วรงค์ เดชกิจวิกรม

แพทย์และนักการเมืองชาวไทย

นายแพทย์ วรงค์ เดชกิจวิกรม (เกิด 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2504) เป็นนักการเมืองชาวไทย อดีตแพทย์ และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลก สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหารพรรครวมพลังประชาชาติไทย แกนนำกลุ่มไทยภักดี ประธานพรรคไทยภักดี

วรงค์ เดชกิจวิกรม
วรงค์ ใน พ.ศ. 2553
ประธานพรรคไทยภักดี
เริ่มดำรงตำแหน่ง
5 สิงหาคม พ.ศ. 2566
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลก
ดำรงตำแหน่ง
6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556
ก่อนหน้าพิทักษ์ สันติวงศ์เดชา
ถัดไปปดิพัทธ์ สันติภาดา
หัวหน้าพรรคไทยภักดี
ดำรงตำแหน่ง
24 สิงหาคม พ.ศ. 2564 – 5 สิงหาคม พ.ศ. 2566
ก่อนหน้าก่อตั้งพรรค
ถัดไปอิสราพร นรินทร์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 พฤษภาคม พ.ศ. 2504 (63 ปี)
อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ประเทศไทย
พรรคการเมืองไทยรักไทย (2543–2547)
ประชาธิปัตย์ (2547–2562)
รวมพลัง (2562–2563)
ไทยภักดี (2564–ปัจจุบัน​)
คู่สมรสสุวรี เดชกิจวิกรม
ลายมือชื่อ

ประวัติ

แก้

วรงค์ เดชกิจวิกรม มีชื่อเล่นว่า "โก๋"[1] เกิดเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2504 ที่ตำบลธานี อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษา จากโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร กรุงเทพมหานคร ระดับปริญญาตรี แพทยศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระดับปริญญาโท สาขารัฐประศาสนศาสตร์ จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) และวุฒิบัตรแพทย์ผู้ชำนาญเฉพาะทาง สาขาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่[2] ซึ่งในขณะศึกษานั้น ได้รับเลือกให้เป็นนายกสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (อ.มช.) อีกด้วย

ด้านชีวิตครอบครัว วรงค์ สมรสกับ สุวรี เดชกิจวิกรม (ชื่อเล่น:น้อง) โดยทั้งคู่คบหากันมาตั้งแต่สมัยเรียนระดับมหาวิทยาลัย มีบุตร-ธิดา 2 คน[1]

การทำงาน

แก้

การรับราชการ

แก้

วรงค์ เคยรับราชการเป็นนายแพทย์ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข และเคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลโซ่พิสัย อ.โซ่พิสัย จ.หนองคาย เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลพรเจริญ อ.พรเจริญ จ.หนองคาย เป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงพยาบาลพุทธชินราช จ.พิษณุโลก ต่อมาจึงได้ลาออกจากราชการเพื่อเข้าสู่งานการเมือง

งานการเมือง

แก้

วรงค์ เริ่มต้นงานการเมืองภายหลังลาออกจากราชการ โดยแรกเริ่มอยู่ในสังกัดพรรคไทยรักไทย (ทรท.) แต่ทว่าได้ลาออกจากพรรคไทยรักไทย เมื่อทางพรรคได้เปลี่ยนแปลงตัวผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลก เมื่อปี พ.ศ. 2547 ดังนั้น เจ้าตัวจึงย้ายไปอยู่ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) แทน และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลก ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2548 และได้รับเลือกตั้งอีกในปี พ.ศ. 2550 และ พ.ศ. 2554[3] สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ เขาเคยได้รับแต่งตั้งเป็นรองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ และเป็นรองประธานคณะกรรมาธิการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร เขามีบทบาทในการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในเรื่องนโยบายจำนำข้าว และเป็นที่ยอมรับของฝ่ายค้านด้วยกัน[4]

เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[5]

 
วรงค์ ขณะสังกัดพรรคไทยภักดี

กระทั่งวันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 วรงค์ได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ต่อ จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์โดยให้มีผลทันที [6] และเตรียมแถลงชี้แจงเหตุผลการลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์ในวันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 [7] โดยในวันเดียวกัน เขาได้สมัครเป็นสมาชิกพรรครวมพลังประชาชาติไทย (รปช.) แบบตลอดชีพ [8] ต่อมาเขาได้จัดตั้งพรรคไทยภักดีประเทศไทย และทำหน้าที่หัวหน้าพรรค

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งระบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 1 พรรคไทยภักดี แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 บ้านนี้สีฟ้า รีรัน, รายการทางบลูสกายแชนแนล: เสาร์ที่ 29 มิถุนายน 2556
  2. "สภาผู้แทนราษฎร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2011-12-24.
  3. "ผลการเลือกตั้ง ส.ส. จังหวัดพิษณุโลก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2011-12-24.
  4. วิปค้านยกนิ้ว “วรงค์” บี้โกงจำนำข้าว ตอก “เจริญ” ไม่เป็นกลาง หวังลักไก่ล้างผิด[ลิงก์เสีย]
  5. แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ เตรียมหย่อนบัตรปี 62 ส.ส. ลด 23 จังหวัด อีสานหด 10 ที่นั่ง
  6. คอนเฟิร์ม'วรงค์'ลาออกพ้นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์
  7. ปชป.กระเพื่อมอีกแล้ว! ช็อก'วรงค์'ยื่นหนังสือลาออกจากสมาชิกพรรค
  8. ‘หมอวรงค์’ ย้ายซบเป็นสมาชิกพรรครวมพลังประชาชาติไทย
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๑๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๓๑, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้