ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง
ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง (เกิด 2 มีนาคม พ.ศ. 2524) รองหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ อดีตเลขาธิการพรรครวมพลัง อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน อดีตเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และโฆษกกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม
ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง | |
---|---|
![]() | |
รองหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2565 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 2 มีนาคม พ.ศ. 2524 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2562–2563) รวมพลัง (2563–2565) รวมไทยสร้างชาติ (2565–ปัจจุบัน) |
ประวัติ
แก้ดวงฤทธิ์ เกิดเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2524 เป็นบุตรของ ชาญชัย ชัยรุ่งเรือง อดีตนักการเมืองชาวไทย กับ ศาสตราจารย์ บังอร เบ็ญจาธิกุล ด้านครอบครัวสมรสกับ จิรวรรณ เตชะหรูวิจิตร (ณัชชา ชัยรุ่งเรือง) เมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2556 มีบุตร 2 คน
- บุตรคนแรกชื่อ ดี - เด็กชายดวงดิช ชัยรุ่งเรือง เกิดเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ที่โรงพยาบาลกรุงเทพ[1]
- บุตรคนที่สองชื่อ ดวิณ - เด็กชายดวงเดช ชัยรุ่งเรือง เกิดเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2559 ที่โรงพยาบาลกรุงเทพ
การศึกษา
แก้- ระดับปริญญาเอก: รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
- หลักสูตรประกาศนียบัตร ผู้นำยุคใหม่ในระบอบประชาธิปไตย (ปนป.) รุ่น4 สถาบันพระปกเกล้า
- หลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงการบริหารงานภาครัฐ และกฎหมายมหาชน (ปรม.) รุ่น17 สถาบันพระปกเกล้า
- หลักสูตรนักบริหารยุคใหม่เพื่องานพิทักษ์สันติราษฎร์ (บพส.) รุ่น1 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
การทำงาน
แก้ด้านการศึกษา
แก้- ผู้อำนวยการ วิทยาลัยเทคโนโลยีโพลีกรุงเทพ
- ผู้อำนวยการ วิทยาลัยอาชีวศึกษากรุงเทพธนบุรี
- รองอธิการบดี ฝ่ายกิจการนักศึกษา และ คณะบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
ด้านการเมือง
แก้- ปี พ.ศ. 2562 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในระบบบัญชีรายชื่อของพรรคประชาธิปัตย์ ในลำดับที่ 25 ซึ่งในการเลือกตั้งครั้งนั้น ในระบบบัญชีรายชื่อของพรรคประชาธิปัตย์สุดท้ายแล้วได้ถึงลำดับที่ 36
- ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน
- เลขานุการรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม
- โฆษกกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม
- คณะทำงานกับสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)
หลังจากที่ลาออกจากสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อไปร่วมงานกับพรรครวมพลังประชาชาติไทย ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน และเลขาธิการพรรครวมพลังประชาชาติไทย ต่อมาได้ปรับเปลี่ยนกระทรวงโดยการดูแลของพรรค เป็นกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จึงได้ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง และโฆษกกระทรวง จนจบสมัยรัฐบาล
ปัจจุบันตำรงตำแหน่ง รองหัวหน้า พรรครวมไทยสร้างชาติ และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยยังคงทำงานด้านการศึกษาในการเป็น รองประธานกรรมาธิการการศึกษา และกรรมาธิการ กิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ กลุ่มชาติพันธุ์และผู้มีความหลากหลายทางเพศ
บทบาทสำคัญในด้านต่างๆ
แก้ด้านการผลักดันความเท่าเทียมด้านการศึกษา
แก้เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 รศ.ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง นำทีมบรรยายพิเศษทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏฺบัติ ให้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ในหัวข้อ Branding of the organization และ How to give a speech in the public[2]
เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 รศ.ดร.ดวงฤทธิ์ เปิดเผยข้อมูลในสภาเกี่ยวกับการขาดโอกาสทางการศึกษาเข้าไม่ถึงสิทธิด้านการศึกษาในระดับมัธยมและอุดมศึกษา ของเยาวชนกลุ่มชาติพันธุ์ ทั้งขาดแคลนด้านโอกาสในการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับมัธยมและด้านเงินทุน [3]
เมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2564 รศ.ดร.ดวงฤทธิ์ อภิปรายในสภา เรื่องให้มีการจัดงบประมาณด้านการศึกษาให้ตรงกับความต้องการในพื้นที่ ตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการ และตรงกับความต้องการของผู้เรียน เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากอันเป็นส่วนสำคัญของประเทศ เพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ [4]
รศ.ดร.ดวงฤทธิ์ ในฐานะโฆษกกระทรวง ได้จัดรายการ "ออน เดอะ เวย์" ตอนแรกออกอากาศเมื่อ 20 พฤษภาคม 2565 โดยการนำศิลปินนักแสดงรุ่นใหม่ที่มีชื่อเสียง นำมาเป็นแรงบันดาลใจให้นักศึกษามหาวิทยาลัยเกิดความคิดสร้างสรรค์ โดยให้ศิลปินนักแสดงคืนสู่มหาวิทยาลัยที่ตนเองเคยศึกษาและทำภารกิจในการค้นหาความคิดสร้างสรรค์จากความทรงจำที่ประทับใจในรั้วมหาวิทยาลัย เป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้กับนิสิตนักศึกษาผ่าน Soft Power นั่นคือศิลปินและศิลปะการแสดงนั่นเอง [5]
ด้านการผลักดันความเท่าเทียมทางเพศ
แก้เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2564 รองศาสตราจารย์ ดร. ดวงฤทธิ์ อภิปรายในสภาได้เห็นถึงความเท่าเทียมทางกฎหมายที่ต้องปฏิบัติให้เท่าเทียมและเป็นธรรมโดยไม่จำกัดเพศ สนับสนุนการบริหารจัดการทรัพย์สินระหว่างใช้ชีวิตคู่ LGBTQ+ ควรได้รับสิทธิเท่าเทียมเท่าคู่สมรสตามกฎหมายปกติ [6]
ด้านการพัฒนาสังคม
แก้โครงการ อว.พารอด เมื่อวันที่ 26 มค. 64 ที่ผ่านไปนั้น เป็นอีกหนึ่งโครงการในสมัยที่ รศ.ดร.ดวงฤทธิ์ ยังดำรงตำแหน่งเป็นโฆษกกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โครงการนี้จัดขึ้นมาเพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีความต้องการยารักษาโรคและกำลังใจในการรักษาตนเองให้หายป่วยจากโรค Covid-19 ด้วยการให้จิตอาสาส่งยาสมุนไพรและอุปกรณ์ที่จำเป็นให้กับผู้ป่วย ด้วย "กล่อง อว.พารอด" รวมถึงโทรศัพท์พูดคุยกันใน Community Isolation นอกจากเอาไว้สอบถามอาการประจำวันแล้ว ยังพูดคุยให้กำลังใจผู้ป่วยได้ด้วย โดยเริ่มนำร่องจากโรงพยาบาลในเครือข่ายโรงพยาบาลกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (UHosNet) ก่อนและจะขยายไปสู่โรงพยาบาลในภาคส่วนอื่นต่อไป [7]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2567 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[8]
- พ.ศ. 2557 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[9]
อ้างอิง
แก้- ↑ "เอิร์น จิรวรรณ อดีตนักร้องดัง คลอดลูกชาย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-04. สืบค้นเมื่อ 2014-06-02.
- ↑ แหล่งอ้างอิง
- ↑ แหล่งอ้างอิง
- ↑ แหล่งอ้างอิง
- ↑ แหล่งอ้างอิง
- ↑ แหล่งอ้างอิง
- ↑ "แหล่งอ้างอิง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-07. สืบค้นเมื่อ 2024-07-03.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๗, เล่ม ๑๔๑ ตอนพิเศษ ๓ ข หน้า ๖, ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๗, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๑ ข หน้า ๘๖, ๙ มกราคม ๒๕๕๘