พรรครวมพลัง
พรรครวมพลัง(อังกฤษ: Action Coalition Party; ชื่อย่อ:รพ./AC.) เป็นพรรคการเมืองในประเทศไทย ที่จดทะเบียนก่อตั้งในปี พ.ศ. 2561 ก่อตั้งขึ้นโดยแนวร่วม กปปส. สุเทพ เทือกสุบรรณ และ เอนก เหล่าธรรมทัศน์
พรรครวมพลัง | |
---|---|
ชื่อย่อ | รปช. ACT. |
ผู้ก่อตั้ง | สุเทพ เทือกสุบรรณ เอนก เหล่าธรรมทัศน์ แนวร่วม กปปส. |
หัวหน้า | ดนุช ตันเทอดทิตย์ |
เลขาธิการ | ภูมิ เทือกสุบรรณ |
เหรัญญิก | ชลิดา บุรณศิริ |
นายทะเบียนสมาชิก | วัชรินกร เมฆลา |
กรรมการบริหาร |
|
ที่ปรึกษาพรรค | สุเทพ เทือกสุบรรณ |
คำขวัญ | นำปัญญารับใช้ประชาชน |
ก่อตั้ง | 25 พฤษภาคม 2018 |
ที่ทำการ |
|
สมาชิกภาพ (ปี 2565) | 10,656 คน[1] |
อุดมการณ์ | อนุรักษนิยม ชาตินิยม กษัตริย์นิยม อำนาจนิยม |
จุดยืน | ขวา |
สี | ม่วง |
เว็บไซต์ | |
act-party.org | |
การเมืองไทย รายชื่อพรรคการเมือง การเลือกตั้ง |
ประวัติ
แก้กลุ่มรวมพลังประชาชาติไทย เริ่มยื่นจดแจ้งชื่อพรรคต่อ คณะกรรมการการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 มีนาย ทวีศักดิ์ ณ ตะกั่วทุ่ง ทนายความส่วนตัวของทนาย สุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นผู้ยื่นจดแจ้ง[2] โดยมีบุคคลที่มีชื่อเสียงเข้าร่วมงานกับพรรคอาทิ พลตำรวจเอก วสิษฐ เดชกุญชร อดีตรองอธิบดีกรมตำรวจ ประสาร มฤคพิทักษ์ สุริยะใส กตะศิลา พิเชฐ พัฒนโชติ สำราญ รอดเพชร และจาตุรันต์ บุญเบ็ญจรัตน์ เป็นต้น[3] โดยได้มีการเปิดตัวพรรคในวันอาทิตย์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2561 ที่ศาลาดนตรีสุริยเทพ มหาวิทยาลัยรังสิต
กระทั่งวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2561 ทางพรรคได้จัดให้มีการประชุมเพื่อเลือกหัวหน้าพรรค เลขาธิการพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรคซึ่งที่ประชุมได้มีมติเลือก หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล ที่นาย สุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นผู้เสนอชื่อเป็นหัวหน้าพรรค นายทวีศักดิ์ ณ ตะกั่วทุ่ง เป็นเลขาธิการพรรค
ต่อมาในวันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2561 หม่อมราชวงศ์จัตุมงคลได้ยื่นจดทะเบียนจัดตั้งพรรคต่อ กกต. ด้วยทุนจดทะเบียน 30 ล้าน 5 แสนบาทและผู้ร่วมก่อตั้งพรรคทั้งสิ้น 607 คน ได้รับการจดทะเบียนและประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2561[4]
ในปี พ.ศ. 2562 ทางพรรคได้แต่งตั้ง นายแพทย์วรงค์ เดชกิจวิกรม เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารพรรค แต่เขาก็ได้ลาออกจากพรรคในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2563[5] ต่อมาในเดือนกรกฎาคมของปีเดียวกัน ที่ประชุมพรรคได้เลือกนายทวีศักดิ์ ณ ตะกั่วทุ่ง เป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่ และแต่งตั้งนายดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง เป็นเลขาธิการพรรค[6] จากนั้นในวันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ได้มีการจัดการประชุมใหญ่เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ โดยที่ประชุมมีมติเลือก นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ เป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่ ส่วนนายดวงฤทธิ์ ยังคงเป็นเลขาธิการพรรค นอกจากนี้ยังได้ทำการเปลี่ยนแปลงที่ทำการพรรคมาเป็นที่ 29 ซอยเพชรเกษม 102/3 แขวงบางแคเหนือ เขตบางแค[7]
ในวันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2565 พรรครวมพลังประชาชาติไทย ได้จัดการประชุมใหญ่เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคแทนตำแหน่งที่ว่างซึ่งที่ประชุมมีมติเลือก พัชรินรุจา จันทโรนานนท์ อดีตกรรมการบริหารพรรคให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคแทน นายดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง ที่ลาออกไปก่อนหน้านี้ นอกจากนี้ยังได้เลือก นายศักราช ฟ้าขาว และ พลอากาศโทวัชระ ฤทธาคนี เป็นกรรมการบริหารพรรคแทนตำแหน่งที่ว่าง พร้อมกับแก้ไขข้อบังคับพรรคเปลี่ยนแปลงชื่อพรรคเป็น พรรครวมพลัง รวมถึงตราโลโก้พรรครูปพญานาค[8]
