การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2562

การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2562 เป็นการลงมติของสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา (ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา) ในวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2562 ณ หอประชุมใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ถนนแจ้งวัฒนะ[1]

การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย
พ.ศ. 2562

← พ.ศ. 2557 5 มิถุนายน พ.ศ. 2562 พ.ศ. 2566 →
 
Prayut 2022.jpg
Thanathorn official 2019.jpg
ผู้ได้รับเสนอชื่อ ประยุทธ์ จันทร์โอชา ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ
พรรค อิสระ[a] อนาคตใหม่
คะแนนคณะผู้เลือกตั้ง 500 244

การประชุมดังกล่าวมี ส.ส. ลงนามเข้าร่วมประชุม 497 คน จากจำนวนที่มีอยู่ 500 คน[b] ร่วมกับ ส.ว. ที่ได้รับการแต่งตั้งจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ อีก 250 คน รวมเป็น 747 คน ซึ่งผู้ที่จะได้รับเลือก ต้องได้รับคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกรัฐสภาที่มีอยู่ (375 เสียงขึ้นไป)

ที่ประชุมเสนอชื่อบุคคลให้สมาชิกลงมติเลือก 2 คน คือ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งไม่ได้สังกัดพรรคการเมือง แต่พรรคพลังประชารัฐเสนอชื่อชิงตำแหน่ง และธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่

ขั้นตอน แก้

การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีในครั้งนี้มีขั้นตอนดำเนินการที่แตกต่างจากขั้นตอนเดิม โดยเปลี่ยนให้มาเสนอในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 272 จากเดิมที่จะต้องเสนอคัดเลือกจากที่ประชุม ส.ส. ก่อนเสนอให้ที่ประชุม ส.ว. ร่วมรับรอง หลังจากการเสนอชื่อจะเป็นขั้นตอนของการอภิปรายถึงคุณสมบัติและลักษณะการเป็นบุคคลต้องห้ามตามที่รัฐธรรมนูญได้กำหนด เมื่อการอภิปรายเสร็จสิ้นก็จะเป็นขั้นตอนของการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี

เนื่องจากมีการเสนอชื่อบุคคลที่เหมาะสมถึงสองคน ประกอบกับความไม่พร้อมของสถานที่การประชุมชั่วคราว ซึ่งไม่มีการติดตั้งอุปกรณ์ลงคะแนนแบบอิเล็กทรอนิกส์ ประธานรัฐสภาจึงเสนอวิธีการให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมนับคะแนน 6 คน แบ่งเป็น ส.ส. 4 คน และ ส.ว. 2 คน ร่วมบันทึกคะแนนเสียงด้วยกัน แล้วจึงให้เลขาธิการและรองเลขาธิการรัฐสภาขานเรียกชื่อเพื่อลงมติเป็นรายบุคคลจนครบจำนวนสมาชิกทั้งหมด 747 คน

ชื่อบุคคลที่ได้รับเสนอเป็นนายกรัฐมนตรี แก้

ผู้ได้รับการเสนอชื่อในรัฐสภา
ประยุทธ์ จันทร์โอชา ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ
อิสระ อนาคตใหม่
 
 
นายกรัฐมนตรี
(ตั้งแต่ 24 สิงหาคม 2557)
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
(ตั้งแต่ 24 มีนาคม 2562)

ผลการลงมติ แก้

ภายหลังเสร็จสิ้นการลงคะแนน ชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ได้ประกาศผลการนับคะแนนเลือกนายกรัฐมนตรีว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีพรรคพลังประชารัฐ ได้รับความเห็นชอบ จำนวน 500 คะแนน ส่วนธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ได้รับความเห็นชอบ 244 คะแนน และมีสมาชิกรัฐสภางดออกเสียง 3 คะแนน (คือ ชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา , พรเพชร วิชิตชลชัย รองประธานรัฐสภา และสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ส.ส. ศรีสะเกษ เขต 1 พรรคภูมิใจไทย[3]) พลเอกประยุทธ์จึงได้เป็นนายกรัฐมนตรีต่ออีกสมัย[4]

พรรคการเมือง     งดออกเสียง ไม่เข้าร่วมประชุม รวม
ประยุทธ์ จันทร์โอชา ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ
เพื่อไทย - 136 - - 136
พลังประชารัฐ 116 - - - 116
อนาคตใหม่ - 79 - 2 81
ประชาธิปัตย์ 51 - 1 - 52
ภูมิใจไทย 50 - 1 - 51
เสรีรวมไทย - 10 - - 10
ชาติไทยพัฒนา 10 - - - 10
ประชาชาติ - 7 - - 7
เศรษฐกิจใหม่ - 6 - - 6
เพื่อชาติ - 5 - - 5
รวมพลังประชาชาติไทย 5 - - - 5
ชาติพัฒนา 3 - - - 3
พลังท้องถิ่นไท 3 - - - 3
รักษ์ผืนป่าประเทศไทย 2 - - - 2
พลังปวงชนไทย - 1 - - 1
พลังชาติไทย 1 - - - 1
ประชาภิวัฒน์ 1 - - - 1
ไทยศรีวิไลย์ 1 - - - 1
พลังไทยรักไทย 1 - - - 1
ครูไทยเพื่อประชาชน 1 - - - 1
ประชานิยม 1 - - - 1
ประชาธรรมไทย 1 - - - 1
ประชาชนปฏิรูป 1 - - - 1
พลเมืองไทย 1 - - - 1
ประชาธิปไตยใหม่ 1 - - - 1
พลังธรรมใหม่ 1 - - - 1
วุฒิสภา 249 - 1 - 250
รวม 500 244 3 2 749
500 244 5
ประยุทธ์ ธนาธร งดออกเสียง+ไม่ร่วมประชุม

เชิงอรรถ แก้

  1. พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่ได้เป็นสมาชิกของพรรคพลังประชารัฐ แต่ได้รับการเสนอชื่อจากพรรคให้เป็นผู้ชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2562
  2. ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่ ถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งระงับการปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราว อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ลาออกจากตำแหน่ง ส.ส. ก่อนการลงมติ[2] และจุมพิตา จันทรขจร ส.ส. นครปฐม เขต 5 พรรคอนาคตใหม่ ลาป่วยเนื่องจากประสบอุบัติเหตุ

อ้างอิง แก้

ก่อนหน้า การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2562 ถัดไป
การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2557    
การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย
  การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2566