สำนักงบประมาณ
สำนักงบประมาณ (อังกฤษ: Bureau of the Budget) เป็นหน่วยงานราชการ มีฐานะเทียบเท่ากรม สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่เป็นหน่วยกลางในการจัดทำงบประมาณแผ่นดิน เพื่อเสนอนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติ ก่อนที่รัฐบาลจะนำเสนอรัฐสภา เพื่อพิจารณาอนุมัติให้ประกาศใช้เป็น พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี สำหรับใช้จ่ายในปีต่อไป
Bureau of the Budget | |
ตราประจำสำนักงบประมาณ | |
ที่ทำการสำนักงบประมาณ | |
ภาพรวมสำนัก | |
---|---|
ก่อตั้ง | 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 |
สำนักก่อนหน้า |
|
ประเภท | ส่วนราชการ |
เขตอำนาจ | ทั่วราชอาณาจักร |
สำนักงานใหญ่ | ถนนพระรามที่ 6 แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400 |
บุคลากร | 985 คน (พ.ศ. 2566)[1] |
งบประมาณต่อปี | 1,258,099,300 บาท (พ.ศ. 2568)[2] |
ฝ่ายบริหารสำนัก |
|
ต้นสังกัดสำนัก | สำนักนายกรัฐมนตรี |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ของสำนักงบประมาณ |
ประวัติ
แก้กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ถูกตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2433 ซึ่งมีกรมบัญชีกลาง เป็นหน่วยงานหนึ่งในสังกัด ต่อมาในปี พ.ศ. 2469 ได้มีการจัดตั้ง "กองงบประมาณ" ขึ้นในกรมบัญชีกลาง มีหน้าที่ในการตรวจจ่ายฎีกาเบิกค่าใช้สอยและเงินพิเศษที่เบิกจ่ายในงบประมาณ รักษางบประมาณ วิธีการงบประมาณ
ในปี พ.ศ. 2475 กองงบประมาณถูกลดฐานะลงเป็นเพียง "แผนกงบประมาณ" ซึ่งในปีต่อมาก็ได้มีการยกฐานะขึ้นเป็นกอง ตามเดิม กระทั่งในการปฏิวัติ เดือนตุลาคม พ.ศ. 2501 คณะปฏิวัติได้เห็นความสำคัญของการงบประมาณว่าเป็นส่วนขับเคลื่อนการพัฒนาชาติ จึงได้แยกส่วนการงบประมาณออกมาเทียบเท่ากรม เป็น "สำนักงบประมาณ" สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 โดยมีดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ เป็นผู้อำนวยการสำนักงบประมาณคนแรก
สำนักงบประมาณเป็นหน่วยงานกลางที่ทำหน้าที่จัดทำงบประมาณแผ่นดินเพื่อเสนอนายกรัฐมนตรีคณะรัฐมนตรี พิจารณาอนุมัติ ก่อนที่รัฐบาลจะนำเสนอรัฐสภา เพื่อพิจารณาอนุมัติให้ประกาศใช้เป็นพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีต่อไป สำนักงบประมาณต้องทำหน้าที่จัดสรรงบประมาณของชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน และ ประเทศชาติ โดยจัดสรรออกมาในรูปของงบประมาณรายจ่ายประจำปี เพื่อให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจนำไปใช้จ่ายในกิจกรรมของรัฐ เพื่อการพัฒนาประเทศ และ กิจการที่จำเป็นทั้งมวล รวมทั้งจะต้องดูแลให้การใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดินเป็นไปอย่างประหยัดที่สุดไม่ให้มีการรั่วไหลหรือสูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์
รายนามผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
แก้- 1.ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ พ.ศ. 2502 - พ.ศ. 2504
- 2.สิริ ปกาสิต พ.ศ. 2504 - พ.ศ. 2509
- 3.เรณู สุวรรณสิทธิ์ พ.ศ. 2509 - พ.ศ. 2513
- 4.พลโทชาญ อังศุโชติ พ.ศ. 2513 - พ.ศ. 2517
- 5.บุญธรรม ทองไข่มุกต์ พ.ศ. 2517 - พ.ศ. 2519
- 6.สุธี สิงห์เสน่ห์ พ.ศ. 2519 - พ.ศ. 2526
- 7.บดี จุณณานนท์ พ.ศ. 2526 - พ.ศ. 2535 และ พ.ศ. 2536 - พ.ศ. 2538
- 8.โกวิทย์ โปษยานนท์ พ.ศ. 2535 - พ.ศ. 2536
- 9.เสรี สุขสถาพร พ.ศ. 2538 - พ.ศ. 2541
- 10.สวัสดิภาพ กันทาธรรม พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2542
- 11.พูลทรัพย์ ปิยะอนันต์ พ.ศ. 2542 - พ.ศ. 2545
- 12.ดร.พรชัย นุชสุวรรณ พ.ศ. 2545 - พ.ศ. 2546
- 13.วุฒิพันธุ์ วิชัยรัตน์ พ.ศ. 2546 - พ.ศ. 2551
- 14.บัณฑูร สุภัควณิช พ.ศ. 2551 - พ.ศ. 2552
- 15.วลัยรัตน์ ศรีอรุณ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552 - 30 กันยายน พ.ศ. 2554
- 16.วรวิทย์ จำปีรัตน์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554 - 30 กันยายน พ.ศ. 2556
- 17.สมศักดิ์ โชติรัตนะศิริ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 30 กันยายน พ.ศ. 2560
- 18.เดชาภิวัฒน์ ณ สงขลา 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 - 30 กันยายน พ.ศ. 2564
- 19.เฉลิมพล เพ็ญสูตร 1 ตุลาคม พ.ศ. 2564 - 30 กันยายน พ.ศ. 2567
- 20.อนันต์ แก้วกำเนิด 1 ตุลาคม พ.ศ. 2567 - ปัจจุบัน
หน่วยงานในสังกัด
แก้- สำนักงานผู้อํานวยการ
- กองกฎหมายและระเบียบ
- กองจัดทำงบประมาณด้านการบริหาร
- กองจัดทำงบประมาณด้านความมั่นคง 1
- กองจัดทำงบประมาณด้านความมั่นคง 2
- กองจัดทำงบประมาณด้านเศรษฐกิจ 1
- กองจัดทำงบประมาณด้านเศรษฐกิจ 2
- กองจัดทำงบประมาณด้านเศรษฐกิจ 3
- กองจัดทำงบประมาณด้านเศรษฐกิจ 4
- กองจัดทำงบประมาณด้านสังคม 1
- กองจัดทำงบประมาณด้านสังคม 2
- กองจัดทำงบประมาณด้านสังคม 3
- กองจัดทำงบประมาณด้านสังคม 4
- กองจัดทำงบประมาณเพื่อการบูรณาการงบประมาณและยุทธศาสตร์ระดับพื้นที่
- กองจัดทำงบประมาณองค์การบริหารรูปแบบพิเศษและรัฐวิสาหกิจ
- กองนโยบายงบประมาณ
- กองประเมินผล
- กองพัฒนาระบบงบประมาณและการจัดการ
- กองมาตรฐานงบประมาณ
- กองยุทธศาสตร์การงบประมาณ
- ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ
- สถาบันพัฒนาบุคลากรด้านการงบประมาณ
นอกจากนี่สำนักงบประมาณ มีส่วนราชการบริหารราชการส่วนกลางที่ตั้งอยู่ในภูมิภาค จำนวน 18 หน่วยงาน คือ สำนักงานงบประมาณเขตที่ 1-18 ซึ่งมีการแบ่งพื้นที่รับผิดชอบสอดคล้องกับการแบ่งกลุ่มจังหวัด
อ้างอิง
แก้- ↑ รายงานประจำปี 2566 สำนักงบประมาณ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๔, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