สุริยะใส กตะศิลา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุริยะใส กตะศิลา คณบดี วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต, และ ผู้อำนวยการสถาบันปฏิรูปประเทศไทย(สปท.) มหาวิทยาลัยรังสิต

สุริยะใส กตะศิลา
เลขาธิการพรรคการเมืองใหม่
ดำรงตำแหน่ง
6 ตุลาคม พ.ศ. 2552 – 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด27 มีนาคม พ.ศ. 2515 (51 ปี)
จังหวัดศรีสะเกษ ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองการเมืองใหม่
รวมพลังประชาชาติไทย
บุพการีนายบุญเรือง กตะศิลา
นางคำพันธ์ กตะศิลา
อาชีพอาจารย์
เป็นที่รู้จักจากผู้ประสานงานกลุ่มกรีน

ในระหว่างปี พ.ศ. 2548-2552 สุริยะใสเป็นหนึ่งในแกนนำและเป็นผู้ประสานงานเครือข่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ต่อมาได้เข้าเป็นเลขาธิการพรรคการเมืองใหม่ก่อนจะลาออกจากพรรคเนื่องจากมีความขัดแย้งภายในพรรค

ในช่วงวิกฤตการณ์การเมือง พ.ศ. 2556-2557 สุริยะใสมีบทบาทเป็นแกนนำคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ภายหลังจากวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 ศาลอาญาอนุมัติหมายจับสุริยะใส ผู้ต้องหาคดีกบฏและความผิดอื่น โดยระบุให้สุริยะใสพร้อม 12 แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ชดใช้เงินรวมจำนวน 522,160,947.31 บาท พร้อมดอกเบี้ย ให้กับบริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) คดีดังกล่าวเป็นคดีที่มีการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากกรณีการบุกยึดท่าอากาศยานในประเทศไทย พ.ศ. 2551

ประวัติ แก้

สุริยะใส กตะศิลา (ชื่อเล่น: ใส) เกิดเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2515 เป็นชาวตำบลเมืองแคน อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ เป็นบุตรของนายบุญเรือง และนางคำพันธ์ กตะศิลา

สุริยะใส เพื่อนเรียก"ยะใส"ด้วยความเป็นเด็กบ้านนอก ได้เห็นวิถีชีวิตความยากลำบากของชาวต่างจังหวัด ถูกข้าราชการ นายทุนและนักการเมืองเอาเปรียบโดยเฉพาะกรณีเขื่อนราษีไศล ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่บ้านเกิดของตัวเอง หลังจบการศึกษาปริญญาตรี สุริยะใสทำงานเป็นนักวิชาการวุฒิสภา เป็นผู้ชำนาญการประจำคณะกรรมาธิการการมีส่วนร่วม วุฒิสภา และเป็นอนุกรรมการการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน ประจำคณะกรรมาธิการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในขณะเดียวกันก็ได้เริ่มทำงานภาคประชาชนในปี พ.ศ. 2545 โดยดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย(ครป.)ในช่วงที่นายพิภพ ธงไชยเป็นประธาน

การศึกษา แก้

สมัยที่เป็นนิสิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สุริยะใสเคยเป็นประธานชมรมสาธารณสุข ได้ทำกิจกรรมเคลื่อนไหวทางการเมืองขับไล่คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ(รสช.)ในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 และได้รับตำแหน่งเป็นเลขาธิการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) ซึ่งมีบทบาทในการเคลื่อนไหวกรณี ส.ป.ก. 4-01 และการเรียกร้องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540

การเมือง แก้

สุริยะใสได้ลาออกจากพรรคการเมืองใหม่ เนื่องจากมีความขัดแย้งกันในเรื่องการส่งผู้สมัครลงเลือกตั้งในกลางปี พ.ศ. 2554 พร้อมกับกรรมการบริหารพรรคทั้งหมด 10 คน และจัดตั้งกลุ่มการเมืองกลุ่มใหม่ คือ กลุ่มการเมืองสีเขียว (Green Politics) หรือกลุ่มกรีน[ต้องการอ้างอิง]

วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 แก้

อ้างอิง แก้

  1. "ศาลอาญาอนุมัติหมายจับ 30 แกนนำ กปปส. ที่เหลือยกคำร้อง". Thairath.co.th. 14 พฤษภาคม 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-17. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "ศาลอนุมัติออกหมายจับแกนนำ กปปส. 30 ราย-ยกคำร้อง 13". Posttoday.com. 14 พฤษภาคม 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-15. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้