การสมรส เป็นการรวมกันทางสังคมหรือสัญญาตามกฎหมายระหว่างคู่สมรสที่สร้างสิทธิและข้อผูกพันระหว่างคู่สมรสด้วยกัน ระหว่างคู่สมรสและบุตร และระหว่างคู่สมรสกับญาติโดยการสมรส[1] นิยามของการสมรสแตกต่างกันไปในแต่ละวัฒนธรรม แต่โดยหลักแล้วเป็นสถาบันซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ซึ่งมักเป็นความสัมพันธ์แบบใกล้ชิดหรือความสัมพันธ์ทางเพศ ได้รับการรับรอง เมื่อนิยามอย่างกว้าง การสมรสถูกพิจารณาว่าเป็นวัฒนธรรมสากล ในหลายวัฒนธรรม การสมรสถูกทำให้เป็นทางการผ่านพิธีแต่งงาน ในแง่ของการรับรองตามกฎหมาย รัฐเอกราชและเขตอำนาจอื่นส่วนมากจำกัดการสมรสไว้เฉพาะระหว่างคู่สมรสต่างเพศหรือสองบุคคลที่มีเพศภาวะตรงข้ามกันในสองเพศภาวะ (gender binary) และบางรัฐเอกราชและเขตอำนาจอื่นอนุญาตการสมรสที่มีภรรยาหลายคนได้ นับแต่ปี 2543 หลายประเทศและบางเขตอำนาจอื่นอนุญาตให้การสมรสเพศเดียวกันชอบด้วยกฎหมาย ในบางวัฒนธรรม แนะนำหรือบังคับให้มีการสมรสก่อนมีกิจกรรมทางเพศใด ๆ

บุคคลสมรสด้วยหลายเหตุผล มีทั้งทางกฎหมาย สังคม ลิบิโด อารมณ์ การเงิน จิตวิญญาณและศาสนา การสมรสสามารถกระทำในพิธีทางกฎหมายฝ่ายฆราวาส หรือทางฝ่ายศาสนาก็ได้ โดยปกติการสมรสสร้างข้อผูกพันที่เป็นนามธรรมหรือทางกฎหมายระหว่างปัจเจกบุคคลที่เกี่ยวข้อง บางวัฒนธรรมอนุญาตให้เลิกการสมรสได้ผ่านการหย่าร้างหรือการเพิกถอนการสมรส การสมรสที่มีคู่ครองหลายคนอาจยังเกิดขึ้นแม้จะมีกฎหมายประจำชาติก็ตาม

รัฐ องค์การ ฝ่ายศาสนา กลุ่มชนเผ่า ชุมชนท้องถิ่นหรือผู้เท่าเทียมกันสามารถรับรองการสมรสได้ มักถูกมองว่าเป็นสัญญา การสมรสตามกฎหมายเป็นมโนทัศน์ทางกฎหมายที่มองการสมรสว่าเป็นสถาบันของรัฐโดยไม่เกี่ยวข้องกับศาสนา ตามกฎหมายการสมรสของเขตอำนาจ การบังคับสมรส (forced marriage) มิชอบด้วยกฎหมายในบางเขตอำนาจ[2]

อ้างอิง

แก้
  1. Haviland, William A.; Prins, Harald E. L.; McBride, Bunny; Walrath, Dana (2011). Cultural Anthropology: The Human Challenge (13th ed.). Cengage Learning. ISBN 978-0-495-81178-7.
  2. Country Reports on Human Rights Practices for 2008 Vol.1 - Page 1353