งบประมาณแผ่นดินของไทย พ.ศ. 2564
งบประมาณแผ่นดินของไทยสำหรับปีงบประมาณ 2564 ซึ่งกินเวลาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2564 เป็นงบประมาณแผ่นดินชุดที่ 2 ที่คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 62 (ประยุทธ์ 2) เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 25 โดยเข้าสู่การพิจารณาของสภาฯ ในวาระแรกในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 | |
---|---|
วันที่เสนอ | 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 |
เสนอโดย | คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 62 |
เสนอต่อ | รัฐสภาไทย |
รัฐสภา | สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 25 |
พรรค | พรรคพลังประชารัฐ |
รัฐมนตรีฯ คลัง | สันติ พร้อมพัฒน์ (รมช. เป็นประธาน กมธ.)[1] |
รายรับทั้งหมด | 2,677,000 ล้านบาท (กำหนด) |
รายจ่ายทั้งหมด | 3,285,962 ล้านบาท (กำหนด) |
การขาดดุล | 608,962.5 ล้านบาท (กำหนด) |
เว็บไซต์ | สำนักงบประมาณ |
‹ 2563 2565 › |
คณะรัฐมนตรีเสนองบประมาณเป็นวงเงิน 3.3 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 1 แสนล้านบาท ขาดดุล 6.23 แสนล้านบาท[2]
วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2563 สำนักงบประมาณเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณประจำปีงบประมาณ 2564 ให้คณะรัฐมนตรี[3]
สำหรับหน่วยรับงบประมาณที่ได้รับงบประมาณมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ งบกลาง (614,616 ล้านบาท), กระทรวงศึกษาธิการ (358,361 ล้านบาท), กระทรวงมหาดไทย (328,013 ล้านบาท), กระทรวงการคลัง (268,719 ล้านบาท) และกระทรวงกลาโหม (223,464 ล้าบาท)[4] และกระทรวงที่ของบประมาณเพิ่มจากปีที่แล้วสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ กระทรวงการคลัง (19,517 ล้านบาท), กระทรวงคมนาคม (17,459 ล้านบาท), กระทรวงมหาดไทย (13,352 ล้านบาท), กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (4,805 ล้านบาท) และกระทรวงสาธารณสุข (3,585 ล้านบาท)[5]
กระบวนการรัฐสภา
แก้งบประมาณแผ่นดินชุดนี้เข้าสู่การพิจารณารับหลักการในวาระแรกของสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 25 ในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 ใช้เวลาพิจารณาอยู่ 3 วัน จึงมีมติรับหลักการด้วยคะแนนเสียง 273-200 งดออกเสียงอีก 3 เสียง จากผู้ลงมติทั้งหมด 476 คน และมีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จำนวน 72 คน โดยที่ประชุมกำหนดระยะเวลาแปรญัตติ 30 วัน[6]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
หนี้สาธารณะ
แก้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะเปิดเผยว่า แผนการบริหารหนี้ปีงบประมาณ 2564 ประกอบด้วยการก่อหนี้ใหม่จำนวน 1.64 ล้านล้านบาท และการก่อหนี้เพื่อปรับโครงสร้างหนี้เก่าที่ครบอายุอีก 1.27 ล้านล้านบาท นอกจากนี้ แผนการกู้เพื่อการลงทุนระยะปานกลาง 5 ปี (2564-2568) จากเดิมที่มีแผนการลงทุน 238 โครงการ มูลค่าการลงทุน 1.2 ล้านล้านบาท แต่มีความล่าช้า 56 โครงการ ทำให้เหลือมูลค่าโครงการลงทุน 8.91 แสนล้านบาท ลดลง 30% ของแผนเดิม พร้อมคาดว่าหนี้สาธารณเมื่อสิ้นปีงบประมาณ 9.3 ล้านล้านบาท หรือ 57% ของจีดีพี[7]
อ้างอิง
แก้- ↑ กมธ.งบฯ64เคาะตั้ง'สันติ พร้อมพัฒน์'นั่งประธานแทน'อุตตม'
- ↑ บีบีซีไทย (20 มิถุนายน 2563). "งบ 2564 : รัฐบาลตั้งงบ 3.3 ล้านล้านบาท หั่นงบกลาโหม 3.71% เพิ่มงบส่วนราชการในพระองค์ 16.88%". www.bbc.com. สืบค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ผู้จัดการออนไลน์ (16 มิถุนายน 2563). "นายกฯถกครม.-ไม่มีหารือ"Travel Bubble"". mgronline.com. สืบค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ฐานเศรษฐกิจ (1 กรกฎาคม 2563). "เช็กที่นี่ "งบ64" 10 กระทรวงไหน ได้งบ "มากสุด-น้อยสุด"". www.thansettakij.com. สืบค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ฐานเศรษฐกิจ (2 กรกฎาคม 2563). "เปิด "งบ 64" รายกระทรวง ที่ไหนถูกตัด ที่ไหนได้เพิ่ม". www.thansettakij.com. สืบค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ไทยรัฐ (3 กรกฎาคม 2563). "มติสภาฯ รับหลักการร่าง พ.ร.บ.งบปี 64 ตั้ง 72 กมธ.วิสามัญ มีชื่อ "ธนาธร"". www.thairath.co.th. สืบค้นเมื่อ 4 กรกฎาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "กู้สนั่นเมือง3ล้านล้านบาท หนี้ประเทศพุ่ง9ล้านล้าน". โพสต์ทูเดย์ (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 11 October 2020.