พิเชฐ พัฒนโชติ

นายพิเชฐ พัฒนโชติ อดีตรองประธานวุฒิสภา คนที่ 1 อดีตสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดนครราชสีมา และอดีตรองหัวหน้าพรรคการเมืองใหม่

พิเชฐ พัฒนโชติ
รองประธานวุฒิสภา คนที่ 1
ดำรงตำแหน่ง
16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – 6 มีนาคม พ.ศ. 2546
ก่อนหน้า เฉลิม พรหมเลิศ
ถัดไป สุชน ชาลีเครือ
รองหัวหน้าพรรคการเมืองใหม่
ดำรงตำแหน่ง
3 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 – 28 เมษายน พ.ศ. 2554
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด 20 สิงหาคม พ.ศ. 2496 (69 ปี)
จังหวัดสงขลา ประเทศไทย
พรรค ประชาธิปัตย์ (2550-2553)
การเมืองใหม่ (2553-2554)
มาตุภูมิ (2554-?)
รวมพลังประชาชาติไทย (?)
ประชาธิปัตย์ (?-ปัจจุบัน)
คู่สมรส นภาพร พัฒนโชติ
ศาสนา พุทธ

ประวัติแก้ไข

เกิดเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2496 ที่จังหวัดสงขลา แต่มาใช้ชีวิตอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา จบการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโทรัฐศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ประกาศนียบัตรหลักสูตร การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย สำหรับนักบริหารระดับสูง รุ่นที่ 2 สถาบันพระปกเกล้า และประกาศนียบัตรหลักสูตร การป้องกันราชอาณาจักร ภาครัฐ เอกชน และการเมือง รุ่นที่ 1 วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วอป.2546)

ชีวิตส่วนตัว สมรสกับ นางนภาพร พัฒนโชติ อดีตผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2549

งานการเมืองแก้ไข

นายพิเชฐ พัฒนโชติ ประกอบอาชีพเป็นนักกฎหมาย และเริ่มทำงานการเมืองโดยการเป็นสมาชิกวุฒิสภา ในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2543 ที่จังหวัดนครราชสีมา[1] และได้รับเลือกจากวุฒิสภาให้ดำรงตำแหน่ง รองประธานวุฒิสภา คนที่ 1 เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 แทนนายเฉลิม พรหมเลิศ[2] และได้ลาออก เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2546[3]

ในการขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในปี พ.ศ. 2549 และ การชุมนุมขับไล่รัฐบาลนอมินีของทักษิณ ในปี พ.ศ. 2551 โดยพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย นายพิเชฐได้เข้าร่วมกับทางกลุ่มพันธมิตรฯทั้งสองครั้ง

ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 นายพิเชฐได้ลงรับสมัครเลือกตั้ง ส.ส. ในเขต 1 จังหวัดนครราชสีมา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง

ในรัฐบาลที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายวิทยา แก้วภราดัย แต่ต่อมาได้ลาออกหลังจากที่นายวิทยาได้ขอลาออกเนื่องจากปัญหาการทุจริตในปลายปี พ.ศ. 2552[4]

หลังการตั้งพรรคการเมืองใหม่ (กมม.) ของทางกลุ่มพันธมิตรฯ นายพิเชฐ ได้รับแต่งตั้งเป็นรองหัวหน้าพรรคการเมืองใหม่[5] ต่อมาในปลายเดือนเมษายน พ.ศ. 2554 ได้ลาออกจากตำแหน่งเพื่อไปร่วมงานกับพรรคการเมืองอื่น[6] โดยการเลือกตั้งในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ได้ลงรับสมัครเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 9 พรรคมาตุภูมิ[7] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557แก้ไข

เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข

อ้างอิงแก้ไข

  1. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา เขตเลือกตั้งจังหวัดนครราชสีมา (นายบุญทัน ดอกไธสง นายพิเชฐ พัฒนโชติ นางพรหมจารี รัตนเศรษฐ์ นายวีระพล วัชรประทีป)
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรองประธานวุฒิสภา (แต่งตั้งนายพิเชฐ พัฒนโชติ เป็นรองประธานวุฒิสภา คนที่หนึ่ง แทน นายเฉลิม พรหมเลิศ ที่ลาออก)
  3. ประกาศแต่งตั้งรองประธานวุฒิสภา (นายสุชน ชาลีเครือ แทน นายพิเชฐ พัฒนโชติ)
  4. ครม.แต่งตั้ง พิเชษฐ พัฒนโชติ เป็นที่ปรึกษา รมว.สธ.[ลิงก์เสีย]จากช่อง 9
  5. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองใหม่
  6. [ลิงก์เสีย] พันธมิตรแพแตก!'สมศักดิ์'ไขก๊อก!'พิเชษฐ'ทิ้งการเมืองใหม่ จากประชาทรรศน์
  7. โคราช-บิ๊กบัง เปิดตัวพรรคมาตุภูมิที่โคราช[ลิงก์เสีย]
  8. "ศาลอาญาอนุมัติหมายจับ 30 แกนนำ กปปส. ที่เหลือยกคำร้อง". Thairath.co.th. 14 พฤษภาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  9. "ศาลอนุมัติออกหมายจับแกนนำ กปปส. 30 ราย-ยกคำร้อง 13". Posttoday.com. 14 พฤษภาคม 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-15. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2005-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕

แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข