พ.ศ. 2566) โดยภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปเดือนมีนาคม พ.ศ. 2562 ส่งผลให้ไม่มีพรรคใดครองเสียงข้างมากเด็ดขาดในรัฐสภา พรรคพลังประชารัฐเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลผสมโดยรวบรวมเสียงพรรคการเมือง 19 พรรค และพรรคพลังประชารัฐเสนอชื่อ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติมาเป็นเวลา 5 ปี 1 เดือน แล้ว เป็นนายกรัฐมนตรีต่ออีกสมัย โดยมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2562[2]

คณะรัฐมนตรีประยุทธ์ 2
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 62 แห่งราชอาณาจักรไทย
พ.ศ. 2562 - 2566
วันแต่งตั้ง10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
วันสิ้นสุด1 กันยายน พ.ศ. 2566
(4 ปี 53 วัน)
บุคคลและองค์กร
พระมหากษัตริย์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา (อิสระ)
ประวิตร วงษ์สุวรรณ (พปชร.) รักษาราชการแทน
รองนายกรัฐมนตรี (เริ่ม 2563)
จำนวนรัฐมนตรี32
จำนวนอดีตรัฐมนตรี17
จำนวนรัฐมนตรีทั้งหมด49
พรรคร่วมรัฐบาลพรรคพลังประชารัฐ
พรรคประชาธิปัตย์
พรรคภูมิใจไทย
พรรคชาติไทยพัฒนา
พรรครวมพลัง
พรรคชาติพัฒนากล้า
พรรคพลังท้องถิ่นไท
พรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทย
พรรคครูไทยเพื่อประชาชน
พรรคไทยศรีวิไลย์ (ถึง 2562)
พรรคไทรักธรรม (ถึง 2565)
พรรคประชาชนปฏิรูป (ถึง 2562)
พรรคประชาธรรมไทย (ถึง 2564)
พรรคประชาธิปไตยใหม่
พรรคประชานิยม (ถึง 2563)
พรรคประชาภิวัฒน์
พรรครวมแผ่นดิน
พรรคเพื่อชาติไทย
พรรคพลังธรรมใหม่
พรรคพลังปวงชนไทย
พรรคพลเมืองไทย (ถึง 2566)
พรรคเศรษฐกิจใหม่ (เริ่ม 2563)
พรรครวมไทยสร้างชาติ (เริ่ม 2566)
สถานะในสภานิติบัญญัติรัฐบาลผสม
278 / 500
พรรคฝ่ายค้านพรรคเพื่อไทย
พรรคอนาคตใหม่ (ถึง 2563)
พรรคเสรีรวมไทย
พรรคประชาชาติ
พรรคเศรษฐกิจใหม่ (ถึง 2563)
พรรคเพื่อชาติ
พรรคพลังปวงชนไทย
พรรคก้าวไกล (เริ่ม 2563)
พรรคเศรษฐกิจไทย (เริ่ม 2565)
ผู้นำฝ่ายค้านสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ (ถึง 2564)
ชลน่าน ศรีแก้ว (เริ่ม 2564)
ประวัติ
การเลือกตั้ง24 มีนาคม 2562
การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี5 มิถุนายน 2562
สภานิติบัญญัติสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 25
วาระสภานิติบัญญัติ4 ปี
งบประมาณพ.ศ. 2563
พ.ศ. 2564
พ.ศ. 2565
พ.ศ. 2566
ก่อนหน้าคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 61
ถัดไปคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 63

แม้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งเศรษฐา ทวีสินเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2566[3][4] และแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ในวันที่ 1 กันยายนปีเดียวกัน[5] แต่ในทางพฤตินัยคณะรัฐมนตรีชุดนี้ได้รักษาการในตำแหน่งไปจนถึงวันที่ 4 กันยายน ก่อนคณะรัฐมนตรีชุดถัดไปจะถวายสัตย์ปฏิญาณตนในวันถัดมา[6][7]

ประวัติ

ก่อนมีการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ในเดือนมิถุนายน 2562 มีข่าวการแย่งชิงตำแหน่งภายในพรรคพลังประชารัฐ โดยสมาชิกกลุ่มสามมิตรบางส่วน ได้แก่ สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ, สมศักดิ์ เทพสุทิน และอนุชา นาคาศัยแถลงยืนยันว่าตนต้องได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีตามโผในวันที่ 11 มิถุนายน ซึ่งหากไม่ตรงก็จะแสดงจุดยืนอีกครั้ง และมีข่าวกลุ่มสามมิตรพยายามเสนอญัตติขับไล่สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ เลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ ออกจากตำแหน่ง เพราะ "เป็นภัยต่อความมั่นคงของพรรคและของรัฐบาลเป็นอย่างสูง ... ไม่ยึดโยงกับ ส.ส. ในพรรค ไม่เห็นหัว ส.ส. ในพรรคแม้แต่คนเดียว ... ท่านทำให้พรรคเราแตกแยก"[8] ก่อนที่ต่อมากลุ่มสามมิตรจะยอมล้มข้อเรียกร้องของตนเองและยอมรับให้พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา จัดสรรคณะรัฐมนตรี[9] โดยก่อนหน้านี้มีข่าวลือว่าจะมีการเปลี่ยนตัวหัวหน้าพรรคจาก อุตตม สาวนายน เป็นพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา[10]

วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีใหม่[11] โดยสมาชิกคณะรัฐมนตรีมาจากพรรคพลังประชารัฐ 18 คน (โควตาประยุทธ์ 7 คน, โควตากลางของพรรค 3 คน, โควตา กปปส. 2 คน, โควตากลุ่มสามมิตร 2 คน และโควตากลุ่มอื่น ๆ 4 คน) พรรคประชาธิปัตย์ 7 คน ภูมิใจไทย 7 คน ชาติไทยพัฒนา 2 คน รวมพลังประชาชาติไทย 1 คน และชาติพัฒนา 1 คน ซึ่งการจัดสรรจำนวนดังกล่าวมาจากสัดส่วน ส.ส. 3–7 คนต่อรัฐมนตรี 1 ตำแหน่ง ในจำนวนนี้มี 4 คนที่อยู่ระหว่างพิจารณาวินิจฉัยการขาดคุณสมบัติการเป็น ส.ส. จากกรณีถือครองหุ้นบริษัทสื่อโดยศาลรัฐธรรมนูญ ได้แก่ นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ นายสาธิต ปิตุเตชะ ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล และนายเทวัญ ลิปตพัลลภ[12][13]

วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 เวลา 17:45 น. พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี นำคณะรัฐมนตรีชุดใหม่จำนวน 36 คน เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เพื่อถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่[14][15]

วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2566 เวลา 15:00 น. มีการประกาศพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2566 ในราชกิจจานุเบกษา[16]

รายชื่อรัฐมนตรี

  รัฐมนตรีว่าการกระทรวง   ดำรงตำแหน่งเมื่อตั้งคณะรัฐมนตรี   ดำรงตำแหน่งจนสิ้นสุดคณะรัฐมนตรี
  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง   แต่งตั้งเพิ่ม   เปลี่ยนแปลง/โยกย้ายไปตำแหน่งอื่น
  รัฐมนตรีลอย   ย้ายมาจากตำแหน่งอื่น   ออกจากตำแหน่ง
ตำแหน่ง ลำดับ รายนาม เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ หมายเหตุ พรรคการเมือง
นายกรัฐมนตรี * พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา   9 มิถุนายน พ.ศ. 2562 22 สิงหาคม พ.ศ. 2566   มีพระบรมราชโองการประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเลือกตั้งใหม่ อิสระ
(สังกัดพรรครวมไทยสร้างชาติเป็นระยะเวลาหนึ่ง)
รองนายกรัฐมนตรี 1 พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ   10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 1 กันยายน พ.ศ. 2566   พลังประชารัฐ
สมคิด จาตุศรีพิทักษ์   10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2563   ลาออกจากตำแหน่ง พลังประชารัฐ
2 วิษณุ เครืองาม   10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 1 กันยายน พ.ศ. 2566   อิสระ
3 อนุทิน ชาญวีรกูล   10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 1 กันยายน พ.ศ. 2566   ภูมิใจไทย
4 จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์   10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 1 กันยายน พ.ศ. 2566   ประชาธิปัตย์
5 ดอน ปรมัตถ์วินัย   5 สิงหาคม พ.ศ. 2563 1 กันยายน พ.ศ. 2566   อิสระ
6 สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์   5 สิงหาคม พ.ศ. 2563 1 กันยายน พ.ศ. 2566   อิสระ
(ภายหลังอยู่รวมไทยสร้างชาติ)
สำนักนายกรัฐมนตรี   เทวัญ ลิปตพัลลภ   10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2563   ลาออกจากตำแหน่ง ชาติพัฒนา
  7 อนุชา นาคาศัย   5 สิงหาคม พ.ศ. 2563 1 กันยายน พ.ศ. 2566   พลังประชารัฐ
(ภายหลังอยู่รวมไทยสร้างชาติ)
  8 ธนกร วังบุญคงชนะ   30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 1 กันยายน พ.ศ. 2566   พลังประชารัฐ
(ภายหลังอยู่รวมไทยสร้างชาติ)
กลาโหม   * พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา   10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 1 กันยายน พ.ศ. 2566   อิสระ
(เคยอยู่รวมไทยสร้างชาติ)
  9 พลเอกชัยชาญ ช้างมงคล   10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 1 กันยายน 2566   อิสระ
การคลัง   อุตตม สาวนายน   10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2563   ลาออกจากตำแหน่ง พลังประชารัฐ
  ปรีดี ดาวฉาย   5 สิงหาคม พ.ศ. 2563 1 กันยายน พ.ศ. 2563   ลาออกจากตำแหน่ง อิสระ
  10 อาคม เติมพิทยาไพสิฐ   1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 1 กันยายน พ.ศ. 2566   อิสระ
  11 สันติ พร้อมพัฒน์   10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 1 กันยายน พ.ศ. 2566   พลังประชารัฐ
การต่างประเทศ   * ดอน ปรมัตถ์วินัย   10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 1 กันยายน พ.ศ. 2566   อิสระ
การท่องเที่ยวและกีฬา   12 พิพัฒน์ รัชกิจประการ   10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 1 กันยายน พ.ศ. 2566   ภูมิใจไทย
การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์   13 จุติ ไกรฤกษ์   10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 1 กันยายน พ.ศ. 2566   ประชาธิปัตย์
(ภายหลังอยู่รวมไทยสร้างชาติ)
การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม   สุวิทย์ เมษินทรีย์   10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2563   ลาออกจากตำแหน่ง พลังประชารัฐ
  14 เอนก เหล่าธรรมทัศน์   5 สิงหาคม พ.ศ. 2563 1 กันยายน พ.ศ. 2566   รวมพลัง
เกษตรและสหกรณ์   15 เฉลิมชัย ศรีอ่อน   10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 1 กันยายน พ.ศ. 2566   ประชาธิปัตย์
  ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า   10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 8 กันยายน พ.ศ. 2564   พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี พลังประชารัฐ
  16 มนัญญา ไทยเศรษฐ์   10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 1 กันยายน พ.ศ. 2566   ภูมิใจไทย
  17 ประภัตร โพธสุธน   10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 1 กันยายน พ.ศ. 2566   ชาติไทยพัฒนา
  18 สุนทร ปานแสงทอง   30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 1 กันยายน พ.ศ. 2566   พลังประชารัฐ
คมนาคม   19 ศักดิ์สยาม ชิดชอบ   10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 1 กันยายน พ.ศ. 2566   ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม 2566 ภูมิใจไทย
  20 อธิรัฐ รัตนเศรษฐ   10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 1 กันยายน พ.ศ. 2566   พลังประชารัฐ
  ถาวร เสนเนียม   10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564   ถูกพิพากษาให้จำคุกระหว่างดำรงตำแหน่ง ประชาธิปัตย์
  วีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล   22 มีนาคม พ.ศ. 2564 18 มกราคม พ.ศ. 2566   ลาออกจากตำแหน่ง ภูมิใจไทย
ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม   พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์   10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564   ถูกพิพากษาให้จำคุกระหว่างดำรงตำแหน่ง พลังประชารัฐ
  21 ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์   22 มีนาคม พ.ศ. 2564 1 กันยายน พ.ศ. 2566   พลังประชารัฐ
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม   22 วราวุธ ศิลปอาชา   10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 1 กันยายน พ.ศ. 2566   ชาติไทยพัฒนา
พลังงาน   สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์   10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2563   ลาออกจากตำแหน่ง พลังประชารัฐ
  * สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์   5 สิงหาคม พ.ศ. 2563 1 กันยายน พ.ศ. 2566   อิสระ
(ภายหลังอยู่รวมไทยสร้างชาติ)
พาณิชย์   * จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์   10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 1 กันยายน พ.ศ. 2566   ประชาธิปัตย์
  วีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล   10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 22 มีนาคม พ.ศ. 2564   ไปเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ภูมิใจไทย
  23 สินิตย์ เลิศไกร   22 มีนาคม พ.ศ. 2564 1 กันยายน พ.ศ. 2566   ประชาธิปัตย์
มหาดไทย   24 พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา   10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 1 กันยายน พ.ศ. 2566   อิสระ
  นิพนธ์ บุญญามณี   10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 5 กันยายน พ.ศ. 2565   ลาออกจากตำแหน่ง ประชาธิปัตย์
  25 ทรงศักดิ์ ทองศรี   10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 1 กันยายน พ.ศ. 2566   ภูมิใจไทย
  26 นริศ ขำนุรักษ์   30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 1 กันยายน พ.ศ. 2566   ประชาธิปัตย์
ยุติธรรม   สมศักดิ์ เทพสุทิน   10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 17 มีนาคม พ.ศ. 2566   ลาออกจากตำแหน่ง พลังประชารัฐ
แรงงาน   หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล   10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2563   ลาออกจากตำแหน่ง รวมพลังประชาชาติไทย
  27 สุชาติ ชมกลิ่น   5 สิงหาคม พ.ศ. 2563 1 กันยายน พ.ศ. 2566   พลังประชารัฐ
(ภายหลังอยู่รวมไทยสร้างชาติ)
  นฤมล ภิญโญสินวัฒน์   5 สิงหาคม พ.ศ. 2563 8 กันยายน พ.ศ. 2564   พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี พลังประชารัฐ
วัฒนธรรม   28 อิทธิพล คุณปลื้ม   10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 1 กันยายน พ.ศ. 2566   พลังประชารัฐ
ศึกษาธิการ   ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ   10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564   ถูกพิพากษาให้จำคุกระหว่างดำรงตำแหน่ง พลังประชารัฐ
  29 ตรีนุช เทียนทอง   22 มีนาคม พ.ศ. 2564 1 กันยายน พ.ศ. 2566   พลังประชารัฐ
  30 คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช   10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 1 กันยายน พ.ศ. 2566   ประชาธิปัตย์
  กนกวรรณ วิลาวัลย์   10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 26 สิงหาคม พ.ศ. 2565   ถูกพิพากษาเพิกถอนสิทธิทางการเมือง 10 ปี ภูมิใจไทย
สาธารณสุข   * อนุทิน ชาญวีรกูล   10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 1 กันยายน พ.ศ. 2566   ภูมิใจไทย
  31 สาธิต ปิตุเตชะ   10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 1 กันยายน พ.ศ. 2566   ประชาธิปัตย์
อุตสาหกรรม   สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ   10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 17 มีนาคม พ.ศ. 2566   ลาออกจากตำแหน่ง พลังประชารัฐ

คณะรัฐมนตรีประยุทธ์ 2/1 [17][18]

ดำรงตำแหน่งเมื่อตั้งคณะรัฐมนตรี  

ภายหลังคณะรัฐมนตรีประยุทธ์ 2/1  

รัฐมนตรีจำนวน 6 ราย ได้ลาออกจากตำแหน่ง มีผลวันที่ 15 กรกฎาคม 2563 (1 ราย), วันที่ 16 กรกฎาคม 2563 (3 ราย) และวันที่ 21 กรกฎาคม 2563 (2 ราย) ดังนี้[19][20]

ลาออกวันที่ 15 กรกฎาคม 2563

ลาออกวันที่ 16 กรกฎาคม 2563

ลาออกวันที่ 21 กรกฎาคม 2563

คณะรัฐมนตรีประยุทธ์ 2/2 [21]

แต่งตั้งเพิ่ม  

ภายหลังคณะรัฐมนตรีประยุทธ์ 2/2  

รัฐมนตรีจำนวน 1 ราย ได้ลาออกจากตำแหน่ง มีผลวันที่ 2 กันยายน 2563[22]

ลาออกวันที่ 2 กันยายน 2563

คณะรัฐมนตรีประยุทธ์ 2/3 [23]

แต่งตั้งเพิ่ม  

ภายหลังคณะรัฐมนตรีประยุทธ์ 2/3  

ศาลอาญามีคำพิพากษาให้รัฐมนตรี 3 ราย จำคุกระหว่างดำรงตำแหน่ง ส่งผลให้ทั้งสามพ้นสภาพการเป็นรัฐมนตรีทันที[24]

พ้นสภาพการเป็นรัฐมนตรี ณ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564

คณะรัฐมนตรีประยุทธ์ 2/4 [25]

โยกย้าย  

แต่งตั้งเพิ่ม  

ภายหลังคณะรัฐมนตรีประยุทธ์ 2/4  

รัฐมนตรีจำนวน 2 ราย พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี มีผลวันที่ 8 กันยายน 2564[26] รัฐมนตรี จำนวน 1 ราย ได้ลาออกจากตำแหน่ง มีผลวันที่ 5 กันยายน 2565[27]

ถูกปรับออกจากตำแหน่ง  

ลาออกวันที่ 5 กันยายน 2565

คณะรัฐมนตรีประยุทธ์ 2/5 [28]

แต่งตั้งเพิ่ม  

ภายหลังคณะรัฐมนตรีประยุทธ์ 2/5  

ศาลฎีกามีคำพิพากษาตัดสิทธิทางการเมืองรัฐมนตรี จำนวน 1 ราย ส่งผลให้พ้นสภาพการเป็นรัฐมนตรีตั้งแต่วันที่ถูกสั่งระงับการปฏิบัติหน้าที่[29] และรัฐมนตรี จำนวน 4 ราย ได้ลาออกจากตำแหน่ง มีผลวันที่ 5 กันยายน 2565 (1 ราย)[30] วันที่ 18 มกราคม 2566 (1 ราย)[31] และวันที่ 17 มีนาคม 2566 (2 ราย)[32]

พ้นสภาพการเป็นรัฐมนตรี ณ วันที่ 26 สิงหาคม 2565

ลาออกวันที่ 5 กันยายน 2565

ลาออกวันที่ 18 มกราคม 2566

ลาออกวันที่ 17 มีนาคม 2566

ฉายา

พ.ศ. 2562

เป็นการตั้งฉายารัฐบาล, รัฐมนตรี และวาทะแห่งปีโดยผู้สื่อข่าวประจำทำเนียบรัฐบาลครั้งแรกในรอบ 6 ปี[33]

ฉายารัฐบาล : รัฐเชียงกง

ฉายารัฐมนตรี :

  1. พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี : อิเหนาเมาหมัด
  2. พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี : พี่ใหญ่สายเอ็นฯ
  3. สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี : ชายน้อยประชารัฐ
  4. วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี : ศรีธนญชัยรอดช่อง
  5. จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ : รัฐอิสระ
  6. อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข : สารหนู
  7. ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม : โอ๋ แซ่รื้อ
  8. วราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่ากระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม : สัปเหร่อออนท็อป
  9. ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ : เทามนัส
  10. มนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ : มาดามแบนเก้อ

วาทะแห่งปี : "อย่าเพิ่งเบื่อผมก็แล้วกัน ยังไงผมก็อยู่อีกนานพอสมควร" พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา

พ.ศ. 2563[34]

ฉายารัฐบาล : VERY "กู้"

ฉายารัฐมนตรี :

  1. พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี : ตู่ไม่รู้ล้ม
  2. พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี : ป้อมไม่รู้โรย
  3. วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี : ไฮเตอร์ เซอร์วิส
  4. จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ : เช้าสายบ่ายเคลม
  5. อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข : ทินเนอร์
  6. ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ : หวีดดับ
  7. ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม : ศักดิ์สบายสายเขียว
  8. พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม : พังPORN
  9. สันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง : ค้างคลัง
  10. นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน : แชมป์ไตรกีฬา

วาทะแห่งปี : "ไม่ออก.. แล้วผมทำผิดอะไรหรือ" พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา

อ้างอิง

  1. "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งรัฐมนตรี [คณะรัฐมนตรี ชุดที่ 62]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 10 กรกฎาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี [พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 11 มิถุนายน 2562. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-06-28. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "1st LD: Srettha Thavisin elected as Thailand's new prime minister - China.org.cn". www.china.org.cn. สืบค้นเมื่อ 2023-08-22.
  4. "โปรดเกล้าฯ เศรษฐา เป็นนายกฯคนที่ 30 เตรียมอันเชิญพระบรมราชโองการ". www.khaosod.co.th. สืบค้นเมื่อ 2023-08-23.
  5. "ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 140 (พิเศษ 214 ง): 1–3. 2023-09-02. สืบค้นเมื่อ 2023-09-02.
  6. ""วิษณุ" คาดไทม์ไลน์ "ครม.ใหม่" ทำหน้าที่ช่วงปลายเดือน ก.ย." Thai PBS.
  7. ""ครม.เศรษฐา" ถวายสัตย์ปฏิญาณตนแล้ว - ถ่ายรูปหมู่ทำเนียบฯ". Thai PBS.
  8. พลังประชารัฐ : สามมิตร ไล่ สนธิรัตน์ พ้นเลขาฯ ชี้ "เป็นภัยความมั่นคงของพรรค”
  9. พลังประชารัฐ : สามมิตร “ไม่งอแง” เลิกเขย่าโผ ครม. ล้มแผนไล่ สนธิรัตน์
  10. ประยุทธ์ ส่อทิ้ง “เปรมโมเดล” ยึด “สฤษดิ์สไตล์”
  11. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
  12. "ประยุทธ์ 2/1 : โปรดเกล้าฯ ครม. แล้ว". บีบีซีไทย. 10 กรกฎาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-07-10.
  13. "ด่วนที่สุด! มติศาลรธน.รับคำร้อง 32 ส.ส.-ตีตก 9 คนปมถือหุ้นสื่อ". แนวหน้า. 26 มิถุนายน 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-07-12.
  14. "ในหลวง" พระราชทานกำลังใจ ทรงแนะให้ครม.ใหม่แก้ปัญหาให้ตรงจุด
  15. ในหลวง พระราชทานพร ครม.ใหม่ มีกำลังใจปฏิบัติหน้าที่ด้วยความถูกต้อง
  16. "ในหลวง" มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ พระราชกฤษฎีกา "ยุบสภา"
  17. เปิดรายชื่อ ครม.ประยุทธ์ 2/1
  18. คณะรัฐมนตรีใหม่ เข้าเฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณ – ประชุมนัดแรกทันที
  19. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง รัฐมนตรีลาออก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี. 2563-07-30. สืบค้นเมื่อ 2563-07-30. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  20. "สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรี 21 กรกฎาคม 2563". รัฐบาลไทย. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี. 2563-07-21. สืบค้นเมื่อ 2563-07-22. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  21. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี, ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 137 ตอนพิเศษ 180 ง, 6 สิงหาคม พ.ศ. 2563
  22. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง รัฐมนตรีลาออก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี. 2563-09-01. สืบค้นเมื่อ 2563-09-01. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  23. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี, ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 137 ตอนพิเศษ 232 ง, 5 ตุลาคม พ.ศ. 2563
  24. "บี-ตั้น-ถาวร" เจอโทษ พ้นรัฐมนตรี 8 กปปส.นอนคุก พร้อมพวกลุงกำนัน
  25. พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี และแต่งตั้งรัฐมนตรี, ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 138 ตอนพิเศษ 65 ง, หน้า 1-2 23 มีนาคม พ.ศ. 2564
  26. พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี, ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 13 ตอนพิเศษ 212 ง, 9 กันยายน พ.ศ. 2564
  27. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง รัฐมนตรีลาออก, ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 139 ตอนพิเศษ 208 ง, 6 กันยายน พ.ศ. 2565
  28. พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี, ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 139 ตอนพิเศษ 278 ง, หน้า 1-2 30 มีนาคม พ.ศ. 2565
  29. ศาลสั่งตัดสิทธิ์การเมือง 10 ปี กนกวรรณ วิลาวัลย์ รมช. ศธ. ภูมิใจไทย คดีที่ดิน
  30. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง รัฐมนตรีลาออก, ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 139 ตอนพิเศษ 208 ง, 6 กันยายน พ.ศ. 2565
  31. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง รัฐมนตรีลาออก, ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 140 ตอนพิเศษ 16 ง, 23 มกราคม พ.ศ. 2566
  32. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง รัฐมนตรีลาออก, ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 140 ตอนพิเศษ 67 ง, 21 มีนาคม พ.ศ. 2566
  33. "รวมฉายารัฐบาล รัฐมนตรี และ วาทะแห่งปี ประจำปี 2562". BBC News ไทย. สืบค้นเมื่อ 2023-11-16.
  34. "ฉายานายกฯ ประยุทธ์ "ตู่ไม่รู้ล้ม" กับ รัฐบาล "VERY 'กู้'"". BBC News ไทย. สืบค้นเมื่อ 2023-11-16.

แหล่งข้อมูลอื่น