ต่อมาในวันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2566 นายเขตรัฐได้ยื่นหนังสือลาออกจากสมาชิกพรรคทำให้ต้องพ้นจากตำแหน่งโฆษกพรรค ก่อนจะทำการยื่นหนังสือลาออกจากการเป็น ส.ส. โดยในวันเดียวกัน นายเขตรัฐได้ให้สัมภาษณ์ว่าในเช้าวันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2566 ได้เตรียมเดินทางไปสมัครเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ[9] ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 พรรครวมพลังได้จัดการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือกนายดนุช ตันเทอดทิตย์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และนางสุเนตตา แซ่โก๊ะ เป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคคนใหม่ รวมถึงการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคโดยย้ายที่ทำการพรรคไปอยู่ที่ 52 ถนนแจ่มนุสรณ์ ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี[10][11]
ในวันที่ 31 มีนาคม 2567 พรรครวมพลังได้จัดประชุมใหญ่เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่จำนวน 7 คน ที่ประชุมมีมติเลือกนายดนุช ให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคอีกสมัย ส่วนตำแหน่งเลขาธิการพรรคตกเป็นของ ภูมิ เทือกสุบรรณ
คณะกรรมการบริหารพรรค
แก้หัวหน้าพรรค
แก้ลำดับที่ | ชื่อ | เริ่มต้น | สิ้นสุด |
---|---|---|---|
1 | หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล | 15 ธันวาคม พ.ศ. 2561 | 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 |
2 | ทวีศักดิ์ ณ ตะกั่วทุ่ง | 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2563[12] | 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 |
3 | เอนก เหล่าธรรมทัศน์ | 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564[13] | 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566[14] |
4 | ดนุช ตันเทอดทิตย์ | 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566[15] | ปัจจุบัน |
เลขาธิการพรรค
แก้ลำดับที่ | ชื่อ | เริ่มต้น | สิ้นสุด |
---|---|---|---|
1 | ทวีศักดิ์ ณ ตะกั่วทุ่ง | 15 ธันวาคม พ.ศ. 2561 | 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 |
2 | ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง | 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 | มีนาคม พ.ศ. 2565 |
3 | พัชรินรุจา จันทโรนานนท์ | 24 เมษายน พ.ศ. 2565 | 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565[16] |
4 | สุเนตตา แซ่โก๊ะ | 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 | 26 ธันวาคม 2566 |
ผลการเลือกตั้งทั่วไป
แก้การเลือกตั้ง | จำนวนที่นั่ง | คะแนนเสียงทั้งหมด | สัดส่วนคะแนนเสียง | ที่นั่งเปลี่ยน | ผลการเลือกตั้ง | ผู้นำเลือกตั้ง |
---|---|---|---|---|---|---|
2562 | 5 / 500
|
415,585 | 1.17% | 5 | ร่วมรัฐบาล | สุเทพ เทือกสุบรรณ |
2566 | 0 / 500
|
5 | ไม่ได้รับเลือกตั้ง | ดนุช ตันเทอดทิตย์ |
อ้างอิง
แก้- ↑ ข้อมูลพรรคการเมืองที่ยังดำเนินการอยู่ ณ วันที่ 1 ธันวาคม 2565
- ↑ ผู้ยื่นจดแจ้ง
- ↑ มาแล้ว! "เทือก" ผุดพรรค 'รวมพลังประชาชาติไทย' ดูด 'เอนก-กปปส.' มาพรึ่บ!
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง รับจดทะเบียนจัดตั้งพรรครวมพลังประชาชาติไทย
- ↑ “หมอวรงค์” ลาออกสมาชิกพรรครวมพลังประชาชาติไทย ตั้งกลุ่มการเมืองใหม่
- ↑ "ทวีศักดิ์ ณ ตะกั่วทุ่ง" นั่งหัวหน้าพรรครวมพลังประชาชาติไทย
- ↑ สองพรรคการเมืองเลือกหัวหน้าพรรคคนใหม่ ‘เอนก’ หน.รวมพลังประชาชาติไทย ‘ศรัณย์วุฒิ’ หน.เพื่อชาติ
- ↑ พรรคสุเทพ เปลี่ยนชื่อเป็น “พรรครวมพลัง” แต่งตั้งเลขาธิการพรรคใหม่
- ↑ ทิ้งพรรครวมพลัง! เขตรัฐ จ่อสมัครเข้า รวมไทยสร้างชาติ ขออาสาชิง ส.ส.กทม.
- ↑ ‘พรรครวมพลัง’ เปิดตัวหัวหน้าพรรคคนใหม่แทน ‘เอนก เหล่าธรรมทัศน์'
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคและคณะกรรมการบริหารพรรครวมพลัง
- ↑ "ทวีศักดิ์ ณ ตะกั่วทุ่ง" นั่งหัวหน้าพรรครวมพลังประชาชาติไทย
- ↑ "เอนก" นั่งหัวหน้าพรรครวมพลังประชาชาติไทย คนใหม่
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรครวมพลัง
- ↑ ‘รวมพลัง’เปิดตัว ‘ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์’นั่งหน.พรรคคนใหม่ สานต่อนโยบายเรียนสายวิชาชีพฟรีถึง ปวส.
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรครวมพลัง