สุชน ชาลีเครือ
สุชน ชาลีเครือ (เกิด 12 มีนาคม พ.ศ. 2495) อดีตสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม[2] อดีตประธานวุฒิสภา อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดชัยภูมิ เป็นสมาชิกวุฒิสภาจากการเลือกตั้งสมัยแรก (พ.ศ. 2543-2549) เป็นประธานวุฒิสภาคนที่สามของวุฒิสภาชุดนี้ สืบต่อจาก สนิท วรปัญญา และพลตรีมนูญกฤต รูปขจร[3] ก่อนหน้าจะดำรงตำแหน่งประธานวุฒิสภา นายสุชนดำรงตำแหน่งรองประธานวุฒิสภาคนที่ 1[4]
สุชน ชาลีเครือ | |
---|---|
ประธานวุฒิสภา | |
ดำรงตำแหน่ง 5 มีนาคม พ.ศ. 2547 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549 | |
ก่อนหน้า | มนูญกฤต รูปขจร |
ถัดไป | ประสพสุข บุญเดช |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 12 มีนาคม พ.ศ. 2495 อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ ประเทศไทย |
คู่สมรส | นาวาอากาศหญิง อัครพันธ์ ชาลีเครือ[1] |
การศึกษา
แก้นายสุชน ชาลีเครือ จบการศึกษา การศึกษาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตบางเขน ปริญญาโท สาขาการบริหาร จาก The City University of New York สหรัฐอเมริกา และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร[5]
งานการเมือง
แก้นายสุชน ชาลีเครือ เป็นหัวหน้าพรรคไทยรวมไทย พรรคการเมืองที่แจ้งเปลี่ยนชื่อมาจากพรรครักษ์แผ่นดินไทย เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2550[6] ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) ในปี พ.ศ. 2554[7] ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม จนกระทั่งลาออกจากตำแหน่งในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2556[8]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 31[9]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2544 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[10]
- พ.ศ. 2541 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[11]
- พ.ศ. 2560 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[12]
อ้างอิง
แก้- ↑ "ประธานวุฒิสภา"เชิญชวนไปใช้สิทธิ, เว็บไซต์ผู้จัดการออนไลน์, 6 กุมภาพันธ์ 2548
- ↑ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
- ↑ ไทยโพสต์, 2 ขั้วสระอิด 'พี่หนิด - มนูกฤต' ได้เวลาวุฒิสภากวาดบ้านตัวเอง, นสพ.ไทยโพสต์, 11 มีนาคม 2544 ผ่านเว็บไซต์ส่วนตัว ผศ. สุนทรี วิทยานารถไพศาล เก็บถาวร 2005-01-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ สถาบันนโยบายศึกษา, มีนาคม 2546 : แต่งตั้ง 9 ผู้ช่วย รมต. เก็บถาวร 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์สถาบันนโยบายศึกษา
- ↑ วุฒิสภาไทย, นายสุชน ชาลีเครือ เก็บถาวร 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์วุฒิสภา
- ↑ ผู้จัดการออนไลน์, วันแรกยังไม่มีจดพรรคใหม่ - “สุชิน” ดอดขอใช้ “ไทยรวมไทย”[ลิงก์เสีย], เว็บไซต์ผู้จัดการออนไลน์, 21 สิงหาคม 2550
- ↑ คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 146/2554 เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง
- ↑ ประกาศกระทรวงยุติธรรม เรื่อง ข้าราชการการเมืองลาออกจากตำแหน่ง (นายสุชน ชาลีเครือ)
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2017-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๗, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๐ เก็บถาวร 2017-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๘ ข หน้า ๕, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
ก่อนหน้า | สุชน ชาลีเครือ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พลตรี มนูญกฤต รูปขจร | ประธานวุฒิสภา (5 มีนาคม พ.ศ. 2547 - 19 กันยายนพ.ศ. 2549) |
ประสพสุข บุญเดช |